เจาะลึกทุกขั้นตอน ฝากไข่ แช่แข็งไข่ โดยแพทย์เฉพาะทาง


HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การฝากไข่ หรือการแช่แข็งไข่คือการนำความเย็นมาทำให้เซลล์ไข่หยุดการเจริญเติบโต ไม่ว่าจะเป็นด้านพลังงานหรือด้านเคมีต่าง ๆ เพื่อหยุดเซลล์ไว้ให้คงสภาพแบบนั้น โดยความเย็นจะช่วยให้เซลล์คงสภาพ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาต่อไป
  • สามารถฝากไข่ได้ตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก โดยยิ่งแช่แข็งไข่ตั้งแต่อายุน้อยๆ เท่าไร ก็มีโอกาสที่จะได้ไข่คุณภาพดี และมีปริมาณมากกว่าช่วงอายุที่เริ่มมากกว่าสามสิบห้าปีขึ้นไป ซึ่งก็จะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูงกว่า
  • ปกติโอกาสในการมีลูกที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ 1 คน จะใช้ไข่ 10-15 ใบ
  • ในระหว่างเก็บไข่ ผู้เข้ารับบริการจะได้รับการดมยาสลบจากแพทย์ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บขณะที่ทำการเก็บไข่ และจะฟื้นเมื่อการเก็บไข่เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว
  • เมื่อเราพร้อมมีลูกในอนาคต ไข่ที่แช่แข็งเก็บไว้ จะถูกนำมาเข้าสู่กระบวนการละลายไข่ เพื่อนำไปผสมกับอสุจิ ตัวอ่อนที่ได้จะถูกเลี้ยงในห้องปฏิบัติการต่อไปอีก 5-6 วันเพื่อให้ตัวอ่อนได้พัฒนาไปเป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ จากนั้นแพทย์จะทำการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อให้ตัวอ่อนเติบโตเป็นทารกต่อไป เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ
  • บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDinsight ได้รับการสปอนเซอร์จาก โรงพยาบาลเจตนิน แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อขายแพ็กเกจดังกล่าว
    • ดูแพ็กเกจทั้งหมดจาก Jetanin Hospital บน HDmall.co.th
    • สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth

สารบัญเนื้อหา


การตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่มากแล้วหรือมีสภาพร่างกายที่ไม่พร้อม อาจทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลง หรือส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ โดยอาจมีโรคหรือความผิดปกติแทรกซ้อน เช่น โรคดาวน์ซินโดรม ครรภ์เป็นพิษ หรือพัฒนาการช้า การฝากไข่ และแช่แข็งไข่จึงเป็นเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ที่ช่วยให้ผู้หญิงทุกคนมีลูกน้อยที่ร่างกายสมบูรณ์พร้อม

ผู้หญิงหลายคนอาจกังวลว่า จะต้องรีบมีลูกก่อนอายุ 35 ปี เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ ในการตั้งครรภ์ แต่ด้วยเทคโนโลยีเจริญพันธุ์ในปัจจุบัน ช่วยพัฒนาให้เกิดการแช่แข็งไข่ หรือ Egg Freezing ที่จะหยุดอายุของไข่เอาไว้ในวันที่เก็บ และสามารถละลายออกมาเพื่อใช้ผสมกับอสุจิของฝ่ายชายได้ในภายหลัง

ในประเทศไทยมีศูนย์รักษาผู้ที่มีบุตรหลายแห่งที่ให้บริการแช่แข็งไข่ โดยโรงพยาบาลเจตนินเป็นศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาเป็นเวลานานกว่ายี่สิบห้าปี และเป็นผู้หยิบยื่นโอกาสในการอุ้มชูลูกน้อยที่มีสภาพร่างกายแข็งแรงให้กับหลายครอบครัวมาแล้วนับไม่ถ้วน

HDmall.co.th ร่วมกับ โรงพยาบาลเจตนิน โดย พญ. สิริสุข อุ่ยตระกูล แพทย์เฉพาะทางด้านสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา เวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ที่จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการฝากไข่ การแช่แข็งไข่แบบเจาะลึกทุกประเด็นให้ทุกคนได้เข้าใจว่าการแช่แข็งไข่คืออะไร มีข้อดีและกระบวนการต่างๆ อย่างไรบ้าง?

