สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- Leevawell เป็นแบรนด์ใหม่ โดยการตรวจของ Yesmom Fertility จะอยู่ภายใต้และจำหน่ายในนามของแบรนด์นี้
- เรากับแฟนอยากมีลูกมากๆ แต่ปล่อยมาประมาณ 2 ปีก็ยังไม่มีสักที แถมประจำเดือนก็มาไม่ปกติ เลยอยากจะลองตรวจดูค่ะว่าตัวเองมีความเสี่ยงในการเป็น PCOS หรือไม่
- เห็นว่า Yesmom (Leevawell) มีชุดตรวจภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ที่ตรวจได้เองที่บ้านก็สนใจมากๆ เพราะช่วงที่โควิดยังระบาด เราก็ไม่สะดวกที่จะไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจ
- การใช้ชุดตรวจก็ไม่ยากเลยเพราะคู่มือที่แนบมาด้วยค่อนข้างละเอียด ตัวเข็มดีมากๆ เพราะว่าเราจะไม่เห็นเข็ม แถมพอกดปุ่มให้เข็มยิงออกมาจิ้มที่ปลายนิ้วก็ไม่เจ็บเลย
- ผลตรวจจากชุดตรวจ PCOS บอกว่าเราไม่มีความเสี่ยงที่จะมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ถ้าหากมีฮอร์โมนตัวไหนผิดปกติก็ใช้ผลตรวจจาก Yesmom (Leevawell) ไปปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางได้
- รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDreview ได้รับการสปอนเซอร์จากทาง HDmall.co.th และ Yesmom (Leevawell)
- ดูรายละเอียด ชุดตรวจภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ตรวจได้เองที่บ้าน จาก Leevawell บน HDmall.co.th
- ดูรายละเอียดชุดตรวจทั้งหมดจาก Leevawell บน HDmall.co.th
- สอบถามเพิ่มเติม กับแอดมิน ตอบไว ใจดี ที่ไลน์ @HDcoth
สารบัญ
- ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS คืออะไร?
- ชุดตรวจ PCOS มีอะไรบ้าง?
- วิธีการใช้ชุดตรวจ PCOS
- วิธีส่งชุดตรวจ PCOS กลับห้องแล็บ
- ชุดตรวจ PCOS บอกผลอะไรบ้าง?
- บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
ก่อนหน้านี้เรามีเนื้องอกในโพรงมดลูก แต่หลังจากที่ทำการตัดก้อนเนื้องอกออกไปแล้วก็ปล่อยให้ตัวเองตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ แต่ก็ยังไม่ท้องสักที แถมประจำเดือนก็มาไม่ปกติ สองเดือนครั้ง
เคยอ่านเจอข้อมูลว่า สาเหตุของภาวะมีบุตรยากอันดับ 1 ในผู้หญิงคือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS ซึ่งเรากับแฟนก็อยากมีลูกมากๆ แต่ปล่อยมาประมาณ 2 ปีก็ยังไม่มีสักทีเลยอยากจะลองตรวจดูค่ะ
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS คืออะไร?
