HDcare สรุปให้
ปิด
ปิด
- โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoids) คือ ภาวะที่เนื้อเยื่อซึ่งทำหน้าที่ช่วยในการขยายและหดตัวของปากทวารหนักเกิดการหย่อนตัวต่ำลงกว่าปกติ จนยื่นหรือโป่งพองออกมาทางทวารหนัก
- วิธีรักษาโรคริดสีดวงทวารแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบไม่ผ่าตัด เช่น การสอดยาทางทวารหนัก การใช้ยางรัดก้อนริดสีดวง และแบบผ่าตัด ซึ่งก็จะมีเครื่องมือให้เลือกใช้หลายแบบ เช่น เครื่องจี้ไฟฟ้า เครื่องตัดเย็บก้อนริดสีดวง
- การผ่าตัดริดสีดวงทวาร อาจใช้วิธีดมยาสลบให้หลับไปตลอดการผ่าตัด หรือใช้วิธีบล็อคหลัง
- หลังจากผ่าตัดริดสีดวงทวาร มีโอกาสกลับมาเป็นโรคนี้ซ้ำอีก หากไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น นั่งขับถ่ายนานๆ ไม่กินอาหารที่มีกากใย
- ควรกินอาหารที่มีกากใย เช่น ผักและผลไม้ให้เพียงพอ เพื่อให้ขับอุจจาระถ่ายได้ง่าย และป้องกันอาการท้องผูกซึ่งอาจทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารได้
- บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก HDcare ศูนย์รวมการผ่าตัดโดยทีมแพทย์ที่มี่ประสบการณ์ จาก HDmall.co.th แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณา
- ดูรายละเอียด การผ่าตัดริดสีดวงทวาร กับ นพ. ธัญวัจน์ ได้ที่ HDcare
สอบถามรายละเอียด ปรึกษาเรื่องการผ่าตัดริดสีดวงทวารที่ไลน์ @HDcare
- ดูรายละเอียด การผ่าตัดริดสีดวงทวาร กับ นพ. ธัญวัจน์ ได้ที่ HDcare
เมื่อพูดถึงโรคที่ทำให้หลายคนเขินอายจนต้องปกปิดเป็นความลับและไม่กล้าบอกใครแม้กระทั่งกับแพทย์ในโรงพยาบาล “โรคริดสีดวงทวารหนัก” ย่อมติดอันดับอยู่ในลิสต์โรคที่น่าอายด้วยอย่างแน่นอน ทั้งๆ ที่โรคนี้เป็นอีกความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน
การผ่าตัดริดสีดวงทวาร นายแพทย์ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล ด้วยบริการจาก HDcare
หลายคนที่เป็นโรคริดสีดวงทวารเดินทางมาพบแพทย์ในช่วงเวลาที่สายเกินไป บางคนถึงขั้นเกิดภาวะช็อคจากอาการเสียเลือดอย่างหนักจนเสี่ยงเสียชีวิตจากโรคริดสีดวงทวารได้ หรือต้องเผชิญกับอาการเจ็บปวดที่ทวารหนักอย่างรุนแรง จนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติอีกต่อไป
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองเป็นโรคริดสีดวงทวาร ถ้าเป็นแล้วต้องลงเอยด้วยการ “ผ่าตัด” เท่านั้นหรือไม่ ถ้าต้องผ่าตัดจะเจ็บมากน้อยแค่ไหน แพทย์จะมีการดูแลผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารอย่างไร
ตอบคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับโรคริดสีดวงทวารหนักพร้อมคำตอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่าง นายแพทย์ธัญวัจน์ ศาสนเกียรติกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดต่อมพาราไทรอยด์และต่อมไร้ท่อ รวมถึงการผ่าตัดริดสีดวงทวาร อ่านประวัติของหมอแมคได้ที่นี่ [อีกมุมของ “หมอแมค” กับการผ่าไทรอยด์ให้แม่และภรรยา]
เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่
- โรคริดสีดวงทวารหนักคืออะไร?
- พฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารหนัก
- วิธีรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก มีอะไรบ้าง?
- โรคริดสีดวงทวารแบบไหนที่ควรผ่าตัด?
- ผ่าตัดริดสีดวงทวารเจ็บไหม ใช้ยาชาหรือดมยาสลบ?
- ผ่าตัดริดสีดวงทวารต้องนอนโรงพยาบาลหรือไม่?
- เป็นโรคริดสีดวงทวารซ้ำได้อีกหรือไม่?
- การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดริดสีดวงทวาร
- การดูแลตนเองหลังผ่าตัดริดสีดวงทวาร
- ผ่าตัดริดสีดวงทวารกับ นพ. ธัญวัจน์ ด้วยบริการ HDcare
- บทความที่แนะนำ
โรคริดสีดวงทวารหนักคืออะไร?
โรคริดสีดวงทวารหนัก (Hemorrhoids) คือ ภาวะที่เนื้อเยื่อหมอนรอง (Anal Cushion) ซึ่งทำหน้าที่ช่วยในการขยายและหดตัวของปากทวารหนักเกิดการหย่อนตัวต่ำลงกว่าปกติ จนทำให้เนื้อเยื่อดังกล่าวยื่นหรือโป่งพองออกมาทางทวารหนัก และไม่สามารถหดตัวกลับเข้าไปด้านในทวารหนักได้เอง
สาเหตุหลักของโรคริดสีดวงทวารมักมาจากแรงดันในช่องท้องหรือช่องปอดที่มากจนทำให้หลอดเลือดใต้เนื้อเยื่อหมอนรองพองตัวขึ้นและยื่นออกมา สามารถแบ่งระยะของโรคได้ทั้งหมด 4 ระยะ ได้แก่
ริดสีดวงทวารระยะที่ 1
ริดสีดวงทวารระยะที่ 1 เป็นริดสีดวงที่ยังไม่พบก้อนริดสีดวงยื่นออกมาจากทวารหนักระหว่างถ่ายอุจจาระ แต่จะมีเลือดออกทางทวารหนัก แต่ยังไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด
ริดสีดวงทวารระยะที่ 2
ริดสีดวงทวารระยะที่ 2 เป็นระยะที่พบก้อนริดสีดวงยื่นออกมาระหว่างถ่ายอุจจาระ แต่ยังสามารถหดกลับเข้าไปได้เองหลังถ่ายอุจจาระเสร็จ
ริดสีดวงทวารระยะที่ 3
ริดสีดวงทวารระยะที่ 3 จะพบก้อนริดสีดวงยื่นออกมาระหว่างถ่ายอุจจาระ แต่หลังจากถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วจะไม่สามารถหดกลับเข้าไปได้เอง ต้องใช้นิ้วดันเข้าไป
ริดสีดวงทวารระยะที่ 4
ริดสีดวงทวารระยะที่ 4 เป็นระยะที่ก้อนริดสีดวงยื่นออกมาระหว่างถ่ายอุจจาระหรือในระหว่างใช้ชีวิตตามปกติด้วย และไม่สามารถใช้นิ้วดันกลับเข้าไปได้
นายแพทย์ธัญวัจน์กล่าวว่า ความน่ากลัวของโรคริดสีดวงทวารจะอยู่ที่ตัวโรคที่ดูเหมือนจะไม่ได้อันตรายร้ายแรงอะไร แต่ความจริงแล้วก็มีกรณีที่รุนแรงและเสี่ยงต่อชีวิตได้เช่นกัน
โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหา “ริดสีดวงแตก” ซึ่งเป็นภาวะที่ก้อนริดสีดวงโป่งพองมากจนแตกออก ทำให้มีเลือดไหลออกเป็นปริมาณมาก และอาจมากในระดับที่ทำให้ผู้ป่วยช็อคจนเสียชีวิตได้
พฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารหนัก
โรคริดสีดวงทวารหนักมักเกิดในผู้ที่มีพฤติกรรมชอบนั่งขับถ่ายนานๆ ชอบเล่นโทรศัพท์ในระหว่างขับถ่ายจนลืมเวลา หรือมักออกแรงเบ่งอุจจาระแรงๆ มีอาการท้องผูกบ่อยๆ
พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลทำให้เกิดแรงดันในช่องท้องมากไปจนถึงตรงเนื้อเยื่อรอบรูทวารหนัก และทำให้เกิดเป็นก้อนริดสีดวงที่ยื่นออกมานั่นเอง
วิธีรักษาโรคริดสีดวงทวารหนัก มีอะไรบ้าง?
