รากฟันเทียมคืออะไร? เหมาะกับใคร? เตรียมตัวก่อนทำยังไง? ตอบครบทุกข้อมูลโดยทันตแพทย์


HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การทำรากฟันเทียม คือ การผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาฟันที่ถูกทำลายหรือเสียหายด้วยการฝังวัสดุที่มีรูปร่างเหมือนรากฟันลงไปที่กระดูกขากรรไกร
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และยังไม่สามารถควบคุมอาการของโรคให้อยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงได้ ต้องปรึกษาแพทย์อย่างละเอียดก่อนทำรากฟันเทียม
  • รากฟันเทียมจัดเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของโครงสร้างฟันปลอมทั้งหมด หากต้องการเสริมฟันซี่ใหม่จะมีทั้งหมด 3 ส่วนได้แก่ รากฟันปลอม (Fixture) ส่วนเชื่อมต่อ (Abutment) และที่ครอบฟัน (Crown)
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จากศูนย์ทันตกรรม BIDC แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจใดๆ #HDinsight

การสูญเสียเนื้อฟัน นอกจากจะเสียความมั่นใจในภาพลักษณ์ ยังทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่ด้วย กระบวนการทำรากฟันเทียมจึงเกิดขึ้น เพื่อเติมเต็มเนื้อฟันที่หายไปให้กลับมาสมบูรณ์ดังเดิม

การทำรากฟันเทียมจำเป็นจะต้องทำกับทันตแพทย์หรือศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญสูง เพราะกระบวนการทั้งหมดแทบไม่ต่างจากการปลูกอวัยวะชิ้นใหม่ลงไปใต้เหงือก ผู้เข้ารับบริการจึงต้องเลือกสถานพยาบาลที่ให้บริการทำรากฟันเทียมอย่างระมัดระวัง มิฉะนั้นอาจตามมาด้วยขั้นตอนการแก้ไขฟันที่ยุ่งยาก และใช้เวลานาน

HDmall.co.th ร่วมกับ นายแพทย์ ทันตแพทย์ ด็อกเตอร์ บวร คลองน้อย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำรากฟันเทียมจากศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์ (BIDC) ที่จะมาแชร์ความรู้เรื่องการทำรากฟันเทียม เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการเข้าใจทุกกระบวนการ

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

การทำรากฟันเทียมคืออะไร?

การทำรากฟันเทียม คือ การผ่าตัดเพื่อแก้ไขปัญหาฟันธรรมชาติที่ถูกทำลายหรือเสียหายจนไม่สามารถใช้งานได้ ผ่านการฝังวัสดุไททาเนียมที่มีรูปร่างเหมือนรากฟันธรรมชาติลงไปที่กระดูกขากรรไกร

การทำรากฟันเทียมเปรียบเสมือนการต่อเติมโครงสร้างฟันปลอมที่โผล่พ้นเหงือกขึ้นมาให้แข็งแรงตั้งแต่ราก ส่งผลให้ซี่ฟันปลอมทั้งซี่สามารถใช้งานได้อย่างคงทน ยึดตัวกับเหงือกได้อย่างแน่นหนา เหมือนกับฟันแท้

โดยการทำรากฟันเทียม เป็นศาสตร์ทันตกรรมที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของแพทย์มากกว่า 1 ด้าน อาจต้องอาศัยความร่วมมือจากศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดขนาดเล็กดูแลการผ่าตัดฝังรากฟันเทียม แล้วส่งต่อให้ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการใส่ฟันปลอม เป็นผู้ใส่ซี่ฟันด้านบนให้เชื่อมกับรากฟันด้านล่าง

อย่างไรก็ตาม ก่อนเริ่มการรักษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทุกท่านจะวางแผนการรักษาร่วมกัน เพื่อให้ได้แบบแผนในการทำฟันปลอมที่แข็งแรงที่สุดให้กับผู้เข้ารับบริการ

รากฟันเทียมมีส่วนประกอบอะไรบ้าง?

รากฟันเทียมจัดเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของโครงสร้างฟันปลอมทั้งหมด หากต้องการเสริมฟันซี่ใหม่แทนที่ฟันแท้ที่หายไป โครงสร้างฟันที่ทันตแพทย์จะใส่ลงไปที่กระดูกขากรรไกรจะมีทั้งหมด 3 ส่วนได้แก่

  1. รากฟันปลอม (Fixture) ซึ่งเป็นส่วนของรากฟันที่จะเชื่อมต่อกับกระดูกขากรรไกรของร่างกาย
  2. ส่วนเชื่อมต่อ (Abutment) เพื่อยึดติดระหว่างรากฟันกับตัวฟันปลอม
  3. ซี่ฟันปลอมที่โผล่พ้นเหงือก หรือเรียกอีกชื่อว่า “ครอบฟัน (Crown)” ทำหน้าที่เป็นบดเคี้ยวอาหาร รวมถึงเติมเต็มไม่ให้ฟันหลอเป็นรู

รากฟันเทียมมียี่ห้ออะไรบ้าง?