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลาย PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) เป็นภาวะความไม่สมดุลของฮอร์โมนที่อาจส่งผลให้มีอาการ เช่น เป็นสิว หน้ามัน อ้วน ขนดก ประจำเดือนขาด รวมไปถึงปัญหาการตั้งครรภ์ค่ะ
ซึ่งผู้หญิงหลายคนที่มีภาวะนี้มักมีระดับฮอร์โมนแอนโดรเจน (ฮอร์โมนเพศชายหรือฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน) สูง ทำให้มีอาการด้านบน และมักจะพบว่ามีถุงน้ำเล็กๆ หลายใบในรังไข่ด้วย
ซึ่งการมีถุงน้ำรังไข่หลายถุงที่ยังไม่สุก ไม่ใช่เรื่องดีค่ะ เพราะไข่เหล่านี้จะไม่มีวันสุกจนทำให้มีปัญหาการตกไข่ แล้วถ้าไข่ไม่ตกตามปกติ ประจำเดือนก็จะไม่ปกติไปด้วย ส่งผลให้ตั้งครรภ์ได้ยากค่ะ
คนที่มีภาวะ PCOS แต่ละคนก็อาจมีอาการแตกต่างกันไปนะคะ เพียงแต่อาการที่น่าสงสัยอันดับแรกๆ คือ ประจำเดือนผิดปกติ ซึ่งเรามีปัญหาตรงนี้ค่ะ
แต่จากที่เราหาข้อมูลมา ภาวะ PCOS ไม่ได้ส่งผลแค่กับคนที่อยากมีลูกเท่านั้นนะคะ หากปล่อยไว้ในระยะยาวจะเสี่ยงปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ ด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
ซึ่งพอเห็นว่า Yesmom (Leevawell) มีชุดตรวจภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS ที่ตรวจได้เองที่บ้าน ซึ่งเป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้นก็สนใจมากๆ เพราะช่วงที่โควิดยังระบาด เราก็ไม่สะดวกที่จะไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจ เราก็เลยสั่งชุดตรวจนี้มาค่ะ
ชุดตรวจ PCOS มีอะไรบ้าง?
หลังจากสั่งชุดตรวจไป รอไม่นานก็มีพัสดุส่งมาที่บ้าน ห่อมาอย่างดีเลยค่ะ พอเปิดดูด้านในก็จะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ด้านในก็จะมีอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้ค่ะ
พอได้ชุดตรวจมาแล้วก็มาแกะกล่อยและอ่านวิธีการตรวจฮอร์โมนด้วยตัวเองกันก่อนค่ะ โดยในกล่องจะมีคู่มือมาให้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้
- บัตรข้อมูลประจำตัว 1 ใบ สำหรับกรอกข้อมูลส่วนตัวของเรา
- ฉลากป้ายชื่อ 1 ชิ้น สำหรับแปะที่กล่องแท่งเก็บเลือด
- ห่อแท่งเก็บเลือดพร้อมซองกันชื้น 1 ชุด
- กล่องแท่งเก็บเลือด 1 กล่อง
- เข็มเจาะเลือดชนิดปลอดภัย 3 ชิ้น แบบใช้ครั้งเดียว
- แผ่นแอลกอฮอล์ 3 ชิ้น
- ผ้าก๊อซ 1 ห่อ
- พลาสเตอร์ปิดแผล 3 ชิ้น
- ซองจดหมายพร้อมฉลากส่งกลับ 1 ชุด
สำหรับชุดตรวจภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS จะตรวจฮอร์โมน 2 รายการคือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนโดยรวม (Total Testosterone) และ ฮอร์โมนที่ผลิตจากเซลล์ถุงไข่ในรังไข่ (Anti-Mullerian Hormone: AMH)
ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) จริงๆ แล้วเป็นฮอร์โมนหลักในกลุ่มฮอร์โมนเพศชาย แต่ในผู้หญิงเราก็มีฮอร์โมนนี้นะคะ
