“หัวใจ” เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมากเพราะทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย หากเกิดปัญหาเกี่ยวกับหัวใจขึ้นมาอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร้ายแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะ “โรคหัวใจและหลอดเลือด” ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนี้ยังมีโรคและความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจอีกมากมาย เช่น โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหัวใจจากความดันโลหิตสูง ผนังกั้นหัวใจรั่ว
ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของหัวใจและโรคเกี่ยวกับหัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 จึงจัดตั้ง “ศูนย์หัวใจ (Health Heart Center)” ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดครบวงจร ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์อายุรกรรมหัวใจและศัลยแพทย์หัวใจผู้มีประสบการณ์ตลอด 24 ชั่วโมง
หากคุณ หรือคนที่คุณรักมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจไม่ว่าจะใหญ่ หรือเล็ก ไม่ควรนิ่งเฉยคิดว่า “เดี๋ยวก็หาย” หรือ “ไว้ก่อน” แต่ควรรีบไปตรวจกับแพทย์เฉพาะทางก่อนเป็นดีที่สุด
ภาพรวมการรีวิว
- เกี่ยวกับ: ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2
- บริการที่แนะนำ: โปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง+EST และโปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง+ECHO
- บรรยากาศภายในและอุปกรณ์อำนวยความสะดวก: มีที่รองรับผู้ป่วยและญาติคนไข้จำนวนมาก มีร้านอาหาร ร้านกาแฟ และร้านสะดวกซื้อให้บริการ
- รีวิวจากผู้ใช้บริการจริง
- อุปกรณ์ทางการแพทย์: ห้องผ่าตัดแบบไฮบริด ห้องปฏิบัติการผ่าตัดหัวใจ ห้องสำหรับผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ (CCU)
- รายชื่อแพทย์: แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ 16 ท่าน
- เวลาทำการ:
แผนกผู้ป่วยนอก แผนกฟื้นฟูหัวใจ และควบคุมปัจจัยเสี่ยง เปิดบริการทุกวัน (วันจันทร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ เวลา 07.00 – 18.00 น. / วันอังคาร – วันศุกร์ เวลา 07.00 - 20.00 น.)
แผนกผู้ป่วยในโรคหัวใจ แผนกตรวจสวนหัวใจ แผนกผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ และแผนกผ่าตัดหัวใจ เปิดบริการทุกวัน 24 ชั่วโมง - ข้อมูลการติดต่อ: โทร 02-6172444 ต่อ 4735-4736 หรือสายตรง 02-6172469
- การเดินทาง: BTS รถประจำทาง หรือรถยนต์ส่วนตัว
- การชำระค่าบริการ: เงินสด โอนเงิน และบัตรเครดิต
เลือกดูแพ็กเกจและจองคิวศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้ที่นี่ หรือสอบถามได้ทางไลน์ @hdcoth
1. เกี่ยวกับ
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 ดูแลผู้ป่วยภายใต้แนวคิด 4H’s สะท้อนให้เห็นความสำคัญของหัวใจที่ต้องได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด ประกอบด้วย
- Heart Service พร้อมให้บริการแบบฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
- Heart Doctor ผู้ป่วยโรคหัวใจจะได้รับการดูแลโดยทีมแพทย์ด้านหัวใจชั้นนำระดับประเทศ
- Heart Imaging ใช้เทคโนโลยีรังสีวิทยาในการวินิจฉัยโรค ได้แก่
- เครื่อง MRI (Magnetic Resonance Imaging)
- เครื่องซีทีสแกน (CT-Scan)
- ห้องปฏิบัติการสำหรับการตรวจหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ (Cardiac Catheterization Lab) หรือเรียกสั้นๆ ว่า Cath Lab เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำ
- Heart Rehab การฟื้นฟูหัวใจเพื่อให้ผู้ป่วยโรคหัวใจสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อมาทำการรักษาที่ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 จะได้รับการดูแลที่ดีที่สุด
ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 ประกอบด้วยแผนกต่างๆ 6 แผนก ดังนี้
1. แผนกผู้ป่วยนอก
บริการ: ตรวจรักษาและวินิจฉัยโรคหัวใจด้วยเครื่องมือทันสมัย เช่น ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) ตรวจหัวใจด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (ECHO)
เวลาทำการ: เปิดบริการทุกวัน (วันจันทร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ เวลา 07.00 – 18.00 น. วันอังคาร – วันศุกร์ เวลา 07.00 - 20.00 น.)