แบรนด์วัสดุทำรากฟันเทียมในปัจจุบันมีอยู่มากมายหลายยี่ห้อ และยังมีระดับราคาที่แตกต่างกัน

โดยหนึ่งในแบรนด์รากฟันเทียมที่น่าสนใจและมีความปลอดภัยสูงก็คือ รากฟันเทียม SIC ซึ่งเป็นแบรนด์วัสดุทำรากฟันเทียมจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์

จุดเด่นของรากฟันเทียม SIC คือ มีความคงทนแข็งแรง และได้มาตรฐานการแพทย์จากประเทศในฝั่งยุโรป สามารถเชื่อมต่อกับเข้ากับกระดูกมนุษย์ได้อย่างแน่นหนาและมีคุณภาพ ที่สำคัญ ราคารากฟันเทียม SIC อยู่ในระดับที่จับต้องได้

ใครเหมาะต่อการทำรากฟันเทียมบ้าง?

ผู้ที่สูญเสียเนื้อฟันจนเสียความมั่นใจ หรือไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติเนื่องจากมีซี่ฟันในช่องปากไม่ครบ คือ กลุ่มเป้าหมายที่เหมาะต่อการทำรากฟันเทียมที่สุด เพราะรากฟันเทียมจะช่วยให้ทุกคนกลับมามีรากฟันที่แข็งแรงอีกครั้ง และต่อยอดเป็นซี่ฟันปลอมด้านบนที่คงทนต่อการใช้งาน เสริมความสวยงามให้กับรอยยิ้มได้

ใครที่ไม่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม?

ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และยังไม่สามารถควบคุมอาการของโรคให้อยู่ในระดับที่ไม่รุนแรงได้ อาจต้องปรึกษาแพทย์อย่างละเอียดเสียก่อนตัดสินใจทำรากฟันเทียม

ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ยังรักษาไม่หาย และกำลังใช้ยากลุ่มต้านการละลายของกระดูกอยู่ ก็ยังไม่ควรทำรากฟันเทียมเช่นกัน เพราะตัวยาอาจไปรบกวนกระบวนการเชื่อมติดระหว่างกระดูกขากรรไกรกับรากฟันเทียมได้

ทำรากฟันเทียมได้ตั้งแต่อายุเท่าไร?

ผู้เข้ารับบริการควรมีอายุ 18-20 ปีขึ้นไป จึงจะเหมาะสมต่อการทำรากฟันเทียม เพราะหากทำรากฟันเทียมในผู้ที่อายุยังน้อย รากฟันที่ฝังลงไปที่กระดูกขากรรไกรอาจขยับเปลี่ยนตำแหน่งจากการเจริญเติบโตของโครงสร้างร่างกายที่ยังไม่พัฒนาเต็มที่

ส่วนผู้สูงอายุ การทำรากฟันเทียมแทบไม่มีข้อจำกัด แม้จะอายุ 80-90 ปีไปแล้วก็สามารถทำได้ ตราบใดที่ผู้เข้ารับบริการมีสุขภาพแข็งแรงและไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการทำรากฟันเทียม

การเตรียมตัวก่อนทำรากฟันเทียม

ก่อนเริ่มการผ่าตัดทำรากฟันเทียม ผู้เข้ารับบริการจะต้องเข้ามาพบทันตแพทย์เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการทำรากฟันเทียม รวมถึงให้ทันตแพทย์แนะนำเกี่ยวกับรูปแบบของรากฟันเทียมที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น รากฟันเทียมแบบติดแน่น รากฟันเทียมแบบถอดได้

นอกจากการพูดคุยเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การทำรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะซักประวัติด้านสุขภาพ โรคประจำตัว และขอตรวจสุขภาพช่องปากอย่างละเอียด ในขั้นตอนนี้อาจมีการเอกซเรย์เพื่อตรวจดูกระดูกฟันเพิ่มเติมด้วย

จากนั้นทันตแพทย์จะวัดความยาวของกระดูกขากรรไกรว่ามีสภาพพร้อมต่อการฝังรากฟันเทียมหรือไม่ หรือจำเป็นจะต้องปลูกถ่ายกระดูกให้เพียงพอเสียก่อน หากผลตรวจโครงสร้างและสุขภาพช่องปากเป็นปกติเรียบร้อยดี ก็จะเริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการทำรากฟันเทียมต่อไป

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม

กระบวนการผ่าตัดเพื่อฝังรากฟันเทียมจะมีขั้นตอนหลักๆ ไปจนถึงการใส่ซี่ฟันปลอมด้านบนดังต่อไปนี้

  • แพทย์ฉีดยาชาให้ผู้เข้ารับบริการ
  • ผ่าตัดเปิดเหงือก
  • กรอกระดูกฟันให้มีพื้นที่สำหรับใส่ชิ้นรากฟันเทียม
  • ทันตแพทย์ติดรากฟันเทียมลงไปยังตำแหน่งที่กำหนด
  • เย็บปิดแผล เบ็ดเสร็จขั้นตอนการผ่าตัดใช้เวลาเพียงประมาณ 30 นาที
  • ผู้เข้ารับบริการกลับมาตัดไหมกับแพทย์ตามวันนัด
  • เมื่อตัดไหมเสร็จแล้ว ผู้เข้ารับบริการต้องรอให้วัสดุรากฟันเชื่อมผสานกับกระดูกขากรรไกรเสียก่อน โดยทันตแพทย์จะเป็นประเมินระยะเวลาในส่วนนี้ตั้งแต่ขั้นตอนวางแผนการรักษา โดยจะอยู่ที่ประมาณ 2-6 เดือน
  • เมื่อรากฟันเทียมเชื่อมกับกระดูกขากรรไกรแล้ว ผู้เข้ารับบริการจึงค่อยเดินทางกลับมาใส่ซี่ฟันปลอมส่วนด้านบนต่อไป

การดูแลตนเองหลังทำรากฟันเทียม ต้องกลับมาพบทันตแพทย์บ่อยหรือไม่?

