HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- การตรวจนิฟ คือ การเจาะเลือดเพื่อตรวจคัดกรองหาความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์มารดา ซึ่งสามารถนำไปสู่การเกิดโรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติทางพันธุกรรมต่างๆ
- ช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะต่อการตรวจ NIPT อยู่ที่ประมาณ 10-20 สัปดาห์ เนื่องจากเป็นช่วงที่โครโมโซมของเด็กเริ่มปะปนอยู่ในเลือดของมารดา และสามารถตรวจวิเคราะห์ได้จากการเจาะเก็บตัวอย่างเลือด
- นอกจากการตรวจ NIPT วิธีตรวจหาความเสี่ยงของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมที่ยังนิยมใช้กันในปัจจุบันได้แก่ การตรวจอัลตราซาวด์ การเจาะน้ำคร่ำ และการเจาะเลือดเพื่อดูสารชีวเคมี (Quadruple Screening)
- บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDinsight ได้รับการสปอนเซอร์จาก G-NIPT Thailand
- ดูรายละเอียด ชุดตรวจ G-NIPT บน HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
สารบัญ
- การตรวจ NIPT คืออะไร? จำเป็นแค่ไหนกับหญิงตั้งครรภ์?
- หญิงตั้งครรภ์กลุ่มใดที่ควรตรวจ NIPT?
- ควรตรวจ NIPT ในช่วงอายุครรภ์เท่าไร?
- การตรวจ NIPT ดีกว่าการตรวจหาความเสี่ยงดาวน์ซินโดรมด้วยวิธีอื่นอย่างไร?
- ควรตรวจ NIPT กี่ครั้ง?
- ก่อนตรวจ NIPT ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษหรือไม่?
- ขั้นตอนการตรวจ NIPT ใช้เวลานานหรือไม่?
- ใครเป็นผู้อธิบายผลตรวจ?
- ตรวจ NIPT ด้วยชุดตรวจแบรนด์ G-NIPT
- บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
ลูกน้อยที่สุขภาพแข็งแรงย่อมทำให้หัวใจของพ่อแม่ทุกคนเบิกบาน ดังนั้นมันจะดีกว่าหรือไม่ หากทุกครอบครัวจะรีบตรวจคัดกรองความเสี่ยงของภาวะดาวน์ซินโดรมตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย เพื่อสร้างความมั่นใจและวางแผนการดูแลสมาชิกใหม่ของครอบครัวได้อย่างถูกแนวทาง
HDmall.co.th ร่วมกับ G-NIPT แบรนด์ชุดตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโซมทารกจากประเทศเกาหลีใต้ ขอแนะนำ “การตรวจนิฟ (NIPT)” ซึ่งเป็นวิธีตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมจากทารกในครรภ์ที่สะดวก รวดเร็ว มีความแม่นยำสูงถึง 99%
การตรวจ NIPT คืออะไร? จำเป็นแค่ไหนกับหญิงตั้งครรภ์?
การตรวจนิฟ (Non-Invasive Prenatal Testing: NIPT) คือ การเจาะเลือดเพื่อตรวจคัดกรองหาความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์มารดา ซึ่งสามารถนำไปสู่การเกิดโรคหรือกลุ่มอาการผิดปกติทางพันธุกรรมต่างๆ เช่น
- กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome) เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 21 เกิน
- กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward's Syndrome) เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกิน หรือเรียกได้อีกชื่อว่า Trisomy 18
- กลุ่มอาการพาทัวร์ (Patau’s Syndrome) เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 13 เกิน หรือเรียกได้อีกชื่อว่า Trisomy 13
- กลุ่มอาการที่เกิดจากโครโมโซมเพศขาดหรือเกิน เช่น กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner Syndrome) กลุ่มอาการไคลน์เฟลเตอร์ (Klinefelter Syndrome)
กลุ่มความผิดปกติทางพันธุกรรมเหล่านี้แทบไม่มีความเสี่ยงมาจากปัจจัยภายนอกเลย ไม่ว่าจะพฤติกรรมการใช้ชีวิตของบิดาและมารดา หรือการดูแลตนเองทั้งก่อนและหลังการตั้งครรภ์ แต่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมในร่างกายเด็ก ซึ่งเมื่อเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ความสมบูรณ์ของร่างกาย และพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก
นอกจากนี้หลายครอบครัวที่ไม่ได้ตรวจนิฟ หรือตรวจความเสี่ยงโรคที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กทารก หากเด็กคลอดออกมาแล้วร่างกายไม่สมบูรณ์ ก็มักรับมือและดูแลเด็กไม่ถูกต้องเหมาะสม ทำให้เด็กมีสุขภาพไม่แข็งแรงและไม่มีพัฒนาการที่จะใช้ชีวิตร่วมกับผู้คนในสังคม
การตรวจนิฟจึงเป็นอีกการเตรียมวางแผนดูแลทารกล่วงหน้าที่ทุกครอบครัวไม่ควรมองข้าม และลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแท้งจากการตรวจด้วยวิธีการเจาะน้ำคร่ำ จึงไม่ต้องกลัวถึงผลกระทบจากการตรวจที่อาจตามมา
หญิงตั้งครรภ์กลุ่มใดที่ควรตรวจ NIPT?
หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรรับการตรวจ NIPT แม้กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมรวมถึงกลุ่มอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับโครโมโซมทารกจะพบได้มากในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุมากกว่า 35 ปี แต่หญิงตั้งครรภ์ที่อายุยังน้อยหรือร่างกายแข็งแรก็ไม่ควรประมาท และควรรับการตรวจ NIPT ในช่วงที่อายุครรภ์ถึงเกณฑ์
ควรตรวจ NIPT ในช่วงอายุครรภ์เท่าไร?
ช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะต่อการตรวจ NIPT อยู่ที่ประมาณ 10-20 สัปดาห์ ไม่ควรเกินไปกว่านี้ เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่โครโมโซมของเด็กเริ่มปะปนอยู่ในเลือดของมารดา และสามารถตรวจวิเคราะห์ได้จากการเจาะเก็บตัวอย่างเลือดแล้ว
การตรวจ NIPT ดีกว่าการตรวจหาความเสี่ยงดาวน์ซินโดรมด้วยวิธีอื่นอย่างไร?
นอกจากการตรวจ NIPT วิธีตรวจหาความเสี่ยงของกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมที่ยังนิยมใช้กันในปัจจุบันได้แก่ การตรวจอัลตราซาวด์ การเจาะน้ำคร่ำ และการเจาะเลือดเพื่อดูสารชีวเคมี (Quadruple Screening)
โดยการตรวจ NIPT มีข้อได้เปรียบที่ดีกว่าในส่วนของความสะดวกสบายและการรอผลตรวจที่รวดเร็ว โดยมีข้อสรุปของจุดเด่น ดังต่อไปนี้
- ใช้เวลาตรวจเร็ว เนื่องจากเป็นเพียงการเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- ไม่จำเป็นต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลเสมอไป เนื่องจากในปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ชุดตรวจ NIPT หลายยี่ห้อที่จำหน่ายและบริการตรวจภายในคลินิกสูตินรีเวชหลายแห่งทั่วประเทศไทย
- ใช้เวลารอผลตรวจอยู่ที่ประมาณ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น หรืออาจเร็วกว่านั้น เช่น ชุดตรวจของแบรนด์ G-NIPT จะใช้เวลารอผลเพียง 5 วันทำการเท่านั้น
- ไม่ต้องตรวจบ่อย โดยตรวจเพียง 1 ครั้งตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์ก็เพียงพอแล้ว
- มีความแม่นยำสูงถึง 99% เทียบเท่ากับการตรวจวิธีอื่นที่ได้รับความนิยม และมีโอกาสแปลผลผิดพลาดน้อยมาก
- ไม่มีความเสี่ยงเกิดภาวะแท้งบุตร เพราะเป็นเพียงการเจาะเลือดเหมือนกับการเจาะเลือดตรวจสุขภาพทั่วไป
ควรตรวจ NIPT กี่ครั้ง?
การตรวจ NIPT เพียง 1 ครั้งก็ถือว่าเพียงพอต่อการตั้งครรภ์ในแต่ละครั้งแล้ว หากมีการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ก็สามารถรับการตรวจ NIPT อีกครั้งได้
หรือหากในการตั้งครรภ์รอบนั้นได้มีการตรวจ NIPT ไปแล้ว 1 ครั้ง แต่ทางครอบครัวก็ยังรู้สึกไม่มั่นใจ และอยากรับการตรวจอีกครั้ง ก็สามารถตรวจได้เช่นกัน
ก่อนตรวจ NIPT ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษหรือไม่?
