สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- ก่อนหน้านี้มีปัญหานอนไม่หลับจนต้องไปพบจิตแพทย์ คุณหมอก็ได้แนะนำว่าให้ตรวจ Sleep Test เพราะด้วยน้ำหนักตัวและสุขภาพ อาจมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งมีผลเสียต่อร่างกายคล้ายกับอาการที่เป็นอยู่
- ที่มาตรวจ Sleep Test ที่โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต เพราะเป็นโรงพยาบาลที่มีคุณภาพสูง น่าเชื่อถือ และเดินทางสะดวกจากที่พักของเราเอง
- ตอนประมาณ 3 ทุ่มนักเทคนิคการแพทย์จะเข้ามาติดตั้งอุปกรณ์ให้ เพื่อตรวจวัดค่าต่างๆ ระหว่างเรานอน หากมีค่าผิดปกติ จะนำเครื่อง CPAP มาติดตั้งเพื่อทดสอบการตั้งค่าให้
- โดยรวมแล้วการตื่นนอนหลังจากทดสอบเครื่อง CPAP รู้สึกสดชื่นมากกก ร่างกายเราได้รับออกซิเจนเต็มที่ ได้ฟื้นฟูอวัยวะต่างๆ อย่างสมบูรณ์
- รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDreview ได้รับการสปอนเซอร์จากทาง HDmall.co.th และ รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
- รายละเอียดโปรแกรมตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) พร้อมทดสอบการตั้งค่าของเครื่อง CPAP ที่ รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
- โปรแกรมสุขภาพทั้งหมด จาก รพ.จุฬารัตน์ 9 บน HDmall.co.th
เมื่อช่วงต้นปี ผมไปพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาเรื่องอาการ นอนไม่หลับ เพราะเวลาตื่นเช้ามารู้สึกไม่สดชื่น เหมือนไม่เต็มอิ่ม แถมยังง่วงระหว่างวัน
หลายคนอาจจะคิดว่าก็มีอาการนี้เหมือนกัน แต่ของผมเป็นแบบนี้นานหลายเดือนติดต่อกัน บางวันตั้งใจจะนอนเพราะง่วงมากกก แต่ก็หลับไม่ได้ ง่วงแต่ไม่หลับ จนเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน (อ่านรีวิวการพบจิตแพทย์ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด)
ในตอนนั้นจิตแพทย์ได้แนะนำว่าให้ ตรวจ Sleep Test หรือตรวจการนอนหลับ เพราะด้วยน้ำหนักตัว อาการนอนกรนขั้นรุนแรง แถมตื่นเช้ามายังไม่สดชื่น อาการเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดจาก ภาวะซึมเศร้า เพียงอย่างเดียว แต่อาจเป็น ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ก็ได้
ครั้งแรกที่ผมได้รู้จักคำว่า ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Sleep apnea) ก็ไปหาข้อมูลเพิ่มเติม สรุปสั้นๆ คือ การที่ทางเดินหายใจถูกอุดกั้นหรือแคบลง ทำให้มีอาการนอนกรน
บางคนอาจจะหยุดหายใจเป็นระยะๆ ด้วย น่ากลัวมากกก และส่วนใหญ่พบในคนที่น้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ซึ่งตรงกับตัวเองมากๆ เนื่องจากช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา น้ำหนักผมขึ้นมา 10 กิโลกว่า
จากการหาข้อมูลและอ่านรีวิวต่างๆ ก็เลยเก็บเอาการ ตรวจ Sleep Test หรือตรวจการนอนหลับ มาทบทวนว่าเราเหมาะที่จะตรวจมั้ย เพราะผลเสียที่เกิดจากภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ หรืออาการที่เกิดขึ้นตอนนอน เป็นภัยเงียบที่น่ากลัวมากๆ และการนอนหลับแบบไม่มีคุณภาพยังส่งผลต่อสุขภาพอื่นๆ อีกด้วย
