สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- ปกติบอสชอบเล่นกีฬาอย่างฟุตบอลเป็นประจำ บางทีบอสก็ต้องยกของหนักเลยทำให้เมื่อ 3-4 ปีก่อน บอสมีอาการปวดหลัง
- การตรวจ MRI จะเห็นภาพโครงสร้างกระดูกส่วนที่ตรวจได้ลึกถึงระดับเส้นประสาทเลย และยังทำให้เรามองเห็นโครงสร้างกระดูกในมุมตัดขวางได้ด้วย
- การตรวจ MRI เราจะต้องนอนนิ่งๆ ห้ามขยับ เพราะถ้าหากเราขยับ ภาพที่เครื่อง MRI ถ่ายมันก็จะเคลื่อนไหวตามไปด้วย
- ความรู้สึกระหว่างที่ทำ MRI ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บแต่เราจะได้ยินเสียงดังจากเครื่อง MRI บ้าง และอาจจะรู้สึกร้อนๆ ที่หลัง
- จากผลตรวจ บอสมีปัญหาหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทและมีการเคลื่อนของกระดูกสันหลัง1 จุด ระหว่างกระดูกสันหลังข้อที่ 5 และกระดูกกระเบนเหน็บ
- คุณหมอจะจ่ายยาแก้อักเสบและยาแก้ปวดให้ และแนะนำให้ทำกายภาพบำบัด และบอสต้องลดการทำกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดการอักเสบซ้ำบ้าง เช่น การออกกำลังกายหนักๆ บางท่า รวมถึงการยกของหนัก
- รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDreview ได้รับการสปอนเซอร์จากทาง HDmall.co.th และโรงพยาบาลพญาไท 1
- ดูรายละเอียด ราคาตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลัง ด้วยวิธี MRI ที่ รพ. พญาไท 1
- ดูรายละเอียด ราคาตรวจวินิจฉัยอาการปวดคอ ด้วยวิธี MRI ที่ รพ. พญาไท 1
- ดูโปรแกรมทั้งหมดจาก รพ.พญาไท 1 บน HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่
- ตรวจ MRI คืออะไร
- รีวิวตรวจ MRI หลัง ที่ รพ. พญาไท 1
- พบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการปวดหลัง
- ตรวจ MRI มีขั้นตอนอะไรบ้าง
- คนกลัวที่แคบตรวจ MRI ได้ไหม
- ผลการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังด้วย MRI
- การดูแลตนเองเพิ่มเติมหลังจากรู้ผลตรวจ
- บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
ปกติผมเล่นฟุตบอลเป็นประจำครับ ซึ่งก็ต้องมีการปะทะเกิดขึ้นบ้าง ต้องอาศัยทักษะการเคลื่อนไหวตัวอย่างว่องไวเพื่อหลบหลีกคู่แข่งทีมตรงข้าม เรียกได้ว่าเคลื่อนไหวร่างกายหลายส่วนเลย และด้วยความที่เรายังหนุ่ม หลายๆ ครั้งก็ต้องช่วยคนรู้จักยกของหนักทำให้เริ่มมีอาการปวดหลังครับ
เมื่อ 3-4 ปีก่อน บอสเคยไปตรวจและรักษาอาการปวดหลังกับคุณหมอที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งมาแล้ว ตอนนั้นอาการก็ดีขึ้นครับ แต่ไม่นานก็เริ่มกลับมาปวดหลังอีก แถมปวดหลังแบบเรื้อรังมากๆ
อาการปวดหลังของผม แค่ยืนเฉยๆ หรือนั่งทำงานปกติก็ปวดแปล๊บๆ แล้ว รบกวนชีวิตประจำวันมาก และยังส่งผลต่อการทำงานด้วย
เวลาผมนั่งทำงานแล้วมีอาการปวดหลัง ก็ต้องเปลี่ยนท่าทาง หรือต้องออกไปเดินให้ได้ขยับร่างกาย แถมอาการปวดหลังทำให้ผมต้องหยุดออกกำลังกายไปเลยครับ
ผมก็เลยศึกษาข้อมูลมาว่า ปวดหลังเรื้อรังทำยังไงดี ซึ่งหลายคำตอบที่บอสได้ส่วนใหญ่จะแนะนำว่าให้ลองตรวจวินิจฉัยด้วย MRI ดูครับ
ตรวจ MRI คืออะไร?
