folic acid

Folic Acid (กรดโฟลิก)

กรดโฟลิก (folic acid) และโฟเลต (folate) คือ วิตามินบีชนิดหนึ่ง (Vitamin B6) ที่สามารถละลายน้ำได้ โฟเลตเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีอยู่ในอาหารต่างๆ โดยกรดโฟลิกคือรูปแบบของวิตามินที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมา

อาหารหลายประเภทเติมด้วยกรดโฟลิก เช่น ซีเรียลแบบเย็น แป้ง ขนมปัง พาสต้า ขนมอบทั้งหลาย คุกกี้ และขนมปังกรอบ อาหารที่มีโฟเลตสูงตามธรรมชาติ เช่น ผักใบเขียวต่างๆ (อย่างเช่นผักโขม บล็อกโคลี และกะหล่ำ) หน่อไม้ฝรั่ง ผลไม้ (อย่างกล้วย เมลอน และเลมอน) ถั่ว ยีสต์ เห็ด เนื้อ (อย่างเช่นตับและไตของวัว) น้ำส้ม และน้ำมะเขือเทศ ทำให้คนส่วนใหญ่ได้รับปริมาณกรดโฟลิกมากเพียงพอโดยไม่ต้องทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

ปริมาณกรดโฟลิกที่นิยมใช้ในไทย คือ folic acid 5 mg วันละเม็ด ซึ่งราคาไม่แพงและปริมาณกรดโฟลิกมากเพียงพอในทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ หญิงตั้งครรภ์ และคนชรา เนื่องจากเป็นวิตามินบีที่ละลายน้ำได้ ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องปริมาณโฟลิกสะสมในร่างกาย แต่หากกินยาอื่นร่วมด้วยหรือมีโรคบางอย่าง ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ก่อนทาน

กรดโฟลิกทำงานอย่างไร

กรดโฟลิกเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายมนุษย์ เป็นสารที่เกี่ยวข้องในการผลิตสารพันธุกรรมที่เรียกว่า DNA และควบคุมการทำงานต่างๆ ของร่างกาย

กรดโฟลิกใช้เพื่อป้องกันและรักษาภาวะขาดโฟเลตในเลือด (folate deficiency) เช่นเดียวกับภาวะแทรกซ้อนต่างๆ อย่างโลหิตจาง (anemia) และภาวะที่กระเพาะไม่สามารถดูดซับสารอาหารได้ตามปกติ อย่างโรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเป็นแผล (ulcerative colitis) โรคตับ ติดสุรา และจากการฟอกไต

ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรืออาจจะตั้งครรภ์ควรรับประทานกรดโฟลิกเพื่อป้องกันการแท้งบุตรและ ภาวะหลอดประสาทไม่ปิด (neural tube defects) ความผิดปกติโดยกำเนิดอย่างภาวะกระดูกสันหลังบกพร่อง (spina bifida) ซึ่งหลังและแผ่นหลังของตัวมีความอ่อน ไม่ปิดลงระหว่างการเติบโต

บางคนรับประทานกรดโฟลิกเพื่อป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ (colon cancer), มะเร็งปากมดลูก (cervical cancer), ภาวะสูญเสียการได้ยินจากอายุ, โรคตา, โรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (age-related macular degeneration (AMD)), ลดสัญญาณของการแก่ชรา, กระดูกพรุน (osteoporosis), กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (restless leg syndrome), ปัญหาการนอนหลับ, ภาวะซึมเศร้า (depression), ปวดประสาท, ปวดกล้ามเนื้อ, AIDS, โรคผิวหนังที่เรียกว่าโรคด่างขาว (vitiligo) และโรคทางพันธุกรรมที่เป็นความผิดปกติทางโครโมโซม Fragile X ที่เรียกว่า Fragile-X syndrome อีกทั้งยังมีการใช้กรดโฟลิกเพื่อลดผลข้างเคียงร้ายแรงจากการรักษาด้วยยา lometrexol และ methotrexate อีกด้วย บางคนใช้กรดโฟลิกทาบนเหงือกโดยตรงเพื่อรักษาการติดเชื้อที่เหงือก

การใช้และประสิทธิภาพของกรดโฟลิก

ภาวะที่กรดโฟลิกจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ภาวะขาดโฟเลต (Folate deficiency) การรับประทานกรดโฟลิกสามารถทำให้อาการจากภาวะขาดโฟเลตดีขึ้นได้จริง