แผลผ่าตัดรากฟันเทียมเป็นแผลปิดขนาดเล็ก ส่วนมากมักให้ผลข้างเคียงเป็นอาการปวดบวมหลังผ่าตัดได้ แต่มักไม่อยู่ในระดับรุนแรงมาก และสามารถกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้ โดยหลังจากผ่าตัดเสร็จสิ้นแล้ว ผู้เข้ารับบริการต้องกลับมาตัดไหมและตรวจดูแผลกับทันตแพทย์ 1 ครั้ง

หากในวันตัดไหม ทันตแพทย์ประเมินแล้วว่า แผลเรียบร้อยดี ไม่มีอาการแทรกซ้อน ก็ไม่จำเป็นต้องกลับมาตรวจซ้ำอีก ผู้เข้ารับบริการก็สามารถกลับไปรอให้รากฟันเทียมเชื่อมกับกระดูกขากรรไกรได้เลย

รับบริการทำรากฟันเทียม ที่ ศูนย์ทันตกรรม BIDC

ที่ศูนย์ทันตกรรม บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล เดนทัล เซ็นเตอร์ หรือศูนย์ทันตกรรม BIDC มีทีมทันตแพทย์และแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญด้านการรักษารากฟันเทียมประจำอยู่หลายท่าน แต่ละท่านล้วนผ่านประสบการรักษารากฟันเทียมให้ผู้เข้ารับบริการทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาแล้วอย่างนับไม่ถ้วน

บริการรักษารากฟันเทียมที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC ยังเป็นมาตรฐานระดับสากล ใช้วัสดุทำรากฟันเทียมที่นำเข้าจากต่างประเทศและเป็นแบรนด์ที่ได้รับการยอมรับในมาตรฐานระดับโลกทุกชิ้น

ศูนย์ทันตกรรม BIDC มีอุปกรณ์ทางการแพทย์และเพื่อการทำทันตกรรมที่ทันสมัย สะอาด ทางคลินิกมีระบบห้องปลอดเชื้อเพื่อทำความสะอาดเครื่องมือทุกชิ้น ซึ่งแทบไม่มีคลินิกทันตกรรมแห่งใดในประเทศไทยที่มีเหมือนอย่างที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC

ภายในคลินิกยังมีห้องเอกซเรย์เฉพาะสำหรับตรวจโครงสร้างกระดูกและฟัน มีพนักงานคอยอำนวยความสะดวก และให้คำแนะนำตลอดทุกขั้นตอน

หากคุณยังไม่รู้ว่าจะทำรากฟันเทียมที่ไหนดี และกำลังมองหาคลินิกทันตกรรมที่มีความปลอดภัย และความเชี่ยวชาญในการรักษาระดับสากล มีผู้เข้ารับบริการชาวต่างชาติเข้ามารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงความประทับใจ และการยอมรับในความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงศูนย์ทันตกรรม BIDC จัดเป็นคำตอบในการทำรากฟันเทียมที่ตอบโจทย์คุณอย่างที่สุด


ราคาทำรากฟันเทียมที่ศูนย์ทันตกรรม BIDC มีให้เลือกหลายขึ้นกับวัสดุที่ใช้ เพื่อให้เป็นทางเลือกในการรักษากับผู้เข้ารับบริการทุกๆ ท่านที่อาจมีเงื่อนไขด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาสุขภาพช่องปากที่แตกต่างกันไป

ทันตแพทย์และแพทย์เฉพาะทางภายในศูนย์ทันตกรรม BIDC ยังพร้อมร่วมมือวางแผนการรักษาร่วมกันแบบทีมเวิร์ก เพื่อให้เป้าหมายในการรักษาสุขภาพช่องปากของผู้เข้ารับบริการทุกท่านได้รับการดูแลในระดับที่ดีที่สุด

ให้ศูนย์ทันตกรรม BIDC เป็นผู้สร้างฟันซี่ใหม่ที่แข็งแรงและสวยงามให้กับคุณ พร้อมยังอยู่ในราคาที่คุ้มค่า และด้วยวิธีการรักษาที่ปลอดภัยสูงสุด โดยซื้อแพ็กเกจทำรากฟันเทียมของ ศูนย์ทันตกรรม BIDC ได้ที่เว็บไซต์​ HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูล โปรโมชั่นทำรากฟันเทียมที่น่าสนใจได้ที่ไลน์ @HDcoth


บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat