ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หาความเสี่ยงโรคร้ายที่อวัยวะหัวใจ


การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

หากร่างกายปราศจากหัวใจที่แข็งแรง เราทุกคนก็อาจมีชีวิตอยู่ได้ไม่ยืนยาว การตรวจสมรรถภาพหัวใจจึงเป็นอีกสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในรายการตรวจสุขภาพประจำปีของคนทุกเพศทุกวัย

ในบทความนี้ HDmall.co.th จะมาเจาะลึกข้อมูลที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ซึ่งเป็นอีกกระบวนการตรวจอวัยวะหัวใจที่จำเป็น เพื่อเป็นคู่มือให้กับผู้ที่สนใจอยากตรวจสมรรถภาพอวัยวะสำคัญของร่างกาย


เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

ขยาย

ปิด


ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ คืออะไร?

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography: EKG) หรือที่หลายคนมักเรียกสั้นๆ ว่า “ตรวจ ECG” หรือ “ตรวจ EKG” คือ การตรวจเช็กสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ ผ่านการตรวจจับคลื่นกระแสไฟฟ้าที่ผ่านเข้าออกอยู่ภายในหัวใจของเรา จัดเป็นการตรวจสุขภาพหัวใจแบบเริ่มต้นที่ใช้เวลาไม่นาน แต่สามารถคัดกรองความผิดปกติและโรคต่างๆ ได้ค่อนข้างครอบคลุม

โดยข้อมูลเกี่ยวกับหัวใจที่เราจะรู้ได้จากการตรวจ EKG จะได้แก่

  • อัตราการเต้นของหัวใจ
  • ขนาดกล้ามเนื้อหัวใจ
  • คลื่นหัวใจที่อาจบ่งบอกถึงรอยโรคบางอย่าง
  • คลื่นกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจ

ข้อมูลเหล่านี้จะสามารถนำทางไปสู่การวินิจฉัยหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่เกิดกับอวัยวะหัวใจและระบบไหลเวียนเลือดได้

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจราคาประหยัด

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจเพื่ออะไร?

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นการตรวจคัดกรองความผิดปกติเกี่ยวข้องกับหัวใจกับระบบไหลเวียนเลือด เช่น

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อหัวใจ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายหนาตัวผิดปกติ โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบตัน
  • ภาวะหรือโรคเกี่ยวกับสารเกลือแร่ในหลอดเลือด เช่น ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป ภาวะแคลเซียมในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป

ใครควรตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

กลุ่มผู้ที่มีเงื่อนไขด้านสุขภาพซึ่งควรรับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเพื่อหาข้อมูลในการดูแลสุขภาพเพิ่มเติม ได้แก่

  • ผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป เนื่องจากเป็นกลุ่มช่วงอายุที่เริ่มเสี่ยงเกิดโรคหรือความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือระบบไหลเวียนเลือดมาก่อน
  • ผู้ที่มีพฤติกรรมหรือปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่ บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ เป็นโรคเบาหวาน หรือภาวะอ้วน
  • ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ข้อดีของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นกระบวนการตรวจที่ง่ายมาก โดยจะเป็นเพียงการติดอุปกรณ์สื่อรับกระแสไฟฟ้าภายในหัวใจที่ตำแหน่งสำคัญของร่างกายประมาณ 10 จุด จากนั้นผู้เข้ารับบริการนอนอยู่ทำตัวสบายๆ ให้เครื่องตรวจสแกนคลื่นไฟฟ้าที่หัวใจประมาณ 5-10 นาที ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน

ข้อเสียของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจยังมีข้อจำกัดอยู่ที่ไม่สามารถให้ข้อมูลความผิดปกติในส่วนของลิ้นหัวใจและหลอดเลือดหัวใจได้ อีกทั้งอาจพบผลตรวจลวงได้ในบางกรณี โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจบางชนิดอยู่แล้ว

หากไม่มั่นใจในผลตรวจส่วนนี้ ผู้เข้ารับบริการก็อาจต้องรับบริการตรวจหัวใจแบบอื่นๆ เพิ่มเติมอีก เพื่อหาความผิดปกติของหัวใจในเชิงลึกมากขึ้น เช่น การตรวจหัวใจด้วยคลื่นความถี่สูง หรือการตรวจ ECHO การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการวิ่งสายพานหรือการตรวจ EST

การเตรียมตัวก่อนตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ก่อนเข้ารับบริการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผู้เข้ารับบริการไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใดๆ ล่วงหน้า ไม่ต้องงดน้ำ งดอาหาร เพียงทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ไม่ตื่นเต้นในระหว่างรับบริการตรวจก็พอ