ภาวะที่กรดโฟลิกมักจะมีประสิทธิภาพในการรักษา

  • โรคไตร้ายแรง ประมาณ 85% ของผู้ป่วยโรคไตร้ายแรงจะมีระดับ homocysteine สูงมาก ซึ่งเชื่อมโยงกับโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) การรับประทานกรดโฟลิกจะช่วยลดระดับ homocysteine ของผู้ป่วยโรคไตร้ายแรง อย่างไรก็ตาม การเสริมโภชนาการด้วยกรดโฟลิกอาจไม่ลดความเสี่ยงการเกิดอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ
  • ปริมาณ homocysteine ในเลือดสูง (hyperhomocysteinemia) ระดับ homocysteine เชื่อมโยงกับโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง การรับประทานกรดโฟลิกจะช่วยลดระดับ homocysteine ลงประมาณ 20-30% ในกลุ่มผู้ที่มีระดับ homocysteine ปกติไปจนถึงระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย แนะนำว่าผู้ที่มีระดับ homocysteine สูงกว่า 11 micromoles/L ควรทำการเสริมอาหารด้วยกรดโฟลิกและวิตามินบี12 (Vitamin B12)
  • ความพิการของทารกแรกเกิด (ภาวะหลอดปลายประสาทไม่ปิด (neural tube defects)) การรับประทานกรดโฟลิกระหว่างตั้งครรภ์จะลดความเสี่ยงที่ทารกจะเกิดมาพร้อมภาวะหลอดปลายประสาทไม่ปิด โดยแนะนำว่าสตรีมีครรภ์ควรได้รับกรดโฟลิกที่ 600-800 mcg ต่อวันพร้อมรับประทานอาหารหรือใช้ในรูปของอาหารเสริมเริ่มตั้งแต่ 1 เดือนก่อนตั้งครรภ์และระหว่างตั้งครรภ์ ผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีประวัติเป็นภาวะดังกล่าวจะได้รับคำแนะนำให้รับกรดโฟลิกต่อวันที่ 4,000 mcg

ภาวะที่อาจใช้กรดโฟลิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • การมองเห็นถดถอยเนื่องจากอายุ (ภาวะจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (age-related macular degeneration)) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานกรดโฟลิกร่วมกับวิตามินอื่นๆ ที่ประกอบทั้งวิตามินบี6 (Vitamin B6)  และบี12 จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อมเนื่องจากอายุที่มากขึ้นได้
  • ภาวะซึมเศร้า (Depressionมีงานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิกร่วมกับยาต้านซึมเศร้าอาจช่วยอาการของผู้ป่วยซึมเศร้าได้
  • ความดันโลหิตสูง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานโฟลิกทุกวันเป็นเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์จะลดความดันเลือดของผู้มีปัญหาความดันโลหิตสูงได้ แต่การรับประทานกรดโฟลิกร่วมกับยาไม่อาจช่วยลดความดันเพิ่มเติมไปกว่าการรับประทานยาเพียงอย่างเดียว
  • ปัญหาเหงือกเนื่องจากการใช้ยา phenytoin การทากรดโฟลิกบนเหงือกอาจช่วยป้องกันปัญหาที่เหงือกจากการใช้ phenytoin ได้ อย่างไรก็ตาม การรับประทานกรดโฟลิกเพื่อรักษาปัญหานี้อาจไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น
  • โรคเหงือกระหว่างตั้งครรภ์ การทากรดโฟลิกที่เหงือกอาจช่วยให้อาการของโรคเหงือกที่เกิดตอนตั้งครรภ์ดีขึ้นได้
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Strokeการรับประทานกรดโฟลิกสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศที่ไม่นิยมเสริมกรดโฟลิคในผลิตภัณฑ์จากธัญพืชได้ 10-25% แต่กรดโฟลิกไม่อาจป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้คนส่วนมากที่อาศัยอยู่ในประเทศที่มีการเติมกรดโฟลิกในบรรดาผลิตภัณฑ์จากธัญพืชทั้งหลาย
  • ภาวะสีผิวหนังผิดปกติที่เรียกว่าโรคด่างขาว (vitiligoการรับประทานกรดโฟลิกสามารถช่วยให้อาการของโรคด่างขาวดีขึ้นได้

