การผ่าตัดรักษาโรคเหงื่อออกมือกับ นายแพทย์ศิระ เลาหทัย ด้วยบริการจาก HDcare


HDcae สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • โรคเหงื่อออกมือ เป็นภาวะที่พบได้ประมาณ 3% ของจำนวนประชากร เกิดจากการการที่ต่อมเหงื่อผลิตเหงื่อมากกว่าปกติ ทำให้มีเหงื่อเปียก หรือไหลบริเวณที่มือทั้งสองข้าง
  • อาการของเหงื่อออกมือ มีหลายระดับตั้งแต่น้อยไประดับมาก โดยมักจะมีอาการเหงื่อออกมือบริเวณที่มือทั้งสองข้าง รวมถึงบริเวณอื่นๆ เช่น รักแร้ หรือเท้า
  • การผ่าตัดiโรคเหงื่อออกมือใช้เทคโนโลยีการส่องกล้อง โดยการผ่าตัดแบบจุดเดียวบริเวณรักแร้ทั้งสองข้าง มีขนาดแผลเพียง 1 เซนติเมตร โดยการผ่าตัดเส้นประสาทบริเวณซี่โครงที่ 3-5 เพื่อป้องกันไม่ให้ต่อมเหงื่อทำงานบริเวณมือทั้งสองข้าง
  • การผ่าตัดเหงื่อออกมือ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาโรคเหงื่อออกมือให้หายได้ทันทีหลังการผ่าตัด เพื่อลดปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวันสำหรับผู้ป่วย
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก HDcare ศูนย์รวมการผ่าตัดโดยทีมแพทย์ที่มี่ประสบการณ์ จาก HDmall.co.th แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณา

สำหรับใครที่มีปัญหาเหงื่อออกมากที่มือและส่งผลกระทบกับการทำงาน การใช้ชีวิต และยังไม่รู้ว่าจะรักษาโรคเหงื่อออกมือได้อย่างไร แนะนำให้ทักเข้ามาปรึกษากับ HDcare ที่ไลน์ @HDcare เพื่อประสานนัดหมายทีมแพทย์ให้คำแนะนำแนวทางการรักษาที่เหมาะสมได้

หมอเจ หรือ นายแพทย์ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์สาขาศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก มีประสบการณ์ผ่าตัดรักษาโรคเหงื่อออกมากที่มือ มากกว่า 5 ปี และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดส่องกล้องช่องทรวงอก มีประสบการณ์ผ่าตัดมากกว่า 2,000 ราย อ่านประวัติของหมอเจได้ที่นี่ [รู้จัก “หมอเจ” กับประสบการณ์ผ่าตัดส่องกล้อง มากกว่า 2,000 ราย]

ปัจจุบันการผ่าตัดเหงื่อออกมือ มีการพัฒนาด้วยการส่องกล้องผ่าตัด และใช้ระยะเวลาสั้นลงในการรักษา สำหรับใครที่มีปัญหาเหงื่อออกมือมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เพราะส่งผลต่อการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเรียน การทำงาน รวมถึงชีวิตประจำวัน โดยการผ่าตัดเหงื่อออกมือด้วยการใช้เทคโนโลยีการส่องกล้อง มีจุดเด่น คือ เป็นวิธีการรักษาที่มีระยะเวลาสั้นลง และช่วยให้อาการเหงื่อออกมือหายได้หลังจากผ่าตัดในทันที

ทำไมถึงควรเลือกปรึกษาหมอและผ่าตัดกับ HDcare

ขยาย

ปิด

  • เลือกปรึกษาคุณหมอที่มีประสบการณ์ได้หลายคน หลายครั้ง ทั้งแบบออนไลน์และที่ รพ. จนคุณมั่นใจ
  • เช็กความคุ้มครอง พร้อมให้คำแนะนำเรื่องประกันสุขภาพ หรือจะเลือกผ่อน 0% ก็ได้ ให้คุณได้รีบรักษาให้สบายใจ
  • เลือกผ่าตัดได้ที่ รพ. หลายแห่งทั่วกรุงเทพ อุ่นใจมีพยาบาลผู้ช่วยจาก HDcare ดูแลคุณในวันผ่าตัดถึงที่ รพ.
  • ดูรายการผ่าตัดทั้งหมดจาก HDcare ได้ที่นี่

