ขั้นตอนการฉีดยากระตุ้นไข่ด้วยตนเอง
ปิด
ปิด
- เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่จะฉีดด้วยแผ่นแอลกอฮอล์
- ประกอบหัวเข็ม และปรับจำนวนฮอร์โมนที่ปากกาตามยูนิตที่คุณหมอกำหนด
- ใช้มือข้างที่ไม่ถนันบีบเนื้อพุง และใช้มือข้างที่ถนัด เอาปลายปากกาจิ้มเข้าไปที่พุง กดปลายปากกาเพื่อฉีดฮอร์โมนเข้าไปในร่างกายจนหมด
- ดึงออกตรงๆ หากมีเลือดออก ให้ใช้แผ่นแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดอีกครั้ง
- รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDreview ได้รับการสปอนเซอร์จากทาง HDmall.co.th และโรงพยาบาลพญาไท 2
- ดูรายละเอียดโปรแกรมแช่แข็งไข่ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2
เทนเชื่อว่าหลายๆ คนที่คิดจะฝากไข่ แต่ยังตัดสินใจไม่ได้สักที อาจเป็นเพราะกลัวการฉีดยาด้วยตัวเอง แต่เทนบอกเลยว่าไม่เจ็บเลยสักนิด
ในกระบวนการฝากไข่ แช่แข็งไข่ ขั้นตอนที่ต้องอาศัยวินัยและห้ามลืมเด็ดขาดเลยคือการฉีดยาฮอร์โมนกระตุ้นไข่ค่ะ ก่อนอื่นใครที่ยังไม่ได้อ่านรีวิวฝากไข่ ไปอ่านได้เลยที่ รีวิว ฝากไข่ของเทน ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 ละเอียดมากๆ ค่ะ
สำหรับฮอร์โมนที่ใช้ฉีดกระตุ้นไข่มีหลายตัวมากๆ ค่ะ แต่ไม่ต้องกังวลว่าจะส่งผลกระทบอะไรกับร่างกายนะคะ เพราะฮอร์โมนนี้ผลิตขึ้นมาเลียนแบบคล้ายกับฮอร์โมนของมนุษย์มากๆ และยังไม่ตกค้างในร่างกายอีกด้วยค่ะ
แต่สิ่งที่ต้องท่องเลยคือ วันแรกฉีดข้างนึง ส่วนวันถัดไปให้ฉีดสลับข้าง ฉีดสลับพุงซ้ายขวา แต่จะต้องฉีดในเวลาเดียวกันทุกวัน บวกลบได้ไม่เกิน 1 ชั่วโมงแต่ถ้ามีตัวยามากกว่า 1 ตัว ให้ฉีดคนละข้างกับตัวแรกค่ะ
สมมติว่า วันแรกเทนฉีดยา A ที่พุงข้างซ้าย ยา B ต้องฉีดพุงข้างขวา ส่วนวันถัดไปก็สลับกัน ฉีดยา A ที่พุงข้างขวา แล้วยา B ที่พุงข้างซ้ายค่ะ
และที่สำคัญพอเราฉีดยากระตุ้นไปแล้วทุกๆ 3-4 วันจะต้องมาพบคุณหมอเพื่อตรวจอัลตราซาวด์ติดตามการเจริญเติบโตของไข่ และเจาะเลือดตรวจดูความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนด้วย
ในทุกๆ ครั้งคุณหมอจะอัลตราซาวด์ดูไข่ที่ถูกกระตุ้น ถ้าโตเร็วเกินไป หรือโตช้าก็อาจจะปรับตัวยาฮอร์โมนเพื่อให้ไข่อยู่ในขนาดที่พอดีค่ะ
ฮอร์โมนกระตุ้นทั้งหมดสำหรับการฝากไข่ที่เทนฉีด มีทั้งหมด 4 ตัวค่ะ
- Gonal-f® (follitropin alfa for injection) - ตัวนี้เทนได้มาตั้งแต่ครั้งแรกเลย เป็นตัวยา Follicle Stimulating Hormone (FSH) เพื่อกระตุ้นรังไข่
- Pergoveris - สัปดาห์ถัดมาผลตรวจฮอร์โมนเทน เทนมีระดับฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) ต่ำกว่าปกติ คุณหมอเลยเอาตัวนี้มาให้แทน เพราะมีตัวยา LH ผสมกับ FSH
- Cetrotide 0.25 มิลลิกรัม - คุณหมอเพิ่มฮอร์โมนตัวที่ 2 มา ซึ่งเป็นกลุ่มยา GnRH antagonist (Gonadotropin-releasing hormone antagonist) มีหน้าที่ป้องกันการตกไข่ก่อนเวลาค่ะ
- hCG (Human Chorionic Gonadotropin) - คุณหมอจะนัดให้เข้ามาฉีดที่รพ. เป็นฮอร์โมนที่จะทำให้ไข่ของเทนสุกภายใน 24-36 ชั่วโมง และพร้อมที่จะถูกดูดออกมาแช่แข็งค่ะ
