ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดผสม (Mixed Personality Disorder)

ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดผสม (Mixed Personality Disorder) หมายถึง ประเภทของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติ (Personality Disorder) ที่ไม่อยู่ใน 10 เงื่อนไขที่ได้รับการยอมรับทั่วไป

อาการของโรคบุคลิกภาพผิดปรกติอาจมีมากกว่าหนึ่งอาการแต่ไม่สามารถจัดเป็นชนิดใดชัดเจน จึงใช้หลักการวินิจฉัยภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพแบบไม่เด่นชัด (Personality Disorder Not Otherwise Specified หรือ NOS) มาใช้กับกรณีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติชนิดผสมนี้

ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติคืออะไร?

คนส่วนใหญ่มีบุคลิกภาพที่ยืดหยุ่น ช่วยให้ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ที่หลากหลายได้ดี ผู้มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติมักจะจมอยู่กับภาวะที่ตึงเครียดของเหตุการณ์และปัญหาด้านมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อวิธีคิดทั้งที่เกี่ยวกับตัวเองและโลกภายนอก

การใช้อารมณ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน การทำงาน และการอยู่ร่วมกันในสังคม การควบคุมพฤติกรรมรุนแรง

บุคลิกภาพผิดปกติเป็นโรคทางจิตที่เรื้อรังและแพร่หลาย มีผลต่อความคิดและพฤติกรรมการทำงานร่วมกับคนอื่น

ตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 5 (DSM-5) ได้ระบุถึง 10 พฤติกรรมผิดปกติของบุคลิกภาพที่แตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

  • กลุ่ม A มักแสดงพฤติกรรมแปลกๆ ชอบแยกตัว และมักจะมีภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดหวาดระแวง ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดแยกตัว ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดแปลก มีความเชื่อ ท่าทาง คำพูดที่แปลกๆ
  • กลุ่ม B มักมีพฤติกรรมเจ้าอารมณ์เหมือนแสดงละคร เอาแน่ไม่ได้ และจะมีภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดต่อต้านสังคม ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดเจ้าอารมณ์เรียกร้องความสนใจ ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดหลงตัวเอง
  • กลุ่ม C มักมีความกังวลและหวาดกลัว และมักจะมีภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดหลีกเลี่ยงสังคม ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดพึ่งพาคนอื่น ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพชนิดครอบงำ

ภาวะบุคลิกภาพผิดปกติมีวิธีวินิจฉัยอย่างไร?

การวินิจฉัยว่า มีภาวะบุคลิกภาพผิดปกติจะต้องมีอาการแสดงที่ตรงตามเกณฑ์การวินิจฉัยของตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 5 (DSM-5) นอกจากนี้ ต้องเป็นภาวะพฤติกรรมผิดปกติที่เกิดขึ้นมานาน ส่งผลกระทบในหลายๆ ด้านของการดำรงชีวิต เช่น การทำงาน การอยู่ในสังคม การเรียน และความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ โดยมีอย่างน้อย 2 อาการแสดงที่ผิดปกติ ด้านความคิด อารมณ์ การทำงานร่วมกับคนอื่น การควบคุมความรุนแรง

ภาวะพฤติกรรมผิดปกติต้องมีอาการแสดงชัดเจนและเกิดขึ้นเป็นเวลานาน สามารถตรวจสอบกลับไปยังช่วงวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้นได้ พฤติกรรมเหล่านี้จะไม่ตรงกับความผิดปกติทางจิตอื่นๆ เช่น อาการติดยาเสพติด อาการจากการเจ็บป่วยอื่นๆ

ตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 5 (DSM-5) ได้คงการวินิจฉัยประเภทของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติตามที่ฉบับที่ 4 วินิจฉัยไว้และได้เสนอรูปแบบอื่นๆ เพิ่มขึ้นสำหรับการศึกษาในอนาคต การวินิจฉัยภาวะบุคลิกภาพผิดปกติแบบผสมผสาน ตามอาการ และพยาธิสภาพเฉพาะในแต่ละบุคคล

การวินิจฉัยแยกโรค

ก่อนที่แพทย์จะวินิจฉัยภาวะบุคลิกภาพผิดปกติ ควรต้องคัดกรองอาการร่วมที่คล้ายคลึงกันของโรคหรือภาวะผิดปกติอื่นๆ ออกก่อน ตัวอย่างโรค หรือภาวะผิดปกติที่มักมีอาการคล้ายกันกับอาการของภาวะบุคลิกภาพผิดปกติและควรคัดกรองออก มีดังนี้

  • เสพยาเสพติด (Substance Abuse)
  • โรควิตกกังวล (Anxiety Disorders)
  • ซึมเศร้า (Depression)
  • ภาวะผิดปรกติชนิดหลงลืม (Dissociative Disorders)
  • ภาวะหวาดกลัวสังคม (Social Phobia)
  • ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียด (Post Traumatic Disorder)
  • ภาวะจิตเภท หรือหลอน (Schizophrenia)

Scroll to Top