สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD มีโอกาสติดต่อกันได้สูงมาก หากไม่รู้จักวิธีการป้องกันที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย
- การเลือกใช้ถุงยางอนามัย ยังคงเป็นวิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ดี และมีประสิทธิภาพมากที่สุด และยังสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่ถึงประสงค์ได้อีกด้วย
- เมื่อรู้ตัวว่ามีความเสี่ยงหรือมีอาการผิดปกติเพียงเล็กน้อย ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาโรคอย่างละเอียด และเริ่มรักษาทันที เพราะหากปล่อยไว้นานอาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต
- ที่ Wellmed Clinic Bangkok มีบริการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ครอบคลุมสูงถึง 14 ชนิด อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวกับคนไข้ สามารถขอปรึกษาแพทย์แบบไม่ต้องระบุตัวตนคนไข้ได้
- บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก MN Medical Clinic พยาบาลผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจ #HDinsight
- ดูรายละเอียด ราคาตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ Wellmed Bangkok Clinic
- ดูรายละเอียด โปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ใกล้บ้าน
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่
การมีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่ควรรู้จักวิธีป้องกันที่ถูกต้อง และเหมาะสม เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการติดโรคที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ เพราะจะส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อตัวเองรวมถึงคู่ของเรา หรือคนรักของเรา
HDmall.co.th ร่วมกับ นายแพทย์สุกฤษฏิ์ ถิรมนัส ผู้อำนวยการ เวลเมดคลินิกเวชกรรม จะมาให้ความรู้ และไขข้อสงสัยในทุกประเด็นเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมธ์
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ STD คืออะไร?
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือ STD (Sexually Transmitted Diseases) คือ กลุ่มเชื้อโรคที่มีความสามารถในการส่งผ่านไปสู่ผู้อื่น ผ่านทางกิจกรรมทางเพศ ทั้งการจูบ การออรัลเช็กช์ และการมีเพศสัมพันธ์ผ่านการสอดใส่ตามช่องทางต่างๆ ทั้งทางช่องคลอด และทวารหนัก
การแบ่งกลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สามารถแบ่งได้หลากหลาย แต่ในเชิงของลักษณะเชื้อโรค สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้
- กลุ่มเชื้อไวรัส ที่คนส่วนมากรู้จัก เช่น HIV ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เริม และหูด
- กลุ่มเชื้อแบคทีเรีย เช่น หนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส และยังทำให้เกิดโรคบางอย่างที่เรียกว่า แผลริมอ่อน และฝีมะม่วง
- กลุ่มอื่นๆ เช่น
- พยาธิ หรือที่รู้จักกันในชื่อ พยาธิช่องคลอด (Trichomoniasis)
- เชื้อรา (Candida)
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีอะไรบ้าง?
ปัจจุบันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยอดฮิต 5 โรค ที่พบเจอบ่อยที่สุดที่ Wellmed Bangkok Clinic ไม่ว่าจะเป็นเพศชาย เพศหญิง หรือเพศทางเลือกอื่นๆ ก็คือ
- หนองในแท้
- หนองในเทียม
- ซิฟิลิส
- แผลริมอ่อน
- หูด
อย่างไรก็ตามโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีอยู่หลากหลายโรค โดยจะแบ่งเป็นโรคที่อันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษา โรคที่รักษาไม่หายแต่ควบคุมอาการได้ และโรคที่สามารถรักษาได้
หนองในแท้และหนองในเทียม
โรคหนองใน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อกลุ่มแบคทีเรีย สามารถรักษาให้หายได้ และมีวิธีการรักษาที่ไม่ซับซ้อน
หนองในแท้ เกิดจากเชื้อ Neisseria Gonorrhoeae เมื่อได้รับเชื้อมาจะมีระยะเวลาฝักตัวประมาณ 2-5 วัน
ส่วนหนองในเทียม เกิดจากเชื้อ Chlamydia Trachomatis มีระยะเวลาการฝักตัวนานกว่าหนองในแท้ และมักจะมีอาการน้องกว่าหนองในแท้แต่มักจะเป็นอาการเรื้อรัง
ลักษณะอาการของโรคหนองในจะขึ้นอยู่กับว่าได้รับเชื้อผ่านช่องทางใด ในกรณีที่ได้รับเชื้อทางปากจากการทำออรัลเช็กช์ จะส่งผลทำให้เกิดอาการ เจ็บคอ คอแดง คออักเสบ และต่อมน้ำเหลืองโตได้
โดยทั้งหนองในแท้ และหนองในเทียมนั้น เป็นโรคที่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อมีการติดเชื้อ โดยสังเกตได้จากหนองที่ไหลออกมาจากอวัยวะเพศ
- เพศชายจะมีหนองสีขาว หรืออาจจะมีสีเหลืองอ่อนๆ ไหลออกมาจากท่อปัสสาวะ มีอาการปวด อักเสบ และปัสสาวะแสบขัด
- เพศหญิงจะทำให้ท่อปัสสาวะอักเสบ ปากมดลูกอักเสบ และมีหนองไหลออกมาจากปากมดลูก
- ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จะมีหนอง หรือตกขาวไหลออกมาจากทวารหนัก หรือเจ็บขณะขับถ่ายได้
อย่างไรก็ตาม หนองในบางชนิด สามารถกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นได้ เช่น ดวงตา อาจทำให้เกิดอาการตาแดง แสบตา ส่วนมากมักเป็นอาการจากโรคหนองในแท้
ซิฟิลิส
โรคซิฟิลิส (Syphilis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema Polidum เป็นโรคที่มีความซับซ้อน โดยสามารถแบ่งระยะของโรคได้หลายระยะ สามารถแบ่งคร่าวๆ ได้ ดังนี้
- ระยะเริ่มต้น เมื่อเชื้อซิฟิลิสแพร่เข้าสู่ร่างกาย จะทิ้งรอยแผลลักษณะแข็งๆ เอาไว้ คนไข้หลายคนมักไม่รู้ตัวว่ามีแผลเกิดขึ้นบนร่างกาย เพราะว่าไม่รู้สึกเจ็บ ชื่อที่คนทั่วไปรู้จักจะเรียกว่าแผลริมแข็ง
- ระยะที่สอง เชื้อจะเริ่มกระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกาย แผลลักษณะแข็งๆ ในระยะเริ่มต้นจะหายไป และเริ่มมีเกิดอาการเป็นไข้ มีผื่นขึ้นตามมือ เท้า ต่อมน้ำเหลืองโต บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วย
- ระยะที่สาม หากปล่อยไว้ ไม่ได้เข้ารับการรักษา เชื้อจะเริ่มกระจายไปสู่อวัยวะสำคัญในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะภายในต่างๆ โดยเฉพาะอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท
โรคซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากรักษาตั้งแต่แรก แต่หากปล่อยไว้ยิ่งรักษายาขึ้นตามระยะของโรคจนอาจถึงขั้นรักษาไม่ได้ การตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะทำให้ทราบความเสี่ยงและสามารถรักษาได้ในระยะเริ่มต้น
แผลริมอ่อน
โรคแผลริมอ่อน (Chancroid) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Haemophilus Ducreyi ซึ่งทำให้เกิดแผลเปื่อยบริเวณด้านบนหรือรอบๆ อวัยวะเพศทั้งชายและหญิง เป็นที่มาของชื่อเรียกว่า "แผลริมอ่อน"
โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 4-7 วันหลังจากได้รับเชื้อ แต่อาการอาจแตกต่างกันไปในผู้ชายและผู้หญิง
อาการของโรคแผลริมอ่อนในผู้ชายอาจมีตุ่มสีแดงเล็กๆ ขึ้นบนอวัยวะเพศบริเวณใดบริเวณหนึ่ง รวมถึงองคชาตและถุงอัณฑะ โดยอาจเปลี่ยนเป็นแผลเปื่อยภายใน 1-2 วัน เมื่อเกิดแผล ผู้ป่วยจะรู้สึกแสบร้อนที่แผลมาก
ส่วนอาการของโรคแผลริมอ่อนในผู้หญิงมักจะมีตุ่มสีแดงประมาณ 4 เม็ดหรือมากกว่าบนแคมนอก หรือระหว่างแคมนอก รูทวาร หรือบนต้นขา หลังจากที่ตุ่มกลายมาเป็นแผลเปื่อยหรือแผลเปิด ผู้ป่วยอาจรู้สึกแสบร้อน หรือเจ็บในระหว่างที่ขับปัสสาวะหรืออุจจาระ
โดยโรคแผลริมอ่อนสามารถรักษาให้หายได้หากรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด แต่หากปล่อยแผลทิ้งไว้โดยไม่รักษาอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นถาวรบนอวัยวะเพศชาย และนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนและการติดเชื้อได้
หูดหงอนไก่
หูดหรือหูดหงอนไก่ (Condyloma Acuminata) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) สายพันธุ์ที่ 6 หรือ 11
หากติดเชื้อไวรัส HPV คนส่วนใหญ่ที่เราเห็นว่าสบายดี หรือดูไม่มีอาการผิดปกติ อย่างไรก็ตามหลายคนอาจจะมีเชื้อเริม หรือว่าหูดอยู่ภายในร่างกายโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งเชื้อในปริมาณที่น้อยมากจะถูกภูมิคุ้มกันควบคุมเอาไว้ไม่ให้เพิ่มจำนวนขึ้น แต่ยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้
แม้ว่าหลายคนรู้จักว่า HPV เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก แต่ก็ยังสามารถก่อให้เกิดโรคอื่นๆ ได้ เช่น เริม หรือหูดหงอนไก่ ซึ่งจัดเป็นกลุ่มโรคที่รักษาไม่หายขาด แต่เชื้ออาจจะแฝงตัวอย่างสงบโดยไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย
หูดมีลักษณะเป็นก้อนนิ่ม ชื้น สีชมพู หรือสีเดียวกับผิวหนัง ซึ่งเกิดขึ้นได้ในหลายแบบ ทั้งแบบนูน เรียบ หรือรูปร่างเหมือนดอกกะหล่ำ (หากโตรวมกันเป็นกลุ่ม) หูดเหล่านี้อาจเกิดขึ้นทั่วบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนัก
HIV ไม่ใช่โรคเอดส์
HIV (Human Immunodeficiency Virus) เป็นเชื้อที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคก่อให้อันตรายถึงชีวิตถ้าไม่ได้รับการรักษา โดยที่ HIV จะค่อยๆ ทำลายภูมิคุ้มกันในร่างกาย และทำให้เกิดการติดเชื้ออื่นๆ ได้ง่าย และมีโอกาสเสียชีวิตสูงมาก
หลายคนอาจจะเข้าใจว่า HIV คือ โรคเอดส์ (AIDS) เพียงแค่มีสองชื่อเรียกที่ต่างกัน แต่ในความจริงแล้ว HIV กับ โรคเอดส์ นั้นแยกจากกันอย่างชัดเจน โดย HIV คือชื่อของเชื้อโรคชนิดหนึ่ง ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายไปแล้ว ทางการแพทย์จะเรียกผู้ติดเชื้อว่า “คนไข้ที่มีการติดเชื้อ HIV” ไม่ได้หมายความว่าคนไข้เป็นโรคเอดส์
หากปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษา เมื่อเวลาผ่านไปเชื้อ HIV จะเริ่มแบ่งจำนวนเพิ่มขึ้นและทำลายภูมิคุ้มกันในร่างกายจนเริ่มกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งในภาวะนั้นถึงจะถูกนิยามว่าโรคเอดส์ หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immunodeficiency Syndrome)
ถ้าคนที่ร่างกายอยู่ในภาวะที่เป็นโรคเอดส์แล้วแต่ดูแลตัวเองดี กินยาให้ครบสม่ำเสมอ ก็มีโอกาสสูงมากที่ร่างกายจะมีสุขภาพดีขึ้น เชื้อไวรัสลดลงและไม่มีอุปสรรคในการใช้ชีวิต เพียงแค่ยังมีเชื้อ HIV อยู่ในร่างกายเท่านั้น
ปัจจุบันเชื้อ HIV ยังรักษาไม่ได้ แต่สามารถคุมอาการได้ โดยวิธีคุมอาการของเชื้อ HIV คือ การกินยาต้านไวรัส ถึงแม้ว่าตัวยายังไม่สามารถกำจัดเชื้อออกไปได้หมด 100% แต่ก็สามารถช่วยลดจำนวนเชื้อไวรัสภายในร่างกายลงได้เป็นจำนวนมากถึงในระดับที่ตรวจหาเชื้อในเลือดไม่เจอ แต่ก็อาจมีซ่อนหรือหลงเหลืออยู่ในส่วนอื่นของร่างกายบ้าง
วิธีสังเกตอาการตัวเองว่ามีความผิดปกติเกี่ยวกับโรคทางเพศสัมพันธ์
สำหรับเพศชาย อาการที่เจอส่วนใหญ่คือ ปัสสาวะแสบขัด มีหนองไหลออกมาจากปลายอวัยวะเพศ ในระยะเริ่มต้นอาจจะมีลักษณะเหมือนน้ำสีใส หรือสีขุ่น หลังจากผ่านไประยะ หากไม่ได้รับการรักษาจะทำให้เกิดอาการอื่นๆ ตามมาเช่น ต่อมน้ำเหลืองโต มีไข้ มีแผล และผื่นขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ
สำหรับเพศหญิง อาการที่เจอส่วนใหญ่ก็คือ ปัสสาวะแสบขัด ปวดท้องน้อย ตกขาวมีลักษณะผิดปกติ เช่น สี กลิ่น และปริมาณต่างไปจากเดิม มีแผล หรือผื่นขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโต
ซึ่งในเพศหญิง จะสังเกตอาการยากกว่าเพศชาย เนื่องจากบางอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อาจจะมีลักษณะใกล้เคียงกับอาการที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เคยเจอมาก่อน เช่น อาการปัสสาวะแสบขัด ที่อาจเกิดจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบจากการอั้นปัสสาวะนาน ทำงานหนัก ดื่มน้ำน้อย รักษาความสะอาดได้ไม่ดี
หรืออาการตกขาวผิดปกติ สาเหตุอาจเกิดจากเพียงแค่ร่างกาย หรือเสื้อผ้ามีความอับชื้นจากเหงื่อในปริมาณมาก และไม่ได้รักษาความสะอาด เชื้อราบางชนิดในร่างกายจะเจริญเติบโตส่งผลทำให้เกิดอาการตกขาวผิดปกติได้
สังเกตได้ว่า อาการบางอย่างที่เกิดขึ้นกับเพศหญิง ถึงแม้จะดูคล้ายคลึงกับอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่บางครั้งอาจเป็นแค่ปัญหาด้านสุขอนามัยเพียงเท่านั้น ทางที่ดีหากรู้สึกกังวล หรือไม่มั่นใจ การเลือกปรึกษาแพทย์จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าให้หมั่นสังเกตอาการของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ หากได้รับเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จริงๆ จะได้ตรวจพบ และทำการรักษาอย่างทันท่วงที