ภาวะที่กรดโฟลิกอาจไม่สามารถรักษาได้

  • มะเร็งเซลล์เม็ดเลือดขาว (acute lymphoblastic leukemiaการรับประทานโฟเลตระหว่างตั้งครรภ์ไม่ได้ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเซลล์เม็ดเลือดขาวในเด็กได้
  • ภาวะขาดธาตุเหล็ก (Iron deficiencyการรับประทานกรดโฟลิกพร้อมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารธาตุเหล็กอาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันภาวะขาดธาตุเหล็กและโลหิตจางไม่เท่ากับการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารธาตุเหล็กเพียงอย่างเดียว
  • ความทรงจำและทักษะการนึกคิดของผู้สูงอายุ งานวิจัยส่วนมากแสดงให้เห็นว่าการรับประทานกรดโฟลิกไม่อาจป้องกันการเสื่อมถอยของความทรงจำและความสามารถในการคิดของผู้สูงอายุได้
  • ป้องกันการอุดตันซ้ำของหลอดเลือดหลังการผ่าตัดขยาย มีหลักฐานเรื่องประโยชน์ของการรับประทานกรดโฟลิกหลังกระบวนการผ่าตัดขยายหลอดเลือดที่ไม่สอดคล้องซึ่งกันและกันอยู่ แต่การรับประทานกรดโฟลิกร่วมกับวิตามินบี6 และบี12 อาจเข้าไปรบกวนกระบวนการเยียวยาในกรณีที่มีการใช้อุปกรณ์ (ห่วงดาม) สอดเข้าในหลอดเลือดเพื่อดามให้เปิดอยู่ตลอดเวลาได้
  • มะเร็งเต้านม การบริโภคโฟเลตในอาหารอาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้าในสตรีที่รับประทาน methionine, วิตามินบี12 (cyanocobalamin) หรือวิตามินบี6 (pyridoxine) ได้ แต่งานวิจัยนี้ยังคงขาดความสอดคล้องกัน โดยงานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (หรือที่เรียกว่า อาหารเสริม) กรดโฟลิกเพียงอย่างเดียวไม่อาจลดความเสี่ยงต่อมะเร็งชนิดนี้ได้
  • โรคหัวใจ งานวิจัยส่วนมากแสดงให้เห็นว่าการรับประทานกรดโฟลิกเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับวิตามินบี ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือประสบกับอาการจากโรคหัวใจแต่อย่างใด
  • ต้อกระจก (Cataractsงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานกรดโฟลิกร่วมกับวิตามินรวมที่มีวิตามินบี6 และบี12 ไม่ได้ช่วยป้องกันต้อกระจกแต่อย่างใด แต่กลับยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของโอกาสที่ต้องเข้ารับการผ่าต้อออกเสียแทน
  • กลุ่มอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndromeการฉีดกรดโฟลิกทุกวันไม่ส่งผลใด ๆ ต่ออาการจากกลุ่มอาการดังกล่าว
  • ท้องร่วง การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีทั้งกรดโฟลิกและวิตามินบี12 ไม่อาจป้องกันอาการท้องร่วงในเด็กที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition) แต่การรับประทานอาหารเสริมเหล่านี้อาจยิ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้อาการท้องร่วงยาวนานมากขึ้น
  • ป้องกันการล้ม การรับประทานกรดโฟลิกร่วมกับวิตามินบี12 ไม่อาจช่วยป้องกันการล้มของผู้สูงอายุที่กำลังรับประทานวิตามินดี (Vitamin D) ได้
  • การเสียชีวิตของตัวอ่อนและทารกแรกเกิด การรับประทานกรดโฟลิกระหว่างตั้งครรภ์ไม่ได้ลดความเสี่ยงที่ทารกจะตายหลังคลอดหรือก่อนคลอดแต่อย่างใด
  • ได้รับพิษจากยา lometrexol การฉีดกรดโฟลิกทุกวันไม่มีผลใด ๆ กับอาการจากโรคเหนื่อยล้าเรื้อรัง
  • ลดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีกรดโฟลิกและวิตามินบี12 ไม่อาจป้องกันภาวะติดเชื้อในปอดของเด็กที่ขาดสารอาหารได้
  • กระดูกพรุน (osteoporosisสำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคกระดูกพรุน การรับประทานกรดโฟลิกและวิตามินบี12 และอาจจะรับประทานวิตามินบี6 (pyridoxine) ร่วมด้วย ไม่อาจลดความเสี่ยงต่อการกระดูกหัก
  • การออกแรงของผู้สูงอายุ การรับประทานกรดโฟลิกร่วมกับวิตามินบี12 ไม่ได้ช่วยให้ผู้สูงอายุเดินดีขึ้นหรือมีมือที่แข็งแรงขึ้นแต่อย่างใด