หลังจากคิดอยู่นานก็ตัดสินใจดูโปรโมชันตรวจการนอนหลับ และเปรียบเทียบจากโรงพยาบาลต่างๆ ก็เจอกับโปรแกรม ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) พร้อมทดสอบการตั้งค่าของเครื่อง CPAP ที่ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
รายการตรวจการนอนหลับแบบละเอียด ที่ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
สำหรับการตรวจการนอนหลับ Sleep Test แบบละเอียด มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจบันทึกข้อมูลคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG)
- ตรวจบันทึกการเคลื่อนไหวของลูกตา (EOG)
- ตรวจการเคลื่อนไหวของคาง (Chin EMG)
- ตรวจการหายใจ (Air Flow)
- ตรวจการเคลื่อนไหวของทรวงอก (Chest Movement)
- ตรวจการเคลื่อนไหวของช่องท้อง (Abdominal Movement)
- ตรวจการกรน (Snoring)
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate)
- ตรวจเปอร์เซ็นต์ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (Oxygen Saturation)
- ตรวจการกระตุกของขา
- ตรวจท่าทางการนอน เช่น นอนหงาย ตะแคงซ้าย ขวา
จริงๆ ที่ผมสนใจมากๆ เลยคือ รายการตรวจการกรน และการหายใจ เพราะโดยส่วนตัวรู้ตัวเองว่าเป็นคนนอนกรนหนักมาก และรายการตรวจการหายใจก็ช่วยให้รู้ว่าเรามีภาวะหยุดหายใจรึเปล่า
สาเหตุที่เลือกตรวจที่นี่เพราะว่าเป็นโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต เป็นโรงพยาบาลที่มีการตรวจแบบละเอียดและมีนักเทคนิคการแพทย์คอยเฝ้าตลอดคืน หากมีภาวะหายใจแผ่ว หรือภาวะอื่นๆ จะเข้ามาปลุกเพื่อให้ทดสอบการทำงานของเครื่อง CPAP และนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกัน
นอกจากนี้ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต เป็นโรงพยาบาลที่น่าเชื่อถือ เดินทางสะดวก และยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ครบครัน ซึ่งผมได้จองคิวและทำนัดผ่านทาง HDmall.co.th เพื่อเข้ามาใช้บริการ จากนั้นทางโรงพยาบาลจะส่งขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนตรวจการนอนหลับมาให้
การเตรียมตัวตรวจการนอนหลับ
เนื่องจากการนอนหลับครั้งนี้ ทำเพื่อตรวจค่าต่างๆ ทางโรงพยาบาลจึงไม่อนุญาตให้มีญาตินอนค้างด้วย แต่สามารถเข้าเยี่ยมได้ถึง 2 ทุ่ม ซึ่งทางโรงพยาบาลแนะนำว่าผู้ตรวจจะต้องมาถึงก่อนเวลา 2 ทุ่ม หรือหากต้องการเข้ามาก่อนก็แจ้งที่แผนกรับผู้ป่วยในได้
- อาบน้ำ สระผม ให้สะอาดก่อนมาตรวจ ห้ามใส่น้ำมันหรือครีมใดๆ เพราะจะต้องติดอุปกรณ์บนใบหน้าและศีรษะ
- งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ในวันที่จะมาตรวจ
- หลีกเลี่ยงการงีบหลับในช่วงกลางวันของวันที่จะมาตรวจ
- จดชื่อ และขนาดยา พร้อมทั้งนำยาทุกชนิดที่รับประทานอยู่ติดตัวมาด้วย
- เจ้าหน้าที่จะทำการติดตั้งเครื่องมือและตัวตรวจวัดต่างๆ โดยจะใช้เวลาประมาณ 45-60 นาที
- การตรวจตอนกลางคืนจะสิ้นสุดลงเวลาประมาณ 0.00 น. ของวันรุ่งขึ้น (เวลาอาจมาการเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นกับเวลาเข้านอน – ตื่นนอนตามปกติ)
- ทางโรงพยาบาลจัดเตรียมอาหารเช้าวันรุ่งขึ้นสำหรับท่านรับประทานก่อนกลับบ้าน
