สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- ด้วยอายุที่มากขึ้น และในอดีตผมก็เคยสูบบุหรี่มาก่อนด้วย ถึงปัจจุบันจะเลิกขาดไปแล้ว แต่ก็ยังอยากรู้ว่าหัวใจของเรายังแข็งแรงดีอยู่หรือไม่
- การตรวจ EST เป็นการตรวจเพื่อทดสอบสมรรถภาพการทำงานของหัวใจโดยเฉพาะ ผ่านการติดอุปกรณ์รับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจบนร่างกาย แล้ววิ่งออกกำลังกายบนลู่วิ่ง เพื่อตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจระหว่างที่ร่างกายมีการออกแรง
- ในช่วงแรกของการตรวจ คุณหมอจะยังไม่ได้ให้วิ่งเร็วในทันที แต่จะเป็นแค่การเดินปกติบนลู่วิ่งที่ถูกปรับให้ชันขึ้นก่อน หลังจากนั้นคุณหมอจะค่อยๆ เพิ่มระดับความชันและความเร็วของลู่วิ่งขึ้น
- คนที่ควรตรวจ EST ออกเป็น 2 กลุ่ม ผู้ที่มีอาการเสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ และผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมสูบบุหรี่เป็นประจำ มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
- รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDreview ได้รับการสปอนเซอร์จากทาง HDmall.co.th และ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร
- ดูรายละเอียด ราคาตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย EST ที่ รพ. เปาโล เกษตร
- ดูโปรแกรมทั้งหมดจาก โรงพยาบาลเปาโล เกษตร บน HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่
- ตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST คืออะไร?
- ขั้นตอนการตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST
- ผลตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST
- ใครเหมาะกับการตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST
- ข้อควรระวังในการตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST
- บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
ผมเป็นคนที่ชอบออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานวันละ 6 กิโลฯ อยู่แล้วครับ แต่ด้วยอายุที่มากขึ้นเลยทำให้กังวลเกี่ยวกับความแข็งแรงของหัวใจ ถึงแม้ว่าผมจะเลิกขาดจากบุหรี่มานานแล้ว แต่ก็ยังอยากรู้ว่าหัวใจของเรายังแข็งแรงดีอยู่หรือไม่
ก็เลยปรึกษากับลูกสาวว่าอยากตรวจสุขภาพเฉพาะด้านเกี่ยวกับสมรรถภาพของหัวใจ ลูกสาวเลยแนะนำให้ผมลองตรวจ EST ดู ซึ่งเป็นการตรวจเพื่อทดสอบสมรรถภาพการทำงานของหัวใจโดยเฉพาะ
และลูกยังแนะนำอีกว่าให้ลองไปตรวจที่โรงพยาบาลเปาโล เกษตรดูสิ เพราะที่นี่เขามีคุณหมอและเจ้าหน้าที่พยาบาลคอยดูแลแบบเป็นมืออาชีพ มีระบบการทำงานรวดเร็วทันใจ และทุกคนยังให้บริการแบบเป็นกันเองมากด้วย ไม่ต้องกังวลหรือเครียดระหว่างการตรวจเลย
ในเมื่อได้ทั้งความสะดวก ได้ทั้งบุคลากรในโรงพยาบาลที่ใจดี ลูกสาวก็ลองทำนัดเวลาไปตรวจเรียบร้อยเลยครับ
ตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST คืออะไร?
สำหรับการตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือที่เรียกว่า Exercise Stress Test (EST) คือการทดสอบหัวใจขณะที่กำลังออกกำลังกายโดยการวิ่งบนสายพานหรือปั่นจักรยานครับ
แต่ที่เราจะตรวจกันเป็นการวิ่งบนสายพาน คุณหมอก็จะตรวจดูว่าตอนที่เราออกกำลังกายหนักๆ อยู่ กล้ามเนื้อหัวใจได้รับเลือดและออกซิเจนมาหล่อเลี้ยงพอมั้ย สาเหตุที่ต้องตรวจตอนออกกำลังกายก็เพราะว่า ถ้าอยู่ในภาวะปกติอาจไม่แสดงอาการ และตรวจไม่พบความผิดปกติครับ
ระหว่างตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST หากเป็นคนที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันก็จะทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอจนหายใจลำบาก เจ็บ แน่นหน้าอก หัวใจเต้นผิดปกติ หรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีการเปลี่ยนแปลง คุณหมอก็จะวินิจฉัยได้ว่า เรามีความผิดปกติอะไรไหม และวางแผนรักษาได้อย่างตรงจุด
รีวิวตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย EST ที่ รพ. เปาโล เกษตร
เมื่อมาถึงโรงพยาบาลเปาโล เกษตร เจ้าหน้าที่ก็พาไปวัดความดันเพื่อทำประวัติก่อน จากนั้นก็พาไปเปลี่ยนเสื้อสำหรับตรวจ EST ครับ
เพราะการตรวจ EST จะต้องมีการติดสายตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจกับร่างกายเรา เสื้อที่ใส่สำหรับตรวจเลยต้องเป็นเสื้อผ่าหน้าไม่มีกระดุม แต่จะใช้เป็นการผูกเชือกแทนครับ ซึ่งทางโรงพยาบาลจัดเตรียมไว้ให้แล้ว
เมื่อเปลี่ยนชุดเสร็จ เราก็เข้ามาพบคุณหมอเพื่อซักประวัติกันก่อน โดยเบื้องต้นคุณหมอถามเกี่ยวกับประวัติโรคประจำตัวและภาพรวมความแข็งแรงของสุขภาพ
ซึ่งผมก็ได้แจ้งไปว่ามีประวัติเป็นโรคตับแข็ง ก็จะมียาประจำตัวเป็นพวกวิตามินเสริมที่หมอประจำตัวจัดไว้ให้ แต่ในส่วนของความแข็งแรงนั้นผมสามารถออกกำลังกายได้ตามปกติทุกอย่าง ไม่เหนื่อยง่าย ไม่มีอาการหอบ ไม่เจ็บหน้าอกอะไรเลย
จากนั้นคุณหมอก็ขอฟังเสียงการเต้นของหัวใจผมหน่อย ให้ผมหายใจเข้าออกลึกๆ ทุกอย่างก็ปกติดี คุณหมอก็เลยให้ไปที่ห้องตรวจ EST ได้เลย
ขั้นตอนการตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST
การตรวจ EST จะมีขั้นตอนหลักๆ คือ ทางพยาบาลจะติดอุปกรณ์ที่เป็นแผ่นกาวสี่เหลี่ยมตรงหน้าอกกับตรงหน้าท้องของผม แล้วตามด้วยสายรับสัญญาณคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เมื่อติดสายครบทุกจุดตามร่างกายแล้ว พยาบาลจะเหน็บตัวเครื่องรับส่งสัญญาณไว้ที่เอวแล้วผูกไว้ด้วยผ้ารัดสีดำๆ คล้ายกับเข็มขัด
จากนั้นก็ต้องขึ้นไปยืนบนลู่วิ่งออกกำลังกาย ในขั้นตอนนี้ยังไม่ต้องวิ่งทันทีนะครับ ทางพยาบาลจะเชิญคุณหมอเข้ามาตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนผมเริ่มวิ่ง ซึ่งเบื้องต้นผลตรวจในส่วนนี้ยังไม่มีความผิดปกติอะไร
เมื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อนวิ่งเสร็จแล้ว คราวนี้เรามาเริ่มวิ่งจริงๆ กัน แต่คุณหมอจะยังไม่ได้ให้วิ่งเร็วในทันทีนะ ในช่วงแรกๆ จะเป็นการเดินปกติบนลู่วิ่งที่ถูกปรับให้ชันขึ้นก่อน ด้านหน้าลู่วิ่งจะมีราวจับให้ สามารถจับไปด้วยเดินไปด้วยได้เลย และจะมีพยาบาลคอยประคองหลังเราอีกคนด้วยเพื่อป้องกันการหกล้ม
หลังจากนั้นคุณหมอจะค่อยๆ เพิ่มระดับความชันและความเร็วของลู่วิ่งขึ้นครับ แรกๆ ผมก็ยังไหว แต่พอเริ่มเหนื่อยคราวนี้ผมเปลี่ยนจากจับราวมาเท้าแขนกับราวละ
พอถึงช่วงที่ต้องเริ่มวิ่งเร็ว คุณหมอจะให้สัญญาณกับผมก่อน แล้วค่อยปรับสายพานบนลู่วิ่งให้เร็วขึ้นอีก
ผมวิ่งไปได้ไม่กี่นาทีก็แจ้งคุณหมอว่าขอหยุดแค่นี้ พอดีมันรู้สึกปวดขาจนวิ่งต่อไม่ไหว คุณหมอก็รีบปรับลู่วิ่งให้ช้าลงเลยครับ แต่จะเป็นการผ่อนให้ช้าทีละนิด เพื่อให้ร่างกายผมค่อยๆ ปรับตัวกับความเร็วที่ลดลง และระหว่างนั้นจะมีพยาบาลคอยประคองตัวผมอยู่ตลอดด้วย
หลังจากเดินช้าต่อไปได้สักพัก ผมก็ลงมานั่งพักที่โซฟาข้างๆ ลู่วิ่ง แล้วพยาบาลก็เอาน้ำมาให้ผมดื่ม พักให้พอหายเหนื่อย แล้วทางพยาบาลก็ให้ผมไปเปลี่ยนเสื้อผ้ากลับไปเป็นชุดเดิม แล้วค่อยไปฟังผลตรวจกับคุณหมอในอีกห้อง
ผลตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST
ผลตรวจ EST จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนนะครับ ส่วนแรกเป็นตรวจดูสมรรถภาพการออกแรงขณะออกกำลังกาย ซึ่งในส่วนนี้ร่างกายผมมีการตอบสนองระหว่างออกกำลังกายดีและอยู่ในเกณฑ์ปกติ นอกจากนี้ก็ไม่มีความเสี่ยงเรื่องภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วย