ภาวะที่กรดโฟลิกมักจะไม่ได้ผล

  • ภาวะติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (colorectal adenoma) การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกรดโฟลิกไม่ได้ช่วยป้องกันการเกิดติ่งเนื้อภายในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนักได้
  • โรคทางพันธุกรรม Fragile-X syndrome การรับประทานกรดโฟลิกไม่อาจช่วยให้อาการของ fragile-X-syndrome ดีขึ้น
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด การรับประทานกรดโฟลิกไม่ได้ลดความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดของทารก

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้กรดโฟลิกรักษาได้หรือไม่

  • สิว มีหลักฐานเกี่ยวกับการรับประทานอาหารเสริมที่ประกอบด้วยวิตามินบี3 (nicotinamide), azelaic acid, สังกะสี, วิตามินบี6, ทองแดง และกรดโฟลิก (NicAzel, Elorac Inc.) ที่ส่งผลต่อสิวกระอักเสบบนใบหน้าอยู่จำกัดมาก
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s diseaseมีหลักฐานที่กล่าวว่าผู้สูงอายุที่บริโภคกรดโฟลิกมากกว่าปริมาณสารอาหารที่บริโภคได้ในแต่ละวัน (recommended dietary allowance (RDA)) จะมีความเสี่ยงน้อยต่อโรคอัลไซเมอร์อยู่จำกัดมาก
  • ออทิสซึ่ม (Autismมีหลักฐานไม่มากที่กล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิกระหว่างการตั้งครรภ์อาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะออทิสติกในเด็กได้
  • ทาลัสซีเมียแบบบีตา (Beta-thalassemiaคือภาวะผิดปกติของเลือดที่เกิดจากกระบวนการผลิตที่ทำให้มีฮีโมโกลบินน้อย ซึ่งฮีโมโกลบินคือโปรตีนที่ใช้ขนส่งออกซิเจนในเลือด ผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีอาการปวดกระดูกและกล้ามเนื้อจนทำให้มีเรี่ยวแรงน้อย มีหลักฐานน้อยชิ้นที่กล่าวว่า กรณีเด็กที่ป่วยเป็นทาลัสซีเมียประเภทนี้ควรรับประทานกรดโฟลิกหรือรับประทานร่วมกับแอลคาร์นิทีน (L-carnitine) ที่มีองค์ประกอบคล้ายกับกรดอะมิโนจากโปรตีน ซึ่งอาจช่วยลดอาการปวดกระดูกและเพิ่มกำลังกายได้
  • โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorderการรับประทานกรดโฟลิกไม่เพิ่มผลจากยาต้านซึมเศร้า lithium ของผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว อย่างไรก็ตาม การรับประทานโฟเลตร่วมกับยา valproate อาจจะเพิ่มผลจากยาขึ้น
  • มะเร็งปากมดลูก (Cervical cancerมีหลักฐานบางชิ้นที่กล่าวว่ากรเพิ่มปริมาณการบริโภคกรดโฟลิกและโฟเลตจากแหล่งอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารร่วมกับ thiamine, riboflavin และวิตามินบี12 อาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้
  • โรคไตระยะยาว (chronic kidney disease (CKD)การรับประทานกรดโฟลิกอาจช่วยชะลอการสึกกร่อนของไตในผู้ป่วย CKD ได้ แต่หากรับประทานร่วมกับวิตามินบี12 (cyanocobalamin) อาจจะทำให้ไม่ได้รับผลดีข้อนี้ กลับกันอาจทำให้โรคไตที่เป็นอยู่ทรุดลงกว่าเดิมได้
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่มะเร็งทวารหนัก งานวิจัยกล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิกหรือรับประทานโฟเลตในอาหารสามารถลความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือมะเร็งทวารหนักได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีงานวิจัยที่ไม่ได้กล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิกหรือโฟเลตในอาหารจะให้ผลเช่นนี้ อาจเป็นไปได้ว่ากรดโฟลิกจะมีประโยชน์ในการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่มากว่าป้องกันมะเร็งทวารหนัก หรืออาจจะตอบสนองกับมะเร็งลำไส้ใหญ่บางประเภทเท่านั้น
  • เบาหวาน (Diabetesการรับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิกอาจไม่ส่งผลใดๆ ต่อผู้ป่วยเบาหวาน
  • โรคลมชัก (Epilepsyการรับประทานกรดโฟลิกอาจไม่ลดอาการชักของผู้ป่วยโรคนี้ได้
  • มะเร็งหลอดอาหาร (Esophageal cancerงานวิจัยกล่าวว่าการบริโภคโฟเลตในอาหารจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้
  • ปริมาณโฮโมซิสเทอีน (homocysteine) ในเลือดสูงจากการใช้ยา fenofibrate การรับประทานกรดโฟลิกวันเว้นวันอาจลดระดับ homocysteine ในเลือดที่สูงจากการใช้ยา fenofibrate ได้
  • มะเร็งกระเพาะอาหาร งานวิจัยกล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิกจะลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารบางประเภทได้
  • เก๊าท์ (Goutงานวิจัยกล่าวว่าโฟเลตสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคเก๊าท์ได้