ถ้าเทสโทสเตอโรนอยู่ในระดับสูง ก็จะส่งผลให้ประจำเดือนผิดปกติ หรือประจำเดือนขาด บางคนอาจจะมีขนขึ้นผิดปกติ น้ำหนักตัวเพิ่ม เป็นสิว และอาจมีภาวะมีบุตรยาก
ส่วนฮอร์โมนแอนตี้มูลเลอเรียน (Anti-Mullerian Hormone) หรือ AMH ผลิตจากเซลล์ถุงไข่ในรังไข่ จะเป็นตัวบอกความสามารถการทำงานของรังไข่ ประเมินว่ารังไข่ผลิตไข่ในจำนวนที่ปกติไหม
ถ้าเรามีไข่จำนวนมากกว่าเกณฑ์ปกติ ฮอร์โมน AMH ก็จะสูงกว่าเกณฑ์ปกติไปด้วย ผู้หญิงที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบจึงมักมีระดับฮอร์โมน AMH สูงกว่าเกณฑ์ปกติ
วิธีการใช้ชุดตรวจ PCOS
ชุดตรวจ PCOS สามารถตรวจตอนไหนก็ได้ในรอบเดือนเลย ไม่ต้องรอให้ประจำเดือนมาก่อน แต่ถ้าใครที่อยู่ในช่วงคุมกำเนิดด้วยวิธีที่มีฮอร์โมนหรือการรักษาด้วยฮอร์โมน จะยังตรวจไม่ได้นะคะ
ส่วนการใช้ชุดตรวจก็ไม่ยากเลยเพราะคู่มือที่แนบมาด้วยค่อนข้างละเอียด โดยขั้นตอนแรกให้เราแกะซองสีเงินที่ใส่กล่องแท่งเก็บตัวอย่างเลือดออกมา ในนั้นจะมีซองกันชื้นอยู่ด้วย ห้ามทิ้งเด็ดขาดเลยนะคะ เพราะจะต้องใส่ในซองกลับไปด้วย
ในคำแนะนำให้เราแช่มือในน้ำอุ่นก่อน เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น จากนั้นก็เช็ดให้แห้งและทำความสะอาดซ้ำด้วยแผ่นแอลกอฮอล์ที่ให้มา แล้วปล่อยทิ้งเอาไว้ให้แห้ง
จากนั้นวางมือข้างที่จะเจาะลงบนพื้นผิวเรียบ หมุนเปิดฝาเข็มแล้วแนบให้สนิทกับปลายนิ้ว แต่ของเราให้แฟนเป็นคนทำให้เพื่อความสะดวกค่ะ
ตัวเข็มดีมากๆ เพราะว่าเราจะไม่เห็นเข็ม แถมพอกดปุ่มให้เข็มยิงออกมาจิ้มที่ปลายนิ้วก็ไม่เจ็บเลย เลือดไหลออกมาปกติ ถ้าใครที่เลือดไหลออกน้อยเค้าก็มีตัวเข็มสำรองให้อีก 2 อัน แต่เราใช้ไปแค่เข็มเดียวก็เก็บเลือดได้ครบแล้วค่ะ
พอเลือดเราไหลออกมาแล้ว ให้เช็ดทำความสะอาดเลือดหยดแรกออกไปก่อน แล้วค่อยๆ นวดไล่จากฝ่ามือไปยังปลายนิ้วให้ได้เลือดหยดใหญ่ๆ แล้วนำปลายหัวแท่งเก็บเลือดไปจิ้มเข้ากับหยดเลือดที่ปลายนิ้วค่ะ
ตรงนี้ปล่อยให้เลือดไหลซึมเข้าไปตามปกติเลย พอเก็บเลือดครบแล้วก็ให้เช็ดทำความสะอาดอีกครั้ง หรือจะปิดพลาสเตอร์ที่แผลก็ได้ค่ะ แต่แผลจะเล็กมากๆ จนมองไม่เห็นเลย
วิธีส่งชุดตรวจ PCOS กลับห้องแล็บ
หลังจากเก็บตัวอย่างเลือดเสร็จแล้ว ก็ให้ปิดกล่องให้สนิท แล้วนำสติ๊กเกอร์ป้ายชื่อที่แนบมาด้วยแปะเอาไว้บนกล่อง จากนั้นใส่กลับเข้าไปในซองสีเงิน ตามด้วยซองกันชื้นค่ะ
จากนั้นให้กรอกข้อมูลส่วนตัวกันในเอกสารแล้วเอาใส่เข้าไปในซอง แล้วก็อ่านรายละเอียดวิธีการเรียกบริษัทฯ ขนส่งมารับชุดตรวจที่บ้านได้เลยค่ะ
สะดวกรวดเร็ว ตรวจได้เองที่บ้านแบบไม่ต้องออกไปที่โรงพยาบาล ใครที่สนใจชุดตรวจนี้ก็ดูโปรโมชั่นได้ที่ HDmall.co.th เลยนะคะ หรือจะสอบถามกับแอดมินก่อนได้ที่ไลน์ @HDcoth ค่ะ
ชุดตรวจ PCOS บอกผลอะไรบ้าง?