รูปแบบของการรักษาโรคริดสีดวงทวารจะขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่เกิดขึ้น ซึ่งก็จะแบ่งออกได้ 2 รูปแบบการรักษาได้แก่
- รักษาริดสีดวงทวารแบบไม่ผ่าตัด มักใช้ในผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวารระยะเริ่มต้นหรือไม่ได้มีเลือดออกมากนัก โดยอาจใช้เป็นการสอดยาทางทวารหนัก ทำให้ก้อนริดสีดวงหยุดอักเสบ หรือใช้เป็นยางรัดก้อนริดสีดวง ทำให้ไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงก้อนริดสีดวงจนมีขนาดเล็กลงและฝ่อจนหลุดไปพร้อมกับอุจจาระ
- รักษาริดสีดวงทวารแบบผ่าตัด มักใช้ในกรณีผู้ป่วยมีก้อนริดสีดวงค่อนข้างใหญ่ หรือหดกลับเข้าไปในทวารหนักเองไม่ได้ ในกรณีนี้แพทย์จะใช้วิธีการผ่าตัดเข้าไปตัดก้อนริดสีดวงทวารออก ซึ่งก็จะมีเครื่องมือให้เลือกใช้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะโรคของคนไข้แต่ละราย เช่น เครื่องจี้ไฟฟ้า เครื่องตัดเย็บก้อนริดสีดวง
โรคริดสีดวงทวารแบบไหนที่ควรผ่าตัด?
แพทย์จะพิจารณาเลือกวิธีรักษาเป็นการผ่าตัดผ่านการตรวจดูความรุนแรงของโรคริดสีดวงทวารหนัก
หากผู้ป่วยอยู่ในระยะที่ก้อนริดสีดวงทวารไม่สามารถหดกลับเข้าไปในทวารหนักได้ หรือมีเลือดออกมาก มีอาการเจ็บปวดจากก้อนริดสีดวงทวารอย่างรุนแรง หรือรักษาด้วยวิธีอื่นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ก็จะเลือกใช้วิธีรักษาด้วยการผ่าตัด
ทำไมถึงควรเลือกปรึกษาหมอและผ่าตัดกับ HDcare:
ปิด
ปิด
- เลือกปรึกษาคุณหมอที่มีประสบการณ์ได้หลายคน หลายครั้ง ทั้งแบบออนไลน์และที่ รพ. จนคุณมั่นใจ
- เช็กความคุ้มครอง พร้อมให้คำแนะนำเรื่องประกันสุขภาพ หรือจะเลือกผ่อน 0% ก็ได้ ให้คุณได้รีบรักษาให้สบายใจ
- เลือกผ่าตัดได้ที่ รพ. หลายแห่งทั่วกรุงเทพ อุ่นใจมีพยาบาลผู้ช่วยจาก HDcare ดูแลคุณในวันผ่าตัดถึงที่ รพ.
- ดูรายการผ่าตัดทั้งหมดจาก HDcare ได้ที่นี่
ผ่าตัดริดสีดวงทวารเจ็บไหม? ใช้ยาชาหรือดมยาสลบ?