การฝากไข่ แช่แข็งไข่คืออะไร?

การฝากไข่ การแช่แข็งไข่ (Egg Freezing) คือ กระบวนการหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์ไข่ในร่างกายผู้หญิง ผ่านการแช่แข็งด้วยความเย็น เพื่อคงสภาพความสมบูรณ์ของไข่เอาไว้ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนามากไปกว่าเดิม

ทำไมต้องฝากไข่ แช่แข็งไข่?

การแช่แข็งไข่เปรียบเสมือนการซื้อประกัน หมายถึงว่า เราเลือกที่จะฝากไข่ไว้ตั้งแต่วันที่เราอายุยังน้อย ไข่ยังมีคุณภาพดีอยู่ และหากเราต้องการมีลูกในอนาคต เราก็จะอุ่นใจได้ว่า เรามีไข่คุณภาพดีที่เราเก็บไว้ ที่จะสามารถนำมาใช้มีลูกที่สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ได้

อย่างไรก็ตาม ด้วยค่านิยมในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป รวมถึงหน้าที่การงานและภาระต่างๆ ที่ยังไม่พร้อม จึงทำให้ผู้หญิงหลายคนมีลูกช้าลงกว่าเดิม และยังรวมถึงผู้หญิงที่มีโรคประจำตัวบางอย่างซึ่งทำให้แผนการมีลูกต้องเลื่อนออกไปก่อน เช่น โรคมะเร็ง โรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์

จนเมื่อถึงวันที่ผู้หญิงเหล่านั้นพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ เซลล์ไข่ในร่างกายกลับเสื่อมตัวหรือมีคุณภาพด้อยลง ทำให้โอกาสปฏิสนธิกับอสุจิลดลง และโอกาสการตั้งครรภ์ลดลงได้

ด้วยเหตุนี้ในหลายๆ ครอบครัวจึงตัดสินใจที่จะแช่แข็งไข่ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อให้ไข่ที่มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดไม่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นการแช่แข็งไว้ในห้องปฏิบัติการที่มีการดูแลอย่างดี เพื่อรอคอยวันที่คู่สามีภรรยาพร้อมที่จะมีลูกมากที่สุด แล้วค่อยกลับมาใช้ไข่ที่เก็บแช่เอาไว้ ในการผสมกับเซลล์อสุจิจนเกิดเป็นลูกน้อยต่อไป

การแช่แข็งไข่มีกี่วิธี?

การแช่แข็งไข่แบ่งเป็น 2 วิธีหลักๆ ได้แก่

  • การแช่แข็งแบบผลึกแก้ว (Vitrification) เป็นขั้นตอนการแช่แข็งไข่ผ่านการลดอุณหภูมิของเซลล์ไข่อย่างรวดเร็ว เพื่อลดโอกาสเกิดผลึกน้ำแข็งที่เซลล์ไข่ซึ่งสามารถทำให้ไข่เสียหายได้
  • การแช่แข็งแบบ Slow-freezing เป็นขั้นตอนการแช่แข็งไข่ผ่านการลดอุณหภูมิลงอย่างช้าๆ เพื่อให้เซลล์ไข่ค่อยๆ ปรับสภาพอุณหภูมิตนเองที่เหมาะกับการแช่แข็งมากที่สุด

การฝากไข่ แช่แข็งไข่ทำให้ไข่อยู่ได้นานแค่ไหน?