ขั้นตอนการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

กระบวนการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะใช้เวลาแทบไม่เกิน 10 นาทีก็เสร็จเรียบร้อย โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ผู้เข้ารับบริการเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดสำหรับตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยปกติจะคล้ายกับเสื้อคลุมอาบน้ำที่สามารถเปิดผ่าหน้าเพื่อติดตั้งอุปกรณ์บนผิวหนังได้
  2. เจ้าหน้าที่หรือพยาบาลติดตั้งอุปกรณ์สื่อรับกระแสไฟฟ้าตามตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย เช่น หน้าอก แขน ขา ข้อมือ ข้อเท้า หากผู้เข้ารับบริการมีขนตามตำแหน่งที่ต้องติดอุปกรณ์ค่อนข้างเยอะ เช่น ขนหน้าอก ขนแขน ทางสถานพยาบาลอาจพิจารณาขอโกนขนบริเวณนั้นออกก่อนติดตั้งอุปกรณ์
  3. ผู้เข้ารับบริการนอนนิ่งๆ เพื่อให้เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจวัดค่าสื่อกระแสไฟฟ้าที่หัวใจออกมา
  4. หลังจากเครื่องวัดคลื่นกระแสไฟฟ้าเสร็จแล้ว เจ้าหน้าที่หรือพยาบาลจะถอดอุปกรณ์รับสื่อกระแสไฟฟ้าออกให้ จากนั้นผู้เข้ารับบริการรอฟังผลตรวจกับแพทย์ได้
ตำแหน่งในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

การดูแลหลังจากตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

ผู้เข้ารับบริการแทบจะไม่ต้องดูแลตนเองใดๆ เป็นพิเศษเลย สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติทันทีหลังตรวจ นอกเสียจากได้ฟังผลตรวจกับแพทย์แล้วพบความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจบางอย่าง ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อบรรเทาความเสี่ยงที่เกิดขึ้นให้น้อยลง

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เจ็บไหม?

ระหว่างที่ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ผู้เข้ารับบริการจะไม่รู้สึกเจ็บใดๆ สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างการตรวจจะแทบไม่ต่างจากการนอนราบกับเตียงนอนปกติ และมีสายไฟมาโยงติดอยู่กับผิวแค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น

ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจบ่อยแค่ไหน?

หากคุณไม่มีข้อบ่งชี้ที่เป็นสัญญาณของโรคเกี่ยวกับหัวใจ และไม่มีโรคประจำตัวที่กระทบต่อการทำงานของหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจประมาณปีละ 1 ครั้งก็ถือว่า เพียงพอต่อการตรวจคัดกรองสมรรถภาพของหัวใจแล้ว

เช็กราคาตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ

คนท้องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ไหม?

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสามารถตรวจได้กับคนทุกกลุ่ม ไม่เว้นแม้แต่หญิงตั้งครรภ์ซึ่งก็สามารถตรวจได้เช่นกัน

เช็กราคาแพ็กเกจตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อตรวจดูสมรรถภาพความแข็งแรงของหัวใจเบื้องต้นในราคาคุ้มค่า ผ่านแพ็กเกจเพื่อสุขภาพจากเว็บไซต์ HDmall.co.th

หรือหากคุณไม่อยากตรวจแค่อวัยวะหัวใจ และอยากจะตรวจความสมบูรณ์แบบองค์รวมของร่างกาย HDmall.co.th ก็มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับคุณผู้หญิง และสำหรับคุณผู้ชายวางขายในราคาที่ได้ส่วนลดเช่นกัน คลิกเลยที่เว็บไซต์ HDmall.co.th เพื่อสุขภาพของทุกระบบในร่างกายที่สมบูรณ์อยู่เสมอ


บทความที่เกี่ยวข้อง


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

  • WebMD, Heart Disease and Electrocardiograms (https://www.webmd.com/heart-disease/electrocardiogram-ekgs), 15 April 2022.
  • นพ. สุวาณิช เตรียมชาญชูชัย, เช็คสุขภาพหัวใจให้ชัวร์ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ EKG (https://www.nakornthon.com/article/detail/เช็คสุขภาพหัวใจให้ชัวร์ด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ-ekg), 15 April 2022.
  • โรงพยาบาลกรุงเทพ, คลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram (ECG/EKG) (https://www.bangkokhearthospital.com/medical-service/electrocardiogram-ekg), 15 April 2022.
  • โรงพยาบาลธนบุรี 2, EST Echo EKG ตรวจสุขภาพหัวใจแบบไหน? เหมาะกับคุณ (https://www.thonburi2hospital.com/health-detail.php?id=63), 15 April 2022.
  • โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) (https://www.bumrungrad.com/th/treatments/electrocardiography-ecg-ekg), 15 April 2022.
  • สถานพยาบาลมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คู่มือการการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ(EKG) (http://www.person.ku.ac.th/training/km/bestku-km/56/10.3.pdf), 15 April 2022.
@‌hdcoth line chat