แครอท ประโยชน์ ข้อมูล สารอาหาร ข้อควรระวัง


แครอท ประโยชน์

แครอท มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Daucus carota L.subsp. sativus  (Hoffim). Arcang. เป็นพืชล้มลุก รากมีลักษณะพองโตและยาวเรียวสีส้ม แต่เรามักเรียกส่วนนี้กันว่า "หัว"  ก้านใบยาว ใบสีเขียวแตกออกรอบๆ เหนือส่วนหัว  แครอทเป็นพืชที่มีรสชาติหวานกรอบ  นิยมนำมารับประทานทั้งแบบสด (ดิบ) และแบบปรุงสุก ส่วนในทางยา ส่วนราก หรือหัว มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย

ในทางโภชนาของแครอท

  • แครอท 100 กรัม จะมีพลังงาน 41 กิโลแคลอรี่
  • ส่วนราก หรือหัว มีสารเบต้า-แคโรทีน (beta-carotene) สูง โดยเฉพาะบริเวณเปลือกแก่ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอสูง 
  • มีคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล ไขมัน เส้นใย และแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส โซเดียม วิตามินบี 1 บี 2 บี 3 บี 5 บี 6 บี 9 และวิตามินซีด้วย 

ประโยชน์ต่อสุขภาพของแครอท

ช่วยลดระดับ Cholesterol

แครอทมีสารต้านอนุมูลอิสระแคโรทินอยด์ (carotenoid antioxidants)  สารเบต้า-แคโรทีน สารอัลฟาแคโรทีน ( alpha-carotene) และสารลูทีน  จึงช่วยลดระดับ cholesterol ได้ ทำให้เลือดไหลเวียนได้ขึ้น

ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง

แครอทมีสารเบต้า-แคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือน และมีฤทธิ์ต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ 

บำรุงสายตา

แม้จะไม่สามารถช่วยรักษาปัญหาทางการมองเห็นที่มีอยู่เดิมได้  แต่แครอทสามารถช่วยป้องกันปัญหาที่เกิดจากการขาดวิตามินเอได้ โดยร่างกายจะมีการเปลี่ยนสารเบต้า-แคโรทีน  ให้เป็นวิตามินเอซึ่งช่วยบำรุงสายตา นอกจากนั้นยังสามารถป้องกันการเกิดภาวะจอประสาทตาเสื่อม และอาการมองเห็นไม่ชัดในตอนกลางคืนได้

ช่วยหยุดการสูญเสียความจำ

งานวิจัยเชื่อว่า สารเบต้า-แคโรทีน ในแครอทช่วยชะลอการเสื่อมของระบบประสาทส่วนกลางในระยะยาวได้ในผู้ที่รับประทานสารเบต้า-แคโรทีน มากกว่า 15 ปี ขึ้นไป

ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน

แครอทมีสารเบต้า-แคโรทีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถลดน้ำตาลในเลือดและรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้ 

เพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก

แครอทมีวิตามินอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น วิตามินซี (5 มิลลิกรัมต่อ 1 ถ้วย) และแคลเซียม (96 มิลลิกรัมต่อ 1 ถ้วย) ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนอาจได้รับแคลเซียมไม่พอ ดังนั้นการรับประทานแครอทก็ช่วยเสริมแคลเซียมได้  แม้ว่าจะมีในปริมาณที่ไม่มากก็ตาม นอกจากนี้สารเบต้า-แคโรทีนยังสามารถป้องกันการเกิดกระดูกเสื่อมรุนแรงได้ เพียงแต่ไม่ได้ป้องกันภาวะเสื่อมของกระดูกที่เกิดขึ้นตามอายุ

คำแนะนำในการบริโภค 

  • หากต้องการได้รับประโยชน์จากแครอทสูงสุดโดยเฉพาะสารเบต้าแคโรทีน แนะนำให้ปรุงสุกก่อนรับประทาน
  • หากต้องการได้รับประโยชน์จากแครอทสูงสุด ไม่ควรหั่นแครอทก่อนปรุงอาหาร
  • ควรรับประทานแครอทกับอาหารที่มีไขมันเพราะเบต้าแคโรทีนจะละลายได้ดีในไขมัน
  • เช่นเดียวกับมะละกอที่ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจทำให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีส้มได้  สามารถแก้ไขได้ด้วยการหยุดรับประทาน 
  • เลือกซื้อแครอทอย่างระมัดระวัง ป้องกันการปนเปื้อนของสาารตะกั่ว 

ถึงแม้ว่าแครอทจะมีประโยชน์มากมาย แต่ควรรับประทานอย่างเหมาะสม ไม่ควรรับประทานมากเกินไป บ่อยเกินไป หรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ

คำถามที่พบบ่อย

ทำไมกินน้ำแครอทมากๆ ถึงผิวกลายเป็นสีส้มคะ จะเป็นอันตรายไหม?

เพราะในแครอทมีสารชื่อว่า"แคโรทีนอยด์ (carotenoid)" ที่ทำให้ตัวกลายเป็นสีส้มเหลืองได้หากทานมากเกินไป แต่ไม่ได้อันตรายค่ะ วิธีแก้ไขทำได้ง่ายๆ ด้วยการลดปริมาณการกินลงค่ะ แต่อาจจะใช้เวลานานสักนิดกว่าผิวจะกลับมามีสีเดิมนะคะ ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)

การที่คนเรารับประทานผัก ผลไม้ที่มีสี เช่น แครอท มะละกอ ข้าวโพดเยอะๆ จะทำให้ผิวของเรามีสีเหลืองได้จริงไหมคะ?

เพราะผลไม้เหล่านี้มีเบต้าแคโรทีนค่ะ เมื่อรับประทานเป็นปริมาณมากๆ จะทำให้เบต้าแคโรทีนไปสะสมที่ผิวหนังจึงทำให้ผิวดูเหลืองนั่นเอง ซึ่งไม่เป็นอันตรายแต่เพียงใด ถือเป็นข้อดีด้วยซ้ำ เพราะเบต้าแคโรทีนจะช่วยป้องกันไม่ให้ผิวหนังของเราโดนสารพิษต่างๆ และทำให้ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลดลง ตอบโดย นิชดา พงษ์ธัญญกรณ์ (พญ.)


เปรียบเทียบราคาโปรโมชั่นแพ็กเกจตรวจวิตามิน


บทความแนะนำ


ที่มาของข้อมูล

ขยาย

ปิด

@‌hdcoth line chat