ไข้หวัดใหญ่ scaled

ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ คือ การติดเชื้อไวรัสที่เข้าโจมตีทางระบบหายใจ ได้แก่ จมูก ลำคอ และปอด ไข้หวัดใหญ่ส่วนมากจะไม่เหมือนกับการติดเชื้อไวรัสที่กระเพาะที่ทำให้เกิดอาการท้องร่วงและอาเจียน ผู้ป่วยส่วนมากจะหายจากไข้หวัดใหญ่ได้เอง แต่ก็มีบางกรณีที่ไข้หวัดประเภทนี้ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงมากเช่นกัน

สาเหตุของไข้หวัดใหญ่

การติดเชื้อไวรัสในไข้หวัดใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ เอ บี และซี  ไวรัสเหล่านี้จะเดินทางผ่านอากาศในละอองของสารคัดหลั่งจากผู้ติดเชื้อ เช่น การไอ จาม หรือแม้แต่การพูดคุย

คุณสามารถสูดละอองที่มีเชื้อไวรัสเข้าไปโดยตรง หรือจากสิ่งของที่มีเชื้อไวรัสอยู่ เช่น โทรศัพท์มือถือ แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะถูกส่งผ่านไปยังดวงตา จมูก หรือปากของคุณในที่สุด

ผู้ที่มีเชื้อไวรัสจะสามารถแพร่เชื้อโรคได้ตั้งแต่วันแรก หรือก่อนที่จะเริ่มมีอาการ ไปจนถึงวันที่ห้าหลังจากที่แสดงอาการแล้ว แต่บางคนก็สามารถแพร่เชื้อได้นานกว่านั้นถึง 10 วัน

นอกจากนี้ในเด็กและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายต่ำ มักจะแพร่เชื้อไวรัสได้นานกว่าที่กล่าวไปเล็กน้อย

อาการของไข้หวัดใหญ่

ระยะแรกไข้หวัดใหญ่จะแสดงอาการเหมือนกับหวัดทั่วไปคือ คัดจมูก จาม ปวดลำคอ หลังจากนั้นจะเริ่มมีไข้ขึ้น

ในกรณีที่เป็นไข้หวัดใหญ่ ไข้จะเกิดขึ้นมาอย่างกะทันหัน และหากคุณอ่อนแอต่ออาการของหวัดธรรมดาอยู่แล้ว คุณจะรู้สึกแย่ลงอย่างมากกับไข้หวัดใหญ่

สัญญาณ และอาการทั่วไปของไข้หวัดใหญ่

  • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่หลัง แขน และขา
  • หนาวสั่น และเหงื่อออก
  • ปวดศีรษะ
  • ไอแห้งต่อเนื่อง
  • เหนื่อยล้าและอ่อนแรง
  • คัดจมูก
  • ปวดคอ

ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่

หากคุณมีอายุน้อยและมีสุขภาพดี การป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลมักจะไม่เป็นเรื่องร้ายแรง เพียงแค่ทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงเต็มร้อยเท่านั้น

ไข้หวัดที่เป็นนี้มักจะหายไปเองภายในหนึ่ง หรือสองสัปดาห์ โดยไม่ทิ้งผลกระทบระยะยาวใดๆ แต่สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูงอาจประสบกับภาวะแทรกซ้อนต่อไปนี้ได้

  • ปวดบวม
  • หลอดลมอักเสบ
  • หอบหืดกะทันหัน
  • ปัญหาหัวใจ
  • การติดเชื้อที่หู
  • ภาวะปอดบวมนับว่า เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงที่สุด สำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอยู่แล้วการเป็นปอดบวมจะอันตรายอย่างมาก

กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน

  • เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี
  • ผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 65 ปี
  • ผู้ที่พักรักษาตัวที่บ้าน และผู้ที่กำลังรักษาตัวระยะยาวที่ศูนย์สุขภาพ
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์และผู้หญิงหลังคลอดมากกว่าสองอาทิตย์
  • ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากการรักษามะเร็ง การใช้ยากดภูมิ ยาคอร์ติคอสเตียรอยด์ และ HIV/AIDS จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอลง และยังเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคได้มากขึ้น
  • ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น หอบหืด โรคหัวใจ โรคไต และเบาหวาน
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วนมาก หรือมีดัชนีมวลกาย (BMI) ที่ 40 หรือมากกว่า

ควรไปพบแพทย์เมื่อไหร่

  • ผู้ป่วยส่วนมากที่เป็นไข้หวัดใหญ่สามารถรักษาตัวเองได้ที่บ้าน และแทบไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์เลย
  • หากคุณมีอาการของไข้หวัดใหญ่ และมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนสูง ให้พบแพทย์เพื่อตรวจเชื้อและรับยาต้านไวรัสภายใน 48 ชั่วโมงแรกหลังจากสังเกตเห็นอาการ เพื่อลดระยะเวลาเจ็บป่วย และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน

การป้องกันไข้หวัดใหญ่

  • วิธีป้องกันตัวเองต่อไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุดคือ การทำวัคซีนประจำปี โดยทางศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคจะมีการจัดฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปีแก่เด็กที่อายุมากกว่า 6 เดือนทุกๆ คน
  • วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่นี้จะช่วยป้องกันเชื้อไวรัสที่ทำให้เป็นไข้หวัดได้ตั้งแต่สามถึงสี่สายพันธ์
  • วัคซีนแบบสเปรย์เข้าทางจมูกซึ่งเป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ (Live-attenuated vaccine) จะพิจารณาใช้ได้ในผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น

การควบคุมการแพร่กระจายของไข้หวัดใหญ่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ป้องกันไม่ได้ 100% ทำให้คุณควรระมัดระวังตนเองไปด้วยเพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของเชื้อโรค ดังนี้

  • ล้างมือ ควรล้างมือให้หมดจดทุกซอกทุกมุม และล้างบ่อยๆ จะช่วยป้องกันการติดเชื้อทั่วไปได้หลายชนิด คุณสามารถใช้น้ำยาล้างมือฆ่าเชื้อก็ได้หากไม่มีน้ำหรือสบู่ให้ใช้
  • ปิดปากทุกครั้งขณะจาม หรือไอ ขณะที่ไอ หรือจาม ให้ปิดปากด้วยแขนเสื้อ หรือผ้าปิดปาก หรือสวมใส่หน้ากากอนามัย เมื่อเป็นไข้หวัด
  • หลีกเลี่ยงที่แออัด หวัดจะแพร่กระจายได้ง่ายมากในที่ที่มีผู้คนคับคั่ง ตั้งแต่โรงเรียนไปจนถึงยานพาหนะขนส่งสาธารณะ คุณสามารถลดโอกาสได้รับเชื้อได้โดยการเลี่ยงไม่ไปในที่ๆ มีผู้คนแออัดในช่วงที่มีการระบาด
  • หากคุณป่วย พยายามอยู่กับบ้านเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง เพื่อให้ไข้ลดระดับลงมาจนลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อให้ผู้อื่น

หมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเสมอด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  รักษาความสะอาดของร่างกาย และฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำปี เฝ้าติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคเป็นประจำเพื่อรับรู้ข้อปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะสม เพียงเท่านี้ก็สามารถห่างไกลไข้หวัดใหญ่ได้แล้ว


ตรวจสอบความถูกต้องโดย นพ. วรพันธ์ พุทธศักดา

Scroll to Top