HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัยมากมาย และหนึ่งในปัจจัยเหล่านั้นก็คือ โรคอัลไซเมอร์ จนมีอาการแสดงเป็นความทรงจำและความคิดของผู้ป่วยที่มีคุณภาพแย่ลง
- อาการแสดงของโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ ทำให้ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยถดถอยลง นอกจากนี้ยังเสี่ยงเกิดอันตรายต่อชีวิตได้
- ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ได้มากที่สุด คือ กลุ่มผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดอักเสบ
- การรักษาโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์อาจรักษาให้หายขาดอย่างถาวรได้ยาก โดยทั่วไปแพทย์ร่วมกับนักกิจกรรมบำบัด และนักกายภาพบำบัดจะเน้นรักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้น
- การดูแลให้สุขภาพสมองแข็งแรงและไม่อ่อนล้าจนเกินไป สามารถช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ได้ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงปัจจัยทำให้เกิดความเครียด
- บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก Bangkok Anti-Aging Center แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจ #HDinsight
- ดูโปรแกรมทั้งหมดจาก BAAC บน HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่
- สมองเสื่อมกับอัลไซเมอร์ต่างกันอย่างไร?
- อาการของโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์?
- ผลกระทบจากโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์
- ใครเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์บ้าง?
- การรักษาโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์
- โรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์รักษาให้หายขาดได้หรือไม่?
- วิธีป้องกันโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์
- ฟื้นฟูสุขภาพสมองและความจำ ที่ Bangkok Anti-Aging Center
- บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
เคยเป็นกันหรือไม่? กำลังจะลงมือทำอะไรสักอย่างแล้วกลับลืม หรือจู่ๆ ก็จำเหตุการณ์บางอย่างที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้ นี่อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณกำลังเผชิญกับโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับระบบสมองที่ผู้คนยุคปัจจุบันกำลังตกเป็นกลุ่มเสี่ยงกันถ้วนหน้า ไม่เว้นแม้แต่คนอายุน้อยหรือผู้สูงอายุ
HDmall.co.th ร่วมกับ Bangkok Anti-Aging Center หรือ BAAC โดยนายแพทย์ณัฐพล สุวรรณ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน เวชศาสตร์ชะลอวัยและการฟื้นฟูสุขภาพ มาร่วมเจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อม อาการของทั้ง 2 โรคนี้เป็นอย่างไร? เราจะป้องกันโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร?
สมองเสื่อมกับอัลไซเมอร์ต่างกันอย่างไร?
หลายคนมักเข้าใจว่าสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์เป็นโรคเดียวกัน ซึ่งความจริงแล้วทั้ง 2 โรคนี้มีความคล้ายคลึงกันอยู่ก็จริง แต่ก็มีความแตกต่างเล็กๆ ที่ช่วยให้สามารถแยกแยะ 2 โรคนี้ออกจากกันได้อยู่
โดยโรคสมองเสื่อม (Demantia) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของสมองซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย มีอาการแสดงเป็นความทรงจำและความคิดของผู้ป่วยที่มีคุณภาพแย่ลง จนส่งผลกระทบต่อกิจวัตรการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น
- จดจำชื่อคนหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้
- หลงลืมการวางแผนการทำกิจกรรม หรือสิ่งที่กำลังจะลงมือทำในไม่ช้า
- พูดซ้ำๆ ถามซ้ำๆ วกวน เนื่องจากจำไม่ได้ว่าเคยพูดประโยคหรือคำเหล่านี้ไปแล้ว
- แยกแยะทิศทางไม่ได้ จำทางกลับบ้านหรือสถานที่ที่กำลังจะเดินทางไปไม่ได้
ในขณะที่โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer's disease) จัดเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับความทรงจำ และนำไปสู่การเกิดโรคสมองเสื่อมหลังจากนั้น โดยอาจมีสาเหตุมาจากความเสื่อมของสมอง หรือโรคประจำตัวอื่นๆ ที่ทำให้ผู้ป่วยมีความทรงจำแย่ลง และอาจรุนแรงถึงขั้นช่วยเหลือตนเองไม่ได้เลย
สรุปได้ง่ายๆ ว่า โรคสมองเสื่อมเป็นโรคที่สามารถเกิดได้จากหลายปัจจัยมากมาย และหนึ่งในปัจจัยเหล่านั้นก็คือ โรคอัลไซเมอร์นั่นเอง
อาการของโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์?