การตรวจ MRI หรือ “Magnetic Resonance Imaging” เป็น การตรวจวินิจฉัยโรค ด้วยการถ่ายภาพเสมือนจริงภายในร่างกาย ทำให้แพทย์สามารถมองเห็นภาพอวัยวะภายในแบบ และมีความคมชัดถึงเนื้อเยื่อในระดับมิลลิเมตร
แต่จากรูปเครื่อง MRI ที่เห็นในอินเทอร์เน็ตดูเหมือนอุโมงค์ยาวๆ ที่เราต้องเข้าไปนอน ซึ่งบอสไม่แน่ใจว่าตัวเองจะเข้าไปนอนอยู่ในนั้นได้นานขนาดไหน เพราะผมเองก็กลัวที่แคบ ไม่รู้ว่าจะตรวจ MRI ได้ไหม
บอสก็เลยปรึกษากับเพื่อนๆ ซึ่งหลายคนก็แนะนำให้ตรวจ MRI เพราะอาการปวดที่เรื้อรัง ควรได้รับการวินิจฉัยแบบละเอียดๆ เลยตัดสินใจมองหาโรงพยาบาลที่มีบริการตรวจ MRI ใกล้บ้าน และราคาคุ้มค่า
รีวิวตรวจ MRI หลัง ที่โรงพยาบาลพญาไท 1
และบอสก็มาเจอโปรแกรมตรวจ MRI ที่ โรงพยาบาลพญาไท 1 ที่อยู่ไม่ไกลบ้าน เดินทางสะดวก แถมยังเป็นโรงพยาบาลในเครือพญาไทที่ได้มาตรฐาน บอสก็เลยจองคิวทำนัดเข้ามาเลยครับ
โดยบอสเลือกจองคิวทำนัดตรวจ MRI ที่ โรงพยาบาลพญาไท 1 ผ่าน HDmall.co.th เว็บไซต์ที่รวมโปรโมชั่นด้านสุขภาพหลายบริการ ซึ่งเค้ามีแอดมินคอยทำนัดให้โดยที่เราไม่ต้องเข้าไปติดต่อที่โรงพยาบาลเองด้วยครับ
พอมาถึงที่โรงพยาบาลพญาไท 1 ก็ยื่นคูปองจาก HDmall.co.th กับทางเจ้าหน้าที่ก่อนครับ จากนั้นพี่เจ้าหน้าที่ก็จะทำประวัติ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดัน เราพาไปศูนย์รังสีวินิจฉัยเพื่อตรวจ MRI กันครับ
พอมาที่ศูนย์รังสีวินิจฉัย ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าพบกับคุณหมอเพื่อซักประวัติก่อน และสอบถามอาการกันก่อนครับ
พบแพทย์เพื่อปรึกษาอาการปวดหลัง
พอได้เข้าไปพบคุณหมอ บอสก็แจ้งอาการปวดหลังที่เกิดขึ้นให้คุณหมอฟัง และเล่าความกังวลว่าไม่แน่ใจว่าอาการปวดมันมาจากอาการอะไร มีการกดทับหรือกระดูกมีปัญหาหรือเปล่า
กระดูกสันหลังคนเราจะแบ่งออกได้ 3 ส่วน คือ ส่วนคอ ส่วนกลางลำตัว และส่วนเอว ซึ่งบอสปวดค่อนข้างหนักตรงส่วนเอว คุณหมอก็เลยจะตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังด้วย MRI ให้ครับ
โดยการทำงานของเครื่อง MRI จะใช้คลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งคลื่นนี้ไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ถ้าใครมีอุปกรณ์ที่มีส่วมผสมของโลหะอยู่ในร่างกาย เช่น เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) จะต้องแจ้งคุณหมอก่อนก่อน เพราะคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะเข้าไปรบกวนการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องมือบางชนิดได้
แต่ก่อนตรวจ MRI คุณหมอก็จะซักประวัติทางสุขภาพและโรคประจำตัวอยู่แล้ว ถ้าใครเคยผ่าตัด หรือไม่ชัวร์ว่าอุปกรณ์ที่อยู่ในร่างกายเรามีโลหะรึเปล่า ก็แนะนำให้บอกคุณหมอกให้หมดเลยว่าเคยทำอะไรมาบ้างจะดีที่สุด
เพราะคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากเครื่อง MRI มันสามารถเข้าไปรบกวนทำให้การทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องมือบางชนิดในร่างกายเราให้ทำงานผิดพลาดได้ และอาจจะต้องปรับจูนเครื่องใหม่หลังตรวจครับ
ส่วนข้อดีของการตรวจ MRI เมื่อเทียบกับการตรวจแบบอื่นอย่าง X-Ray และทำ CT Scan คือ การตรวจ MRI จะตรวจได้ละเอียดกว่า และทำให้เราเห็นภาพโครงสร้างกระดูกส่วนที่ตรวจได้ลึกถึงระดับเส้นประสาท แถมยังมองเห็นโครงสร้างกระดูกในมุมตัดขวางได้ด้วย
แต่จากปัญหาการปวดหลังของบอสที่มักจะปวดตอนเคลื่อนไหวร่างกาย คุณหมอก็เลยแนะนำให้ตรวจ X-Ray ด้วยซึ่งจะทำให้เราเห็นภาพกระดูกระหว่างที่อยู่ในบางอิริยาบถได้ชัดเจน เช่น การก้มหรือแหงนตัว
ตรวจ MRI มีขั้นตอนอะไรบ้าง?