เงื่อนไขด้านระยะเวลาในการแช่แข็งไข่จะแตกต่างกันไปตามศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากแต่ละแห่ง แต่สำหรับที่เจตนิน เคยมีรายงานการนำไข่ที่แช่แข็งไว้นานถึง 10 ปีมาทำเด็กหลอดแก้วได้สำเร็จ จนคลอดออกมาเป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์

และเพราะว่ายังไม่เคยมีการรายงานว่ามีการใช้ไข่แช่แข็งที่นานขนาดนี้มาก่อน ตอนแรกทุกคนก็อาจจะมีความกังวลเล็กน้อยว่าจะสำเร็จหรือไม่ แต่เพราะที่เจตนิน มีระบบงานที่มีคุณภาพตั้งแต่ต้นกระบวนการก็คือการเก็บไข่มาแช่แข็ง ไปจนถึงการนำไข่ออกมาละลาย นำไข่ที่ละลายมาใช้ทำเด็กหลอดแก้ว เลยทำให้ทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี จนตอนนี้เด็กน้อยคนนั้นก็เติบโตเป็นเด็กอายุสองขวบที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคแทรกซ้อนใด ๆ เกิดขึ้นเลยด้วย

ควรฝากไข่ แช่แข็งไข่กี่ใบ จึงจะช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ที่สมบูรณ์ได้มากที่สุด?

คุณควรฝากไข่ แช่แข็งไข่ประมาณ 10-15 ใบ เพื่อโอกาสในการตั้งครรภ์ และมีลูกน้อยที่สุขภาพแข็งแรง

แพทย์มีวิธีตรวจดูความสมบูรณ์ของไข่อย่างไร?

จากลักษณะภายนอกของไข่ อาจจะบอกไม่ได้ทั้งหมดว่าไข่สมบูรณ์หรือไม่ แต่จะต้องดูหลังจากที่นำไข่ไปปฏิสนธิกับอสุจิว่า มีอัตราปฎิสนธิแล้วได้เป็นตัวอ่อนจำนวนเท่าไหร่ แต่การตรวจดูสภาพความสมบูรณ์ของไข่จากลักษณะภายนอกเบื้องต้น อาจดูได้จากเซลล์พี่เลี้ยงไข่ ความหยาบของเซลล์ภายในไข่ ระดับฮอร์โมนก่อนเริ่มกระบวนการเก็บไข่ ซึ่งจะต้องมีการตรวจและวางแผนการแช่แข็งไข่กับแพทย์อย่างละเอียดอีกครั้ง

สามารถมาฝากไข่ได้ตั้งแต่อายุเท่าไร?

คุณสามารถฝากไข่ได้ตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก โดยยิ่งฝากไข่ แช่แข็งไข่ตั้งแต่อายุน้อยๆ เท่าไร ก็มีโอกาสที่จะได้ไข่คุณภาพดี และมีปริมาณมากกว่าช่วงอายุที่เริ่มมากกว่าสามสิบห้าปีขึ้นไป ซึ่งก็จะทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูงกว่า ทั้งนี้ ควรต้องพิจารณาจากช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วยว่า ฝากไข่ช่วงอายุเท่าไหร่ที่เราจะมีโอกาสได้นำไข่กลับมาใช้เพื่อมีลูกในอนาคตจริงๆ

ใครเหมาะกับการฝากไข่ แช่แข็งไข่?

กลุ่มผู้ที่ควรฝากไข่ แช่แข็งไข่จะสามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

  • กลุ่มผู้ที่ต้องฝากไข่ แช่แข็งไข่ด้วยเหตุผลทางการแพทย์ หรือมีโรคประจำตัวต่างๆ ที่อาจทำให้รังไข่เสื่อมหรือถูกทำลาย เช่น โรคมะเร็งที่ต้องได้รับการรักษาบริเวณอุ้งเชิงกราน โรคแพ้ภูมิตนเอง โรคไขข้ออักเสบบางชนิด ผู้ที่เคยผ่าตัดเกี่ยวกับซีสต์ (Cyst) ที่รังไข่ หรือช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst)
  • กลุ่มผู้ที่วางแผนจะมีลูกในอนาคต แต่ในตอนนี้ยังไม่พร้อมหรือที่เราเรียกว่า Social Egg Freezing อาจด้วยภาระต่างๆ หน้าที่การงาน หรือการศึกษา ชีวิตส่วนตัว ในกลุ่มนี้จึงอยากมาฝากไข่ แช่แข็งไข่เก็บไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน

การเตรียมตัวก่อนฝากไข่ แช่แข็งไข่ มีอะไรบ้าง?

