รวมรูปรีวิว รักษาคีลอยด์ยังไงดีที่คุณหมอแนะนำ?


รวมรูปรีวิว รักษาคีลอยด์ยังไงดีที่คุณหมอแนะนำ?

ข้อควรรู้

ขยาย

ปิด

  • แผลเป็นคีลอยด์ เกิดจากการที่ร่างกายสมานแผลมากเกินไป ทำให้ผิวหนังโตนูน หรือขยายตัวกว้างเกินขอบเขต ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย
  • วิธีรักษาแผลคีลอยด์แต่ละวิธีมีจุดเด่น จุดด้อย และความเหมาะสมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ผู้ที่มีแผลคีลอยด์จะต้องให้แพทย์เป็นผู้ประเมินว่า แผลดังกล่าวเหมาะสำหรับวิธีการรักษาแบบใด
  • การส่งภาพผ่านทาง HDmall.co.th เป็นเพียงการประเมินเบื้องต้นเท่านั้น ผู้อ่านควรให้แพทย์ตรวจประเมินที่สถานพยาบาลทุกครั้งก่อนทำการรักษา

คีลอยด์ (Keloid) หรือแผลเป็นคีลอยด์ เกิดจากการที่ร่างกายสมานแผลมากเกินไป ทำให้ผิวหนังโตนูน หรือขยายตัวกว้างเกินขอบเขต ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย

วิธีรักษาแผลเป็นคีลอยด์

วิธีรักษาแผลเป็นคีลอยด์มีด้วยกันหลายวิธี แบ่งเป็น 6 วิธีหลักๆ ดังนี้

  1. การใช้เจล หรือแผ่นแปะซิลิโคน
  2. การกดแผล
  3. การฉีดยาสเตียรอยด์
  4. การพ่นความเย็น (Cryosurgery)
  5. การใช้เลเซอร์
  6. การผ่าตัดคีลอยด์

การรักษาแผลเป็นคีลอยด์แต่ละวิธีมีจุดเด่น จุดด้อย และความเหมาะสมแตกต่างกันไป ทั้งนี้ผู้ที่มีแผลคีลอยด์จะต้องให้แพทย์เป็นผู้ประเมินว่า แผลดังกล่าวเหมาะสำหรับวิธีการรักษาแบบใด ต้องใช้ระยะเวลารักษานานขนาดไหน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไปขึ้นกับสภาพของแผลและเนื้อเยื่อของแต่ละบุคคล

รวมรูปคีลอยด์ และวิธีการรักษาที่คุณหมอแนะนำ

HDreview รวบรวมรูปแผลเป็นคีลอยด์ และการประเมินโดยแพทย์ผิวหนังว่าแผลแต่ละรูปแบบเหมาะกับการรักษาแบบไหน ส่งภาพถ่ายแผลของคุณมาที่ไลน์ @HDcoth เพื่อใประเมินเบื้องต้น ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

การฉีดยาสเตียรอยด์รักษาคีลอยด์

แผลเป็นคีลอยด์ที่ยังเป็นสีแดง หรือสีชมพู ซึ่งเป็นแผลที่ร่างกายยังสร้างเนื้อเยื่อบริเวณนั้นอยู่ เหมาะกับการใช้วิธีรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อกระตุ้นให้แผลยุบ ไม่นูนเด่น

แผลคีลอยด์ที่ควรฉีดยาสเตียรอยด์รักษาคีลอยด์

คุณหมอประเมินเบื้องต้นว่า แผลเป็นคีลอยด์ลักษณะนี้ ควรรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์อย่างน้อย 3-5 ครั้ง โดยเว้นระยะห่าง 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้แผลเป็นยุบตัว และจางลง อย่างไรก็ตามผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ควรให้แพทย์ตรวจประเมินที่สถานพยาบาลทุกครั้งก่อนทำการรักษา

แผลคีลอยด์ที่ควรฉีดยาสเตียรอยด์รักษาคีลอยด์

กรณีที่แผลเป็นเกิดขึ้นมานานแล้วดังแผลเป็นในภาพถ่าย คุณหมอประเมินว่า การฉีดยาสเตียรอยด์จะช่วยกระตุ้นให้แผลยุบได้ โดยเริ่มต้นที่ 3-5 ครั้ง ห่างกันประมาณ 1-2 สัปดาห์ ทั้งนี้ผู้มีแผลเป็นคีลอยด์ลักษณะดังกล่าวควรให้แพทย์ตรวจประเมินที่สถานพยาบาลทุกครั้งก่อนทำการรักษา โดยผลลัพธ์ที่ได้อาจต่างกันในแต่ละคน

แผลคีลอยด์ที่ควรฉีดยาสเตียรอยด์รักษาคีลอยด์

แผลเป็นคีลอยด์ที่เกิดจากการผ่าคลอดในผู้หญิง เป็นจุดที่นิยมฉีดเพื่อให้แผลคีลอยด์ยุบตัว มีลักษณะเป็นแผลยาว คุณหมอประเมินว่า การฉีดยารักษาประมาณ 3 เข็ม จะทำให้แผลเป็นยุบตัวลงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้ผลลัพธ์ขึ้นกับแต่ละบุคคล และควรให้แพทย์ตรวจประเมินอีกครั้งในสถานพยาบาลก่อนทำการรักษา