การเดินทางมาที่โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต ไม่ยากเลย ขับรถมาบนถนนเส้นบางนาตราด วิ่งเข้าถนนกิ่งแก้วมาเรื่อยๆ สักพักก็จะเจอกับป้ายโรงพยาบาล ขับเลยป้ายมาจะมีซอยเล็กๆ ด้านขวามือเป็นอาคารจอดรถ
พอมาถึงโรงพยาบาล หลังจากติดต่อลงทะเบียนเสร็จ พยาบาลก็ให้กรอกประวัติเบื้องต้น ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน แล้วพาขึ้นไปที่ห้องสำหรับตรวจการนอนหลับโดยเฉพาะ
ในห้องตรวจการนอนหลับบรรยากาศคล้ายกับโรงแรม มีโทรทัศน์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ และเครื่องกรองน้ำ แถมในห้องน้ำยังเป็นชักโครกแบบอัตโนมัติ สิ่งเดียวที่ทำให้รู้ว่าเรายังอยู่ในโรงพยาบาลก็คือ เตียงที่ยังเป็นเตียงของโรงพยาบาล แต่ก็มีผ้าปูที่นอนสีฟ้าและหมอนข้างให้นอนกอด
จากนั้นพยาบาลหัวหน้าศูนย์ฯ ก็เข้ามาต้อนรับพร้อมสอบถามประวัติการนอนหลับ และอาการที่เป็นอยู่คร่าวๆ และแจ้งว่านักเทคนิคการแพทย์จะมาถึงตอนประมาณ 2 ทุ่มเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ ดังนั้นเราควรอาบน้ำเตรียมตัวให้เสร็จก่อนเวลา
ในห้องข้างๆ ที่ติดกัน มีประตูเชื่อมให้กับนักเทคนิคการแพทย์ที่มาคอยเฝ้าดูตอนเรานอนและอ่านค่าต่างๆ บรรยากาศก็คล้ายกัน แต่มีเตียงนอนปกติแทนเตียงโรงพยาบาล
พอนักเทคนิคการแพทย์มาถึงก็แนะนำตัวและแจ้งรายละเอียดการตรวจคร่าวๆ อีกครั้ง จากนั้นก็นำสัมภาระไปเก็บและเตรียมอุปกรณ์ที่ห้องข้างๆ ไม่นานก็ออกมาพร้อมกับอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย ที่จะติดตามตัวของเรา
ขั้นตอนการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อตรวจการนอนหลับ
อันดับแรก นักเทคนิคการแพทย์ให้เรานั่งที่เก้าอี้ แล้วเริ่มต้นด้วยการใช้สายวัดขนาดรอบคอ และบริเวณจุดต่างๆ บนศีรษะ เพื่อทำเครื่องหมายตามจุดต่างๆ ที่จะติดตั้งสายตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง
จากนั้นนักเทคนิคการแพทย์จะใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการติดสายส่งสัญญาณ โดยใช้สื่อกลางเป็นครีมเหนียวๆ ติด แล้วใช้เทปกาวปิดทับอีกรอบ
สายต่างๆ ที่จะวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง ติดทั้งหมด 9 จุดบริเวณศีรษะ จากนั้นติดที่ข้างดวงตา 2 ข้าง เพื่อวัดดูคลื่นไฟฟ้าและการกรอกตาขณะหลับ 1 สายที่คาง และ 2 สายที่กรามเพื่อดูการกัดฟัน รวมทั้งหมดบนใบหน้าและศีรษะ 14 จุด ต่อพ่วงเข้าที่อุปกรณ์เดียวกันในการรับคลื่นสัญญาณ
ต่อด้วยสายบริเวณคอ เพื่อตรวจวัดการนอนกรน และ 2 จุดบริเวณใต้อกซ้ายและขวา เพื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และอัตราการเต้นของหัวใจ และ 2 เส้นสุดท้ายบริเวณหน้าแข้งทั้งสองข้าง เพื่อตรวจดูการกระตุกของขา และท่าทางการนอน จากนั้นต่อด้วยสายรัดหน้าอกที่จะมีเครื่องตรวจการเคลื่อนไหวของทรวงอก และช่องท้อง
และมีปลอกสวมที่นิ้วซ้ายเพื่อตรวจเปอร์เซ็นต์ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
หลังจากติดตั้งสายต่างๆ ครบ นักเทคนิคการแพทย์ก็ให้ขึ้นเตียงเพื่อติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ได้แก่ ท่อยางที่จะมาเสียบเข้าไปรูจมูกประมาณ 1-2 ซม. เพื่อตรวจการหายใจ ซึ่งตอนแรกคิดว่าจะอึดอัด แต่พอใส่ไปสักพักก็ชิน
พอครบแล้ว ก็กลายเป็นไอร่อนแมน 555+ เป็นมนุษย์ไฟฟ้ามาก ดูแล้วค่อนข้างไม่สบายตัว แต่จริงๆ พออยู่กับมันไปสักพักก็จะเริ่มชิน ความรู้สึกคือเฉยๆ มาก ไม่ได้เจ็บแสบ หรือมีอะไรแปลกเลย แค่รู้สึกว่ามีอะไรติดอยู่ แต่ก็สบายมาก
จากนั้นนักเทคนิคการแพทย์จะทำการตรวจเช็คการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ โดยเริ่มต้นด้วยการหลับตา กระพริบตาขณะหลับ กรอกตาบนล่าง จากนั้นให้กัดฟันแล้วขยับฟันเหมือนเคี้ยวข้าว ถัดมาเป็นการทดสอบเสียงกรน ต้องทำเสียงปลอมๆ ในลำคอนิดหน่อย แล้วก็ตรวจวัดการทำงานบริเวณขา กระดกขาขึ้นลงซ้ายขวา
ส่วนลมหายใจและคลื่นสมองไม่ต้องทดสอบอะไร คิดว่าน่าจะอ่านจากเครื่องแล้วเห็นการทำงานว่าติดตั้งได้สมบูรณ์
หลังจากทุกอย่างพร้อม นักเทคนิคการแพทย์บอกว่า จะเฝ้าดูอยู่ตลอด 2 ชั่วโมงแรกผ่านกล้องที่ตั้งเอาไว้ที่ปลายเตียง หากมีการหยุดหายใจขณะหลับประมาณ 10-15 วินาที จะเข้ามาปลุกเพื่อติดตั้งเครื่อง CPAP ให้ จากนั้นเข้าหน้าที่ก็ปล่อยเรานอนหลับคนเดียว ปิดไฟและเฝ้าดูความเคลื่อนไหวต่างๆ จากอีกห้อง
ระหว่างนี้หากต้องการเข้าห้องน้ำสามารถกดปุ่มเรียกได้ตลอดเลย ผู้เชี่ยวชาญจะเข้ามาปลดสายให้ แล้วก็ถือเครื่องที่เสียบสายไปด้วย ค่อนข้างลำบากนิดหน่อย แต่ในวันนี้จริงๆ แล้วเราไม่ควรดื่มน้ำเยอะจนเกินไป จะได้ไม่ต้องลุกบ่อยๆ
การทดสอบเครื่อง CPAP
หลังจากที่หลับไปสักพัก ผ่านไปนานแค่ไหนไม่รู้ นักเทคนิคการแพทย์ก็มาปลุกให้สวมที่ครอบปากกับจมูก เพื่อทำการทดสอบการตั้งค่าเครื่อง CPAP
เครื่อง CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) คือ เครื่องอัดอากาศแรงดัน ใช้สำหรับรักษาอาการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับ การทดสอบเครื่องจะเปรียบเทียบให้เห็นว่า ก่อนและหลังใส่เครื่อง ค่ารายการที่ตรวจมีความแตกต่างกันหรือไม่ สวมเครื่องแล้วช่วยรึเปล่า
นักเทคนิคการแพทย์จะถอดอุปกรณ์ที่เสียบบริเวณจมูกออก แทนที่ด้วยที่ครอบปากและจมูก แต่ใส่แล้วรู้สึกไม่ค่อยสบาย ก็เลยได้เปลี่ยนเป็นที่ครอบจมูกอย่างเดียว
ความรู้สึกที่คิดเอาไว้ตอนแรกคือ มันคงมีแรงลมดันให้เราหายใจรัวๆ แต่ไม่เลย แทบไม่รู้สึกอะไร แรงลมจากเครื่อง CPAP ถูกตั้งค่าอัตโนมัติให้รองรับกับการหายใจของเรา และยังทำหน้าที่วัดการหายใจของเราด้วย
ตอนแรกคิดว่าพอสวมอุปกรณ์แล้วจะหลับยาก แต่ไม่เลย รู้สึกหายใจได้ลึกขึ้น สบายขึ้น ไม่นานก็หลับ รู้ตัวอีกทีนักเทคนิคการแพทย์เข้ามาปลุกประมาณตี 5 เพื่อถอดอุปกรณ์ทั้งหมด
ผลตรวจ Sleep Test และการทดสอบเครื่อง CPAP
การถอดอุปกรณ์ใช้เวลาไวกว่าตอนใส่ แต่หลังจากถอดแล้วตัวเหนียวๆ จะยังอยู่ ควรสระผมให้สะอาด แต่ก็สามารถนอนต่อได้เลยจนกว่าพยาบาลจะมาเรียก โดยรวมแล้วการตื่นนอนหลังจากทดสอบเครื่อง CPAP รู้สึกสดชื่นมากกก ร่างกายเราได้รับออกซิเจนเต็มที่ ได้ฟื้นฟูอวัยวะต่างๆ อย่างสมบูรณ์
เท่าที่เคยอ่านมา อวัยวะต่างๆ ของเราอาศัยออกซิเจนในการหล่อเลี้ยง โดยเฉพาะเวลาที่เรานอนหลับ ออกซิเจนจะเข้าไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ การใช้เครื่อง CPAP ช่วยให้เราหายใจได้ดียิ่งขึ้น หากเรานอนหลับไม่ดี นอนหลับไม่มีคุณภาพ ออกซิเจนไปเลี่ยงส่วนต่างๆ ไม่เพียงพอ
