วิตามิน D เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันและถูกเก็บไว้ในชั้นเนื้อเยื่อไขมัน อาจเรียกกันว่า “วิตามินแสงแดด” เพราะร่างกายสามารถสร้างวิตามินดีด้วยตัวเองจากการสัมผัสแสงแดด รวมทั้งอาจได้จากการรับประทานอาหารบางชนิด การใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมวิตามินดี
วิตามิน D ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างกระดูก นอกจากนี้ยังช่วยเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ หัวใจ ปอด และสมอง รวมทั้งทำหน้าที่อีกหลายอย่าง
อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัวว่า ขาดวิตามินดี ทำให้มีโอกาสเกิดความผิดปกติต่างๆ ตามมาได้
สารบัญ
- วิตามิน D
- ใครบ้างที่ควรเสริมวิตามิน D
- วิตามิน D และวิตามิน D3
- ภาวะขาดวิตามิน D
- คำเตือนสำหรับวิตามิน D
- ภาวะวิตามิน D เป็นพิษ
- วิตามิน D และภาวะซึมเศร้า
- วิตามิน D และการลดน้ำหนัก
- การตั้งครรภ์และวิตามิน D
- วิตามิน D และผลข้างเคียง
- ปฏิกิริยากับยาอื่นของวิตามิน D
- ขนาดยารักษาของวิตามิน D
- คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิตามิน D
วิตามิน D
วิตามิน D เป็นสิ่งสำคัญในร่างกายตามอ้างอิงของสำนักงานสาธารณสุขด้านอาหารเสริม (THE NATIONAL INSTITUTES OF HEALTH OFFICE OF DIETARY SUPPLEMENTS (NIHODS)) ดังนี้
- วิตามิน Dช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียม ทำให้สามารถรักษากระดูกให้แข็งแรง
- วิตามิน D ยังเป็นสิ่งจำเป็นของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของเส้นประสาทต้องการวิตามิน D เป็นสื่อระหว่างสมองและร่างกาย
- ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต้องการวิตามิน D ที่จะต่อสู้เชื้อแบคทีเรียและไวรัส และวิตามิน D พบได้ในเซลล์ทั่วไปในร่างกาย
วิตามิน D จะรับเข้าสู่ร่างกายได้ 3 วิธี ได้แก่
- ผ่านทางผิวหนัง (แสงแดดเป็นตัวช่วย)
- การรับประทานอาหาร เช่น ไข่แดง ปลาทะเล น้ำมันตับปลา ตับ นม ซีเรียลเติมวิตามิน D
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามิน D
วิตามิน D มีความสัมพันธ์กับภาวะโรคหลายชนิด เช่น โรคเบาหวาน ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบ multiple sclerosis) โรคมะเร็งบางชนิด โรคกระดูกผิดปกติ ความดันโลหิตสูง
ใครบ้างที่ควรเสริมวิตามิน D
- ผู้สูงอายุ
- เด็กทารกที่กินนมแม่
- คนผิวสีเข้ม
- คนที่มีภาวะโรคบางอย่าง เช่น โรคตับ โรคปอดเรื้อรัง ผู้มีอาการลำไส้อักเสบ (Crohn’s Disease)
- คนอ้วน
- คนที่ได้รับการผ่าตัดบายพาสกระเพาะอาหาร
วิตามิน D และวิตามิน D3
วิตามิน D ในรูปแบบอาหารเสริมมีดังนี้:
- วิตามิน D3 (cholecalciferol) เป็นรูปแบบธรรมชาติของวิตามิน D ที่ร่างกายสร้างจากแสงแดด ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมักทำจากไขมันจากขนลูกแกะ
- วิตามิน D2 (ergocalciferol) ไม่ได้สร้างจากร่างกายคนตามธรรมชาติ แต่มาจากเชื้อราที่โดนฉายรังสี
อาหารเสริมอาจมีวิตามิน D3, D2 หรือทั้งสองอย่าง ผู้เชี่ยวชาญส่วนมากนิยมวิตามิน D3 มากกว่า D2 เพราะเชื่อว่า มีหลักฐานแสดงประโยชน์ชัดเจน แต่มีการศึกษาพบว่า วิตามิน D2 ก็มีคุณสมบัติที่ใช้ได้เช่นกัน
ภาวะขาดวิตามิน D
ภาวะขาดวิตามินดีเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่ได้รับวิตามินดีเพียงพอ ภาวะที่มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินดีคือ มีผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี เป็นโรคอ้วน หรือมีผิวคล้ำ
การขาดวิตามิน D รุนแรงอาจนำไปสู่การเกิดโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) (ภาวะที่กระดูกอ่อนแอและเปราะบางในผู้ใหญ่) หรือโรคกระดูกอ่อน (rickets) (เป็นภาวะที่กระดูกอ่อนตัวและอ่อนแอในเด็ก)
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการขาดวิตามินดีอาจเชื่อมโยงกับเงื่อนไขอื่นๆ รวมทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหอบหืด ความจำเสื่อม ภาวะซึมเศร้า และโรคภูมิต้านทานบางอย่างผิดปกติ
ทั้งนี้การทดสอบภาวะขาดวิตามิน D ทำได้โดยการตรวจเลือด
คำเตือนสำหรับวิตามิน D
วิตามิน D อาจทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนังได้ ควรแจ้งแพทย์หากมีอาการแพ้ใด ๆ ก่อนที่จะรับประทานอาหารเสริมตัวนี้ นอกจากนี้วิตามินดียังอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ ดังนั้นหากเป็นโรคเบาหวาน หรือเริ่มมีภาวะเบาหวาน ไม่ควรรับประทานนวิตามินดี
ควรแจ้งแพทย์ถ้าคุณมี หรือเคยมีภาวะโรคดังต่อไปนี้:
- ความดันโลหิตสูง หรือต่ำ
- ปัญหาไตและนิ่วในไต
- ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
- โรคหัวใจหรือโรคหลอดเลือดอื่น ๆ
- ความผิดปกติของปอด
- ปัญหาต่อมไทรอยด์
- โรคตับ
- อาการปวดศีรษะบ่อย
- ปัญหากระเพาะอาหาร
- ความผิดปกติของผิวหนัง
- ความผิดปกติของกล้ามเนื้อและกระดูก
ภาวะวิตามิน D เป็นพิษ
นับว่าเป็นเรื่องผิดปกติ ปริมาณที่มากเกินไปของวิตามิน D ในร่างกาย สามารถก่อให้เกิดพิษได้ ภาวะนี้มักเกิดขึ้นถ้ารับประทานวิตามิน D 40,000 หน่วยสากล (IU) หรือมากกว่า/วัน เป็นเวลาหลายเดือน และสามารถเกิดขึ้นหลังจากรับประทานวิตามิน D ในปริมาณมากเพียงครั้งเดียว
ภาวะวิตามิน D เป็นพิษอาจนำไปสู่ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (hypercalcemia) ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมา เช่น ภาวะไตวาย หัวใจเต้นผิดปกติและอาการโคม่า
โดยปกติคนจะไม่เกิดภาวะวิตามิน D เป็นพิษจากการตากแดดมากไป หรือจากการรับประทานอาหารที่มีวิตามิน D มากไป
วิตามิน D และภาวะซึมเศร้า
มีการศึกษาทางคลินิกจำนวนมากแสดงความเชื่อมโยงระหว่างระดับของวิตามิน D ต่ำในเลือดและอาการของภาวะซึมเศร้า แต่การศึกษาอื่น ๆ ได้แสดงให้เห็นผลลัพธ์ที่ผสมผสาน ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการเชื่อมโยงที่เป็นไปได้ระหว่างภาวะซึมเศร้าและวิตามิน D
วิตามิน D และการลดน้ำหนัก
มีงานวิจัยแสดงให้เห็นถึงการเสริมวิตามิน D อาจช่วยในการลดน้ำหนัก การศึกษาล่าสุดจากมหาวิทยาลัยมิลาน ประเทศอิตาลี ได้ติดตามผู้ที่มีน้ำหนักเกินและมีโรคอ้วน ซึ่งรับประทานอาหารทีมีแคลอรี่ต่ำ ผู้เข้าร่วมวิจัยที่รับประทานอาหารอาหารเสริมวิตามิน D จะมีน้ำหนักและรอบเอวที่ลดลงมากกว่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับประทานอาหารอาหารเสริมวิตามิน D และรับประทานอาหารอาหารแหล่งอื่น ๆ
มีอาหารจากธรรมชาติเพียงไม่กี่ชนิดที่มีส่วนประกอบของวิตามิน D ได้แก่ ปลาที่มีไขมันมาก เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาทู เนื้อวัว ชีส ไข่แดง เห็ด
อาหารอื่น ๆ ที่ “เสริม” วิตามิน D ซึ่งหมายความว่า จะมีการเพิ่มวิตามิน D ในอาหาร เช่น นม อาหารเช้าซีเรียล น้ำส้ม โยเกิร์ต นมถั่วเหลือง
การตั้งครรภ์และวิตามิน D
หญิงตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงของการพัฒนาไปสู่ภาวะขาดวิตามิน D มีงานวิจัยแสดงว่า การใช้วิตามิน D (4,000 IU) ที่สูงขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์จะลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนบางอย่างได้ เช่น โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes) ภาวะคลอดก่อนกำหนด
ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้วิตามิน Dเสริมเพิ่มเติมในภาวะต่อไปนี้
- กำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์
- ทารกที่กินนมแม่อาจต้องเสริมวิตามิน D ด้วย
วิตามิน D และผลข้างเคียง
แจ้งให้แพทย์ทราบหากพบผลข้างเคียงดังต่อไปนี้
- โรคนิ่วในไต
- สับสน หรือทรงตัวไม่ได้
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ปวดกระดูก
- น้ำหนักลด หรือเบื่ออาหาร
- กระหายน้ำ
- ปัสสาวะบ่อย
- คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก
- อ่อนเพลีย
ปฏิกิริยากับยาอื่นของวิตามิน D
แจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยา อาหารเสริม สมุนไพร หรือสิ่งที่รับประทานอาหารประจำก่อนรับประทานอาหารวิตามิน D โดยเฉพาะ:
- Corticosteroids เช่น เพรดนิโซโลน (prednisone)
- ยาลดน้ำหนัก เช่น Alli (orlistat)
- ยารักษาเบาหวาน (Diabetes medicines)
- ยาลดความดัน (Blood pressure drugs)
- ยาลดไขมันในเลือด Questran, LoCholest, or Prevalite (cholestyramine)
- ยากันชัก (Seizure medicines เช่น phenobarbital และ Dilantin (phenytoin)
- แคลเซียม (Calcium supplements)
- ยาลดกรด (Antacids)
ขนาดยารักษาของวิตามิน D
วิตามิน D มีทั้งรูปแบบยารับประทานอาหารและยาฉีด ระดับยาที่รับประทานอาหารขึ้นอยู่กับอายุ เพศ น้ำหนัก และปัจจัยอื่น ๆ ตามคำแนะนำต่อวัน (The Recommend Dietary Allowance (RDA)) ดังนี้
- 600 IU สำหรับเด็กและผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า 70 ปี
- 800 IU สำหรับผู้ใหญ่อายุมากกว่า 70 ปี
- 400 IU สำหรับทารก
แพทย์จะกำหนดปริมาณการรับประทานวิตามิน D การรับประทานอาหารที่เหมาะสม และการตากแดด 10-15 นาที 3 ครั้ง/สัปดาห์ ในช่วงเวลาที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อผิวหนัง เพราะจะช่วยให้คุณได้รับวิตามิน D เพียงพอโดยไม่ต้องรับประทานวิตามินดีเสริม
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิตามิน D
คำถาม: แพทย์สั่งให้กินวิตามิน D 500000 IU /สัปดาห์ ฉันกินผิดคือ 2 เม็ดพร้อมกัน ควรทำอย่างไรดี มีอะไรควรกังวลไหม ?
คำตอบ: ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร เนื่องจากปริมาณของวิตามิน D ที่มากเกินอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูก อ่อนเพลีย น้ำหนักลด อาการที่รุนแรงคือ เพิ่มระดับแคลเซียมในเลือด ทำให้เกิดภาวะสับสน และจังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
คำถาม: ระดับวิตามิน D ที่มากเกินไปคือเท่าไร ?
คำตอบ: ความจำเป็นในการเสริมวิตามิน D จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมทั้งอาหารที่กิน การดำรงชีวิต ยาที่กินทั้งอดีตและปัจจุบัน และปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคน ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนกินยา OTC วิตามิน หรืออาหารเสริม
คำถาม: สูตินรีแพทย์สั่งให้รับประทานวิตามิน D 50,000 IU สัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 8 สัปดาห์ เป็นยาที่ปลอดภัยหรือไม่ ?
คำตอบ: ผู้ป่วยมักสอบถามเกี่ยวกับระดับวิตามินที่เหมาะสม วิตามิน D 50,000 IU เป็นระดับยาตามใบสั่งแพทย์ของวิตามิน D ตามอ้างอิงของกองอาหารและยา สหรัฐอเมริกา (FDA) เป็นระดับยาที่ได้รับการอนุมัติในการรักษาภาวะโรคบางอย่าง
ระดับอาหารเสริมและวิตามิน D สำหรับผู้ป่วยแต่ละคนจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการรวมทั้งอาหารที่รับประทาน การดำรงชีวิต ยาที่รับประทานทั้งอดีตและปัจจุบัน และปัจจัยเสี่ยงของแต่ละคน ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งก่อนรับประทานยา OTC วิตามิน หรืออาหารเสริม
คำถาม: อะไรคืออาการบางส่วนของภาวะขาดวิตามิน D ?
คำตอบ: อาการของภาวะขาดวิตามิน D จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดและปัจจัยอื่นๆ เช่น กระดูกหัก
บางคนอาจไม่มีอาการของภาวะขาดวิตามิน D จนกว่าภาวะแทรกซ้อนจะปรากฏขึ้นและอาการอาจจะไม่รุนแรง อาการของภาวะขาดวิตามิน D เช่น ปวดกระดูกท่าก้ม (bone pain stooped posture) กล้ามเนื้อเป็นตะคริวและรู้สึกเสียวแปลบ ความสูงลดลง ผิวซีดมาก
ภาวะแทรกซ้อนของการขาดวิตามิน D อาจรวมถึงโรคกระดูกอ่อน (osteomalacia) และโรคกระดูกพรุน (osteoporosis) อาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้รวมถึงความผิดปกติของกระดูกและกระดูกหัก
และยังมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นไปได้อื่นๆ หรือโรคที่อาจมีการเชื่อมโยงกับภาวะขาดวิตามิน D รวมถึงความดันโลหิตสูง ซึมเศร้า เส้นโลหิตตีบ โรคไขข้อ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
อาการบ่งชี้ช่วงแรกของภาวะขาดวิตามิน D ได้แก่ เหงื่อออก กระสับกระส่าย หงุดหงิด
ในภาวะขาดเรื้อรังก่อให้เกิดการผิดรูปของกระดูกจำนวนมากเนื่องจากกระดูกอ่อนตัวลง ได้แก่
- ขาโก่ง (bowlegs)
- ขาเป็ด (knock-knees)
- กระดูกซี่โครงเป็นปุ่มเรียงแถวที่ costochondral junction (rachitic rosary)
- การขยายตัวของข้อมือ
- Pigeon chest คือทรวงอกที่กระดูก sternum โป่งออกทำให้ AP diameter เพิ่มขึ้น
- กะโหลกศีรษะอ่อนหรือยุบตัว (softening of the skull)
- การปิดของกระหม่อมช้า (delayed closing of the fontanels)
- หน้าผากปูด (bulging of the forehead)
จะเห็นได้ว่า แม้วิตามินดีจะมีประโยชน์มากมายต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย แต่ก็ควรรับประทาน หรือได้รับวิตามินดีให้เพียงพอต่อร่างกาย ไม่มากเกินไปเพราะอาจเป็นโทษได้
ส่วนผู้ที่มีแนวโน้มว่า อาจมีความผิดปกติจากการขาดวิตามินดี มีโรคร่วม หรือมีภาวะทางสุขภาพบางอย่าง ก็ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาวิธีเสริมวิตามินเข้าสู่่ร่างกายอย่างเหมาะสมและปลอดภัย