2. แผนกตรวจสวนหัวใจ
บริการ: ตรวจสวนหัวใจผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีอาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยโรคหัวใจแต่กำเนิด ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดอื่นๆ ที่ต้องการตรวจสวนหลอดเลือดเพื่อวินิจฉัย หรือรักษาด้วยการขยายด้วยบอลลูน หรือขดลวด และผู้ป่วยที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่จำเป็น ต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจแบบถาวร
เวลาทำการ: เปิดบริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
3. แผนกผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ
บริการ: ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งอายุรกรรมและศัลยกรรมที่มีแนวโน้มเข้าสู่ภาวะวิกฤต หรืออยู่ในภาวะวิกฤตที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง
เวลาทำการ: เปิดบริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
4. แผนกผ่าตัดหัวใจ
บริการ: แผนกผ่าตัดหัวใจทั้งเด็กและผู้ใหญ่ด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดที่ทันสมัย เช่น
- การสวนหัวใจด้วยขดลวดและบอลลูน
- การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจแบบไม่ต้องหยุดการทำงานของหัวใจ หรือเรียกว่า “Off-Pump CABG”
- เปลี่ยนลิ้นหัวใจเอเออร์ติคตีบโดยไม่ต้องผ่าตัด TAVI
- การเปลี่ยนลิ้นหัวใจไมตรัลรั่วโดยไม่ต้องผ่าตัด Mitral Clip
- การรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองในช่องอกและช่องท้องโดยไม่ต้องผ่าตัด Tevar/Evar
หมายเหตุ: ไม่มีการศัลยกรรมผ่าตัดผ่านกล้อง
เวลาทำการ: เปิดบริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
5. แผนกผู้ป่วยในโรคหัวใจ
บริการ: ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งอายุรกรรมและศัลยกรรม โดยมีทีมพยาบาลซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจโดยเฉพาะ
เวลาทำการ: เปิดบริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
6. แผนกฟื้นฟูหัวใจและควบคุมปัจจัยเสี่ยง
บริการ: ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับวิธีดูแลผู้ป่วย การออกกำลังกาย และโภชนาการ ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมทั้งติดตามผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดหัวใจหลังออกจากโรงพยาบาลเพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจ และกระตุ้นให้มีการปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ
เวลาทำการ: เปิดบริการทุกวัน (วันจันทร์ วันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 07.00 – 18.00 น. / วันอังคาร – วันศุกร์ เวลา 07.00 - 20.00 น.)
2. บริการที่แนะนำ
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ (ภาวะที่ระบบการทำงานของหัวใจผิดปกติซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้) ดังนั้นการตรวจเช็กล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงไม่ควรละเลย ขอแนะนำ “โปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง” ดังนี้
- โปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงพร้อมตรวจ EST
- โปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจสำหรับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงพร้อมตรวจ ECHO
ทั้งนี้การเลือกโปรแกรมตรวจขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละคน โดยสามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจที่แผนกผู้ป่วยนอก ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้ทุกวันในเวลาทำการ
