รวมถาม-ตอบ เกี่ยวกับ Sleep Test ตรวจการนอนหลับ ตอบโดยแพทย์เฉพาะทาง


จากที่ได้พูดคุยกับคุณหมอหลังการตรวจ Sleep Test ที่ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต ยังมีเรื่องราวที่คิดว่าจะช่วยตอบคำถามให้หลายๆ คน ที่ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ การตรวจ Sleep Test ตรวจการนอนหลับ ก็เลยรวมสรุปเอาไว้ให้ตรงนี้นะครับ

ใครอยากอ่านรีวิว Sleep Test ตรวจการนอนหลับ ตามไปอ่านกันได้ที่นี่เลยครับ รีวิว Sleep Test พร้อมทดสอบการตั้งค่าของเครื่อง CPAP ที่ รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

Sleep Test หรือ ตรวจการนอนหลับ ทำเพื่อดูคุณภาพการนอนว่า คนไข้เป็นโรครึเปล่า การนอนหลับไม่ได้มีแค่โรคหายใจอุดกั้น โรคนอนกรน แต่อาจมีโรคที่เกิดจากยา ผลจากการกินยานอนหลับเยอะ ใช้ยากระตุ้นเยอะ โรคที่เกิดจากสมอง โรคลมชัก โรคทางจิตเวช หรือบางคนละเมอตอนนอน รวมถึงโรคที่เกิดจากการหายใจส่วนบนไม่ดี ต่อมทอนซิลโต หรือต่อมอดีนอยด์โต (ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในส่วนหลังของโพรงจมูก) ซึ่งถ้าทดสอบการนอนหลับแบบเต็มขั้นจะบอกได้หลายโรค โดยวินิจฉัยแยกแต่ละโรคและตรวจได้ด้วยว่าคนไข้มีปัญหาจุดไหนกันแน่
แบ่งเป็นสี่ระดับ ระดับเต็มขั้นคือทดสอบสัญญาณทุกอย่างในร่างกาย คลื่นไฟฟ้าสมอง ลูกตา หัวใจ ทดสอบลมผ่านเข้าออกจมูก เคลื่อนไหวลูกตา หน้าอกช่องท้อง ทดสอบการวัดระดับออกซิเจนในเลือด ร่วมกับนักเทคนิคการแพทย์เฝ้าตลอดการนอนหลับ เรียกว่า ทดสอบระดับลึก ทดสอบเต็มขั้น ถัดมาเป็นการทดสอบระดับสอง จะเหมือนกับการทดสอบเต็มขั้นทุกอย่างแต่ไม่มีนักเทคนิคการแพทย์เฝ้า ถัดมาเป็นระดับสาม คือไม่เต็มขั้น จะตัดรายการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองออกไป และสามารถทำที่บ้านได้ แต่การแปรผลค่อนข้างที่จะต่างจากความเป็นจริงเล็กน้อย และแยกบางโรคไม่ได้ สุดท้ายระดับสี่ เป็นการตรวจแบบคร่าวๆ แค่ไม่กี่รายการแล้วแปรผล ผลค่อนข้างเพี้ยน
ผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ คนรอบข้างบอกว่านอนกรนรุนแรง หรือผู้ที่รู้สึกมีอาการผิดปกติจากการนอน เช่น ตื่นเช้ามาไม่สดชื่น มีปัญหาการทำงานระหว่างวัน สมาธิไม่ดี หรือผู้ที่แพทย์แนะนำให้ตรวจจากสาเหตุโรคอื่นๆ
จริงๆ แล้วสามารถตรวจได้ทุกคน เพราะการตรวจไม่ได้ทำอะไรรุนแรง ไม่มีข้อเสีย แต่ต้องดูความคุ้มค่าของการตรวจแต่แรก
ตรวจได้หมด แต่จะแปรผลได้ถูกต้องไหมเป็นอีกเรื่องนึง เช่น ช่วงนี้เป็นโรคเครียด ต้องกินยานอนหลับประจำ ผลที่ได้จะไม่แม่นยำ