ก่อนมารับบริการตรวจ NIPT ผู้เข้ารับบริการสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่ต้องงดน้ำหรืองดอาหารก่อนมารับการตรวจ
ขั้นตอนการตรวจ NIPT ใช้เวลานานหรือไม่?
ขั้นตอนการตรวจ NIPT มีความใกล้เคียงกับการเจาะเลือดเพื่อเช็กความสมบูรณ์ด้านสุขภาพของบุคคลทั่วไป โดยใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง
เริ่มจากเดินทางไปยังสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลที่รับบริการตรวจ NIPT จากนั้นชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ทำประวัติด้านสุขภาพ แล้วเข้าพบแพทย์เพื่อพูดคุยและปรึกษาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการมาตรวจ NIPT
ผู้เข้ารับบริการอาจตรวจอัลตราซาวด์ดูพัฒนาการของร่างกายทารกก่อนได้ จากนั้นแพทย์ค่อยเจาะเก็บตัวอย่างเลือดของมารดา ซึ่งมักใช้เวลาไม่เกิน 15 นาที แล้วแพทย์จะนำตัวอย่างเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อคัดแยกโครโมโซมของทารกที่ปะปนอยู่ในเลือดมารดา โดยใช้เวลาในการวิเคราะห์ผลตรวจประมาณ 5-14 วัน
ใครเป็นผู้อธิบายผลตรวจ?
โดยปกติแพทย์จะเป็นผู้อธิบายผลตรวจ NIPT ให้กับผู้เข้ารับบริการทุกราย พร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับร่างกายของทารก
หากศูนย์ตรวจนั้นไม่มีแพทย์ ก็มักเป็นนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ผู้วิเคราะห์ตัวอย่างเลือดเป็นผู้อธิบายผลตรวจผ่านการอ่านค่าแปรผลเท่านั้น
ตรวจ NIPT ด้วยชุดตรวจแบรนด์ G-NIPT
HDmall.co.th ให้บริการชุดตรวจ NIPT แบรนด์ G-NIPT ซึ่งเป็นชุดตรวจคัดกรองนำเข้าจาก GC Denome ซึ่งเป็นบริษัทให้บริการตรวจโรคและความผิดปกติทางพันธุกรรมจากประเทศเกาหลีใต้
หากคุณกำลังมองหาชุดตรวจที่มีความแม่นยำสูง มีการแปลผลโดยนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ รวมถึงไม่อยากไปตรวจ NIPT ที่โรงพยาบาลซึ่งต้องพบปะผู้คนและอาจเสี่ยงติดเชื้อโรคระบาด
ด้วยชุดตรวจจาก G-NIPT สามารถรับการตรวจและฟังผลได้ที่คลินิกสูตินรีเวชที่มีความเชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ไลน์ @HDcoth
นอกจากนี้ชุดตรวจ NIPT ของแบรนด์ G-NIPT ยังมีให้เลือกถึง 3 โปรแกรม คือ
- ชุดตรวจ G-NIPT Lite ชุดตรวจเริ่มต้นสำหรับการตรวจหาความเสี่ยงกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด และกลุ่มอาการพาทัวร์ (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
- ชุดตรวจ G-NIPT Basic ชุดตรวจหาความเสี่ยงกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด กลุ่มอาการพาทัวร์ และกลุ่มความผิดปกติจากโครโมโซมเพศ (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
- ชุดตรวจ G-NIPT Premium ชุดตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมทุกคู่ โครโมโซมเพศ และการหายไปของโครโมโซมบางชิ้น (Microdeletions) (คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ หรืออยากรับบริการตรวจ NIPT ด้วยชุดตรวจจาก G-NIPT ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านตัวเอง ก็สามารถแอดไลน์ @HDcoth เพื่อสอบถามข้อมูลและขอคำแนะนำในการตรวจ NIPT ได้กับทางแอดมินของ HDmall.co.th ตั้งแต่เก้าโมงเช้าถึงตีหนึ่ง
รับบริการตรวจ NIPT ที่ได้มาตรฐาน แม่นยำถึง 99.99% คุ้มค่าและสะดวกสบาย ไม่ต้องไปตรวจถึงโรงพยาบาลก็คัดกรองความเสี่ยงของสุขภาพลูกน้อยได้ง่ายๆ ด้วยชุดตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกจาก G-NIPT