เตรียมตัวอย่างไร? ก่อนการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชาย เพื่อแปลงเพศหญิงเป็นชาย


ผ่าตัดแปลงเพศ-ผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชาย-ชายข้ามเพศ FTM

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การสร้างอวัยะเพศชายเป็นการผ่าตัดสำคัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสรีระไปตลอดชีวิต ไม่อาจแก้ไขให้กลับมาเหมือนเดิมได้อีก หรือหากแก้ไขได้แต่ผลที่ตามมาก็ยากที่จะคาดเดา ดังนั้นหากคิดจะเข้าสู่ขั้นตอนนี้แล้วจะต้องมีความหนักแน่นเท่านั้น
  • ปัจจุบันการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายมี 2 แบบสำคัญคือ แบบเมตตอยด์ และฟาลโล โดยแต่ละแบบจะมีข้อดีแตกต่างกันไป 
  • หลังการผ่าตัดแบบเมตตอยด์และฟาลโล ผู้เข้ารับบริการจะต้องใส่ที่ดามอวัยวะเพศไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อให้อวัยวะเพศยกตัวตลอดเวลาและช่วยลดอาการบวม รวมทั้งต้องใส่สายสวนปัสสาวะไว้ประมาณ 14 วัน 
  • เมื่อแผลผ่าตัดหายดีแล้ว เส้นประสาทฟื้นตัว ความรับรู้กลับคืนมาอย่างน้อย 8 เดือนขึ้นไป ศัลยแพทย์จึงจะให้ผู้เข้ารับบริการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบฟาลโล มีแกนซิลิโคน หรือกระดูกฟิบูล่าอยู่ภายในแล้ว สามารถมี sex แบบสอดใส่ได้
  • เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจแปลงเพศหญิงเป็นชาย หรือแอดไลน์ @hdcoth

ในที่สุดไฮไลท์สำคัญของการผ่าตัดแปลงเพศหญิงเป็นชายก็มาถึงนั่นก็คือ “การผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชาย” เพื่อให้มีสรีระทั้งหมดเป็นชายโดยสมบูรณ์

แต่กว่าจะผ่านพ้นขั้นตอนนี้ไปก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อน และบางเทคนิคยังต้องมีการผ่าตัดอย่างน้อย 2 ตำแหน่งพร้อมๆ กัน ผู้เข้ารับบริการจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเตรียมตัวอย่างดีก่อนผ่าตัดและการดูแลหลังผ่าตัดอย่างถูกต้อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนให้มากที่สุด

ทั้งหมดนี้ HDmall.co.th ได้หาคำตอบมาให้แล้วในบทความนี้

ผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชาย แปลงเพศหญิงเป็นชาย ต้องมีคุณสมบัติใดบ้าง?

อันดับแรกสุดและสำคัญที่สุด ผู้เข้ารับบริการจำเป็นต้องผ่านการคิดทบทวนและตัดสินใจอย่างเด็ดขาดมาแล้วว่า ต้องการจะเป็นชายข้ามเพศเต็มตัวที่มีอวัยวะเพศชายจริงๆ โดยไม่ลังเลใดๆ

เนื่องจากการสร้างอวัยะเพศชายเป็นการผ่าตัดสำคัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสรีระไปตลอดชีวิต ไม่อาจแก้ไขให้กลับมาเหมือนเดิมได้อีก หรือบางรายอาจถึงแม้จะแก้ไขได้ แต่ผลที่ตามมาก็ยากที่จะคาดเดา

และหากผู้เข้ารับบริการรับสภาพของตนเองไม่ได้ ก็จะจมอยู่กับความทุกข์ไปตลอดชีวิต

ดังนั้นหากคิดจะเข้าสู่ขั้นตอนนี้แล้วจะต้องมีความหนักแน่นเท่านั้น ไม่มีใครสามารถชักจูง หรือบังคับชี้นำได้

ส่วนคุณสมบัติอื่นๆ ที่ผู้เข้ารับบริการผ่าตัดแปลงเพศหญิงเป็นชายต้องมีก็เช่นเดียวกับการผ่าตัดหน้าอกออก การผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออก และการผ่าตัดเย็บปิดช่องคลอด

  • ผ่านการประเมินสภาพจิตใจจากจิตแพทย์ก่อนเพื่อยืนยันว่า มีภาวะ “Gender dysphoria (GD)” หรือ เป็นผู้ทีไม่มีความสุขกับสรีระทางเพศแต่กำเนิดอย่างรุนแรงจริง
  • เมื่อตัดสินใจจะเริ่มต้นแปลงเพศจากจะต้องได้รับการประเมินจิตใจจากจิตแพทย์รวม 2 ครั้งด้วยกัน ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลยืนยันว่า ผู้เข้ารับบริการมีความพร้อมที่จะได้รับการผ่าตัดแปลงเพศจริงทั้งในเรื่องการสภาพจิตใจ การเข้าใจความต้องการของตนเองอย่างแท้จริง
  • อายุ 20 ปีบริบูรณ์ หรือหากมีอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 20 ปี ต้องมีหนังสือรับรองจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร
  • เคยทดลองใช้ชีวิตในแบบเพศตรงข้ามในรูปแบบที่ต้องการมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
  • เคยรับฮอร์โมนเพศตรงข้ามมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
  • หากต้องการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบเมตตอยด์ คลิตอริสต้องมีขนาดโตมากพอที่จะสามารถทำได้ เนื่องจากเป็นการสร้างอวัยวะเพชายจากเนื้อเยื่อคลิติริสที่ขยายใหญ่ขึ้นหลังรับฮอร์โมนเพศชายมาอย่างน้อย 1 ปี ส่วนการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบเมตตอยด์ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาขนาดของคลิตอริสเลย เพราะเป็นการใช้เนื้อเยื่อจากส่วนต่างๆ ของร่างกายมาสร้างอวัยวะเพศชายตลอดทั้งลำ 
  • มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  • ไม่มีภาวะทางจิตเวช