เนื่องจากทั้งโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อระบบความทรงจำของผู้ป่วยทั้งคู่ อาการแสดงที่สังเกตได้จึงคล้ายคลึงกัน และส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก โดยที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่
- แยกแยะทิศทางไม่ได้ มีโอกาสหลงทางในระหว่างเดินทางอยู่ข้างนอก หรือหาทางกลับบ้านไม่ได้
- อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า หรือฉุนเฉียวง่ายกว่าปกติ
- จดจำบุคคลสำคัญในชีวิตไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว หรือเพื่อนสนิท
- ไม่รู้ว่าต้องเข้าห้องน้ำเมื่อปวดปัสสาวะหรือปวดอุจจาระ ทำให้ผู้ป่วยบางรายปัสสาวะราดหรืออุจจาระราด
- หลงลืมแผนการในชีวิตที่กำลังจะลงมือทำ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
- พูดจาวกวนหรือพูดไม่รู้เรื่อง ลำดับประโยคที่ต้องการสื่อสารไม่ได้
- ไม่ใส่ใจสุขอนามัยของร่างกาย เช่น ไม่ยอมอาบน้ำ ไม่แปรงฟัน หรืออาจทำกิจวัตรเหล่านี้ไม่เป็นอีก
ผลกระทบจากโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์
จากอาการแสดงของโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ ทำให้ความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยถดถอยลง หลายคนไม่สามารถทำงานประจำที่เคยทำอยู่ได้อีกและอาจต้องลาออก
นอกจากนี้ยังเสี่ยงเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ เช่น รถชน ตกบันได ถูกขโมยของหรือปล้นทรัพย์ เนื่องจากผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะไม่รู้ว่าตนเองอยู่ที่ไหน กำลังจะไปไหน และแยกแยะสิ่งที่ต้องทำต่อจากนั้นไม่ได้
ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์หลายรายยังมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคติดต่อหรือติดเชื้อกับร่างกายได้ ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการดูแลสุขอนามัยของร่างกายที่ลดต่ำลง
และอีกกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคสมองเสื่อมกับโรคอัลไซเมอร์ก็คือ ญาติหรือคนสนิทของผู้ป่วย
เนื่องจากผู้ป่วยหลายรายไม่สามารถดูแลตนเองได้ จึงต้องพึ่งพาคนสนิทหรือคนในครอบครัวในการช่วยพยุงดูแลให้ผู้ป่วยยังคงดำเนินชีวิตประจำวันต่อไปได้อย่างปลอดภัย ซึ่งจัดเป็นภาระที่หนักหนาอยู่ไม่น้อย เช่น
- พาเข้าห้องน้ำทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน
- เตรียมเสื้อผ้าและแต่งตัวให้ผู้ป่วย
- เตรียมอาหารการกินทั้ง 3 มื้อ รวมถึงยาประจำตัวผู้ป่วย
- กล่อมให้ผู้ป่วยนอนหลับ
- พาผู้ป่วยไปพบแพทย์ตามนัดหมายสำคัญ รวมถึงพาไปทำธุระต่างๆ
จากตัวอย่างการดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์เหล่านี้ จะเห็นได้ชัดว่าผู้ดูแลต้องทุ่มเททั้งกายและใจ รวมถึงเวลาชีวิตแทบทั้งหมดในการอยู่กับผู้ป่วย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความเครียด ซึมเศร้า รวมถึงความอ่อนล้าทางกายและจิตใจจนทำให้ร่างกายเสื่อมตัวเร็วขึ้นกว่าเดิมได้ หรือเกิดเป็นอาการเจ็บป่วยต่างๆ ตามมาทีหลัง
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์พำนักอยู่ในบ้านมักใช้วิธีจ้างพยาบาลหรือผู้ดูแลพิเศษมาดูแลผู้ป่วยแทน เพื่อป้องกันไม่ให้ทั้ง 2 โรคนี้ก่อผลกระทบลุกลามไปถึงชีวิตของผู้ที่อยู่รอบข้างผู้ป่วยด้วย
ใครเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์บ้าง?
