การนวด (Massage) เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ใช้ในการบรรเทาอาการปวดที่ไม่รุนแรงมากนัก มีหลายเทคนิค เช่น ลูบตามผิวหนัง บีบ คลึง กดจุด เคาะ ทุบ หรือดึง
สารบัญ
นวดเพื่อการรักษาโดยนักกายภาพบำบัด ดีอย่างไร?
ข้อดีของนวดเพื่อการรักษาโดยนักกายภาพบำบัดคือ คุณจะได้รับการตรวจ และประเมินอาการโดยผู้เชี่ยวชาญ ทำให้รู้ถึงสาเหตุของอาการปวด ช่วยรักษาอาการได้อย่างตรงจุด
นอกจากนี้นักกายภาพบำบัดยังช่วยปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม เช่น ท่าทางการนั่ง การเดิน การยืน รวมไปถึงแนะนำท่ากายบริหารที่ควรทำในแต่ละวัน เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำได้อีกด้วย
การนวดเพื่อการรักษามีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน ดังนี้
- ลดอาการเกร็งกล้ามเนื้อ ให้ความตึงลดลง
- ลดการยึดติดของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและแผลเป็น
- เพิ่มการไหลเวียนกลับของเลือดและน้ำเหลือง
- เพิ่มการเคลื่อนไหวข้อต้อ ข้อยึดติดที่ไม่รุนแรง
- ลดอาการปวดจากการกระตุ้นการหลั่งสารบรรเทาความเจ็บปวด (Endogenous endorphins)
- เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวลและความตึงเครียดของจิตใจ
นวดเพื่อการรักษาโดยนักกายภาพบำบัด รักษาอาการออฟฟิศซินโดรมได้ไหม?
ออฟฟิศซินโดรม (Office syndrome) สาเหตุหลักๆ เกิดจากการจัดท่วงท่าในการทำงานไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง หรือการเดิน
การนวดโดยนักกายภาพบำบัดจะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยของออฟฟิศซินโดรมได้ และรักษาที่ต้นตอโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะท่าในการทำงานให้เหมาะสม ดังนั้นการนวดเพื่อการรักษาโดยนักกายภาพบำบัดจึงสามารถช่วยรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมได้นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เพื่อประสิทธิภาพการรักษาสูงสุด คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัด และบริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
อาการแบบไหนที่สามารถใช้การนวดเพื่อการรักษาได้
ก่อนที่จะทำกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดจะเป็นผู้ประเมินอาการ และเลือกใช้เครื่องมือในการรักษาที่เหมาะสมเอง อย่างไรก็ตาม สามารถประเมินได้คร่าวๆ ว่า อาการแบบไหนที่สามารถใช้การนวดเพื่อการรักษาได้ ดังนี้
- ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง
- ภาวะไหล่ติด
- อาการปวดหลังที่สัมพันธ์กับการใช้งาน รวมไปถึงอาการปวดหลังจากออฟฟิศซินโดรมฃ
- ภาวะบวมน้ำเหลืองแบบไม่อุดตัน
- อาการปวดปลายประสาทหลังเป็นงูสวัด หรือปวดปมประสาท
- การเกร็งจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคพาร์กินสัน
รวมโปรแกรมกายภาพบำบัดมากมาย
รู้ไหมว่า…การนวด เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งการทำกายภาพบำบัดเท่านั้น
ปกติแล้ว นักกายภาพบำบัดจะประเมินอาการ และเลือกใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่เหมาะสมกับอาการ ไม่ว่าจะเป็นการนวด เลเซอร์ อัลตราซาวด์ เครื่องกระตุ้นแม่เหล็ก ฯลฯ ซึ่งอาจใช้เครื่องมือใดเครื่องมือหนึ่ง หรือใช้ผสมผสานกันไป เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ตัวอย่างโปรแกรมกายภาพบำบัด
- ทำกายภาพบำบัดลดปวดด้วยเครื่องกระตุ้นแม่เหล็ก rPMS
- บรรเทาอาการปวดด้วยวิธีผสมผสานกายบำบัดกับแพทย์แผนจีน
- ทำวารีบำบัด
- นวดคลายกล้ามเนื้อระดับลึก
- นวดรีดเส้น กดจุด (Deep tissue massage)
- นวดจัดกระดูก
- บำบัดด้วยความเย็น โดย Ice Lab
- ทำกายภาพบำบัด ปรับกระดูกสันหลังคด
- โปรแกรมยืดกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ บรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม