ยากระตุ้นความดันโลหิต ผลข้างเคียง ข้อควรระวัง

ยากระตุ้นความดันโลหิต (Vasopressor) คือ กลุ่มยาที่ทำให้เกิดการหดตัวของเส้นเลือดและสามารถทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เนื่องจากภาวะความดันในเลือดต่ำ อาจทำให้อวัยวะในร่างกายเสียหายจนกระทั่งเสียชีวิต นอกจากนี้ ยากระตุ้นความดันโลหิตยังสามารถใช้รักษาผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะช็อกและผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการผ่าตัดได้ โดยยากระตุ้นความดันเริ่มใช้ครั้งแรกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1940 ซึ่งมักจะใช้ร่วมกับยากระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัว (Inotropic)

ยากระตุ้นความดันโลหิตที่ใช้บ่อย

ยากระตุ้นความดันที่ใช้บ่อย รวมไปถึงฮอร์โมนที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นความดันโลหิต ได้แก่

คำเตือนข้อระวังในการใช้ยากระตุ้นความดันโลหิต

การใช้ยากระตุ้นความดันโลหิต จะต้องได้รับการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด เนื่องจากยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์สูงจนอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้หากใช้ไม่ถูกวิธี เพราะยาดังกล่าวจะไปลดปริมาณเลือดที่ไหลเวียนลงในบางส่วนของร่างกาย เพราะฉะนั้นจึงมักใช้ยานี้ในสถานการณ์ฉุกเฉินเท่านั้น และถ้าหากจำเป็นจะต้องใช้ยาในกลุ่มนี้ โดยมีภาวะดังต่อไปนี้ จะต้องแจ้งแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง

  • ความดันโลหิตสูง
  • เบาหวาน
  • โรคหัวใจ
  • ระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ
  • มีประวัติการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
  • ระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูง (Hyperthyroidism)
  • เส้นเลือดดำโป่งพอง (Varicose veins)
  • เป็นโรคหอบหืด (Asthma)
  • มีประวัติแพ้ยา
  • อยู่ในช่วงตั้งครรภ์

ผลข้างเคียงของยากระตุ้นความดันโลหิต

หากมีอาการดังต่อไปนี้ ภายหลังจากรับประทานยากระตุ้นความดันโลหิตให้รีบแจ้งแพทย์ทันที

  • หัวใจเต้นช้าลง
  • ริมฝีปากหรือเล็บมีสีคล้ำ
  • มีอาการปวด แสบ คัน หรือมีการเปลี่ยนแปลงของสีผิวหนัง
  • มีอาการชา อ่อนแรง หรือรู้สึกเย็นบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย
  • หายใจลำบาก ปัสสาวะน้อย หรือปัสสาวะไม่ออก
  • มีปัญหาด้านการพูด การมองเห็น และการทรงตัว
  • มีอาการแสดงถึงความดันโลหิตสูงที่ร้ายแรง เช่น ปวดหัวรุนแรง ได้ยินเสียงที่หู มองเห็นภาพไม่ชัด สับสน กังวล เจ็บหน้าอก หรือชัก
  • มีอาการแสดงของภาวะแพ้อย่างรุนแรง เช่น มีผื่นขึ้น มีตุ่มนูน หายใจไม่ออก บวมที่ปาก ริมฝีปาก ใบหน้า หรือลิ้น

เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

Scroll to Top