หลายคนอาจไม่รู้ว่า การตรวจ EST และ ECHO คืออะไร มีจุดเด่น คำแนะนำต่างๆ อย่างไร เพื่อความเข้าใจในการตรวจทั้งสองแบบจึงได้หยิบยกมาอธิบายดังต่อไปนี้
การตรวจสมรรถภาพหัวใจออกกำลังกายขณะออกกำลังกาย EST (Exercise Stress Test)
จุดเด่น การตรวจ EST เป็นการตรวจสมรรถภาพของหัวใจ โดยให้ผู้ป่วยออกกำลังกายด้วยวิธีต่างๆ เช่น เดินบนสายพานไฟฟ้า (Treadmill) ปั่นจักรยาน (Bicycle ergometer) เพื่อทดสอบว่า เมื่อหัวใจต้องการใช้ออกซิเจนจากเลือดเพิ่มมากขึ้นในขณะที่ออกกำลังกาย ร่างกายจะเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดหรือไม่
วิธีนี้สามารถใช้วินิจฉัยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันในผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก หรือตรวจภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่สัมพันธ์กับการออกกำลังกายได้
เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก หรือผู้ที่เคยผ่าตัดบายพาสแล้วกลับมามีอาการอีก
ไม่เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ผู้ที่เป็นโรคหัวใจรุนแรงอยู่ก่อนแล้ว เช่น โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจรั่ว โรคเส้นเลือดโป่งพอง หรือโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
คำแนะนำ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับการตรวจ หากคุณกำลังรับประทานยาบางชนิดโดยเฉพาะยาโรคหัวใจและยาในกลุ่มลดความดันโลหิต หากเป็นผู้ป่วยโรคหอบหืดควรเตรียมยาพ่นไปด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรเตรียมยาให้เหมาะสมในวันที่จะเข้ารับการตรวจ
ราคาแพ็กเกจ 6,500 บาท (เฉพาะที่ HonestDocs)
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ECHO (Echocardiography)
จุดเด่น การตรวจ ECHO คือ การส่งคลื่นเสียงที่ปลอดภัยเข้าไปในทรวงอก และรับเสียงที่สะท้อนออกมาไปแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอ ซึ่งจะแสดงถึงรูปร่าง ขนาด และการทำงาน ของกล้ามเนื้อหัวใจและลิ้นหัวใจว่า ปกติหรือไม่
การตรวจ ECHO สามารถใช้ประเมินภาวะหัวใจโต การบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ โรคเกี่ยวกับเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericardium) เช่น เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบทั้งแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ภาวะมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจจนทำให้เกิดการบีบรัดหัวใจ หรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนต้น (Proximal Ascending Aorta) เช่น โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาดแบบเฉียบพลัน (Acute Aortic Dissection) ได้
เหมาะสำหรับ ทุกคน เพราะเป็นการตรวจที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง
คำแนะนำ หากเคยได้รับการฉายแสงที่บริเวณลำคอ หรือหน้าอก หรือมีโรคเกี่ยวกับหลอดอาหารต่างๆ เช่น โรคหลอดอาหารตีบ โรคหลอดอาหารเป็นแผลรุนแรง หรือโรคที่เกี่ยวกระดูกคอ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเข้ารับการตรวจ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงจากการตรวจได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก เลือดออกบริเวณช่องปาก หรือลำคอ ชีพจรเต็นเร็ว หรือเต้นช้าผิดปกติ
ราคาแพ็กเกจ 6,500 บาท (เฉพาะที่ HonestDocs)
เงื่อนไขการเข้ารับบริการทั้งโปรแกรม EST และ ECHO