หลังจากคุยกับคุณหมอเสร็จแล้ว พี่พยาบาลก็พาไปเปลี่ยนเป็นชุดของโรงพยาบาลก่อน แล้วก็ให้เราเข้าห้องน้ำให้เสร็จเรียบร้อย เพราะจะต้องนอนอยู่นิ่งๆ ระหว่างตรวจ MRI ใช้เวลาประมาณ 40-45 นาทีเลย
จากนั้นพี่พยาบาลก็จะเอาที่ปิดหูมาให้เราสวม เพราะระหว่างตรวจ MRI ที่เครื่องทำงานจะมีเสียงค่อนข้างดังเลย และระหว่างตรวจอาจจะรู้สึกร้อนๆ ที่หลังได้ เพราะเป็นพลังงานจากเครื่องเล็กน้อย
ด้านในอุโมงค์ MRI จะมีปุ่มกดให้สัญญาณอยู่ ถ้าหากเรารู้สึกทนไม่ไหว หรือรู้สึกว่ามีอะไรผิดปกติขึ้นมาก็ให้กดปุ่นนั้นได้ พี่พยาบาลจะพาเราออกมาเองครับ
พอได้ลองเข้าไปในอุโมงค์ ตอนแรกก็ตกใจกับเสียงเครื่องที่ดังอยู่เล็กน้อย แต่พอเริ่มชินก็ชิวมากๆ ครับ แถมยังเผลองีบหลับไปช่วงนึงด้วย
ระหว่างที่นอนอยู่ในอุโมงค์ MRI ก็ไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้นครับ แค่นอนนิ่งๆ ก็พอ เพราะเครื่อง MRI จะถ่ายภาพของเราออกมาได้แม่นยำ ต้องอาศัยความนิ่งของร่างกายเป็นปัจจัยหลัก
ถ้าเราขยับตัวหรือดิ้นไปดิ้นมา ภาพที่เครื่อง MRI ถ่ายมันก็จะเคลื่อนไหวตามไปด้วย เหมือนกับเวลาเราถ่ายรูปซึ่งต้องทำท่านิ่งๆ นั่นแหละครับ ถ้าเราขยับตัวภาพก็จะออกมาเบลอๆ เห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัดเจน
ส่วนความรู้สึกระหว่างตรวจ MRI ไม่เจ็บครับ เพราะเป็นการใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการตรวจ ไม่ได้ใช้ยาฉีดหรือต้องเจาะเลือดตรวจ แต่จะรู้สึกร้อนๆ ที่หลังนิดหน่อย ไม่ได้ร้อนจนทนไม่ได้ครับ
หลังจากตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังด้วย MRI เสร็จแล้ว ก็ออกมาถ่าย X-Ray กันต่อ จากนั้นก็ไปเปลี่ยนเสื้อผ้า และไปฟังผลตรวจกับคุณหมอกันครับ
คนกลัวที่แคบตรวจ MRI ได้ไหม?
สำหรับคนที่มีอาการวิตกกังวล คุณหมอก็มีจะให้ยาคลายกังวลหรือทำให้เราง่วงๆ นิดหน่อยก่อนทำ MRI ให้ครับ
แต่ถ้าคนที่กลัวที่แคบมากๆ ถึงขั้นตื่นกลัวเลย คิดว่ายังไงก็เข้าตรวจด้วยเครื่อง MRI ไม่ไหวแน่ๆ ก็แจ้งได้เช่นกัน คุณหมอจะให้วิสัญญีแพทย์มาดมยาสลบให้ ก็จะหลับสนิทไปตลอดช่วงเวลาที่ทำ MRI เลย
ผลการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลังด้วย MRI
สำหรับผลตรวจ MRI คุณหมอจะเห็นทันทีหลังตรวจครับ แต่ในส่วนของการอ่านผลตรวจให้แม่นยำนั้น คุณหมอจะต้องแปลผลร่วมกับคุณหมอรังสีวิทยาอีกที ซึ่งก็ต้องใช้ระยะเวลาสักพักขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของผลตรวจ
ซึ่งผลการตรวจ MRI ของผมที่ออกมา รายละเอียดของภาพก็จะเห็นหมดตั้งแต่แนวกระดูกสันหลังส่วนเอวแต่ละข้อ เส้นประสาทต่างๆ ตรงบริเวณนั้น รวมถึงอวัยวะบางส่วนที่อยู่ใกล้ๆ อย่างไต 2 ข้างด้วย
ผลตรวจที่ออกมาคือ กระดูกสันหลังของบอสไม่ได้มีการกดทับของเส้นประสาทอะไรครับ ถือว่าโล่งใจไปได้หน่อย