ผู้เข้ารับบริการจะต้องเตรียมตัวล่วงหน้าประมาณ 1-2 เดือนก่อนเก็บไข่ เพราะไข่แต่ละชุดในร่างกายผู้หญิงจะใช้เวลาประมาณ 120 วันในการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ สิ่งที่ต้องทำหลักๆ ได้แก่

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและพักผ่อนให้เพียงพอทุกคืน
  • รับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงกรดโฟลิค (Folic Acid)
  • งดการสัมผัสสารเคมี สารพิษต่างๆ ที่อาจทำให้คุณภาพไข่แย่ลง
  • ลดการดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ

ขั้นตอนการฝากไข่ แช่แข็งไข่มีอะไรบ้าง?

ขั้นตอนการฝากไข่ แช่แข็งไข่โดยหลักๆ จะเป็นการร่วมมือกันระหว่างแพทย์และผู้เข้ารับบริการในการผ่านกระบวนการขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้ไข่ที่เก็บไปมีความสมบูรณ์และได้จำนวนมากที่สุด นอกจากนี้ยังรวมถึงสุขภาพของผู้เข้ารับบริการหญิงที่มาฝากไข่ซึ่งจะยังต้องแข็งแรงพร้อมทั้งก่อนและหลังฝากด้วย ได้แก่

  1. ตรวจประเมินร่างกาย ตรวจระดับฮอร์โมน และตรวจอัลตราซาวด์ทางหน้าท้องหรือทางช่องคลอด เพื่อประเมินว่ามีจำนวนไข่ที่จะสามารถเก็บได้กี่ใบ
  2. หากตรวจแล้วพบว่า ไข่มีปริมาณเหมาะสมดี แพทย์จะเริ่มให้ฉีดยากระตุ้นไข่ในวันที่ 2-3 ของรอบประจำเดือน
  3. ผู้เข้ารับบริการฉีดยากระตุ้นไข่ติดต่อกัน 9-12 วัน เพื่อให้ได้จำนวนไข่และขนาดไข่ที่เหมาะสม
  4. เมื่อจำนวนและขนาดของไข่เหมาะสม แพทย์จะฉีดยาให้ไข่ตก และจะนัดให้เข้ามาเก็บไข่หลังจากฉีดยาให้ไข่ตกไปแล้วประมาณ 36 ชั่วโมง

หลายคนอาจสงสัยว่า ในระหว่างเก็บไข่จะรู้สึกเจ็บหรือไม่? คำตอบ คือ จะเจ็บในระดับที่ทนได้ไปจนถึงไม่เจ็บเลย เพราะในระหว่างเก็บไข่ ผู้เข้ารับบริการจะได้รับการดมยาสลบจากแพทย์ก่อน และจะฟื้นเมื่อการเก็บไข่เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้แพทย์ยังจะให้ผู้เข้ารับบริการนอนพักเพื่อดูอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นประมาณ 2 ชั่วโมงหลังจากฟื้นด้วย หากไม่มีอาการผิดปกติอะไรก็จะให้กลับบ้านได้เลย ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลต่อ

การดูแลตนเองหลังจากฝากไข่ แช่แข็งไข่

หลังจากฝากไข่ แช่แข็งไข่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เข้ารับบริการอาจมีอาการปวดท้องน้อยประมาณ 1-2 วัน อาการจะรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนไข่ที่เก็บ

หากเก็บไข่ได้หลายใบ ก็อาจปวดท้องน้อยร่วมกับมีอาการอื่นๆ อีกด้วย เช่น

  • กินอาหารได้น้อยลง
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ท้องอืด

อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นหลังจากประจำเดือนมาในรอบถัดไป และแพทย์จะจ่ายยาฆ่าเชื้อให้กลับไปกินเพื่อป้องกันเกิดภาวะติดเชื้อหลังเก็บไข่ประมาณ 3-5 วัน

เมื่อฝากไข่ แช่แข็งไข่แล้ว จะกลับไปตรวจความสมบูรณ์ของไข่อีกครั้งหรือไม่?

เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการฝากไข่ เก็บไข่เสร็จเรียบร้อยแล้ว นักวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการจะประเมินว่า ไข่ที่เก็บจากร่างกายผู้เข้ารับบริการเป็นไข่อ่อนหรือไข่ที่สมบูรณ์

หากเป็นไข่ที่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการผสมกับเซลล์อสุจิได้ทันที ก็จะนำไปแช่แข็งในแทงค์ได้เลยและไม่ต้องนำกลับมาตรวจดูอีก กระบวนการทุกอย่างจะเป็นไปอย่างระมัดระวังและดำเนินการโดยนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

เนื่องจากเซลล์ไข่เป็นเซลล์ที่เปราะบางมาก การนำเข้า-ออกจากแทงค์แช่แข็งจึงจะส่งผลต่อความสมบูรณ์แข็งแรงของไข่ได้

หลังจากแช่แข็งไข่ไปแล้ว เมื่อพร้อมมีลูกต้องทำยังไง?

เมื่อผู้เข้ารับบริการพร้อมที่จะมีตั้งครรภ์และต้องการใช้ไข่ที่แช่แข็งไว้ในการผสมกับเซลล์อสุจิเพื่อให้ได้เป็นตัวอ่อน กระบวนการถัดมาก็จะเป็นการทำเด็กหลอดแก้ว หรือเรียกได้อีกชื่อว่า การทำ IVF (In-vitro Fertilization)” หรือ “ทำอิ๊กซี่ (ICSI: Intracytoplasmic Sperm Injection)” นั่นเอง

สิ่งแรกที่ผู้เข้ารับบริการต้องเตรียมมาคือ เอกสารสำคัญตามข้อกฎหมายไทยเกี่ยวกับการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งจะต้องมีทะเบียนสมรสเสียก่อน เมื่อผ่านขั้นตอนการทำเอกสารเสร็จเรียบร้อย เจ้าหน้าที่จะนำไข่ที่ถูกแช่แข็งไว้มาละลายเพื่อเข้าสู่กระบวนการเด็กหลอดแก้วต่อไป

หลังจากที่ละลายไข่เสร็จเรียบร้อย ก็สามารถนำไข่ไปผสมกับเซลล์อสุจิได้ทันที แล้วเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการต่อไปอีกประมาณ 5-6 วัน จนได้เป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสต์ จากนั้นก็ย้ายกลับเข้าโพรงมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อให้ตั้งครรภ์

ฝ่ายชาย ควรมีการเตรียมตัวเบื้องต้นอย่างไร?

เนื่องจากขั้นตอนการฝากไข่ แช่แช็งไข่จะเกิดขึ้นกับร่างกายฝ่ายหญิงเป็นหลัก ฝ่ายชายซึ่งต้องเป็นผู้ให้เซลล์อสุจิในการผสมกับไข่ก็ควรมารับการตรวจวิเคราะห์คุณภาพและปริมาณของเชื้ออสุจิด้วย เพื่อให้แพทย์ประเมินว่า คู่ของคุณจะเหมาะกับวิธีการรักษาแบบไหนมากที่สุด

ทำไมต้องมาฝากไข่ แช่แข็งไข่ ที่ โรงพยาบาลเจตนิน

โรงพยาบาลเจตนินมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะศูนย์รักษาผู้มีบุตรยากที่มีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากโดยเฉพาะ และมีทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการรักษาภาวะมีบุตรยากอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น

  • ด้านการเลี้ยงตัวอ่อน และการแช่แข็งเซลล์สืบพันธุ์
  • ด้านการตรวจวิเคราะห์อสุจิ
  • ด้านการตรวจคัดกรองพันธุกรรมและโครโมโซมตัวอ่อน