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

ภาวะเหงื่อออกมือ พบมากเกือบ 3% ของจำนวนประชากร แต่ระดับอาการจะเริ่มตั้งแต่ระดับน้อยจนถึงระดับสูงมาก ผู้ป่วยหลายคนมักจะไม่รู้ว่าตัวเองกำลังมีภาวะเหงื่อออกมือ เพราะอยู่ในระดับน้อย และมองว่าเป็นเรื่องปกติสามารถเกิดขึ้นได้ อาจเกิดจากอุณหภูมิหรืออากาศร้อนที่ส่งผลต่อเหงื่อออกมือ

เมื่อใดก็ตามที่ภาวะเหงื่อออกมือเริ่มที่จะรบกวนการใช้ชีวิตในประจำวัน เช่น การจับมือผู้อื่น หรือมีปัญหาในการทำงาน แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือเข้ารับการผ่าตัดรักษาโรคเหงื่อออกมือ

โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีภาวะเหงื่อออกมือจะถูกรบกวนการใช้ชีวิตในประจำวัน และเกิดปัญหาในการทำงาน เช่น แพทย์ที่มีความจำเป็นต้องใส่ถุงมือในการทำงาน หากมือเปียกหรือมีภาวะเหงื่อออกมือจะส่งผลต่อการใส่ถุงมือที่ลำบาก หรือเวลาที่มีการผ่าตัดผู้ป่วย การจัดยา รวมถึงการจับอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ ก็จะส่งผลกระทบได้

กลุ่มวิศวกร หมอนวด หรือแม้กระทั่งพนักงานชงกาแฟก็ส่งผลต่อการทำงานเช่นกัน หรือแม้กระทั่งกลุ่มวัยรุ่น ที่มีปัญหาในการใช้โทรศัพท์มือถือ รวมถึงการจับปากกาที่ส่งผลต่อการเขียน

โรคเหงื่อออกมือ คืออะไร?

โรคเหงื่อออกมือเป็นโรคใกล้ตัวมากกว่าที่คิด เกิดจากการที่ต่อมเหงื่อผลิตเหงื่อมากกว่าปกติ ทำให้มีเหงื่อเปียก หรือไหลบริเวณที่มือทั้งสองข้าง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในประจำวันของผู้ป่วย

การมีน้ำไหลออกจากมือ เช่น ขณะที่กำลังเขียนหนังสือ จะพบว่ากระดาษเปียก ซึ่งเกิดจากเหงื่อที่ไหลออกจากมือ หรือขณะที่ใช้โทรศัพท์มือถือ จะพบคราบน้ำหรือคราบเหงื่อ ซึ่งส่งผลต่อการใช้งานและความไม่สะดวก อาจเป็นอาการแรกเริ่มของโรคเหงื่อออกมือ

โรคเหงื่อออกมือสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเอง โดยเฉพาะคนที่มีอาการเหงื่อออกมือทั้งสองข้างมากกว่าปกติ รวมถึงมีอาการเหงื่อออกในบริเวณอื่นของร่างกายร่วมด้วย เช่น มือและเท้า หรือ มือ รักแร้ และเท้า

สภาพอากาศไม่ส่งผลต่ออาการเหงื่อออกมือ เช่น อยู่ในห้องแอร์ อากาศเย็น แต่มีภาวะเหงื่อออกมือ และไม่ส่งต่อทางพันธุกรรม

โรคเหงื่อออกมือ เกิดจากอะไร?

สาเหตุของการเกิดโรคเหงื่อออกมือจะมีด้วยกัน 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ดังนี้

1. ปัจจัยภายใน เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเหงื่อออกมือที่เจอได้บ่อย เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำงานมากเกินกว่าปกติ เป็นตัวกระตุ้นทำให้บริเวณต่อมเหงื่อทำงานมากกว่าปกติ

2. ปัจจัยภายนอก คือการที่มีสิ่งเข้ามากระตุ้นบริเวณต่อมเหงื่อให้เกิดการทำงานมากกว่าปกติ เช่น เกิดจากโรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคอ้วน รวมถึงการกินยาบางชนิดที่ส่งผลต่อการกระตุ้นบริเวณต่อมเหงื่อจึงทำให้เหงื่อออกมากกว่าปกติ

วิธีการตรวจโรคเหงื่อออกมือ

การวินิจฉัยหรือการตรวจโรคเหงื่อออกมือ เริ่มจากการซักประวัติผู้ป่วยเป็นหลัก เนื่องจากโรคนี้มักจะมีลักษณะเฉพาะตัว การซักประวัติจึงเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญอย่างมากในการวินิจฉัยโรคนี้

ในส่วนของปัจจัยภายนอกจะใช้วิธีการเจาะเลือดเพื่อหาสาเหตุว่ามีอะไรบ้างที่เข้ามารบกวนหรือกระตุ้นให้เกิดเหงื่อออกมือ