ทางเลือกในการทำให้ผู้ป่วยไร้ความรู้สึกระหว่างการผ่าตัดริดสีดวงทวารจะแบ่งออกได้ 3 แนวทาง ได้แก่ ฉีดยาชา บล็อคหลัง และดมยาสลบ
โดยส่วนมากหากผู้ป่วยไม่อยากให้เกิดความรู้สึกเจ็บเลย แพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีดมยาสลบให้หลับไปตลอดการผ่าตัด หรือใช้วิธีบล็อคหลังแทน เนื่องจากวิธีการฉีดยาชายังทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บอยู่ได้บ้าง
ผ่าตัดริดสีดวงทวารต้องนอนโรงพยาบาลหรือไม่?
หลังจากผ่าตัดริดสีดวงทวาร แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 1-2 วัน หลังจากนั้นหากไม่มีอาการแทรกซ้อนที่น่าเป็นห่วง ก็จะให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 3-4 วัน หลังจากนั้นก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
เป็นโรคริดสีดวงทวารซ้ำได้อีกหรือไม่?
สามารถเป็นซ้ำอีกได้ ตราบใดที่ผู้ป่วยยังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวาร เช่น นั่งขับถ่ายนานๆ ไม่กินอาหารที่มีกากใย
นายแพทย์ธัญวัจน์ได้เสริมอีกว่า ผู้ที่เคยผ่าตัดริดสีดวงทวารไปแล้ว และต้องกลับมาผ่าตัดซ้ำ มีแนวโน้มที่การผ่าตัดครั้งถัดไปจะมีความซับซ้อนขึ้นกว่าครั้งแรก
เนื่องจากแพทย์อาจตรวจพบเนื้อเยื่อพังผืดจากแผลผ่าตัดครั้งก่อนหน้านั้น และทำให้ต้องเลือกวิธีผ่าตัดที่สามารถลดการตีบแคบของทวารหนักที่เกิดจากเนื้อเยื่อพังผืดจากแผลผ่าตัดด้วย
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดริดสีดวงทวาร
ผู้ที่ต้องเข้าผ่าตัดริดสีดวงทวารไม่จำเป็นต้องเตรียมสุขภาพเป็นพิเศษ โดยมีรายการสิ่งที่ต้องทำเพียง 3 รายการเท่านั้น ได้แก่
- ตรวจร่างกายให้แน่ใจว่าสุขภาพแข็งแรง
- แจ้งยาประจำตัวเพื่อให้แพทย์ตรวจเช็กรายการยาที่ต้องดก่อนผ่าตัด เช่น ยาละลายลิ่มเลือด
- สวนรูทวารให้สะอาดตามคำแนะนำของแพทย์ก่อนผ่าตัด เพื่อไม่ให้มีอุจจาระค้างอยู่ในทวารหนักก่อนผ่าตัด
การดูแลตนเองหลังผ่าตัดริดสีดวงทวาร
หลังจากผ่าตัดริดสีดวงทวารแล้ว ผู้ป่วยจะต้องดูแลทำความสะอาดแผลผ่าตัดให้สะอาด ต้องกินอาหารที่มีกากใยอย่างเช่น ผักและผลไม้ให้เพียงพอ เพื่อให้ขับอุจจาระถ่ายได้ง่าย และป้องกันอาการท้องผูกซึ่งอาจทำให้เกิดโรคริดสีดวงทวารซ้ำอีกได้
นอกจากนี้แพทย์ยังมักจะแนะนำให้ผู้ป่วยที่เพิ่งผ่านการผ่าตัดนั่งแช่ก้นกับน้ำหลังขับถ่ายอุจจาระสักพัก เพื่อไม่ให้มีเศษอุจจาระไปติดตรงแถวแผลผ่าตัดจนหมักหมมและทำให้เกิดการติดเชื้อในภายหลังได้
ผ่าตัดริดสีดวงทวารกับนายแพทย์ธัญวัจน์ ด้วยบริการ HDcare
คนในครอบครัวอยู่ต่างจังหวัด ไม่มีญาติมาเฝ้าไข้ สะดวกมาโรงพยาบาลคนเดียวมากกว่า แต่ก็อยากได้ผู้ช่วยสักคนมาคอยประสานงานเรื่องการผ่าตัดให้ ความต้องการนี้เป็นจริงได้ด้วยบริการผ่าตัด HDcare
HDcare เป็นบริการผ่าตัดรักษาโรคพร้อมผู้ช่วยส่วนตัวที่จะอยู่เคียงข้างคุณตั้งแต่ก่อนผ่าตัดไปจนถึงกระทั่งเดินทางกลับไปพักฟื้นที่บ้าน เรียกได้ว่าเป็นการดูแลตั้งแต่ต้นจนจบ
บริการ HDCare เป็นบริการสำหรับผู้ที่ต้องผ่าตัดในโรงพยาบาล แต่ต้องการความรวดเร็วในการประสานงานกับแผนกต่างๆ ของโรงพยาบาลโดยไม่ต้องลงมือเอง
เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกให้ญาติหรือคนสนิทมาเฝ้าไข้ แต่อยากได้คนที่มีความเข้าใจในระบบการรักษาโรคอยู่เป็นเพื่อนในช่วงของการผ่าตัดด้วย
ขั้นตอนการรับบริการ HDcare ทั้งง่ายและคุ้มค่า และยังไม่ต้องจ่ายค่าบริการใดๆ จนกว่าแพทย์จะยืนยันว่าคุณจำเป็นต้องรักษาโรคด้วยการผ่าตัดจริงๆ
สามารถแอดไลน์ @HDcare เพื่อสอบถามกับผู้ช่วยส่วนตัวก่อนได้ฟรี หรือจะทำนัดปรึกษาแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดเพื่อขอคำแนะนำโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
หากแพทย์ประเมินว่าไม่จำเป็นต้องผ่าตัด ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่หากแพทย์เล็งเห็นว่าควรผ่าตัด HDcare จะดูแลทุกขั้นตอนจนการผ่าตัดครั้งนั้นสำเร็จได้ด้วยดี
ทีมแพทย์ผู้ทำการผ่าตัดในบริการ HDcare เป็นแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดรักษาโรคที่มีประสบการณ์มาอย่างยาวนาน ผู้ที่ต้องเข้าผ่าตัดกับ HDcare สามารถคลิกดูประวัติการรักษาของแพทย์ทุกท่านผ่านทางหน้าเว็บไซต์บริการ HDcare ได้เช่นกัน
ทำไมถึงควรเลือกปรึกษาหมอและผ่าตัดกับ HDcare:
ปิด
ปิด
- เลือกปรึกษาคุณหมอที่มีประสบการณ์ได้หลายคน หลายครั้ง ทั้งแบบออนไลน์และที่ รพ. จนคุณมั่นใจ
- เช็กความคุ้มครอง พร้อมให้คำแนะนำเรื่องประกันสุขภาพ หรือจะเลือกผ่อน 0% ก็ได้ ให้คุณได้รีบรักษาให้สบายใจ
- เลือกผ่าตัดได้ที่ รพ. หลายแห่งทั่วกรุงเทพ อุ่นใจมีพยาบาลผู้ช่วยจาก HDcare ดูแลคุณในวันผ่าตัดถึงที่ รพ.
- ดูรายการผ่าตัดทั้งหมดจาก HDcare ได้ที่นี่
เลือกบริการผ่าตัดกับ HDcare เพื่อเพิ่มตัวเลือกแห่งความสะดวกสบายและความรวดเร็วให้กับคุณ ด้วยการดูแลจากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ หรือหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบริการ HDcare แอดไลน์สอบถามข้อมูลได้ทันทีที่ไลน์ไอดี @HDcare