จะเป็นอย่างไร? หากฮอร์โมนไม่สมดุล


สมดุลฮอร์โมน-ฮอร์โมน-ผู้ชาย-ผู้หญิง

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ฮอร์โมนทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเซลล์และควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ด้วยการเดินทางไปตามกระแสเลือดเพื่อไปยังอวัยวะเป้าหมาย
  • หากไม่มีฮอร์โมน เซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะบางอย่างอาจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เช่น นอนไม่หลับ มีความเครียดสูง หิวบ่อย สิวเยอะ หน้ามัน
  • ยิ่งอายุมากขึ้นระดับฮอร์โมนก็จะยิ่งลดลงตามลำดับ รวมทั้งการได้รับปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น การทำงานหนัก การรับมลพิษ ก็สามารถให้ระดับฮอร์โมนลดลงได้เช่นกัน นั่นทำให้ระดับฮอร์โมนไม่สมดุลและเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา
  • เพียงฮอร์โมนไม่สมดุล 1-2 ชนิดก็ก่อให้เกิดปัญหาได้แล้ว ยิ่งหากฮอร์โมนเสียสมดุลหลายๆ ชนิดและเสียสมดุลเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่ได้รับการแก้ไข ฟื้นฟู จะส่งผลให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตถดถอยลงเรื่อยๆ บางครั้งอาจนำไปสู่โรคร้ายที่คุณคาดไม่ถึง
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจระดับฮอร์โมน หรือแอดไลน์ @hdcoth

“ฮอร์โมน” เป็นสารเคมีในร่างกายซึ่งพบในคนทุกเพศทุกวัย ฮอร์โมนมีหลายกลุ่ม หลายชนิด ซึ่งแต่ละกลุ่มก็มีบทบาทความสำคัญแตกต่างกันไป

อาจกล่าวได้ว่า ร่างกายจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้หรือไม่นั้น จิตใจจะเบิกบาน ไม่หดหู่ หรือเครียด นั้น ส่วนหนึ่งก็มาจาก “ความสมดุลของฮอร์โมนภายในร่างกาย” ด้วย ฮอร์โมนน้อยเกินไปก็ไม่ดี มากเกินไปก็ไม่ได้ ต้องอยู่ในระดับสมดุลจึงจะดีที่สุด

HDmall.co.th จะพาไปท่องโลกของฮอร์โมน รู้ลึกถึงบทบาทความสำคัญของฮอร์โมน หากฮอร์โมนไม่สมดุลจะเกิดอะไรขึ้นกับร่างกายและจิตใจบ้าง

ฮอร์โมนคืออะไร? สำคัญอย่างไรต่อร่างกาย?

ฮอร์โมน (Hormone) คือ สารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นจากส่วนต่างๆ ได้แก่

  • ต่อมไร้ท่อ (endrocrine gland) ซึ่งเป็นแหล่งผลิตฮอร์โมนที่ใหญ่ที่สุด
  • เนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย (tissue) เช่น เนื้อเยื่อชั้นในของกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กส่วนต้น
  • เซลล์ประสาท (neuron)เช่น เซลล์ประสาทในสมองส่วนไฮโพทาลามัส

ฮอร์โมนทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเซลล์และควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ด้วยการเดินทางไปตามกระแสเลือดเพื่อไปยังอวัยวะเป้าหมาย

ดังนั้นหากไม่มีฮอร์โมน เซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะบางอย่างอาจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เช่น นอนไม่หลับ มีความเครียดสูง หิวบ่อย สิวเยอะ หน้ามัน

ประเภทของฮอร์โมน แบ่งได้หลายอย่าง เช่น

  • แบ่งตามสารตั้งต้น หรือองค์ประกอบทางเคมีที่ใช้ในการสร้างฮอร์โมน ได้แก่
    -ฮอร์โมนประเภทโปรตีน (Peptide Hormone) เช่น โกรทฮอร์โมน
    -ฮอร์โมนประเภทสเตลอยด์ (Steriod Hormone) เช่น ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนคอร์ติซอล
    -ฮอร์โมนประเภทเอมีน (Amine Hormone) เช่น ฮอร์โมนไทรอกซิน ฮอร์โมนซีโรโทนิน
  • แบ่งตามการทำงานของฮอร์โมน ได้แก่
    -ฮอร์โมนประเภทเผาผลาญ เช่น ฮอร์โมนอินซูลิน ฮอร์โมนอดิโพรเนคติน ฮอร์โมนไทรอยด์
    -ฮอร์โมนประเภทสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น ฮอร์โมนไทโมซิน
    -ฮอร์โมนเพศ เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนโปรเจสโตรโรน

อย่างไรก็ตาม ระดับของฮอร์โมนแต่ละชนิดจะแตกต่างไปในแต่ละช่วงวัย สำหรับผู้หญิง ช่วงอายุ 20-25 ปี ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศได้มากที่สุด ส่วนผู้ชาย ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเพศได้มากที่สุดช่วงอายุ 25 ปี

ยิ่งอายุมากขึ้นระดับฮอร์โมนก็จะยิ่งลดลงตามลำดับ เช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายที่เสื่อมลง รวมทั้งการได้รับปัจจัยภายนอกต่างๆ เช่น การทำงานหนัก การรับมลพิษ ก็สามารถให้ระดับฮอร์โมนลดลงได้เช่นกัน

นั่นทำให้ระดับฮอร์โมนไม่สมดุลและเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา

ฮอร์โมนสำคัญที่ควรรู้จักมีอะไรบ้าง?

ฮอร์โมนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อร่างกาย ซึ่งหากมีระดับไม่สมดุลจะส่งผลต่อการทำงานของร่างกายได้หลายอย่าง

ตัวอย่างฮอร์โมนที่น่าสนใจได้แก่

  • ฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid Hormone) ทำหน้าที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของกระดูก สมอง และระบบประสาท การเผาผลาญพลังงาน หากภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำจะเรียกว่า “ไฮโปไทรอยด์” ทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญพลังงานได้ช้า ทำให้น้ำหนักขึ้นง่าย และรวดเร็ว ขี้หนาว
    แต่หากเป็นภาวะฮอร์โมนไทรอยด์สูงจะเรียกว่า “ไฮเปอร์ไทรอยด์ หรือไทรอยด์เป็นพิษ” ทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญพลังงานรวดเร็ว ทำให้น้ำหนักลดลงรวดเร็ว ขี้ร้อน
  • โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ทำหน้าที่ในการช่วยเสริมสร้างร่างกายให้เจริญเติบโตสมวัย ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ซ่อมแซมเนื้อเยื่อและส่วนที่สึกหรอ ช่วยในการทำงานของสมอง
    ฮอร์โมนชนิดนี้จะมีระดับสูงสุดในช่วงวัยเด็ก-วัยรุ่น และค่อยๆ ลดระดับลงในวัยผู้ใหญ่
  • ฮอร์โมนเพศ แบ่งเป็นฮอร์โมนเพศชาย ได้แก่ เทสโทสเทอโรน (Testosterone Hormone) และฮอร์โมนเพศหญิงได้แก่ เอสโตรเจน (Estrogen Hormone) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone Hormone)
    ฮอร์โมนเหล่านี้ทำหน้าส่งเสริมลักษณะประจำเพศนั้นๆ ให้สมบูรณ์ เช่น สะโพกผาย มีเต้านม หนวดเครา ขน เสียงแตก รวมถึงส่งเสริมการเจริญพันธุ์ตามธรรมชาติ รักษาความหนาแน่นของมวลกระดูก
  • ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol Hormone)ฮอร์โมนความเครียด ร่างกายจะหลั่งออกมาทุกเช้าเพื่อให้สดชื่น มีพลังงาน และจะลดระดับลงเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือด รวมถึงระดับความดันโลหิต
  • ฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenaline Hormone) ช่วยกระตุ้นให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยให้ร่างกายตื่นตัวตลอดเวลาเพื่อให้พร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน
  • ฮอร์โมน DHEA นอกจากจะเป็นฮอร์โมนตั้งต้นของฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย แล้วยังเป็นฮอร์โมนต้านความเครียด ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ และชะลอความเสื่อมของร่างกาย

หากฮอร์โมนไม่สมดุลจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ฮอร์โมนมีหลายประเภท หลายชนิด หลายบทบาทหน้าที่ เช่น เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
ช่วยระบบย่อยอาหาร ช่วยกระบวนการเผาผลาญ เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน เสริมสร้างลักษณะประจำเพศ ควบคุมการนอนหลับ 

ดังนั้นหากระดับฮอร์โมนไม่สมดุลย่อมเกิดปัญหาตามมามากมาย ที่สำคัญ ได้แก่

  • ผิวพรรณแห้งกร้าน เล็บเปราะ ผมร่วง
  • ดูแก่กว่าวัย
  • สิวเพิ่มมากขึ้น
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • นอนไม่ค่อยหลับ นอนหลับยาก นอนหลับไม่สนิท
  • เข้าห้องกลางดึกบ่อยๆ
  • อารมณ์แปรปรวน
  • หงุดหงิดง่าย
  • มีความเครียดสูง
  • หลงๆ ลืมๆ ความจำไม่ดี
  • หิวบ่อย กินจุ
  • เหนื่อยและอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น
  • ความต้องการทางเพศลดลง

เชื่อหรือไม่ว่า เพียงฮอร์โมนไม่สมดุล 1-2 ชนิดก็ก่อให้เกิดปัญหาได้แล้ว ยิ่งหากฮอร์โมนเสียสมดุลหลายๆ ชนิดและเสียสมดุลเป็นระยะเวลานานๆ โดยไม่ได้รับการแก้ไข ฟื้นฟู จะส่งผลให้สุขภาพกายและสุขภาพจิตถดถอยลงเรื่อย

บางครั้งอาจนำไปสู่โรคร้ายที่คุณคาดไม่ถึง เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือด

ใครบ้างที่ควรตรวจสมดุลฮอร์โมน?

แน่นอนว่า ไม่จำเป็นต้องตรวจสมดุลฮอร์โมนทุกคน แต่แนะนำสำหรับผู้รักสุขภาพ และแนะนำอย่างยิ่งสำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพในหัวข้อที่กล่าวมา รวมทั้ง

  • ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทอง
  • ผู้มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน อ้วนลงพุง
  • ผู้ที่มีน้ำหนักน้อยไม่ถึงเกณฑ์
  • ผู้เป็นสิวเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีร่างกายมีภาวะผิดปกติ
  • ผู้เป็นโรคเรื้อรัง เช่น ไมเกรน
  • ผู้ที่ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสมลพิษจากสิ่งแวดล้อม
  • ผู้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
  • ผู้ที่รับประทานอาหารไม่ถูกสัดส่วนทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารหรือพร่องวิตามิน
  • ผู้ที่ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม

ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การรับคำแนะนำ การวางแผนการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป เช่น การใช้ฮอร์โมนบำบัด การรับวิตามินทดแท

รวมทั้งการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสม เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อนให้เพียงพอ ร่างกายและจิตใจจะได้กลับมาสดใสสมบูรณ์อีกครั้ง

หากสนใจเข้ารับการตรวจระดับฮอร์โมนสามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจตรวจระดับฮอร์โมน ได้ที่นี่เลย หรือติดตามข่าวสารวัคซีนโควิดในไทยที่ไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Corinne O'Keefe Osborn, Everything You Should Know About Hormonal Imbalance (https://www.healthline.com/health/hormonal-imbalance), 10 June 2021.
  • มหาวิทยาลัยมหิดล, สำรวจโลกฮอร์โมน (https://il.mahidol.ac.th/e-media/hormone/chapter1/chapter1.htm), 10 มิถุนายน 2564.
  • Everlywell, How to check if you have a hormonal imbalance (https://www.everlywell.com/blog/womens-health/how-to-check-if-you-have-a-hormonal-imbalance/), 10 June 2021.
  • Jennifer Huizen, What to know about hormonal imbalances (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321486), 10 June 2021.
@‌hdcoth line chat