วิธีการรักษาโรคเหงื่อออกมือ

ปัจจุบันมีวิธีการักษาโรคเหงื่อออกมือ 4 วิธี ซึ่งแต่ละวิธีต้องเข้ารับการปรึกษาและรักษากับแพทย์ดังนี้

1. การใช้ยาทา (Antiperspirants) เช่น สเปรย์ทามือ มักจะเป็นยาในกลุ่มเดียวกันกับโรลออนที่ใช้ทาบริเวณรักแร้ ซึ่งมีสารที่เรียกว่า Acetyl Choline เพื่อป้องกันบริเวณต่อมเหงื่อไม่ให้เกิดการทำงานไม่ให้เกิดการทำงานมากกว่าปกติ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่ตัวยาหมดฤทธิ์ก็จะทำให้เหงือกกลับมาออกซ้ำได้อีก

2. การใช้ยากิน (Anticholinergic Drug) ยาในกลุ่มนี้จะไปลดการทำงานของปริมาณน้ำในร่างกายรวมถึงต่อมเหงื่อ ผู้ป่วยจะมีอาการเหงื่อออกมือลดลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามอาจเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา เช่น อาการตาแห้ง ตาเบลอ ท้องผูก ปากแห้ง ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากปริมาณน้ำในร่างกายลดลง

3. การใช้ยาฉีดบริเวณมือ (Botulinum Toxin) โดยจะเป็นการฉีดบริเวณฝ่ามือทั้งสองข้าง โดยมีการฉีดทั่วทั้งบริเวณมือ ซึ่งจะช่วยเข้าไปป้องกันบริเวณต่อมเหงื่อ การรักษาด้วยวิธีนี้สามารถช่วยในระยะเวลา 3-6 เดือน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อครบตามเวลาที่กำหนดอาจจะต้องมีการฉีดซ้ำ เพื่อป้องกันอาการไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำ

4. การผ่าตัด (Thoracoscopic Sympathectomy) เป็นวิธีการที่ช่วยให้อาการเหงื่อออกมือหายได้ทันที ปัจจุบันเทคโนโลยีการส่องกล้องผ่าตัดเข้ามามีบทบาทค่อนข้างมากในการรักษาโรคเหงื่อออกมือ สามารถทำการผ่าตัดด้วยการผ่าตัดแบบจุดเดียวบริเวณรักแร้ทั้งสองข้าง มีขนาดแผลในการผ่าตัดเพียง 1 เซนติเมตร โดยการผ่าตัดเส้นประสาทบริเวณซี่โครงที่ 3-5 เพื่อป้องกันไม่ให้ต่อมเหงื่อทำงานบริเวณมือทั้งสองข้าง

ผ่าตัดโรคเหงื่อออกมือ แต่ทำไมผ่าตัดที่ทรวงอก?

การผ่าตัดรักษาโรคเหงื่อออกมือ เป็นการผ่าตัดที่ทรวงอก เนื่องจากระบบเส้นประสาทที่เลี้ยงบริเวณปลายมือทั้งสองข้างจะอยู่ในช่วงทรวงอก การผ่าตัดจะทำการตัดระบบประสาทที่วิ่งอยู่บริเวณซี่โครงทั้งสองข้าง

เมื่อมีการตัดระบบประสาทบริเวณดังกล่าว จะช่วยให้อาการเหงื่อออกมือลดลงได้อย่างชัดเจน เรียกได้ว่าเป็นการรักษาที่เข้าไปแก้ไขที่ต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการเหงื่อออกมือนั้นเอง

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดรักษาโรคเหงื่อออกมือจะต้องต้องเข้ารับการผ่าตัดกับศัลยแพทย์ทางด้านช่วงทรวงอก เพื่อให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดโรคเหงื่อออกมือ

ผู้ป่วยที่จะเข้ารับการผ่าตัดเหงื่อออกมือ จะมีขั้นตอนการตรวจเลือดเพื่อเตรียมตัวก่อนผ่าตัด โดยจะต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง

หากผลเลือดออกมาปกติ และแพทย์วินิจฉัยว่าปัญหาของโรคเหงื่อออกมือเกิดจากปัจจัยภายใน และผู้ป่วยยินยอมที่จะเข้ารับการรักษา แพทย์จึงจะเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยการผ่าตัด

การผ่าตัดโรคเหงื่อออกมือ มีขั้นตอนอะไรบ้าง?