- ติดต่อที่ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 ชั้น 12 อาคาร A หรือโทร 02-6172444 ต่อ 4735-4736 แต่ถ้าหากไม่สะดวกสามารถซื้อแพ็กเกจและจองคิวได้ที่ Line: @hdcoth
- สามารถใช้บริการได้ที่ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 เท่านั้น
- แพ็กเกจนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
- ราคานี้เป็นราคาเหมาจ่าย ไม่สามารถลดรายการตรวจรายการใดรายการหนึ่งได้
- รวมค่าแพทย์และค่าบริการของโรงพยาบาลแล้ว
การเตรียมตัวก่อนตรวจ
- งดเครื่องดื่มและอาหารอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับบริการ (สามารถดื่มน้ำเปล่าได้)
ตารางโปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจ EST หรือ ECHO (เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง)
ลำดับ |
รายการตรวจ |
EST |
ECHO |
1. |
ซักประวัติและตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์ (Physical Examination) |
✓ |
✓ |
2. |
เอกซเรย์ปอด (Chest X-ray) |
✓ |
✓ |
3. |
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Elektrokardiogram: EKG) |
✓ |
✓ |
4. |
ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) |
✓ |
- |
5. |
ตรวจคลื่นเสียงหัวใจ (Echocardiography: ECHO) |
- |
✓ |
6. |
ตรวจวัดการแข็งตัวของหลอดเลือด (Ankle Brachial Index) |
✓ |
✓ |
7. |
ตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis) |
✓ |
✓ |
8. |
ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete Blood Count: CBC) |
✓ |
✓ |
9. |
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar: FBS) |
✓ |
✓ |
10. |
ตรวจการทำงานของไต (Creatinine) |
✓ |
✓ |
11. |
ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ (Serum Glutamic Oxaloacetic Transaminase: SGOT) |
✓ |
✓ |
12. |
ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ (Serum Glutamic Pyruvate Transaminase: SGPT) |
✓ |
✓ |
13. |
ตรวจปริมาณไขมันในเลือด คอเลสเตอรอล (Total cholesterol) |
✓ |
✓ |
14. |
ตรวจปริมาณไขมันในเลือด ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) |
✓ |
✓ |
15. |
ตรวจปริมาณไขมันดีในเลือด (High-Density Lipoprotein Cholesterol: HDL-C) |
✓ |
✓ |
16. |
ตรวจปริมาณไขมันไม่ดีในเลือด (Low-Density Lipoprotein Cholesterol: LDL-C) |
✓ |
✓ |
จำนวนการตรวจ 15 รายการ |
|||
ซื้อแพ็กเกจราคาพิเศษเฉพาะที่ HonestDocs ราคา 6,500 บาท |
3. บรรยากาศภายในและอุปกรณ์อำนวยความสะดวก
- มีที่นั่งรองรับผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยอย่างเพียงพอ
- ร้านอาหารและเครื่องดื่มหลายร้าน เช่น ร้านกาแฟสตาร์บัค (Starbucks) ร้านอาหารเอสแอนด์พี (S&P)
- มีร้านสะดวกซื้อ
- ธนาคาร
- ร้านทำผม
4. รีวิวจากผู้ใช้จริง
คุณสุรพล โอภาสเสถียร กทม.
คุณสุรพล โอภาสเสถียร รอดชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันหลังจากที่หัวใจหยุดเต้นไปแล้วถึง 2 นาที ด้วยการเข้ารับรักษาที่แผนกผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2
“วันนั้นอยู่ๆ ผมก็รู้สึกแน่นหน้าอก มีเหงื่อออก พูดไม่เป็นคำ และรู้สึกชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า ใจคิดทันทีว่า ต้องมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกายแน่ๆ จึงตัดสินใจไปโรงพยาบาลทันที ตอนที่มาถึงโรงพยาบาลผมหมดสติไปแล้วและได้มาทราบภายหลังว่า หัวใจของผมได้หยุดเต้นไปนานถึง 2 นาที แพทย์ได้ปั๊มหัวใจ หรือ CPR เพื่อกระตุ้นหัวใจให้กลับมารู้สึกตัวอีกครั้ง ก่อนจะรักษาในกระบวนการต่อไป”