  • มะเร็งศีรษะและลำคอ การรับประทานกรดโฟลิกจากอาหารปริมาณมากเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งศีรษะและลำคอที่ลดลง
  • สูญเสียการได้ยิน ระดับโฟเลตที่น้อยลงในเลือดเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่จะสูญเสียการได้ยินอย่างฉับพลันในผู้ใหญ่ มีหลักฐานบางชิ้นที่กล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิกทุกวันนาน 3 ปีจะชะลอการเสื่อมลงของการได้ยินในผู้สูงวัยที่มีระดับโฟเลตต่ำ แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าการรับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิกจะมีประโยชน์เช่นนี้กับกลุ่มผู้ที่มีระดับโฟเลตปกติหรือไม่
  • ภาวะมีบุตรยากของผู้ชาย งานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิกร่วมกับซิงค์ซัลเฟต (Zinc sulfate) ทุกวันสามารถเพิ่มจำนวนสเปิร์มของผู้ชายที่มีปัญหาจำนวนสเปิร์มน้อยได้
  • น้ำหนักแรกเกิดต่ำ การรับประทานกรดโฟลิกระหว่างตั้งครรภ์ไม่ได้ช่วยป้องกันการกำเนิดมาด้วยน้ำหนักต่ำได้ แต่อาจเพิ่มน้ำหนักโดยรวมมาตรฐานของเด็กแรกเกิดได้ อย่างไรก็ตาม มีบางงานวิจัยที่กล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิกก่อนตั้งครรภ์อาจจะช่วยลดความเสี่ยงที่เด็กจะเกิดมาตัวเล็กแม้จะคลอดครบกำหนด กระนั้นความเสี่ยงนี้จะไม่ลดลงในกลุ่มแม่ที่เริ่มรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลังจากเด็กติดแล้ว
  • มะเร็งปอด ไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างระดับโฟลิกที่ต่ำกับผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนมาก
  • มะเร็งผิวหนังชนิดที่เรียกว่าเมลาโนมา (melanomaงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานกรดโฟลิกอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเมลาโนมาได้
  • ช่วยให้ยาสำหรับอาการเจ็บหน้าอกออกฤทธิ์นานขึ้น มีหลักฐานบางชิ้นที่กล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิกไม่ได้ช่วยให้ยาสำหรับอาการเจ็บหน้าอก (nitrates) ออกฤทธิ์นานขึ้นแต่อย่างใด
  • โรคปากแหว่ง (Cleft lipงานวิจัยบางชิ้นกล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิกระหว่างตั้งครรภ์สามารถลดความเสี่ยงที่เด็กจะเป็นโรคปากแหว่งได้ แต่งานวิจัยอื่น ๆ กลับไม่พบประโยชน์ในข้อนี้
  • มะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancerการรับประทานโฟเลตมากกว่า 280 mcg จากอาหารทุกวันเชื่อมโยงกับความเสี่ยงต่อมะเร็งตับอ่อนที่น้อยลง อย่างไรก็ตาม งานวิจัยอื่น ๆ กล่าวว่าการบริโภคโฟเลตไม่ได้เกี่ยวโยงกับความเสี่ยงต่อโรคนีแต่อย่างใด
  • ปวดประสาท (ปลายประสาทอักเสบ (peripheral neuropathyยังคงมีหลักฐานเกี่ยวกับบทบาทของกรดโฟลิกกับอาการปวดปลายประสาทในผู้ป่วยเบาหวานที่ขัดแย้งกันอยู่ บ้างก็กล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิกพร้อมวิตามินบี6 (pyridoxine) และวิตามินบี12 จะช่วยให้อาการปวดประสาทน้อยลง อย่างไรก็ตาม ประสาทกลับไม่ได้ทำงานดีขึ้นแต่อย่างใด
  • มะเร็งลำคอ งานวิจัยน้อยชิ้นที่กล่าวว่ากรดโฟลิกและโฟเลตจากอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอาจสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งลำคอได้
  • ครรภ์เป็นพิษระยะก่อนชัก (Pre-eclampsiaภาวะครรภ์เป็นพิษระยะก่อนชักเริ่มจากภาวะความดันโลหิตและมีโปรตีนในปัสสาวะสูงระหว่างช่วงตั้งครรภ์ โดยงานวิจัยบางชิ้นได้กล่าวว่าการรับประทานอาหารเสริมกรดโฟลิกระหว่างตั้งครรภ์ไม่อาจละความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษได้
  • ภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ มีงานวิจัยบางชิ้นที่กล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิกระหว่างตั้งครรภ์ไม่อาจลดความเสี่ยงต่อความดันโลหิตูสงได้
  • ความผิดปกติที่ทำให้อยากขยับขาข้างหนึ่ง (restless legs syndrome (RLS)การรับประทานกรดโฟลิกอาจช่วยลดอาการของ RLS ได้ โดยนักวิจัยกำลังทำการศึกษาอยู่ว่าภาวะนี้เกิดจากภาวะขาดกรดโฟลิกหรือไม่อยู่
  • จิตเภท (Schizophreniaการรับประทานกรดโฟลิกร่วมกับวิตามินบี12 อาจลดอาการที่ไม่ดีที่เกี่ยวข้องกับจิตเภทได้ แต่เฉพาะกับผู้ป่วยบางรายทีมีพันธุกรรมพิเศษบางตัวเท่านั้น ซึ่งส่วนมากแล้วกรดโฟลิกมักจะไม่ได้ผล
  • โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle-cell diseaseการรับประทานกรดโฟลิกอาจลดระดับ homocysteine ลง อย่างไรก็ตาม ยังไม่แน่ชัดว่าประโยชน์นี้จะส่งผลดีต่อผู้ป่วยเม็ดเลือดแดงรูปเคียวหรือไม่
  • ภาวะติดแอลกอฮอล์ (Alcoholism)
  • โรคตับ
  • ภาวะสุขภาพอื่น