ปัจจุบันราคาการฉีดยาสเตียรอยด์รักษาแผลเป็นคีลอยด์ เริ่มต้นที่ประมาณครั้งละ 500-1,300 บาท แตกต่างกันไปตามแต่ละสถานบริการ ส่งภาพถ่ายแผลของคุณมาที่ไลน์ @HDcoth เพื่อใประเมินเบื้องต้น ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือดูแพ็กเกจ รักษาคีลอยด์ ที่คลินิก หรือ รพ. ใกล้บ้าน บน HDmall.co.th 

การใช้เลเซอร์รักษาแผลเป็นคีลอยด์

เลเซอร์ที่นิยมใช้รักษาแผลคีลอยด์คือ เลเซอร์ CO2 ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่นิยมจี้ไฟ กระ และฝ้า เหมาะกับแผลคีลอยด์ที่ไม่นูนใหญ่มาก หรืออยู่ในระยะเริ่มต้น เลเซอร์ CO2 จะทำให้แผลที่แข็งกลับมาเป็นเนื้อนิ่ม สามารถยุบตัวเล็กลงและมีสีจางลง

แผลคีลอยด์ที่เหมาะกับการใช้เลเซอร์รักษาแผลเป็นคีลอยด์

แผลเป็นคีลอยด์ลักษณะนี้ คุณหมอประเมินเบื้องต้นว่า ควรใช้เลเซอร์ CO2 ในการจี้เพื่อให้แผลเป็นนุ่มลง จากนั้นรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์ จะช่วยทำให้แผลยุบลง 

ปัจจุบันราคาการเลเซอร์รักษาแผลเป็นคีลอยด์ เริ่มต้นที่ประมาณครั้งละ 300-1,500 บาท ส่วนการฉีดรักษาแผลเป็นคีลอยด์เริ่มต้นที่ 500-1,300 บาท แตกต่างกันไปตามแต่ละสถานบริการ ส่งภาพถ่ายแผลของคุณมาที่ไลน์ @HDcoth เพื่อใประเมินเบื้องต้น ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือดูแพ็กเกจ รักษาคีลอยด์ ที่คลินิก หรือ รพ. ใกล้บ้าน บน HDmall.co.th

การผ่าตัดแผลเป็นคีลอยด์

การผ่าตัดคีลอยด์ เหมาะกับแผลขนาดใหญ่ แผลนูนมาก แพทย์จะผ่าตัดก้อนเนื้อส่วนที่เป็นแผลคีลอยด์ออกไปแล้วเย็บปิด ทั้งนี้การผ่าตัดก็ถือเป็นการสร้างแผลใหม่และมีโอกาสที่จะกลายเป็นแผลคีลอยด์ได้ในอนาคต หากแผลคีลอยด์ในบริเวณนั้นที่ไม่สามารถผ่า หรือเย็บปิดได้ หรือการผ่าตัดส่งผลถึงรูปร่าง และโครงสร้างของอวัยวะ แพทย์อาจพิจารณาใช้การรักษาวิธีอื่นแทน

การผ่าตัดแผลเป็นคีลอยด์

คุณหมอประเมินเบื้องต้นว่า สามารถผ่าตัดและเย็บปิดได้ อย่างไรก็ตามจุดที่นูนขึ้นมาด้านในใบหู อาจต้องพิจารณาอีกครั้งว่าควรฉีดรักษา หรือใช้วิธีอื่นๆ ในการรักษา

การผ่าตัดแผลเป็นคีลอยด์

แผลเป็นบริเวณหลังใบหู คุณหมอประเมินเบื้องต้นว่า สามารถผ่าตัดและเย็บปิดได้ 

การผ่าตัดแผลเป็นคีลอยด์

แผลเป็นคีลอยด์บริเวณติ่งหู เป็นเคสที่พบได้บ่อยอาจเกิดจากการเจาะหู และกรณีแบบนี้คุณหมอได้ประเมินแล้วว่าสามารถผ่าตัดคีลอยด์จากนั้นเย็บปิดได้

ปัจจุบันราคาผ่าตัดแผลเป็นคีลอยด์ เริ่มต้นที่ประมาณจุดละ 6,500 บาท รวมค่ายาชา และการติดตามผลการรักษา แต่แตกต่างกันไปตามแต่ละสถานบริการ ส่งภาพถ่ายแผลของคุณมาที่ไลน์ @HDcoth เพื่อใประเมินเบื้องต้น ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือดูแพ็กเกจ รักษาคีลอยด์ ที่คลินิก หรือ รพ. ใกล้บ้าน บน HDmall.co.th


บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

การส่งภาพผ่านทาง HDmall.co.th เป็นเพียงการประเมินเบื้องต้นเท่านั้น ผู้อ่านควรให้แพทย์ตรวจประเมินที่สถานพยาบาลทุกครั้งก่อนทำการรักษา และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้

@‌hdcoth line chat