เมื่อคุณสมบัติครบตามนี้ ผู้เข้ารับบริการควรเข้าพบศัลยแพทย์ซึ่งจะเป็นผู้ผ่าตัดโดยตรง เพื่อรับคำปรึกษาเกี่ยวกับเทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมี 2 แบบสำคัญคือ แบบเมตตอยด์ และฟาลโล พิจารณาถึงข้อดี ผลลัพธ์ที่ได้ของแต่ละวิธี ค่าใช้จ่าย และร่วมกันตัดสินใจถึงความเป็นไปได้ในการผ่าตัด ก่อนเลือกเทคนิคการผ่าตัดที่เหมาะสมที่สุด

ผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชาย แปลงเพศหญิงเป็นชาย เตรียมตัวอย่างไร?

หากผู้เข้ารับบริการหากเพิ่งผ่านการผ่าตัดขั้นตอนก่อนหน้ามา ศัลยแพทย์ต้องพิจารณาก่อนว่า บาดแผลผ่าตัดหายดีแล้ว สุขภาพร่างกายแข็งแรง 

หากเป็นการผ่าตัดที่ทำตามขั้นตอนมาเรื่อยๆ ควรเว้นระยะแต่ละขั้นตอนอย่างน้อย 3-6 เดือน หรืออาจจะเว้นระยะนานกว่านั้นก็ได้ ไใ่เป็นปัญหาแต่อย่างใด

หากไม่มีข้อติดขัดใดๆ ศัลยแพทย์จะแนะนำวิธีเตรียมตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดดังต่อไปนี้

  • เตรียมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
  • หยุดรับประทานวิตามินซี และอี
  • หยุดใช้ฮอร์โมนเพศอย่างน้อย 14 วันก่อนการผ่าตัด
  • หยุดรับประทานยาประเภทแอสไพริน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาลดการอักเสบบางชนิด อย่างน้อย 14 วันก่อนการผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะเลือดไม่แข็งตัว เลือดออกผิดปกติ
  • หยุดสูบบุหรี่และการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 14 วันก่อนการผ่าตัด หากสามารถเลิกบุหรี่ก่อนการผ่าตัดได้จะดีที่สุด เนื่องจากสารพิษในบุหรี่อาจมีผลต่อการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ
  • เตรียมลาหยุดงานประมาณ 10-14 วัน สำหรับการพักฟื้นในโรงพยาบาล และการลางานสำหรับกลับไปพักฟื้นที่บ้าน ทั้งนี้ระยะเวลาการพักฟื้นจะขึ้นอยู่กับเทคนิคการผ่าตัดและสภาพร่างกายของผู้เข้ารับบริการแต่ละคน โดยเทคนิคเมตตอยด์จะใช้เวลาพักฟื้นโดยรวมน้อยกว่าเทคนิคฟาลโลมาก
  • งดอาหารและน้ำอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด

ดูแลตนเองอย่างไร? หลังผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชาย แปลงเพศหญิงเป็นชาย

  • ควรรับประทานอาหารย่อยง่าย ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีกากใยมากรวมทั้งอาหารที่อาจทำให้ขับถ่ายได้ง่าย เนื่องจากในช่วง 3-4 วันแรกหลังผ่าตัด ไม่ควรถ่ายหนักเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด และป้องกันการเบ่งถ่ายที่อาจกระทบกระเทือนถึงแผลได้
  • ห้ามประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม เพราะความเย็นจะทำให้เลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อ แผลผ่าตัดได้ไม่ดี
  • หลังผ่าตัดต้องสายสวนปัสสาวะไว้ประมาณ 14 วัน หมั่นเทน้ำปัสสาวะทิ้งบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ถุงปัสสาวะมีน้ำหนักมากเกินไปจนดึงรั้งร่างกาย
  • พยายามยกสายสวนปัสสาวะขึ้นเพื่อป้องกันกระเพาะปัสสาวะฉีกขาด
  • ล้างแผลให้สะอาด ทำแผล และปิดแผล ป้องกันน้ำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
  • หลังการผ่าตัดแบบเมตตอยด์และฟาลโล ผู้เข้ารับบริการจะต้องใส่ที่ดามอวัยวะเพศไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ เพื่อให้อวัยวะเพศยกตัวตลอดเวลาและช่วยลดอาการบวม
  • ระมัดระวังในการเคลื่อนไหวทุกอิริยาบถเพื่อไม่ให้อวัยวะเพศชายที่สร้างขึ้นใหม่ได้รับแรงกระแทก หรือแรงกดทับใดๆ
  • ไปพบศัลยแพทย์ตามนัด

หลังผ่าตัดการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชาย มีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนอะไรเกิดขึ้นได้บ้าง?