ดังนั้นคุณจึงเชื่อมั่นได้เลยว่า ในทุกขั้นตอนของบริการทุกส่วนจากเจตนินจะเป็นเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางคอยดูแลอยู่ตลอดเวลา เพื่อผลลัพธ์ในการรักษาภาวะมีบุตรยากที่สูงมากขึ้นตามที่คุณฝันเอาไว้

อีกทั้งระดับความมั่นคงและความน่าเชื่อถือของโรงพยาบาลเจตนินจัดว่าสูงและปลอดภัยที่สุด หมดห่วงได้เลยหากคุณกำลังกังวลว่า อาจเกิดเหตุการณ์ศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยากที่ฝากไข่ไว้ปิดตัวลง และไข่ที่ฝากไว้ก็จะหายไปหรือเสื่อมคุณภาพ นำกลับมาใช้งานไม่ได้อีก

หรืออีกปัญหาหนึ่ง คือ แช่แข็งไข่ไว้หลายใบ แต่พอพร้อมจะมีลูก ไข่ที่แช่แข็งไว้กลับมีคุณภาพแย่ลง ไม่สามารถนำมาผสมกับเซลล์อสุจิได้ตามที่ต้องการ ซึ่งคุณไม่ต้องห่วงเกี่ยวกับความกังวลเหล่านี้ หากมารับบริการแช่แข็งไข่ที่เจตนิน

เพราะโรงพยาบาลเจตนินมีการเล็งเห็นความสำคัญของการฝากไข่ แช่แข็งไข่แบบระยะยาวและแบบมีคุณภาพในผู้เข้ารับบริการหลายคน รวมถึงเข้าใจในความคาดหวังในการตามหาสถานที่ฝากไข่ แช่แข็งไข่ให้ปลอดภัย สามารถนำไข่กลับมาใช้งานอย่างเต็มประสิทธิภาพสมบูรณ์ แม้แช่แข็งมานานแล้วถึงสิบปีก็ตาม

และอีกสิ่งที่โรงพยาบาลเจตนินมีความภาคภูมิใจอย่างมากก็คือ ห้องปฏิบัติการต่างๆ สำหรับรักษาภาวะมีบุตรยากที่ได้รับการรับรองทั้งจากในประเทศและจากผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศ

ดังนั้นการแช่แช็งไข่กับโรงพยาบาลเจตนินจึงไม่ต่างจากการนำเซลล์ไข่ของคุณไปให้ทีมแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเก็บรักษาไข่คอยดูแลตลอดระยะเวลา จนกว่าจะถึงวันที่คุณพร้อมที่จะเพิ่มสมาชิกใหม่อีกคนเข้ามาในครอบครัว

ข้อมูล Jetanin Hospital

ขยาย

ปิด

  • วันเวลาทำการ: วันจันทร์-อาทิตย์ (ทุกวัน) 08.00-18.00 น.
  • วิธีการเดินทาง: BTS สถานีชิดลม ทางออก 3 ลงจากสถานีจะพบการไฟฟ้านครหลวงทางซ้ายมือ จากนั้นเดินย้อนไปประมาณ 50 เมตรเพื่อข้ามทางม้าลายไปยังเซ็นทรัลชิดลม เดินตรงผ่าน ซ. ชิดลม มุ่งหน้า ถ. เพชรบุรีตัดใหม่ เดินไปประมาณ 250 เมตร จะพบโรงพยาบาลเจตนินอยู่ทางขวา
  • วิธีการเดินทาง: เดินทางโดยรถยนต์ ได้ใช้ ถ. เพชรบุรีตัดใหม่ แล้วเลี้ยวซ้าย เข้า ซ. ชิดลม ตรงไป 100 เมตร จะพบโรงพยาบาลเจตนินอยู่ทางซ้ายมือ
  • สถานที่ตั้ง: ที่อยู่ 5 ซอยชิดลม ถ. เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 ดูแผนที่
  • ดูแพ็กเกจจาก Jetanin Hospital ได้ที่นี่

บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat