น้ำ คือส่วนประกอบหลักของร่างกาย โดยมีประมาณ 60-70% ทั้งในเลือดหรือภายในเซลล์ต่าง ๆ เลยทีเดียว
น้ำ ทำหน้าที่สำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการกำจัดสารพิษ รวมถึงของเสียออกจากร่างกาย นำส่งอาหารและออกซิเจนให้กับเซลล์ รักษาความชุ่นชื้นของเนื้อเยื่อกับอวัยวะ และคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย
ในแต่ละวัน ร่างกายจะขับของเสียต่าง ๆ ออกมา ในรูปแบบของเหงื่อ ปัสสาวะ หรืออุจจาระ ทำให้เกิดการสูญเสียน้ำในร่างกาย เราจึงต้องดื่มน้ำเพื่อชดเชย และต้องให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายด้วย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ
โปรแกรมคํานวณการดื่มน้ำต่อวัน
หมายเหตุ: 1,000 มิลลิลิตร เท่ากับ น้ำ 1 ลิตร
ควรดื่มน้ำวันละกี่ลิตร
หัวใจในการดื่มน้ำเพื่อสุขภาพที่ดี คือการดื่มน้ำให้เหมาะกับน้ำหนักตัว
ถ้าไม่ต้องการคำนวณ และน้ำหนักตัวอยู่ในระดับมาตรฐาน แนะนำให้ดื่มวันละ 2 ลิตร
สูตรการคำนวณน้ำที่ควรดื่มต่อวัน เป็นสูตรมาตรฐานที่ทางการแพทย์นิยมใช้วัดปริมาณการดื่มน้ำคร่าว ๆ ของแต่ละบุคคล เพื่อวัดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับไต โรคนิ่ว ที่มักมีสาเหตุจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอมาเป็นเวลานาน
- ปริมาณน้ำขั้นต่ำที่ควรดื่ม (ลิตร) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) X 0.03
- ปริมาณน้ำที่ไม่ควรดื่มเกิน (ลิตร) = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) X 0.035
อย่างไรก็ตาม นอกจากน้ำหนักตัวที่เป็นตัวแปรหลักแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ มาเกี่ยวข้องด้วย เช่น อายุ การออกกำลังกาย สภาพอากาศ รวมไปถึงอาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ
ที่สำคัญ อย่าฝืนดื่มน้ำในแต่ละวันจนร่างกายรับไม่ไหว เพราะอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ เกณฑ์การดื่มน้ำเป็นค่าโดยเฉลี่ยเท่านั้น
หากรู้สึกว่าตัวเองดื่มน้ำได้น้อยมาก หรือดื่มเยอะแล้วเกิดอาการผิดปกติ เช่น อาเจียน ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาหาสาเหตุ
น้ำที่ควรดื่ม คือ น้ำเปล่า
น้ำที่ควรดื่ม ควรเป็นน้ำธรรมดา ซึ่งก็คือ “น้ำเปล่า” เท่านั้น จะเย็นหรือไม่เย็นก็ไม่เป็นไร และไม่จำเป็นต้องดื่มทีเดียวหลาย ๆ แก้วติดกัน แต่ต้องเฉลี่ยดื่มน้ำให้ได้ตลอดทั้งวันจึงจะดีที่สุด
การดื่มน้ำประเภทอื่น ๆ ถึงจะเป็นของเหลวเหมือนกัน แต่ส่วนผสมจะทำให้ร่างกายได้น้ำในปริมาณที่ลดลง
เช่น หลายคนที่นิยมดื่มชาเขียวไม่มีน้ำตาล เคยมีรายงานว่า มีผู้ป่วยบางรายที่ดื่มแต่ชาเขียวจนเป็นโรคไต เพราะร่างกายขาดน้ำเปล่า หรืออย่างบางพื้นที่ที่คนชอบดื่มโค้กกันเป็นกิจวัตร ก็จะทำให้ร่างกายรับแต่น้ำตาล
ดังนั้น การดื่มน้ำเปล่า จึงเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ
ในช่วงแรก อาจต้องปัสสาวะบ่อย เนื่องจากยังไม่คุ้นชิน แต่เมื่อปรับตัวได้ ร่างกายก็จะค่อย ๆ กลับมาเป็นปกติ
หากดื่มน้ำได้เกินปริมาณมาตรฐานจะดีมาก แต่หากดื่มน้อยไป หรือแทบไม่ดื่มเลยต่อวัน อาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะได้ นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อระบบอื่น ๆ ของร่างกายด้วย เช่น ผิวแห้ง อ่อนเพลีย หรือท้องผูก
ร่างกายของคนเรามีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ถึง 75% เราจึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน เพราะการดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น หัวใจทำงานปกติ และระบบถ่ายของเสียทำงานได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สุขภาพแข็งแรง
โปรแกรมคำนวณแนะนำ
- โปรแกรมคำนวณ BMI
- โปรแกรมคำนวณ BMR
- โปรแกรมคำนวณ TDEE
- โปรแกรมคำนวณ Body Fat
- โปรแกรมคำนวณวันตกไข่
- โปรแกรมคำนวณอายุ
- โปรแกรมคำนวณเปอร์เซ็นต์
แหล่งข้อมูล
- How Much Water Should You Drink In a Day?. Health.com. (https://www.health.com/mind-body/how-much-water-should-i-drink-a-day)
- How much water should I drink each day?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/306638)
- How Much Water Should You Drink Every Day?. WebMD. (https://www.webmd.com/diet/how-much-water-to-drink#1)