ส่วนเข็มที่ใช้ฉีดยากระตุ้นผลิตขึ้นมาเป็นพิเศษเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน เป็นขนาดเดียวกับเข็มที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องฉีดด้วยตัวเองค่ะ สำหรับคนที่กลัวเข็มมากๆ สามารถไปฉีดที่โรงพยาบาลได้ จะมีพยาบาลคอยให้บริการตลอด 24 ชม. เลย
แต่สำหรับเทนเลือกฉีดเองที่บ้าน ทางโรงพยาบาลก็จะให้กล่องลังโฟมมาพร้อมกับน้ำแข็งค่ะ ในกล่องลังโฟมจะมีกล่องยาที่บรรจุเข็มสำหรับใช้ฉีดในแต่ละวันเอาไว้ ซึ่งมีจำนวนพอดีกับวันก่อนมาพบคุณหมออีกครั้งค่ะ
ขั้นตอนการฉีดฮอร์โมนกระตุ้นด้วยตัวเอง
คุณพยาบาลจะสอนวิธีการฉีดยากระตุ้นไข่ให้ที่โรงพยาบาลก่อน และให้เราลองทำจริงเลย ซึ่งขั้นตอนก็ไม่ยากค่ะ
- เช็ดทำความสะอาดบริเวณที่จะฉีดด้วยแผ่นแอลกอฮอล์
- ประกอบหัวเข็ม และปรับจำนวนฮอร์โมนที่ปากกาตามยูนิตที่คุณหมอกำหนด
- เปิดหัวเข็มออกจากปลอก และดึงจุกยางออก
- ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับเนื้อบริเวณพุง
- ใช้มือข้างที่ถนัด เอาปลายปากกาจิ้มเข้าไปที่พุง กดปลายปากกาเพื่อฉีดฮอร์โมนเข้าไปในร่างกายจนหมด
- ดึงออกตรงๆ หากมีเลือดออก ให้ใช้แผ่นแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดอีกครั้ง
ของเทนคุณหมอให้ฉีดจำนวน 225 ยูนิต โดยวิธีการปรับระดับยูนิต สามารถหมุนที่ปลายปากกาจากเลข 0 ให้เป็น 225 ซึ่งก็คือปริมาณของฮอร์โมนที่เราจะฉีดเข้าไปค่ะ
ตอนที่เราหมุนปากกา ตรงส่วนท้ายของปากกาจะขยายออกเป็นปุ่มให้เรากดในขั้นตอนการฉีดค่ะ
จากนั้นแกะหัวเข็มออก แล้วหมุนเสียบเข้าที่ปลายปากกา
ถอดปลอกเข็มสีขาวออก ดึงจุกยางที่ครอบเข็มเอาไว้ออกอีกครั้ง จะเห็นเลยว่าหัวเข็มเล็กกว่าเข็มปกติที่เอาไว้ใช้เจาะเลือดมากๆ เลยค่ะ
จากนั้นใช้แผ่นแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดบริเวณพุง เทคนิคการจิ้มเข็มก็คือ ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดจับเนื้อพุงขึ้นมา เวลาจิ้มเข็มลงไปจะได้ไม่เจ็บ
เอามือข้างที่ถนัดจิ้มปากกาที่มีเข็มเข้าที่พุง จากนั้นก็ค่อยๆ กดปลายปากกาที่เป็นปุ่มให้สุด จนตัวเลขจาก 225 มาถึง 0 แล้วค่อยๆ ดึงปากกาออก
ถ้าใครมีเลือดออกให้ใช้แผ่นแอลกอฮอล์เช็ดได้ค่ะ ซึ่งการที่เลือดออกอาจเป็นเพราะเราจิ้มเข็มไปโดนเส้นเลือดฝอย แต่จากที่เทนทำมาหลายวันมีเลือดออกครั้งเดียวเอง แล้วก็ไม่รู้สึกเจ็บนะคะ
หลังจากฉีดเสร็จคุณหมอให้เก็บตัวฮอร์โมนส่งคืนด้วย จากนั้นเก็บทุกอย่างลงกล่องลังโฟมแล้วนำไปแช่เย็นเหมือนเดิมค่ะ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการฉีดยากระตุ้นไข่
หลังจากฉีดยากระตุ้นไข่รอบแรกไปแล้ว เทนมีผลข้างเคียงเล็กน้อยตามนี้ค่ะ ซึ่งไม่ได้ทุกคนที่จะมีอาการแบบนี้นะคะ
- คลื่นไส้เล็กน้อยหลังฉีดฮอร์โมน แต่สามารถทำงานต่อได้ไม่มีปัญหาเลย
- มีมูกใสออกทางช่องคลอดตลอดวัน เหมือนกับตอนที่เราไข่ตกระหว่างมีประจำเดือน แต่เยอะกว่าปกตินิดหน่อย คุณหมอบอกว่าปกติ แต่ถ้ามูกเริ่มมีสีหรือกลิ่นให้บอกคุณหมอด่วน เพราะอาจมีการติดเชื้อค่ะ