สำหรับเพศทางเลือก ให้ลองนึกถึงเรื่องของกายวิภาค เช่น ในกรณีของผู้หญิงข้ามเพศ (Transgender) กายวิภาบางส่วนที่เป็นเรื่องของลักษณะอวัยวะเพศ หรือช่องคลอด หากมีการแปลงเพศแล้ว มีช่องคลอด ก็สามารถสังเกตอาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แบบเดียวกับผู้หญิงได้เลย
ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า หากรับเชื้อเข้าไปที่บริเวณใด ก็จะทำให้เกิดแผลขึ้นมาที่บริเวณนั้น ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศ ไม่ว่าจะเป็นเพศใด ก็มีโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ได้เหมือนกัน
และหากมีอาการที่เกี่ยวข้องกับบริเวณอวัยวะเพศ หรือมีประวัติได้รับความเสี่ยง แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ เพราะว่าโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนใหญ่ หากตรวจพบ และเริ่มทำการรักษาได้เร็ว สามารถรักษาให้หายได้
มีคู่นอนคนเดียว เสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไหม
หลายๆ คนอาจเข้าใจว่าหากไม่ได้เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ก็ไม่นับว่ามีความเสี่ยงที่จะติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
อย่างไรก็ตาม ในทางการแพทย์จะนับความเสี่ยงตั้งแต่การมีกิจกรรมทางเพศ ไม่ว่าจะมีคู่นอนคนเดียว หรือแม้กระทั่งระหว่างสามี ภรรยา ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
เนื่องจากบางโรคอาจไม่แสดงอาการออกมาในทันที เช่น โรคหนองใน ทั้งหนองในแท้ และหนองในเทียม ซึ่งเป็นโรคที่สามารถแสดงอาการออกมาได้อย่างหลากหลาย
ในบางกรณีที่ได้รับเชื้อในปริมาณที่ไม่เยอะมาก มีโอกาสที่เชื้อจะแสดงอาการหลังจากนั้นเป็นเดือน หรือแม้อาจนานเป็นหลักปีเลยก็ได้ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะถูกนับว่าเป็นกลุ่มพาหะที่ยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่คนอื่นได้อยู่ ถึงแม้ตัวเองจะยังไม่มีอาการใดๆ และดูเหมือนว่ามีสุขภาพที่ดี 100% ก็ตาม
ไม่ใช่แค่โรคหนองในเพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงซิฟิลิส เริม หูด ไวรัสตับอักเสบ และเชื้อ HIV ที่พอถึงวันหนึ่งร่างกายอ่อนแอลง เชื้อก็จะเริ่มแข็งแรง และเพิ่มจำนวนขึ้น ส่งผลให้ร่างกายค่อยๆ อ่อนแอ และเสริมสภาพลง หากไม่ได้รับการรักษามีโอกาสอันตรายถึงชีวิตได้
การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สำคัญอย่างไร?
ไม่ว่าร่างกายจะเริ่มมีอาการผิดปกติเพียงเล็กน้อย หรือแสดงอาการออกมาอย่างชัดเจน หรือ ทั้งเพศชาย เพศหญิง หรือเพศทางเลือกอื่นๆ
แนะนำว่าควรรีบเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการที่เป็นอยู่อย่างละเอียดว่าเข้าข่ายอาการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่ แพทย์จะได้เริ่มทำการรักษา แนะนำวิธีการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี
รวมถึงคนอื่นรอบตัว เช่น แฟน หรือคู่นอนว่ามีโอกาสเสี่ยงติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เหมือนกัน ควรรีบตรวจหาเชื้ออย่างละเอียด และทำการรักษาด้วยกันทั้งคู่จะเป็นผลดีที่สุด
กลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?