หลังผ่าตัดเสร็จ สิ่งที่พบได้ทั่วไป คือ อาการปวดแผลผ่าตัด บวม ช้ำ แต่อาการดังกล่าวจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 7-10 วัน นอกจากนี้ยงพบความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้ตามมาได้

  • ท่อปัสสาวะตีบ หรือตัน ทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือไม่พุ่งเป็นลำ
  • ท่อปัสสาวะรั่ว
  • มีเลือดปนในปัสสาวะ
  • มีเลือด น้ำเหลืองออกจากแผล
  • แผลอักเสบ หรือติดเชื้อ
  • เนื้อเยื่อ หรือผิวหนังส่วนที่เกิดจากการผ่าตัดย้ายมาปลูกที่ใหม่ หรือผ่าตัดนำมาสร้างอวัยวะเพศชาย เกิดอาการขาดเลือด เนื่องจากมีเลือดและออกซิเจนมาเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้เนื้อส่วนนั้นตาย หรือเน่าลง ผิวหนังส่วนนั้นจะมีส่วนม่วงคล้ำ และบางรายอาจมีกลิ่นเหม็น
  • กรณีที่มีการใส่แกนซิลิโคน ลูกอัณฑะเทียม ร่างกายของบางคนอาจเกิดอาการแพ้ หรือต่อต้าน จนมีอาการคัน บวม อักเสบตามมา
  • แผลแยกออกจากกัน
  • มีอาการชา ไม่มีความรู้สึกที่อวัยวะเพศใหม่ เนื่องจากเส้นประสาทบอบช้ำ หรือได้รับบาดเจ็บจากการผ่าตัด
  • แผลเป็น

หากมีอาการข้างต้น หรือมีอาการไข้สูง แผลผ่าตัดบวมแดง ควรรีบไปพบศัลยแพทย์เพื่อรับการแก้ไข โดยมากมักจะต้องเป็นการผ่าตัดแก้ไขใหม่ แต่บางรายหากภาวะแทรกซ้อนนั้นมีแนวโน้มอันตรายยิ่งขึ้น ศัลยแพทย์อาจลงความเห็นว่า ควรยุติขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไปจะปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้ารับบริการมากกว่า

เมื่อแผลผ่าตัดหายดีแล้ว เส้นประสาทฟื้นตัว ความรับรู้ต่างๆ กลับคืนมาอย่างน้อย 8 เดือนขึ้นไป ศัลยแพทย์จึงจะให้ผู้เข้ารับบริการผ่าตัดสร้างอวัยวะเพศชายแบบฟาลโล มีแกนซิลิโคน หรือกระดูกฟิบูล่าอยู่ภายในแล้ว สามารถมี sex แบบสอดใส่ได้ 

แต่ทั้งนี้แนะนำว่า ต้องสวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง และงดใช้ความรุนแรงเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกฟิบูล่า หรือแกนซิลิโคนทะลุอวัยวะเพศออกมา เนื่องจากส่วนปลายของอวัยวะเพศยังมีความบางอยู่

กว่าจะมาถึงขั้นตอนนี้ได้ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะต้องเจ็บตัว ต้องเสียเวลา และต้องเสียค่าใช้จ่ายไปมาก ดังนั้นจึงต้องเตรียมตัวอย่างดีก่อนเข้ารับการผ่าตัด และหลังผ่าตัดก็ต้องดูแลตนเองอย่างดีที่สุดเช่นเดียวกัน

หากสนใจเข้ารับการแปลงเพศสามารถ เปรียบเทียบราคาล่าสุดและแพ็กเกจแปลงเพศหญิงเป็นชาย ได้ที่นี่เลย หรือแอดไลน์ @hdcoth มีแอดมินใจดีคอยให้บริการข้อมูล สั่งซื้อแพ็กเกจ และจองคิวนัดหมายทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้าถึงตีหนึ่ง! แอดเลยไม่ต้องรอ


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • American Society of Plastic surgeons, Gender Confirmation Surgeries (https://www.plasticsurgery.org/reconstructive-procedures/gender-confirmation-surgeries), 13 September 2021.
  • Arch Plast Surg, Mastectomy in female-to-male transgender patients: A single-center 24-year retrospective analysis (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/p... September 2021.
  • Poonpismai Suwajo, Pronthep Pungrasmi and others, The Development of Sex Reassignment Surgery in Thailand: A Social Perspective (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3977439/), 13 September 2021.
  • The International Center for transgender care, Mastectomy (Top Surgery) (https://thetranscenter.com/transmen/mastectomy-top-surgery/), 13 September 2021.
@‌hdcoth line chat