- บวมน้ำ ท้องป่อง ใส่กางเกงเริ่มคับ แนะนำให้ใส่เดรสปล่อยๆ ชีวิตจะดีขึ้นมาก
นอกจากนี้เทนยังมีภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า ภาวะรังไข่ตอบสนองต่อการกระตุ้นมากเกินไป คุณหมอเลยแนะนำให้กินไข่ขาววันละ 4 ฟอง เพราะสารอัลบูมิน (Albumin) ในไข่ขาวจะช่วยอุ้มน้ำไว้ในเส้นเลือด แต่คุณหมอบอกไม่ต้องกังวล หลังประจำเดือนมา ท้องของเราก็จะแฟบตามเดิมค่ะ
หลังจากฉีดยากระตุ้นไข่ไป 3-4 วัน ก็มาตรวจอัลตราซาวด์อีกรอบ และเจาะเลือดวันระดับฮอร์โมน ซึ่งเทนมีระดับฮอร์โมน LH (Luteinizing Hormone) ต่ำกว่าปกติ คุณหมอก็เลยปรับฮอร์โมนเพิ่มขึ้น และเพิ่มตัวยาสำหรับกระตุ้นฮอร์โมนตัวที่สองมาด้วยคือชื่อว่า Cetrotide 0.25 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นกลุ่มยา GnRH antagonist (Gonadotropin-releasing hormone antagonist) มีหน้าที่ป้องกันการตกไข่ก่อนเวลาค่ะ
วิธีการฉีด Pergoveris ยุ่งยากกว่าตัวแรกนิดหน่อย เพราะจะมีสารมาให้เราผสมเอง ซึ่งอุปกรณ์ที่ได้เพิ่มมาก็คือ 1. ไซริงค์บรรจุสารใสๆ 2. ขวดบรรจุผงสีขาว 3. หัวเข็มสีเหลือง และ 4. หัวเข็มสีขาว ซึ่งการฉีดยาตัวที่ 2 จะต้องฉีดคนละข้างกับยาตัวแรก และสลับวันกันไปเหมือนเดิมนะคะ
วิธีการผสมฮอร์โมนด้วยตัวเอง
การฉีดยาตัวที่ 2 จะต้องฉีดคนละข้างกับยาตัวแรก และสลับวันกันไปเหมือนเดิมนะคะ
- เปิดฝาครอบไซริงค์ แล้วหมุนหัวเข็มสีเหลืองเข้าไป
- ดึงฝาครอบเข็มออก แล้วปักเข็มเข้าไปในขวดที่มีสารสีขาว
- ฉีดตัวยาจากไซริงค์เข้าในขวดให้หมด จากนั้นก็เขย่าให้สารทั้งสองละลายผสมเข้าด้วยกัน โดยที่เข็มยังปักคาอยู่ในขวด
- พอสารสีขาวละลายหมดแล้ว ใช้ไซริงค์ดูดกลับเข้าไปเหมือนเดิม
- เปลี่ยนจากหัวเข็มสีเหลือง เป็นหัวเข็มสีขาว ซึ่งจะมีขนาดเล็กกว่า และใช้หัวเข็มนี้ในการฉีดเข้าที่พุงของเรา
ก่อนฉีดให้ใช้แผ่นแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดก่อน จากนั้นบีบเนื้อพุงขึ้นมาแล้วปักเข็มลงไป ฉีดสารที่ผสมแล้วลงไปให้หมดเป็นอันเสร็จค่ะ
หลังจากฉีดยากระตุ้นไข่ด้วยตัวเองมา 1 อาทิตย์กว่าๆ สลับกับตรวจอัลตราซาวด์และเจาะเลือดตรวจระดับฮอร์โมน ก็ถึงเวลาที่คุณหมอจะนัดให้เข้ามาฉีดฮอร์โมนตัวสุดท้ายที่ชื่อว่า hCG (Human Chorionic Gonadotropin)
ฮอร์โมนตัวนี้พยาบาลจะเป็นคนฉีดให้ค่ะ มีทั้งหมด 3 เข็ม โดยเข็มแรกฉีดที่สะโพก ส่วนอีก 2 เข็มฉีดที่พุงซ้ายขวา เพื่อกระตุ้นไข่ให้ตกใน 36 ชั่วโมง
ขั้นตอนต่อไปคือการเก็บไข่ค่ะ ติดตามรีวิวได้ที่ รีวิว ฝากไข่ 7 ขั้นตอน โดยละเอียด ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2
บทความที่เกี่ยวข้องกับการฝากไข่ เก็บไข่ แช่แข็งไข่
- ฝากไข่ แช่แข็งไข่ คืออะไร
- ขั้นตอนกับการเตรียมตัว พร้อมราคาและสถานที่ในการฝากไข่
- การผสมเทียมทั่วไป (Conventional Insemination) และ อิ๊กซี่ (ICSI)
- การทำ IVF (In Vitro Fertilization) หรือการรักษาภาวะมีบุตรยาก เป็นยังไง
- ICSI คืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง
- เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของ IUI, IVF และ ICSI