กลุ่มผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ได้มากที่สุด คือ ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่อายุ 45-60 ปีขึ้นไป มักมีแนวโน้มจะเริ่มเกิดโรคสมองเสื่องและโรคอัลไซเมอร์ได้
นอกจากนี้ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด ก็ยังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกิดโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ในภายหลังได้เช่นกัน เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดอักเสบ
กลุ่มคนที่อายุยังน้อยตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยทำงานมีความเสี่ยงเกิดโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่ผู้คนนิยมการนอนดึกมากกว่าเข้านอนเร็ว ซึ่งทำให้สมองเกิดความอ่อนล้าได้ง่าย และนำไปสู่การเกิดความเสื่อมตัวของสมองเร็วกว่าวัยอันควร
การรักษาโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์
การรักษาโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์มีอยู่หลายวิธี และอาจใช้หลายวิธีร่วมกันในผู้ป่วยคนเดียวเพื่อยกระดับความถดถอยของสมรรถภาพความทรงจำผู้ป่วยให้กลับมาทำงานได้ดีขึ้นมากที่สุด เช่น การกินยา การทำกิจกรรมบำบัด การทำกายภาพบำบัด
โรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์รักษาให้หายขาดได้หรือไม่?
การรักษาโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์รักษาให้หายขาดอย่างถาวรได้ยาก โดยทั่วไปแพทย์จะร่วมกับนักกิจกรรมบำบัดและนักกายภาพบำบัด โดยเน้นการรักษาไปตามอาการที่เกิดขึ้น เพื่อประคองให้ผู้ป่วยยังสามารถมีชีวิตและช่วยเหลือตนเองได้อยู่
วิธีป้องกันโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์
อย่างไรก็ตาม การรักษาโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ที่ดีที่สุดคือการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น ด้วยการดูแลสุขภาพสมองให้แข็งแรงและไม่อ่อนล้าจนเกินไป ก็จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ได้ โดยสามารถทำได้ง่ายๆ ดังนี้
- พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรนอนดึก
- หลีกเลี่ยงปัจจัยทำให้เกิดความเครียด
- หากิจกรรมเพื่อเพิ่มความผ่อนคลายให้กับสุขภาพใจบ้าง
- หากมีปัญหาด้านจิตใจ ควรหาที่ปรึกษาเพื่อหาทางออกหรือลองพบจิตแพทย์เพื่อขอแนวทางรับมือ
ฟื้นฟูสุขภาพสมองและความจำ ที่ Bangkok Anti-Aging Center
ที่ Bangkok Anti-Aging Center หรือ BAAC มีแพ็กเกจฟื้นฟูสุขภาพสมองเพื่อป้องกันโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมในอนาคต ผ่านการวิเคราะห์แนวทางการฟื้นฟูโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย เพื่อให้ผู้เข้ารับบริการได้รับการฟื้นฟูสุขภาพในส่วนของระบบสมองและความทรงจำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
Bangkok Anti-Aging Center ยังจัดเตรียมแพ็กเกจดริปวิตามิน NAD+ หรือการดริปวิตามินสูตรอนุพันธ์วิตามินบีสาม ซึ่งเป็นวิตามินสำคัญที่มีบทบาทกระตุ้นสร้างสื่อประสาทสมองให้หลั่งออกมาได้อย่างเต็มที่ ทำให้ระบบความคิดและความทรงจำต่างๆ รวมถึงความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย การนอนหลับพักผ่อนมีคุณภาพมากขึ้น
และยังมีแพ็กเกจดริปวิตามินสูตร Brain Booster เพิ่มการไหลเวียนของเลือดเพื่อไปเลี้ยงสมองโดยเฉพาะ ทำให้สมองได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วนมากขึ้น สามารถทำงานตอบสนองต่อความต้องการของผู้เข้ารับบริการได้รวดเร็วกว่าเดิม
หรือหากต้องการตรวจเช็กการทำงานของสมอง เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการฟื้นฟูสุขภาพสมองต่อไป ทาง Bangkok Anti-Aging Center มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพ รวมถึงตรวจประเมินความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ซึ่งสามารถนำไปสู่การเกิดโรคสมองเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์ได้เช่นกัน ซึ่งหลังจากผลการตรวจออกมาแล้ว ผู้เข้ารับบริการจะได้รับคำแนะนำในการดูแลและฟื้นฟูสมองจากแพทย์ด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยโดยตรง
รับบริการฟื้นฟูสุขภาพสมองแบบเฉพาะบุคคลอย่างปลอดภัย มีแพทย์เป็นผู้ออกแบบแผนการฟื้นฟูให้ เพื่อคืนความสดชื่นและความแข็งแรงให้กับระบบความคิดและความจำของคุณ ผ่านบริการเพื่อสุขภาพจาก Bangkok Anti-Aging Center หรือซื้อแพ็กเกจได้ที่เว็บไซต์ HDmall.co.th