สามารถแบ่งออกเป็นระดับความเสี่ยงได้ 2 กลุ่มดังนี้
- กลุ่มเสี่ยงน้อย คือ กลุ่มคนทั่วไปที่มีกิจกรรมทางเพศกับคู่นอนเพียงคนเดียว หรือไม่มีการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ อย่างเช่น สามี ภรรยา และมีการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
- กลุ่มเสี่ยงมาก คือ กลุ่มคนที่มีกิจกรรมทางเพศมากกว่าปกติ อย่างเช่น กลุ่ม Sex Worker ที่ต้องทำงานเกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศมากกว่าคนปกติทั่วไป หรือกลุ่มคนที่ใช้สารเสพติดร่วมกัน
ซึ่ง 2 กลุ่มที่แบ่งออกมาในข้างต้นจะเป็นการแบ่งกลุ่มตามรูปแบบของพฤติกรรม ไม่เกี่ยวกับเพศสภาพ หรือรสนิยมทางเพศแต่อย่างใด
แต่หากต้องการจะเจาะจงลงในแต่ละกลุ่มว่าเสี่ยงต่อโรคอะไรบ้าง ทั้งกลุ่มเสี่ยงน้อย และกลุ่มเสี่ยงมาก ก็อาจจะตอบได้แค่ว่าทั้งสองกลุ่มมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อได้เหมือนกันทุกโรค จะแตกต่างเพียงแค่บางพฤติกรรมที่จะมีโอกาสทำให้เสี่ยงติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคได้มากกว่า
เช่น HIV เป็นเชื้อที่มีอยู่ในสารคัดหลั่ง และเลือดเป็นจำนวนมาก พฤติกรรมเสี่ยงที่สุดที่จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อก็คือ การใช้เข็มฉีดยารวมกันในกลุ่มของคนที่ใช้สารเสพติด เนื่องจากเป็นการส่งเชื้อผ่านทางเลือดสู่เลือดโดยตรง
พฤติกรรมที่เสี่ยงรองลงมาก็คือ การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก โดยเฉพาะผู้ที่เป็นฝ่ายรับ เนื่องจากทวารเป็นบริเวณที่เนื้อเยื่อมีความเปราะบาง และไม่มีสารคัดหลั่งตามธรรมชาติ ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณทวารหนักฉีกขาดง่ายกว่าปกติ ส่งผลให้มีโอกาสส่งผ่านเชื้อ HIV ได้สูงกว่าการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องทางอื่น
หรือแม้แต่การมีเพศสัมพันธ์แบบสอดใส่ตามปกติของผู้ชาย และผู้หญิง ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้เหมือนกัน เพียงแต่ว่าผู้หญิงจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่า เนื่องจากว่าเชื้อ HIV มักอยู่ในสารคัดหลั่งในน้ำอสุจิของผู้ชายเป็นจำนวนมาก ในกรณีที่ฝ่ายชายมีเชื้อ HIV อยู่ในตัว
แต่กลับกันหากผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิงที่มีเชื้อ HIV อยู่ในตัว ซึ่งปริมาณเชื้อ HIV ในช่องคลอดของผู้หญิงจะไม่สูงเท่ากับอยู่ในสารคัดหลั่งในน้ำอสุจิของผู้ชาย แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ทุกคน และทุกเพศล้วนมีความเสี่ยง หากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน
และการมีคู่นอนแค่คนเดียว หรือว่าเป็นสามี ภรรยากัน ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีความเสี่ยงในการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เลย
เพราะเราหรือคู่นอนของเราอาจได้รับเชื้อมาก่อนหน้านี้จากคนรักเก่าหรือแฟนเก่า แต่ร่างกายยังไม่แสดงอาการ จึงไม่ได้ทำการตรวจหาโรคอย่างละเอียด ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าเราหรือคู่นอนของเราแอบไปมีคนอื่น หรือมีชู้เสมอไป
ผู้ชาย ผู้หญิง หรือ LGBTQ เพศไหนมีความเสี่ยงมากกว่ากัน?
เรื่องเพศสภาพ ไม่ว่าจะเป็นเกย์ ทอม ดี้ หรือผู้หญิง และผู้ชาย ไม่ได้บ่งบอกว่าจะเป็นความเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มากน้อยแค่ไหน
แต่พฤติกรรมในการมีเพศมีสัมพันธ์นั้นบอกความเสี่ยงได้ เช่น คนที่ชอบการมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักก็จะมีความเสี่ยงต่อโรคได้ง่าย เพราะเนื้อเยื่อบริเวณนั้นบอบบาง แนะนำว่าให้มาตรวจหาโรคเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้ดีที่สุด
วิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีอะไรบ้าง?
วิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สามารถป้องกันได้ดังต่อไปนี้
- การใช้ถุงยางอนามัย สามารถช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้มากถึง 98-99% ไม่ว่าจะเป็น HIV ซิฟิลิส หนองใน เริม หูดหงอนไก่ รวมทั้งช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ด้วย
- การใช้ยา PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) และยา PEP (Post-Exposure Prophylaxis) สามารถป้องกันโรค HIV ได้ประมาณ 99% แต่ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ได้ ดังนั้นการเลือกใช้ยา PREP และ PEP ควรเป็นเพียงแค่ตัวเลือกเพิ่มเติมในการป้องกันการติดเชื้อ และถึงอย่างไรก็ยังควรใช้ถุงยางอนามัยในทุกครั้งที่เพศสัมพันธ์เพื่อความปลอดภัย
- การฝังยาคุม ฉีดยาคุม จะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์เท่านั้น ไม่มีผลต่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ในส่วนของการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพศไม่ใช่ปัจจัยหลัก ทุกคนควรดูแล และป้องกันตัวเอง การเลือกใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการป้องกันตัวเองจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกรณีที่เพิ่งมีความรักครั้งใหม่ หรือเปลี่ยนคู่นอนใหม่ การป้องกันที่ดี ง่าย และมีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือ การใช้ถุงยางอนามัย
การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีกี่วิธี?
ปัจจุบันมีการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มีหลากหลายวิธี มีทั้งวิธีทั่วไป และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เข้ามาช่วยเพื่อให้เราได้ตรวจเจอโรคทางเพศสัมพันธ์ได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งการตรวจโรคก็มีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น
- การตรวจเบื้องต้นโดยทั่วไป มีทั้งการตรวจแบบกล้องจุลทรรค์ และตรวจเลือด
- จุดเด่นตรวจด้วยกล้องจุลทรรศ์ สามารถตรวจหาโรคเริม ฝีมะม่วง ปัสสาวะได้แต่เป็นวิธีการตรวจที่พบเห็นได้ทั่วไป
- จุดเด่นการตรวจด้วยเลือด การตรวจเลือดค้นหาได้แค่เชื้อบางเฉพาะ เช่น เชื้อHIV, ตับอักเสบและซิฟิลิส
- การตรวจแบบ PCR ซึ่งช่วยในการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แม้จะมีปริมาณเชื้อน้อยก็สามารถหาเชื้อได้ ช่วยให้การตรวจแม่นยำ และระบุเชื้อโรคได้ด้วย สะดวกรวดเร็วให้ผลแม่นยำ
อีกทั้งยังระบุที่ที่จะตรวจเชื้อได้ เช่น สามารถตรวจทางคอ อวัยวะเพศ หรือทางปัสสาวะ ก็ได้เช่นกัน ของผู้หญิงสามารถตรวจทางช่องคลอด (Vaginal Swab) ทำได้เองได้ด้วยเช่นกัน
ผู้หญิงควรรอประจำเดือนหมดไหม? ถ้าอยากตรวจด้วยวิธี Swab ช่องคลอด
แนะนำว่าให้หมดรอบเดือนก่อน เพราะเลือดอาจไปทำปฏิกิริยาบางอย่างกับโปรตีนของเชื้อโรค
ทำให้ผลไม่แม่นยำ ยกเว้นถ้าอาการเริ่มเป็นเยอะ ให้ปรึกษาหมอก่อน และคิดเป็นกรณี ๆ ไป
สำหรับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คุณหมอได้ให้คำแนะนำมาว่า ยิ่งตรวจเร็ว ไม่ได้แม่นยำ เพราะเชื้อต้องใช้เวลาในการเพาะเชื้อ จำเป็นต้องรอระยะเวลาการตรวจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รู้ว่าเราเป็นโรคอะไร แต่ถ้ารู้แล้วว่าตนเองเป็นโรคอะไร จำเป็นต้องรักษาให้เร็วที่สุด
ถ้าตรวจพบโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรทำอย่างไร?