นายแพทย์อมร จงสถาพงษ์พันธ์ แพทย์ที่ทำการรักษาคุณสุรพลในวันนั้นได้กล่าวว่า คุณสุรพลโชคดีมากที่รอดชีวิต ตอนที่มาถึงนั้นหลอดเลือดของคุณสุรพลมีไขมันอุดตันไปมากกว่า 90% แล้ว
“ผมได้ทราบภายหลังจากการสันนิษฐานของคุณหมอว่า อาการนี้เกิดจากการมีไขมันในเลือดมากเกินไป ไขมันไปเกาะตัวกับเกล็ดเลือดหุ้มไว้และกลายเป็นลิ่มเลือด แล้วเข้าไปอุดตันภายในเส้นเลือดครับ ทั้งหมดก็เกิดจากพฤติกรรมการกินการใช้ชีวิตของเราเอง พอกินไขมันเข้าไปมากๆ มันก็ไปสะสมในร่างกายเรื่อยๆ ประกอบกับเราไม่ได้ใส่ใจดูแลตัวเองเท่าที่ควร ไม่ได้ควบคุมอาหาร ไม่ได้ออกกำลังกาย และทำงานหนักด้วย ระดับไขมันในเลือดจึงสูงจนเกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันในที่สุด
หลังการรักษาผ่านพ้นไป ผมยังต้องทำกายภาพบำบัดต่อเพราะเพราะตอนที่ผมช็อกหมดสติไป พอหัวใจหยุดเต้นก็เหมือนคนตายไปแล้ว 2 นาที คุณหมอจึงกังวลว่า เมื่อผมฟื้นขึ้นมาความจำจะเป็นปกติหรือไม่ โอกาสมัน 50/50 เลย พอฟื้นแล้วกลับเป็นปกติได้ คุณหมอบอกว่า ผมโชคดีมาก โชคดีกว่าหลายๆ คน ที่สมองยังจำสิ่งต่างๆ ได้หมดทุกอย่าง
ทุกวันนี้ผมเลยต้องหันกลับมาเข้มงวดกับตัวเอง ควบคุมอาหาร ไม่รับประทานของหวาน หรือรับประทานของมันๆ ของทอดให้น้อยลง แล้วก็ออกกำลังกายครับ”
6. รายชื่อแพทย์
รายชื่อแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2 จำนวน 16 ท่าน
- นพ.กิตติชัย เหลืองทวีบุญ
- นพ.นิธิพล ปิยะศิริศิลป์
- นพ.กุลยศ จงพิพัฒน์วณิชย์
- นพ.ณัฐนันทน์ ประศาสน์สารกิจ
- พญ.ปาริฉัตร การปลื้มจิตต์
- นพ.อดทน ศรียุทธศักดิ์
- นพ.ธัชพงศ์ งามอุโฆษ
- นพ.ยศวีร์ วงศ์เจริญ
- นพ.ยศวีร์ อรรฆยากร
- นพ.สุรเชษฐ์ เลิศถิรพันธุ์
- นพ.อมร จงสถาพงษ์พันธ์
- นพ.พงษ์ธรณ์ สวนดอก
- นพ.ทวนทศพร สุวรรณจูฑะ
- นพ.วรชาติ โมฬีฤกษ์ภูมิ
- นพ.ศุภฤกษ์ พัฒนปรีชากุล
- พญ.จรัสลักษณ์ เจริญพาณิชกิจ
สามารถนัดหมายแพทย์ หรือตรวจเช็กตารางเวลาออกตรวจของแพทย์ได้ ที่นี่ หรือนัดหมายผ่านทางศูนย์บริการข้อมูลลูกค้า (Call center) ได้ที่เบอร์ 1772
7. เวลาทำการ
- แผนกผู้ป่วยนอก และแผนกฟื้นฟูหัวใจและควบคุมปัจจัยเสี่ยง: เปิดบริการทุกวัน วันจันทร์ วันเสาร์ และวันอาทิตย์ เวลา 07.00 – 18.00 น. และวันอังคาร – วันศุกร์ เวลา 07.00 - 20.00 น.
- แผนกตรวจสวนหัวใจ แผนกผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ และแผนกผ่าตัดหัวใจ: เปิดบริการทุกวัน 24 ชั่วโมง
8. ข้อมูลการติดต่อ
- โทร 02-6172444 ต่อ 4735-4736 หรือ Call Center 1772
- เว็บไซต์: https://www.phyathai.com/contact
- เฟซบุ๊ก: https://www.facebook.com/Phyathai2HospitaI
9. การเดินทาง
ที่อยู่ เลขที่ 943 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
Google Maps: https://goo.gl/maps/qaCHgmjqgg34Ugdg8
การเดินทาง
- BTS ลงสถานีสนามเป้า ใช้ทางออก 1 ไปโรงพยาบาลพญาไท 2 ประมาณ 350 เมตร
- รถประจำทาง รถประจำทางปรับอากาศสาย 509 (จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปโรงพยาบาลพญาไท 2 ขึ้นที่ป้ายตรงข้ามโรงพยาบาลเด็ก) ประมาณ 850 เมตร
- รถส่วนตัว กดแผนที่ Google Maps ด้านบนเพื่อดูเส้นทางการเดินทางได้ ทางโรงพยาบาลพญาไท 2 (มีที่จอดรถไว้รองรับถึง 2 อาคาร)
สถานที่ใกล้เคียง
- 100 เมตร จากเดอะซีซั่นมอลล์ (The seasons mall)
- 1.3 กิโลเมตร จากลาวิลล่า อารีย์
10. การชำระค่าบริการ
- เงินสด
- โอนเงิน
- บัตรเครดิต
*ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจากศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2