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของกรดโฟลิกเพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของกรดโฟลิก

  • กรดโฟลิกถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ส่วนมากเพื่อบริโภคหรือฉีดเข้าร่างกาย ผู้ใหญ่ส่วนมากจะไม่ประสบกับผลข้างเคียงใดๆ เมื่อบริโภคในปริมาณที่ต่ำกว่า 1,000 mcg ต่อวัน
  • หากรับประทานกรดโฟลิกในปริมาณที่มากกว่าที่กล่าวไปและใช้ในระยะยาวจะนับว่าอาจจะไม่ปลอดภัย โดยกรดโฟลิกปริมาณสูงอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง ผื่นขึ้น ปัญหาการนอนหลับ ฉุนเฉียว สับสน คลื่นไส้ พฤติกรรมเปลี่ยน เกิดปฏิกิริยาบนผิวหนัง ชัก เกิดลมในร่างกาย รู้สึกตื่นเต้น และอื่นๆ
  • มีข้อกังวลว่าการบริโภคกรดโฟลิกมากเกินไปเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงขึ้น โดยบางงานวิจัยได้กล่าวว่าการรับประทานมากไปหรือที่ปริมาณ 800-1,200 mcg อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายในกลุ่มผู้ที่มีปัญหาหัวใจ และยังอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่างๆ อย่างมะเร็งปอดหรือมะเร็งต่อมลูกหมากได้

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

  • สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร กรดโฟลิกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานอย่างเหมาะสมระหว่างการตั้งครรภ์และให้นมบุตร การรับประทานกรดโฟลิกทุกวันที่ 300-400 mcg จะมีขึ้นเพื่อป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารก
  • กระบวนการที่ใช้ขยายหลอดเลือดแดง การใช้กรดโฟลิก วิตามินบี6 และวิตามินบี12 ทางเส้นเลือด (Intravenously (by IV)) หรือด้วยวิธีรับประทานอาจทำให้หลอดเลือดที่ตีบมีอาการแย่ลงได้ โดยผู้ที่ผ่านการรักษานี้มาไม่ควรใช้กรดโฟลิก
  • มะเร็ง เคยมีงานวิจัยกล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิก 800-1,000 mcg ทุกวันจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งขึ้น ดังนั้นจนกว่าจะได้ข้อสรุป ผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นมะเร็งควรเลี่ยงใช้กรดโฟลิกในปริมาณมาก
  • โรคหัวใจ งานวิจัยกล่าวว่าการรับประทานกรดโฟลิกร่วมกับวิตามินบี6 อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจในผู้ที่มีประวัติได้
  • โรคโลหิตจางที่เกิดจากภาวะขาดวิตามินบี12 การรับประทานกรดโฟลิกอาจกระตุ้นให้เกิดโรคโลหิตจางกับกลุ่มผู้ที่ขาดวิตามินบี12 และไม่เข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม
  • ภาวะที่ทำให้ชักผิดปกติ การรับประทานอาหารเสริมอาหารกรดโฟลิกอาจทำให้อาการชักกระตุกทรุดลงในกลุ่มผู้ที่มีความผิดปกติ โดยเฉพาะเมื่อใช้ในปริมาณที่สูงไป

การใช้กรดโฟลิกร่วมกับยาชนิดอื่น

  • Fosphenytoin: ถูกใช้เพื่อควบคุมอาการชัก โดยร่างกายสามารถทำลายและกำจัด Fosphenytoin ได้ ส่วนกรดโฟลิกจะยิ่งทำให้กระบวนการกำจัดยาชนิดนี้เกิดขึ้นเร็วเกินไปจนลดประสิทธิภาพลง
  • Methotrexate: ออกฤทธิ์ด้วยการลดผลกระทบของกรดโฟลิกในเซลล์ร่างกาย การรับประทานเม็ดยากรดโฟลิกร่วมกับ Methotrexate อาจลดประสิทธิภาพของ Methotrexate ลง
  • Phenytoin: ร่างกายสามารถทำลายและกำจัด phenytoin ได้ โดยกรดโฟลิกอาจส่งผลต่อกระบวนการดูดซับของร่างกายลงจนทำให้ยามีประสิทธิภาพน้อยลงและอาจกระตุ้นให้เกิดอาการชักได้
  • Primidone: ใช้รักษาอาการชัก และกรดโฟลิกสามารถทำให้ผู้ใช้บางรายเกิดอาการชักได้ ดังนั้นการใช้ยาร่วมกับกรดโฟลิกอาจลดประสิทธิภาพของ Primidone ในการป้องกันการชักลง
  • Pyrimethamine: ถูกใช้รักษาภาวะติดเชื้อปรสิตต่างๆ ซึ่งกรดโฟลิกสามารถลดประสิทธิภาพในการกำจัดปรสิตของยานี้ลงได้