และผลตรวจส่วนที่สองก็คือ ผลตรวจเกี่ยวกับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ ในส่วนนี้คุณหมอแจ้งว่าเป็นเพราะผมไม่สามารถวิ่งได้นานถึงเกณฑ์ที่การตรวจ EST กำหนด จึงไม่สามารถแปลผลออกมาได้แม่นยำว่าผมไม่มีความเสี่ยงเกี่ยวกับการเป็นภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบครับ
คุณหมอจึงแนะนำให้ผมกลับไปออกกำลังกายให้มากขึ้นก่อน เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงกว่าเดิมและมากพอที่จะวิ่งบนสายพานได้นานกว่าครั้งนี้
ส่วนอาการปวดขาที่เกิดขึ้นระหว่างวิ่ง อันนี้เป็นเพราะการปรับความชันของลู่วิ่งระหว่างตรวจครับ ทำให้ผมต้องใช้กล้ามเนื้อขาเยอะจนเมื่อยกว่าเดิม ไม่ได้ผิดปกติอะไร
ในส่วนของผลตรวจ ผมก็ค่อนข้างโล่งใจครับที่อย่างน้อยก็ยังไม่มีความเสี่ยงเรื่องภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ก็ยังต้องกลับไปฟิตร่างกายให้หนักขึ้นเพื่อให้สามารถวิ่งบนลู่ในการตรวจครั้งหน้าได้นานกว่าเดิม การแปลผลตรวจจะได้ครบถ้วนกว่าการตรวจครั้งนี้
ผมจึงสอบถามคุณหมอนิดนึงว่า แล้วทำไมการตรวจ EST ถึงต้องใช้การออกกำลังกายเป็นตัวคัดกรองความเสี่ยงโรคต่างๆ ด้วย
คุณหมอจึงอธิบายว่า ในระหว่างการออกกำลังกาย ร่างกายของเราจะสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ เพิ่มขึ้น จึงทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจน้อยลง หากเรามีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ มันก็จะมีอาการแสดงออกมาเป็นการออกแรงที่ลดลง และมีสัญญาณคลื่นไฟฟ้าผิดปกตินั่นเองครับ
ใครเหมาะกับการตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST
ผมเองก็มีเพื่อนฝูงที่ต่างก็อายุเพิ่มขึ้นกันหมด เลยถามคุณหมอต่ออีกหน่อยว่า แล้วใครบ้างที่ควรมาตรวจ EST เผื่อจะชวนเพื่อนๆ มาตรวจกันบ้างครับ
คุณหมอได้แนะนำกลุ่มคนที่ควรตรวจ EST ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ ผู้ที่มีอาการเสี่ยงเป็นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ เช่น ใจสั่นง่าย มักมีอาการแน่นหน้าอกระหว่างออกแรง
และกลุ่มที่สองคือ กลุ่มผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป มีพฤติกรรมสูบบุหรี่เป็นประจำ มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ก็ควรลองมาตรวจ EST ด้วยเช่นกันครับ
ข้อควรระวังในการตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST
นอกจากนี้คุณหมอยังแนะนำเกี่ยวกับข้อควรระวังในการตรวจให้ผมทราบด้วย ข้อแรก ถ้าต้องการมาตรวจ EST ในช่วง 48 ชั่วโมงแรกก่อนมาตรวจ จะต้องไม่มีอาการเจ็บหน้าอกครับ ถ้าสมมติใครนัดตรวจ EST ไว้แล้วมีอาการนี้ ให้ไปปรึกษาคุณหมอก่อนเลยครับ
และข้อที่สอง ผู้ตรวจจะต้องไม่มีภาวะน้ำท่วมปอด ภาวะเสี่ยงหัวใจวาย หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง รวมถึงโรคลิ้นหัวใจด้วยครับ
ใครที่มีภาวะหรือโรคเหล่านี้ แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอประจำตัวก่อนตรวจครับ อย่าเพิ่งจองคิวมาตรวจทันที ไม่งั้นจะเสี่ยงอันตรายมาก เพราะระหว่างวิ่งบนสายพาน มันมีโอกาสที่โรคประจำตัวของคุณจะกำเริบเฉียบพลันได้
ก็ขอฝากถึงชาวสูงวัยหรือชาวสว. ทุกคนนะครับ ทุกการเต้นของหัวใจมันมีความหมาย เรื่องหัวใจคนอื่นเนี่ยเราอาจจะบังคับให้เขาดูแลไม่ได้ แต่หัวใจของตัวเราเองเราดูแลให้แข็งแรงได้นะครับ อย่าลืมหาเวลามาตรวจ EST กันดูสักครั้งนะครับ จะได้รู้ว่าหัวใจเรามีสมรรถภาพสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน
และหากใครยังหาโรงพยาบาลสำหรับตรวจ EST ไม่ได้ ผมก็ขอแนะนำให้มาตรวจที่โรงพยาบาลเปาโล เกษตรเลยครับ คุณหมอใจดี เจ้าหน้าที่พยาบาลทุกคนทำงานรวดเร็วและเป็นกันเองมากๆ ครับ หรือจะซื้อแพ็กเกจ ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย EST ที่ โรงพยาบาลเปาโล เกษตร บน HDmall.co.th ก็ได้นะครับ