แต่พอเปิดดูรูป X-Ray คุณหมอชี้ให้เห็นว่าตรงกระดูกสันหลังส่วนเอวกับก้นซึ่งมันซ้อนกันเป็นรอยต่อแต่ละข้อ มันมีการเคลื่อนตัวเกิดขึ้นนิดหน่อย ย้ำว่านิดหน่อย ไม่ได้รุนแรง แต่ก็ทำให้มีการอักเสบขึ้นครับ
จากผลตรวจสรุปว่า บอสมีปัญหาหมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาทและมีการเคลื่อนของกระดูกสันหลัง 1 จุด ระหว่างกระดูกสันหลังข้อที่ 5 และกระดูกกระเบนเหน็บ
ซึ่งเป็นต้นตอทำให้ผมปวดหลังเรื้อรังมาตลอด ส่วนสาเหตุก็น่าจะเกิดจากการเคลื่อนไหวร่างกายแรงๆ หรือการยกของหนักมากๆ จนทำให้กระดูกมีการเคลื่อนที่ครับ
การดูแลตนเองเพิ่มเติมหลังจากรู้ผลตรวจ
คุณหมอบอกว่า จากผลตรวจที่ออกมาไม่ได้รุนแรงมาก และได้ให้คำแนะนำกับในการดูแลตัวเองดังนี้
- หมั่นนวดหลังและประคบร้อนเพื่อบรรเทาอาการปวด
- ใช้ยาบรรเทาปวดและแก้อักเสบ ซึ่งก็จะมีทั้งยากินและยาทา เดี๋ยวส่วนนี้คุณหมอจะสั่งจ่ายให้ครับ
- ลดกิจกรรมที่ทำให้เอ็นกระดูกยิ่งอักเสบหนัก เช่น ยกของที่หนักเกินไป การทำสวนที่ต้องก้มๆ เงยๆ คุกเข่าบ่อยๆ การออกกำลังกายบางท่า และควรแบ่งเวลาพักเพื่อลดโอกาสกลับมาอักเสบซ้ำ
- ทำกายภาพบำบัดด้วยเครื่องมือกับเทคโนโลยีที่ช่วยบรรเทาการอักเสบ เช่น คลื่นอัลตราซาวด์ คลื่นความร้อน ซึ่งทางนักกายภาพบำบัดก็จะแนะนำให้อีกทีครับ
สำหรับแนวทางการปฏิบัติตัวเหล่านี้ ไม่ใช่แค่ทำเพื่อให้หายจากอาการปวดนะครับ แต่ควรทำแบบระยะยาวเลย เพราะถึงแม้อาการปวดรอบนี้จะหายไป มันก็ยังมีโอกาสที่เอ็นหุ้มกระดูกจะกลับมาอักเสบซ้ำได้อีกเรื่อยๆ
ซึ่งคุณหมอก็บอกว่าขอให้ดูอาการหลังจากปรับการดูแลตัวเองก่อน เพราะเคสของผมไม่ถือว่ารุนแรงมาก อาการควรจะดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ หรืออาจจะแค่ 2-3 วันก็เห็นการเปลี่ยนแปลงแล้ว
แต่ถ้าหลังจากผ่านไป 2 อาทิตย์บอสยังปวดหลังอยู่ ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย คุณหมอก็แนะนำให้กลับมาตรวจซ้ำเพื่อหาความผิดปกติอื่นๆ ต่อครับ
ส่วนการตรวจเพื่อติดตามผลการรักษาหลังจากนี้ ถ้าอาการดีขึ้นแล้ว คุณหมอแนะนำว่าไม่ต้องทำ MRI ก็ได้ แต่ให้มาเอกซเรย์หลังประมาณปีละ 1 ครั้งก็พอแล้วครับ
หลังจากนี้บอสก็จะได้ดูแลตัวเองถูกจุดสักที แสดงว่าบอสก็ยังกลับไปออกกำลังกายใช้ชีวิตได้ตามปกติ แค่ต้องระมัดระวังในบางกิจกรรมหรือบางท่าบ้างเท่านั้น ทั้งโล่งใจและสบายใจขึ้นเป็นกองเลยครับ
สำหรับใครที่มีอาการปวดหลัง ปวดหลังเรื้อรัง ปวดร้าวลงขา ปวดร้าวลงแขน และอยากหาต้นตอของปัญหาพร้อมรับคำแนะนำในการดูแลตนเองแบบถูกจุด บอสแนะนำให้ลองมาตรวจวินิจฉัยด้วย MRI สักครั้งนะครับ
ที่สำคัญเลย บริการตรวจวินิจฉัยอาการปวดหลัง ด้วยวิธี MRI ที่ รพ. พญาไท 1 มีโปรโมชั่นราคาพิเศษอยู่บน HDmall.co.th ด้วยครับ