การผ่าตัดเหงื่อออกมือจะใช้วิธีการดมยาสลบ และมีระยะเวลาผ่าตัดค่อนข้างสั้น ประมาณ 30-45 นาทีเท่านั้น

แพทย์จะทำการผ่าตัดส่องกล้องโดยเปิดแผลบริเวณรักแร้ทั้งสองข้าง แล้วส่งกล้องนำผ่าตัดรวมถึงเครื่องมือผ่าตัดผ่านช่องอกเข้าไปตัดเส้นประสาทที่คอยเลี้ยงต่อมเหงื่อบริเวณมือ

เส้นประสาทดังกล่าวอยู่บริเวณซี่โครงคู่ที่ 4 กับ 5 โดยหลังผ่าตัดจะเห็นผลลัพธ์ได้ทันทีว่าฝ่ามือไม่มีเหงื่อออกอีกต่อไป

การดูแลหลังผ่าตัดโรคเหงื่อออกมือ

หลังจากเข้ารับการผ่าตัดโรคเหงื่อออกมือ ผู้ป่วยจะไม่มีสายระบายออกมา แผลจะมีขนาดเล็กในลักษณะขีดจางประมาณ 1 เซนติเมตร

หลังจากการผ่าตัดผู้ป่วยอาจจะมีอาการแน่นตึงบริเวณหลังได้ ซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้น โดยผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้หลังจากการผ่าตัดในวันถัดไป

หลังผ่าตัดโรคเหงื่อออกมือ มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำหรือไม่?

ผู้ป่วยที่ได้เข้ารับการผ่าตัดโรคเหงื่อออกมือ มีโอกาสที่อาการจะกลับมาซ้ำน้อย ซึ่งขึ้นอยู่กับการผ่าตัด

ในผู้ป่วยบางรายที่มีการเส้นประสาทใกล้เกินไป มีโอกาสที่เนื้อจะกลับเข้ามาเชื่อมกันใหม่ แต่มีโอกาสได้น้อย

การผ่าตัดโรคเหงื่อออกมือ ช่วยแก้ไขเหงื่อออกได้ทุกบริเวณหรือไม่?

การผ่าตัดโรคเหงื่อออกมือสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหงื่อออกบริเวณมือและรักแร้อย่างเห็นได้ชัดหลังการผ่าตัด

แต่บริเวณเท้าจะมีอาการดีขึ้นประมาณ 50% มีอาการเหงื่อออกเท้าลดลงแต่อาจจะไม่หายขาด เนื่องจากเส้นประสาทอยู่ในบริเวณช่วงช่องท้อง จึงขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคล ซึ่งจะมีเส้นประสาทของเท้าเพียงบางส่วนวิ่งอยู่บริเวณช่องทรวงอกที่ได้รับการผ่าตัดออกไป

การผ่าตัดโรคเหงื่อออกมือ มีผลข้างเคียงหรือไม่?

ภาวะเหงื่อชดเชย เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากที่มีการผ่าตัด ซึ่งมักจะเกิดอาการบริเวณข้อพับ บริเวณหลัง หรือต้นขา

เนื่องจากเมื่อมีการตัดบริเวณต่อมเหงื่อออกไป บริเวณมือจะมีอาการแห้ง ร่างกายจึงสั่งการว่าหากอยู่บริเวณที่มีอากาศร้อน ตำแหน่งอื่นของร่างกายจะถูกสั่งให้ทำงานหลั่งเหงื่อชดเชยเพื่อลดอุณหภูมิบริเวณผิวหนัง

ผู้ป่วยที่มีการผ่าตัดโรคเหงื่อออกมือจึงมีโอกาสเกิดภาวะเหงื่อชดเชยประมาณ 20-30% ซึ่งหลังจากการผ่าตัดแพทย์จะนัดติดตามการรักษาของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ

การผ่าตัดเหงื่อออกมือ กับ นพ. ศิระ ด้วยบริการจาก HDcare

สำหรับใครที่มีความกังวลใจ หรือมีปัญหาในการใช้ชีวิตจากโรคเหงื่อออกมือ ไม่อยากปล่อยให้นิ่งนอนใจ สามารถเข้ามาปรึกษาเพื่อพูดคุยและหาทางออกร่วมกันได้ แนะนำบริการจาก HDcare ผ่าตัดเหงื่อออกมือโดย นพ. ศิระ เลาหทัย หรือ หมอเจ แพทย์เฉพาะทางด้านผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก

สามารถสอบถามทุกประเด็นเกี่ยวกับการผ่าตัดที่สงสัยกับทางทีมของ HDcare จนกว่าจะมั่นใจ และหากต้องการผู้ช่วยประสานงานด้านใดในโรงพยาบาล หรืออยากสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการ HDcare สามารถพูดคุยผ่านทางไลน์ @HDcoth ได้เลย

บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat