เลือกฟันปลอมให้ถูกใจ เพราะต้องใส่ระยะยาว


ฟันปลอมถอดได้คืออะไร? มีแบบไหนบ้าง? รวมเรื่องควรรู้ของฟันปลอมแบบถอดได้

HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • ฟันปลอมแบบถอดได้แบ่งได้เป็น 2 แบบหลักๆ คือฟันปลอมบางส่วน (เป็นซี่) และฟันปลอมแบบทั้งปาก
  • วัสดุที่ควรคำนึงถึงคือ โครงหรือฐานของฟันปลอมมีทั้งแบบทำจากโลหะที่คงทน แบบทำจากพลาสติกที่อายุการใช้งานสั้นราคาถูก และแบบยืดหยุ่นที่ปรับได้ตามการเคลื่อนไหวของปากเล็กน้อย
  • แต่ละแบบมีราคาที่แตกต่างกันออกไป เช็กราคาก่อนตัดสินใจซื้อได้ที่นี่ แตะเลย
  • สอบถามแอดมินเพิ่มเติม หรือให้แอดมินหาโปรดีๆ สถานที่ใกล้ๆ ทักไลน์ได้เลย แตะ

หากเกิดอุบัติเหตุหรือมีเหตุจำเป็นจนต้องสูญเสียฟันแท้ออกไป ทันตแพทย์หลายคนจะแนะนำให้สวมฟันปลอม ซึ่งมีตั้งแต่ฟันปลอมแบบติดแน่น เช่น ครอบฟัน สะพานฟัน ไปจนถึงฟันปลอมแบบถอดได้ที่หลายคนคุ้นหน้าคุ้นตาดี

ฟันปลอมแบบถอดได้ สามารถช่วยให้คุณเคี้ยวอาหาร ช่วยคงรูปหน้า การออกเสียงให้ดีขึ้นกว่าตอนที่ไม่มีฟันแท้อยู่มาก

ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกเฉพาะฟันปลอมแบบถอดได้ในหลายแง่มุม ทั้งความหมาย ประเภท ขั้นตอนการทำ และข้อควรระวังต่างๆ


เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

ขยาย

ปิด


ฟันปลอมแบบถอดได้คืออะไร?

ฟันปลอมแบบถอดได้ (Denture) เป็นฟันที่ถูกสร้างขึ้นมาทดแทนแฟนแท้ที่สูญเสียหรือนำออกไป โดยมีรูปร่างคล้ายฟันแท้ตามธรรมชาติที่สูญเสียไป สีฟันและเหงือกใกล้เคียงกับบริเวณรอบข้าง

ฟันปลอมแบบถอดได้แบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ ฟันปลอมบางส่วน และฟันปลอมทั้งปาก โดยทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาร่วมกับผู้รับบริการว่าทางเลือกแบบไหนเหมาะสมมากที่สุด

ทำฟันปลอม ราคา

ฟันปลอมถอดได้มีกี่แบบ

ฟันปลอมแบบถอดได้จะมีอยู่ 2 แบบหลักๆ ดังนี้

  • ฟันปลอมบางส่วน (Partial dentures) เป็นฟันปลอมที่ใช้สำหรับคนที่ฟันหลุดร่วงเป็นบางซี่ และยังมีฟันที่แข็งแรงเหลืออยู่ด้วย เช่น เกิดอุบัติเหตุ ฟันผุจนต้องถอน ลักษณะฟันจะเป็นซี่ฟันสวมเข้าไปติดเหงือกเอาไว้ สามารถถอดมาทำความสะอาดได้ แต่อาจพบปัญหาสีฟันปลอมไม่เสมอกับฟันแท้ได้

  • ฟันปลอมทั้งปาก (Full dentures) ใช้สำหรับกรณีคนที่ประสบปัญหาทางการแพทย์บางอย่าง เช่น ติดเชื้อ โรคปริทันต์อักเสบ หรืออุบัติเหตุ จนฟันหลุดร่วงทั้งหมด ลักษณะฟันก็จะเป็นโครงฟันเสมือนจริงติดเข้ากับเหงือกเช่นกัน

จะเห็นได้ว่า คนที่มีปัญหาทันตกรรมบางชนิดก็สามารถใส่ฟันปลอมได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษากับทันตแพทย์เสียก่อน เพื่อให้ได้ฟันปลอมที่เหมาะกับคุณมากที่สุด

วัสดุที่ใช้ทำฐานหรือโครงฟันปลอม

เวลาเสิร์ชหาข้อมูลเกี่ยวกับฟันปลอม คุณอาจพบคำว่า "ฐาน" หรือ "โครง" ที่มักทำจากพลาสติกหรือโลหะ ฐาน หรือ โครง ในฟันปลอมแบบถอดได้ก็คือสิ่งเดียวกัน หมายถึงส่วนที่จะเมื่อสวมหรือครอบไปแล้วแนบสนิทกับเหงือกของเรานั่นเอง

  • ฟันปลอมโครงโลหะ จุดเด่นของฟันปลอมแบบโครงเหล็กก็คืออายุการใช้งานที่ยาวนาน หากดูแลรักษาดีอาจอยู่ได้นานถึง 15 ปี มีความคงทนสูง ดูแลรักษาง่าย และยังออกแบบให้บาง แนบสนิทกับเหงือก ช่วยให้ใส่สบายกว่าฟันปลอมแบบโครงอะคริลิคหรือพลาสติก แต่ราคาแพงกว่าเช่นกัน

  • ฟันปลอมโครงพลาสติกหรืออะคริลิก อะคริลิกเป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่มีความหนาแน่นต่ำ มีข้อดีคือน้ำหนักเบา ราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับฟันปลอมโครงโลหะและโครงยืดหยุ่น ข้อเสียคือแตกหักค่อนข้างง่าย มองเห็นที่ยึดฟันชัดเจน และอาจเปลี่ยนสีได้เมื่อใช้ไปนานๆ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นฟันปลอมชั่วคราว อายุการใช้งานอยู่ที่ 6 เดือนถึง 1 ปี

  • ฟันปลอมโครงยืดหยุ่น ฐานหรือโครงของฟันปลอมประเภทนี้จะเป็นพลาสติกที่ยืดหยุ่นได้ตามการเคลื่อนไหวของปาก เช่น เทอร์โมพลาสติกเรซิ่น (Thermoplastic resin) เทอร์โมพลาสติกไนลอน (Thermoplastic nylon) เป็นต้น ไม่แข็งเหมือนแบบโลหะทำให้ผู้ใส่ไม่ค่อยรู้สึกเจ็บ ข้อดีคือโครงแบบยืดหยุ่นนี้จะมีความโปร่งแสง ทำให้สีดูกลมกลืนกับเหงือกของผู้ใส่มากขึ้น อายุการใช้งานยาว 5-8 ปี 

ขั้นตอนการทำฟันปลอมแบบถอดได้

ฟันปลอมแบบถอดได้อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ ไปจนถึงหลายเดือน ขึ้นอยู่กับแต่ละสถานที่ให้บริการ โดยมีขั้นตอนหลักๆ ดังต่อไปนี้

  • ทันตแพทย์จะพิจารณาร่วมกับคุณว่าฟันปลอมแบบไหนเหมาะกับคุณมากที่สุด
  • จากนั้นจะทำการพิมพ์ช่องปาก เพื่อดูขากรรไกร พื้นที่ และวิเคราะห์การเคลื่อนไหวต่างๆ
  • ทันตแพทย์จะทำการสร้างแบบฟันปลอมถอดได้ เพื่อให้คุณทดลองใส่ดูว่าตำแหน่งและรูปร่างพอดีไหม
  • หากไม่พอดี ทันตแพทย์จะทำการปรับรูปร่าง รวมถึงเลือกสีที่เข้ากับฟันซี่อื่นๆ จนกว่าจะเป็นที่น่าพอใจ

ขั้นตอนดังกล่าว อาจมีความแตกต่างกันออกไปตามเงื่อนไขของแต่ละคน และความชำนาญของผู้ให้บริการ จึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์เป็นสำคัญ

ฟันปลอม ราคา

ใส่ฟันฟันปลอมถอดได้รู้สึกยังไง?

ผู้ที่สวมฟันปลอมแบบถอดได้ใหม่อาจรู้สึกไม่ชินหรือรู้สึกว่าฟันปลอมหลวมในสัปดาห์แรกๆ ไปจนกว่ากล้ามเนื้อบริเวณแก้มและลิ้นจะเรียนรู้วิธีอยู่ร่วมกับฟันปลอมใหม่ ทั้งขณะสวมอยู่และขณะถอดออก

นอกจากนี้ยังอาจรู้สึกระคายเคืองหรือเจ็บเล็กน้อย รวมถึงอาจมีน้ำลายเพิ่มมากขึ้นในระยะแรก แต่อาการต่างๆ จะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อคุณเริ่มเกิดความคุ้นชิน

ใส่ฟันปลอมแบบถอดได้แล้วกินอาหารยากไหม?

การกินอาหารขณะใส่ฟันปลอมถอดได้ใหม่ๆ อาจรู้สึกไม่สะดวกหรือไม่คุ้นชินในสัปดาห์แรกๆ คำแนะนำเบื้องต้นคืออาจเลือกกินอาหารอ่อนๆ หรือหั่นอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยวอาหารช้าลง แต่พยายามฝึกเคี้ยวอาหารทั้ง 2 ข้างเพื่อให้เกิดความคุ้นชิน

เมื่อเริ่มปรับตัวกับฟันปลอมถอดได้อันใหม่ จึงค่อยๆ เพิ่มชนิดอาหารขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะครบตามวิถีชีวิตประจำวันปกติของคุณ

ฟันปลอมถอดได้จะทำให้การพูดเปลี่ยนไปไหม?

คุณอาจออกเสียงคำบางคำได้ยากกว่าเดิมในช่วงแรก วิธีฝึกฝนเบื้องต้นคือพยายามพูดคำที่รู้สึกว่ายากออกมาให้ดังกว่าเดิมขณะสวมฟันปลอมแบบถอดได้ จะช่วยให้สามารถพูดคำเหล่านั้นได้ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

ราคาฟันปลอมถอดได้แบบต่างๆ

HDmall ได้ทำการรวบรวมราคาโดยประมาณจากคลินิกและโรงพยาบาลมาฝากกัน โดยปัจจัยของราคาขึ้นอยู่กับทั้งสถานที่ จำนวนซี่ฟัน และค่าบริการอื่นๆ ดังนี้

  • ฟันปลอมโครงโลหะ
    • แบบบางส่วน ราคาอยู่ที่ประมาณ 6,000-12,000 บาท
    • แบบทั้งปาก ราคาอยู่ที่ประมาณ 20,000-35,000 บาท
  • ฟันปลอมโครงพลาสติกหรืออะคริลิก
    • แบบบางส่วน ราคาอยู่ที่ประมาณ 1,500-4,000 บาท
    • แบบทั้งปาก ราคาอยู่ที่ประมาณ 20,000-30,000 บาท
  • ฟันปลอมยืดหยุ่น ราคาอยู่ที่ประมาณ 7,000-13,000 บาท และอาจมีการเพิ่มค่าใช้จ่ายตามจำนวนฟันปลอม ตั้งแต่ซี่ละ 400-600 บาท 

หากใครตัดสินใจได้แล้วว่าอยากใส่ฟันปลอมแบบไหน หรือต้องการดูข้อมูลอย่างละเอียด พร้อมเปรียบเทียบราคาทำฟันปลอมของโรงพยาบาลและคลินิกใกล้บ้าน สามารถดูแพ็กเกจทำฟันปลอมได้ที่ HDmall ถ้าต้องการทำฟันปลอมแบบถาวร ก็มีแพ็กเกจทำรากฟันเทียมครอบฟัน สะพานฟัน ให้เลือก ต้องการคนช่วยแนะนำ แอดไลน์ทักมาได้เลยที่ @hdcoth แอดมินตอบไวใจดีพร้อมให้บริการคุณทุกวันตั้งแต่เก้าโมงเช้าถึงตีหนึ่ง


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มารู้จักประเภทของฟันเทียม, (http://www.dentistry.tu.ac.th/Dentistry/Page%20Knowledge/Text/25-3-57_1.pdf).
  • ทพญ. วรรณดี พลานุภาพ, ฟันปลอม (ตอนที่ 1), (https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=97), 6 ตุลาคม 2553.
  • อ. ทพญ. ธารี จำปีรัตน์, มารู้จักฟันเทียมกันเถอะ, (https://dt.mahidol.ac.th/th/มารู้จักฟันเทียมกัน/).
  • Cleveland Clinic, Dentures, (https://my.clevelandclinic.org/health/articles/10900-dentures), 13 January 2020.

@‌hdcoth line chat