สำหรับคนที่พบว่าติดต่อโรคทางเพศสัมพันธ์แล้ว คุณหมอให้คำแนะนำว่าทุกโรคสามารถดูแลได้ และคนไข้ควรได้รับคำปรึกษาจากหมอโดยตรง เพื่อการรักษาที่ถูกวิธี
โดยสามารถแบ่งกลุ่มของคนที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้ดังนี้
- กลุ่มที่สามารถรักษาและโรคหายขาดได้เลย เช่น กลุ่มโรคหนองในแท้ หนองในเทียม ซิฟิลิส แผลริมอ่อน ฝีมะม่วง สามารถรักษาให้หายขาด โดยให้ยาและติดตามอาการเพื่อการดูแลรักษาที่ต่อเนื่องจนหายเป็นปกติ
- กลุ่มที่ไม่สามารถรักษาโรคให้หายขาดได้ สามารถแบ่งย่อยลงไปเป็น 2 กลุ่มได้แก่
- กลุ่มที่ส่งผลเสียต่อร่างกายตนเอง มักเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่ส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น เริม หูด จำเป็นต้องดูแลร่างกายตนเอง และไม่ไปเสี่ยงกับพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดโรคนี้อีกครั้ง
- กลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นพาหะ เช่น HIV และตับอักเสบ จำเป็นต้องกินยารักษาไปตลอดชีวิต และต้องรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ซึ่งโรคนี้หากร่างกายแข็งแรงก็ไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา
เพราะอะไรถึงควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์?
การมีกิจกรรมทางเพศหลากหลายเป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าคุณจะมีรสนิยมแบบไหน หรือชอบอะไร แต่เราจำเป็นต้องรู้ว่าจะทำยังไงให้ปลอดภัย เพื่อมีประโยชน์ต่อตัวคุณเองและคนที่คุณรัก
ดังนั้น ทุกคนควรตรวจหาในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ หรือเมื่อตนเองเข้าข่ายว่าเป็นโรคนี้แล้วจำเป็นต้องรักษาให้ทันท่วงทีเพื่อสุขภาพของตัวผู้ป่วยเอง
สรุปโดยรวมแล้วความถี่ที่ควรมาตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักดังนี้
- กลุ่มเสี่ยงน้อย: ควรตรวจทุก 1-2 ครั้ง/ปี สามารถตรวจพร้อมสุขภาพประจำปีด้วย เช่นกลุ่มคนที่มีกิจกรรมทางเพศทั่วไป มีคู่นอนแค่คนใดคนหนึ่ง หรือคู่สามีภรรยา เป็นต้น
- กลุ่มเสี่ยงเยอะ: แนะนำตรวจทุกๆ 3 เดือน เช่น Sex Worker หรือกลุ่มคนที่ชื่นชอบกิจกรรมทางเพศ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ด้วย
Wellmed Clinic Bangkok ให้การรักษาและดูแลคนไข้อย่างรอบด้าน ทั้งตรวจสุขภาพ ดูแลอาการเจ็บป่วยทั่วไป และที่สำคัญเราดูแลและตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ครอบคลุมสูงถึง 14 ชนิด
ช่วยเช็กโรคติดต่อทางเพศบางชนิดไม่แสดงอาการ สามารถบ่งบอกว่าผู้ตรวจเสี่ยงโรคติดต่อทางเพศ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม หรือไม่ 3 ใช้เวลาตรวจไว แค่ 1 ชม. รู้ผลใน 1 วัน (ผลออกวันถัดไป) สามารถมาฟังผลที่คลินิก นัดฟังทางออนไลน์หรือส่งผลไปที่อีเมลก็ได้
ที่ Wellmed Clinic Bangkok ให้ความเป็นส่วนตัวกับคนไข้ สามารถขอปรึกษาแพทย์แบบไม่ต้องระบุตัวตนคนไข้ได้
สุดท้ายนี้หากว่าใครสนใจ อยากขอคำปรึกษาพูดคุยเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กันแบบเปิดอกและปลอดภัย สามารถทักเข้ามาที่ไลน์ @HDcoth หรือจองโปรแกรมตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 14 ชนิด ที่ Wellmed Bangkok Clinic ได้ที่นี่
เช็กราคาและเลือกซื้อแพ็กเกจโปรแกรมตรวจ STD ที่ Wellmed Bangkok Clinic ในราคาส่วนลดผ่าน HDmall.co.th สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ไลน์ @HDcoth