สำหรับผลตรวจจะส่งไปวิเคราะห์ตัวอย่างที่ห้องแล็บที่ได้มาตรฐาน ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ก็จะมีอีเมลส่งเข้ามาบอกว่าได้รับผลตรวจแล้ว ให้เราเข้าไปดูรายละเอียดในเว็บไซต์ของ Yesmom (Leevawell) ค่ะ
ในเว็บไซต์ก็จะบอกข้อมูลเอาไว้ละเอียดมากๆ มีทั้งเอกสารผลตรวจแบบทางการจากห้องแล็บ และมีข้อมูลแบบสรุปเอาไว้ให้เราอ่านรายละเอียดค่ะ
ฮอร์โมนแอนตี้มูลเลอเรียน (AMH) สำหรับผู้ที่อายุ 31-35 ปี ควรอยู่ที่ระดับ 0.07-7.35 ng/ml ซึ่งผลตรวจของเราที่อายุ 32 ปีอยู่ที่ 2.2 ng/ml ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ
ส่วนเทสโทสเทอโรนโดยรวม (Total T) ควรอยู่ที่ระดับ 0.1-0.75 ng/ml แต่ของเราอยู่ที่ 0.024 ng/ml ถือว่าต่ำกว่าเกณฑ์
ในตอนแรกพอเห็นผลตรวจที่ต่ำกว่าเกณฑ์ก็ค่อนข้างตกใจค่ะ ว่ามีอะไรผิดปกติรึเปล่า เราเป็น PCOS มั้ยนะ แต่พออ่านรายละเอียดผลตรวจที่ทาง Yesmom (Leevawell) สรุปเอาไว้ให้ก็เข้าใจไม่ยากเลย
สำหรับฮอร์โมน AMH จะช่วยบอกภาวะ PCOS ได้คร่าวๆ เพราะว่าฮอร์โมน AMH จะหลั่งจากเซลล์ที่ห้อมล้อมถุงไข่ในรังไข่ ถ้าหากเรามีระดับ AMH สูงกว่าเกณฑ์ ก็มักจะหมายความว่า มีไข่ที่ไม่เจริญเติบโตหลายใบในรังไข่
เทสโทสเทอโรนโดยรวม (Total T) ที่ต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งจริงๆ เมื่อเราอายุมากขึ้น ฮอร์โมนนี้จะค่อยๆ ลดลงตามธรรมชาติ ซึ่งอาการประจำเดือนที่ผิดปกติของเราก็อาจจะเกิดเพราะฮอร์โมนนี้ต่ำกว่าเกณฑ์ค่ะ
เพราะอาการของคนที่มีภาวะ PCOS จะทำให้เทสโทสเทอโรนพุ่งสูง พอผลออกมาต่ำก็แปลว่าไม่ต้องน่าเป็นห่วงเลย
สรุปคือ ผลตรวจจากชุดตรวจ PCOS บอกว่าเราไม่มีความเสี่ยงที่จะมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ถ้าหากมีฮอร์โมนตัวไหนผิดปกติก็อาจจะบอกได้ว่าเรามีความเสี่ยงที่จะเป็น PCOS และสามารถใช้ผลตรวจจาก Yesmom (Leevawell) ไปปรึกษากับแพทย์เฉพาะทางได้เลย
การตรวจ PCOS ด้วยชุดตรวจจาก Yesmom (Leevawell) ใช้งานง่ายมากๆ ค่ะ แถมสะดวกดี และผลตรวจก็อธิบายเอาไว้ละเอียด เข้าใจง่ายมากๆ ใครที่อยากรู้ว่าตัวเองมีภาวะนี้หรือไม่ก็ลองสั่งชุดตรวจนี้มาใช้งานได้นะคะ และที่สำคัญเลยสั่งซื้อผ่าน HDmall.co.th มีส่วนลดให้ด้วยค่ะ