การตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน


ตรวจกระดูก-ตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก-ภาพเอกซเรย์กระดูก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูก หรือความแข็งแรงของกระดูกลดลงจนส่งผลให้เสี่ยงต่อกระดูกหักได้ง่ายกว่าปกติ
  • การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกด้วยวิธีการเอกซเรย์ โดยใช้เครื่อง DEXA scan (Dual Energy X-Ray Absorption) เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนมาตรฐาน ใช้ปริมาณรังสีน้อย มีความปลอดภัย และความแม่นยำสูง
  • ประโยชย์ของการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก จะช่วยให้ผู้เข้ารับการตรวจสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ หรือหากพบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว จะได้ให้ความสำคัญกับการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหัก
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน รวมถึงตรวจสุขภาพกระดูกและข้อในรูปแบบต่างๆ ได้ที่นี่

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูก หรือความแข็งแรงของกระดูกลดลงจนส่งผลให้เสี่ยงต่อกระดูกหักได้ง่ายกว่าปกติ

ซึ่งความแข็งแรงของกระดูกนั้น จะประกอบด้วย 2 ปัจจัยหลักคือ มวลกระดูก (Bone mass) และคุณภาพกระดูก (Bone quality) แต่ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการวัดคุณภาพกระดูกที่แม่นยำ จึงใช้เพียงการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนเท่านั้น

โดยประโยชย์ของการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก จะช่วยให้ผู้เข้ารับการตรวจสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชะลอการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ หรือหากพบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว จะได้ให้ความสำคัญกับการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดกระดูกหักนั่นเอง

การตรวจมวลกระดูก ตรวจอย่างไร บอกอะไรได้บ้าง?

การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก จะตรวจด้วยวิธีการเอกซเรย์ โดยใช้เครื่อง DEXA scan (Dual Energy X-Ray Absorption) ซึ่งเป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนมาตรฐาน ใช้ปริมาณรังสีน้อย มีความปลอดภัย และความแม่นยำสูง

โดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดนิยามของโรคกระดูกพรุนไว้ว่า มีค่าความหนาแน่นกระดูก (Bone mineral density: BMD) น้อยกว่าหรือเท่ากับ -2.5 ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation: SD) เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยช่วงที่มีความหนาแน่นกระดูกมากที่สุด หรือช่วงอายุประมาณ 30 ปี 

ซึ่งทางการแพทย์เรียกค่าเปรียบเทียบนี้ว่า “T-score”

หากผู้เข้ารับการตรวจมีค่า T-score อยู่ในช่วงโรคกระดูกพรุนร่วมกับมีกระดูกหักเกิดขึ้น ถือว่า เป็นโรคกระดูกพรุนชนิดรุนแรง (Severe osteoporosis)

นอกจากนี้หากวัดค่า T-score ได้ระหว่าง -1 ถึง -2.5 จะจัดเป็นภาวะกระดูกบาง (Osteopenia) อีกด้วย

ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจมวลกระดูก

โรคกระดูกพรุนสามารถทำให้กระดูกหักง่าย โดยเฉพาะกระดูกสันหลังหัก หรือกระดูกสะโพกหัก ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้จึงควรเข้ารับการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกเพื่อที่จะได้ป้องกันอย่างทันท่วงที

  • ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 19
  • ผู้ชายอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ที่มีภาวะขาดฮอร์โมนเพศชาย
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นมะเร็งเต้านม
  • ผู้ชายอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคตับเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรครูมาตอยด์ ภาวะการดูดซึมของระบบทางเดินอาหารผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง โรคต่อมไทรอยด์ และโรคต่อมพาราไทรอยด์
  • ผู้ที่เคยกระดูกหัก หรือแตกจากการประสบอุบัติเหตุเล็กน้อย
  • ผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติสะโพกหัก กระดูกสันหลังหัก หรือกระดูกหักตำแหน่งอื่นๆ เป็นโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • ผู้ที่น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
  • ผู้ที่ใช้ยาในกลุ่มคอร์ติโคสสเตียรอยด์ (Cortocosteroids) ยารักษาโรคมะเร็ง โรคไทรอยด์ หรือโรคลมชัก ติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป
  • ผู้ที่ได้รับวิตามินดีต่ำ หรือมีภาวะขาดแคลนวิตามินดี

ทำไมถึงควรตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน?

แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาให้มวลกระดูกกลับมาหนาแน่นเหมือนเดิมได้ แต่การตรวจคัดกรองกรองภาวะกระดูกพรุนจะช่วยให้คุณรู้เท่าทันโรค รวมถึงได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเองจากแพทย์เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหัก เช่น

  • ออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่งเป็นประจำ เพื่อเสริมสร้างมวลกระดูก
  • รับแคลเซียมและวิตามินดีเพิ่มขึ้น ทั้งจากอาหารและอาหารเสริม เพื่อเสริมสร้างกระดูก หรือชะลอการสูญเสียกระดูก
  • รับประทานยารักษาโรคกระดูกพรุน เช่น Alendronate, Risedronate, Ibandronate และ Zoledronic acid ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง

ตรวจกระดูก สามารถใช้สิทธิเบิกประกันสังคมได้ไหม?

ปัจจุบัน สิทธิประกันสังคมยังไม่ได้ครอบคลุมการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิตรวจสุขภาพประจำปีพื้นฐานฟรี ปีละ 1 ครั้ง เช่น ตรวจร่างกายตามระบบ ตรวจตา ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หรือตรวจระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น

แนะนำแพ็กเกจตรวจกระดูกใน HDmall พร้อมราคา

นอกจากการตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุนแล้ว คุณยังสามารถตรวจคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม หรือตรวจโครงสร้างร่างกายโดยนักกายภาพบำบัด เพื่อการดูแลตนเองอย่างเหมาะสมได้อีกด้วย

สำหรับใครที่สนใจตรวจกระดูก แต่ไม่รู้จะไปตรวจกระดูกที่ไหนดี HDmall ได้รวบรวมแพ็กเกจตรวจกระดูกในรูปแบบต่างๆ จากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำพร้อมราคา มาให้คุณเปรียบเทียบแล้ว ดังนี้

*ราคาและโปรโมชันอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ควรศึกษารายละเอียดก่อนสั่งซื้อแพ็กเกจ หรือสอบถามแอดมินเพิ่มเติมที่ไลน์ @hdcoth

สำหรับผู้ที่สนใจตรวจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน รวมไปถึงตรวจสุขภาพกระดูกและข้อในรูปแบบอื่นๆ สามารถดูแพ็กเกจได้ ที่นี่ หรือแอดไลน์ @hdcoth เพื่อสอบถามข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ หรือจองคิวนัดหมาย มีแอดมินให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง!


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • Harvard health publishing, Osteoporosis (https://www.health.harvard.edu/topics/osteoporosis), 17 December 2020.
  • med.mahidol.ac.th, ชีววิทยาของกระดูกและการสมานกระดูก (https://med.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/public/education/textbook/pdf/OrthopaedicTrauma2019/01%20OrthoTrauma%20P01-13.pdf) 16 ธันวาคม 2563.
  • พญ.ปียฉัตร คงเมือง, โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)(http://www.srth.moph.go.th/imeeting/document/Osteoporosis.pdf), 17 ธันวาคม 2563.
@‌hdcoth line chat