สำหรับผลตรวจการนอนหลับ คุณหมอจะอธิบายให้ฟังในวันเดียวกันเลย โดยผลปรากฎว่า ทั้งคืนที่นอนไปใช้เวลานอนหลับ 6 ชั่วโมง 7 นาที ค่อนข้างน้อย และประสิทธิภาพตอนนอนก่อนติดตั้งเครื่อง CPAP อยู่ที่ 50%
เฉลี่ยต่อ 1 ชั่วโมง ตื่นทั้งหมด 54 ครั้ง เรียกว่าตื่นทุกๆ 1 นาทีเลย ถือว่าเยอะมาก คุณภาพการนอนแย่มาก แต่พอใส่เครื่องก็ลดลง การตื่น 1 ครั้งต่อชั่วโมง
ระดับเปอร์เซ็นต์ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดอยู่ที่ 88% ถือว่าต่ำปานกลาง ซึ่งก็สัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนที่ค่อนข้างแย่ พอใส่เครื่องออกซิเจนก็เพิ่มขึ้นมาเป็น 95% และจากผลตรวจพบว่าเป็นโรคนอนกรนระดับรุนแรงอีกด้วย T_T แงงงงง
คุณหมอบอกว่า จริงๆ การรักษาที่ปลายเหตุคือการใช้เครื่อง CPAP ในการช่วย แต่ก็ควรหาสาเหตุอื่นๆ ด้วย เช่น การตรวจดูว่าต่อมทอนซิลโตมั้ย เพดานปากหย่อนมั้ย ลิ้นคับปากรึเปล่า เพราะบางคนหากรักษาด้วยการผ่าตัดอาจจะได้ผลกว่า ต้องดูเป็นรายบุคคลไป
จากนั้นคุณหมอก็ให้อ้าปากเพื่อตรวจดูต่อมทอนซิล ปรากฎว่าผลเป็นปกติ แต่จากที่เห็นคือ เป็นคนที่ลิ้นคับปาก เกิดจากโครงสร้างใบหน้าแต่เกิด ดังนั้นการผ่าตัดจึงไม่ได้ช่วยในเคสของเรา แต่การใส่เครื่อง CPAP จะช่วยรักษาอาการเบื้องต้นได้ดีกว่า
นอกจากนี้ ด้วยน้ำหนักตัวที่มาก การลดน้ำหนักก็เป็นอีกวิธีที่ช่วย เพราะอย่าลืมว่า สุขภาพโดยรวมคือองค์ประกอบสำคัญให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่แค่อาการนอนกรนอย่างเดียว
การนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพถือเป็นภัยเงียบที่หลายคนไม่รู้ การนอนหลับไม่สนิทอาจส่งผลต่อโรคอื่นๆ เช่น โรคอ้วน โรคทางจิตเวช หรือแม้กระทั่ง โรคความดันโลหิตสูงที่คุมไม่อยู่ และโรคหัวใจวาย
การตรวจการนอนหลับจะช่วยสามารถวิเคราะห์ผลดังกล่าวได้ ดังนั้น การตรวจการนอนหลับไม่ใช่สำหรับแค่คนนอนกรน นอนไม่หลับอย่างเดียว แต่ปัญหาของโรคทางอายุรกรรมอื่นๆ ถ้าหากนอนหลับได้ไม่ดี ก็จะทำให้ควบคุมโรคต่างๆ ไม่ดีเช่นกัน
ดังนั้น การตรวจการนอนหลับ เป็นอีกหนึ่งการตรวจสุขภาพ ที่ควรตรวจเพื่อหาสาเหตุหรือวิเคราะห์ผลทางสุขภาพด้านอื่นๆ ซึ่งโรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต เป็นสถานพยาบาลที่พร้อมไปด้วยอุปกรณ์และบุคลากรทางการแพทย์ ที่สามารถตรวจการนอนหลับได้อย่างดีเยี่ยม และมีคุณหมอเฉพาะทางที่แปรผลและให้คำแนะนำได้เป็นอย่างดี
ใครที่ยังมีคำถามในใจ ลองอ่าน ถาม-ตอบ เรื่อง Sleep Test กับนพ.ขวัญชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ แพทย์เฉพาะทางโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต ได้เลย
หรือถ้าอยากทำนัดเพื่อปรึกษาคุณหมอและทำ Sleep Test ก็เข้าไปดูรายละเอียด ตรวจการนอนหลับ (Sleep Test) บน HDmall.co.th เลย
ข้อมูล รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต
ปิด
ปิด
- วันเวลาทำการ: ทุกวัน 07.00-19.00 น.
- สถานที่ตั้ง: ระหว่างกิ่งแก้วซอย 25/1 และ 25/2 ศูนย์ตรวจสุขภาพ ชั้น 1 ดูแผนที่
- ดูแพ็กเกจจาก รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต ได้ที่นี่