ทางโรงพยาบาลพยายามเตรียมสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับสภาพจริงในชีวิตประจำวันมากที่สุด จะต้องไม่มีสารกด สารกระตุ้นประสาท เช่น สุรา ชา กาแฟ สารเสพติด เพราะจะทำให้การแปรผลคลาดเคลื่อน นอกนั้นก็อาบน้ำ แปรงฟัน ตามปกติที่จะทำให้เรานอนหลับสบาย
ระหว่างการตรวจ นักเทคนิคการแพทย์จะเฝ้าดูความเปลี่ยนแปลงระหว่างนอน ถ้าคุณภาพการนอนแย่มากๆ ก็จะปลุกมาขอให้ใส่เครื่องช่วยดันลม เพื่อประเมินว่าใส่แล้วดีขึ้นเยอะมั้ย แล้วรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ผลในตอนเช้า ซึ่งการประเมินก็ดูจากคลื่นไฟฟ้าสมอง การหยุดหายใจเยอะๆ ออกซิเจนต่ำลงระดับรุนแรง
ปกติแล้วคนเราหยุดหายใจขณะนอนหลับต่ำกว่า 5 ครั้ง/ชั่วโมง ถ้า 5-15 ครั้ง/ชั่วโมงอยู่ในระดับปานกลาง แต่ถ้าเกิน 15 ครั้ง/ชม. ถือว่าอยู่ในระดับรุนแรง ซึ่งเกณฑ์การตรวจวัดก็มีหลากหลาย ส่วนการดูระดับออกซิเจนในเลือด โดยปกติถ้าตื่นอยู่จะประมาณ 99-100% ซึ่งขณะนอนถ้าต่ำว่า 85% ถือว่าค่อนข้างรุนแรง
ถ้าหากตรวจที่โรงพยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ก็จะมาปลุกแล้วติดตั้งให้ใหม่ แต่ถ้าทดสอบที่บ้านแล้วหลุด ต้องดูว่าข้อมูลที่เก็บมาได้เพียงพอต่อการแปรผลไหม ถ้าเกิดว่าหลุดนานจนไม่มีค่าอะไรให้อ่านเลยก็ไม่ได้ แนะนำให้ตรวจใหม่
จริงๆ แนะนำให้ตรวจใหม่เพราะไม่มีค่าอะไรให้อ่านเลย และการใช้ยานอนหลับจะทำให้ผลคลาดเคลื่อน แต่บางรายจำเป็นจริงๆ ก็จะให้ยานอนหลับอ่อนๆ แต่ผลที่ได้ก็จะไม่ใช่ผลจริง ดังนั้นวิธีแก้ไขอาจจะต้องเปลี่ยนไปนอนที่บ้าน ตรวจแบบที่บ้าน แลกกับรายการตรวจที่น้อยลงแต่นอนหลับได้ปกติ
สังเกตตามอาการ ในกลุ่มแรกจะเป็นกลุ่มที่นอนเยอะแต่ตื่นมารู้สึกไม่ได้นอน ระหว่างวันสมาธิไม่ดี ปากแห้ง คอแห้ง มึนหัว ทำงานมีข้อบกพร่อง อีกกลุ่มคือไม่รู้เรื่องจริงๆ หมอวินิจฉัยโรคแล้วมาเจอ ปรากฎว่าเป็นโรคหัวใจวายไปแล้ว ความดันสูงรักษาไม่หาย หรือว่าอ้วนมาก ซึ่งบางคนไม่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคอยู่
ส่วนใหญ่วันต่อวัน ขึ้นกับความละเอียดในการแปรผล เพราะจริงๆ แล้วตัวเครื่องสามารถรวบรวมผลบอกตอนนั้นได้เลย แต่เจ้าหน้าที่จะมาดูกราฟอีกครั้งเพื่อให้ตรงกับผลที่เครื่องอ่าน แล้วสรุปอีกครั้ง

ตอบคำถามโดย

นพ.ขวัญชัย ประสิทธิ์วุฒิเวชช์ แพทย์เฉพาะทางโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต

หากมีคำถามที่ยังหาคำตอบไม่ได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ขอคำแนะนำก่อนตัดสินใจ หรือให้แอดมินจองคิวตรวจล่วงหน้าให้ ทักไลน์ @hdcoth ได้เลย เรามีแอดมินใจดี๊ใจดีพร้อมให้บริการตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงตี 1 ทุกวัน!

@‌hdcoth line chat