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ผู้ใหญ่

รับประทาน

  • สำหรับภาวะขาดโฟลิก ปริมาณทั่วไปคือ 250 mcg (ไมโครกรัม) ถึง 1 mg (มิลลิกรัม) ต่อวัน
  • สำหรับป้องกันภาวะหลอดประสาทไม่ปิด กลุ่มผู้หญิงที่สามารถตั้งครรภ์ได้ควรรับประทานกรดโฟลิกที่ 400 mcg ต่อวันจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรืออาหารที่อุดมไปด้วยโฟลิก สำหรับผู้หญิงมีครรภ์ควรรับประทานกรดโฟลิกที่ 600 mcg ต่อวันทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรืออาหารอุดมไปด้วยกรดโฟลิก ผู้หญิงที่มีประวัติเคยประสบกับภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ทารกที่ป่วยเป็นโรคหลอดประสาทไม่ปิด ควรเริ่มรับประทานกรดโฟลิกที่ 4 mg ต่อวันตั้งแต่ 1 เดือนแรกก่อนและหลังคลอด 3 เดือน
  • สำหรับลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่ 400 mcg ต่อวัน
  • สำหรับภาวะ homocysteine ในเลือดสูง
    • 200 mcg ถึง 15 mg ต่อวัน โดยการรับประทานที่ 800 mcg ถึง 1 mg มักจะให้ผลที่ดีที่สุด
    • ผู้ที่เป็นโรคไตระยะสุดท้ายที่มีระดับ homocysteine สูงอาจทำการรักษาได้ยาก และต้องมีการใช้กรดโฟลิกที่ 800 mcg ถึง 40 mg ต่อวัน โดยแผนการบริโภคอื่น ๆ อย่าง 2.5-5 mg สามครั้งต่อสัปดาห์ก็เคยมีการนำมาใช้ การใช้ในปริมาณที่สูงกว่า 15 g ต่อวันนั้นมักจะไม่มีประสิทธิภาพกว่าการใช้ยาในปริมาณน้อย
  • สำหรับเพิ่มการตอบสนองต่อยารักษาซึมเศร้า 200-500 mcg ต่อวัน
  • สำหรับโรคด่างขาว 5 mg 2 ครั้งต่อวัน
  • สำหรับลดความเป็นพิษที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดด้วยยา methotrexate รักษาโรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) หรือโรคสะเก็ดเงิน 1 mg ต่อวันก็เพียงพอ แต่ก็สามารถรับประทานในปริมาณ 5 mg ต่อวันก็ได้
  • สำหรับป้องกันโรคจุดภาพชัดที่จอตาเสื่อม กรดโฟลิก 2.5 mg, วิตามินบี12 (cyanocobalamin) 1 mg, และวิตามินบี6 (pyridoxine) 50 mg ต่อวัน

ทาบนผิวหนัง

  • สำหรับปัญหาเหงือกระหว่างตั้งครรภ์ ใช้น้ำยาบ้วนปากที่ประกอบด้วยกรดโฟลิก 1 นาที 2 ครั้งต่อวัน

ฉีดเข้าร่างกาย

  • สำหรับลดระดับ homocysteine ในผู้ที่เป็นโรคไตระยะสุดท้าย 10 mg หลังการฟอกไตเป็นเวลา 3 ครั้งต่อสัปดาห์

เด็ก

รับประทาน

  • สำหรับปัญหาเหงือกจากการใช้ยา phenytoin (อายุ 6-15 ปี) กรดโฟลิก 500 mcg ทุกวัน

ปริมาณกรดโฟลิกแนะนำ (ต่อวัน)

ปริมาณสารอาหารที่เพียงพอ (adequate intakes (AI))

  • สำหรับทารกอายุ 0-6 เดือน แนะนำ 65 mcg
  • สำหรับอายุ 7-12 เดือน แนะนำ 80 mcg

ปริมาณสารอาหารที่แนะนำในแต่ละวัน (recommended dietary allowances (RDAs)) สำหรับโฟเลตทั้งจากอาหารและกรดโฟเลตจากอาหารเติมกรดโฟเลต

  • เด็กอายุ 1-3 ปี แนะนำ 150 mcg
  • เด็กอายุ 4-8 ปี แนะนำ 200 mcg
  • ผู้ใหญ่อายุมากกว่า 13 ปี แนะนำ 400 mcg
  • ผู้หญิงมีครรภ์ แนะนำ 600 mcg
  • ผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตร แนะนำ 500 mcg

ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่ได้รับในแต่ละวัน (The tolerable upper intake levels (UL)) ของโฟเลต

  • สำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี แนะนำ 300 mcg
  • สำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี แนะนำ 400 mcg
  • สำหรับเด็กอายุ 9-13 ปี แนะนำ 600 mcg
  • สำหรับวัยรุ่นอายุ 14-18 ปี แนะนำ 800 mcg
  • สำหรับทุกคนที่อายุมากกว่า 18 ปี แนะนำ 1 mg

Scroll to Top