มดลูก เป็นอวัยวะที่มีกล้ามเนื้อที่อุ้งเชิงกรานและเส้นเอ็นช่วยยึดให้อยู่กับที่ หากกล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นบริเวณนั้น เกิดการยืดหรืออ่อนแรงลง ก็จะไม่สามารถยึดมดลูกให้อยู่กับที่ได้อีกต่อไป ทำให้มดลูกหย่อน
มดลูกที่หย่อน อาจจะหย่อนแบบไม่สมบูรณ์หรือสมบูรณ์ก็ได้
- แบบไม่สมบูรณ์คือการที่มดลูก หย่อนลงมาเฉพาะในช่องคลอด
- แบบสมบูรณ์คือการที่มดลูก หย่อนออกมาจนมีเนื้อเยื่อบางส่วนที่ออกมาภายนอกช่องคลอด
อาการที่พบ
ผู้หญิงที่มีมดลูกหย่อนเล็กน้อย อาจจะไม่มีอาการ แต่หากหย่อนปานกลางถึงรุนแรง อาจมีอาการบางอย่างชัดเจน เช่น
- รู้สึกเหมือนกำลังนั่งอยู่บนลูกบอล
- มีเลือดออกจากช่องคลอด
- มีตกขาวเพิ่มขึ้น
- มีปัญหาในการมีเพศสัมพันธ์
- สังเกตเห็นมดลูกหรือปากมดลูกหลุดออกมานอกช่องคลอด
- รู้สึกถูกดังหรือแน่นในท้องน้อย
- ท้องผูก
- มีการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะบ่อยๆ
หากมีอาการเหล่านี้ควรไปพบแพทย์และรับการรักษาทันที เพราะถ้าหากไม่ได้รักษาอาจจะส่งผลต่อการทำงานของลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ รวมถึงเวลาที่มีเพศสัมพันธ์
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อผู้หญิงมีอายุมากขึ้นและมีระดับเอสโตรเจนลดลง เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนที่ช่วยทำให้กล้ามเนื้อที่อุ้งเชิงกรานแข็งแรง การที่มีการทำลายกล้ามเนื้อเหล่านี้ในระหว่างที่ตั้งครรภ์และคลอด ก็อาจจะทำให้มดลูกหย่อนได้เช่นกัน ผู้หญิงที่คลอดลูกทางช่องคลอดมากกว่า 1 ครั้งและไม่มีประจำเดือนแล้วเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด
กิจกรรมใดๆ ที่จะเพิ่มแรงดันต่อกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน ล้วนแต่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมดลูกหย่อนทั้งสิ้น ปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ได้ประกอบด้วย
- โรคอ้วน
- ไอเรื้อรัง
- ท้องผูกเรื้อรัง
การวินิจฉัย
แพทย์จะทำการวินิจฉัยโรคนี้ได้จากการตรวจอาการและตรวจภายใน ในระหว่างที่ตรวจ แพทย์จะมีการใส่เครื่องมือเพื่อให้เห็นภายในช่องคลอดและตรวจดูช่องคลอดและมดลูก คุณอาจจะต้องนอนลงหรือแพทย์อาจจะขอให้ยืนในระหว่างการตรวจ และแพทย์อาจจะขอให้คุณเบ่งเหมือนกับเวลาที่ถ่ายอุจจาระเพื่อดูระดับของมดลูกที่หย่อน
การรักษา
มดลูกหย่อน อาจจะไม่ได้จำเป็นต้องรักษาเสมอไป หากมีการหย่อนอย่างรุนแรง ของปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสำหรับคุณที่สุด
วิธีการรักษามดลูกหย่อนที่ไม่ใช้การผ่าตัด ประกอบด้วย
- ลดน้ำหนักเพื่อลดแรงที่กระทำต่ออุ้งเชิงกราน
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
- ออกกำลังกายกล้ามเนื้อส่วนดังกล่าวด้วยการขมิบ
- ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน
- ใส่อุปกรณ์ที่จะช่วยดันมดลูกและทำให้มดลูกและปากมดลูก อยู่ในตำแหน่งที่สูงขึ้น
การรักษาด้วยการผ่าตัด อาจจะใช้การผ่าตัดมดลูกออกหรือการผ่าตัดเพื่อยกมดลูกขึ้นไปไว้ในตำแหน่งปกติ ในระหว่างการผ่าตัดเพื่อยกมดลูก แพทย์จะดันมดลูกให้กลับไปอยู่ในตำแหน่งด้วยการใช้เส้นเอ็นหรืออุปกรณ์การผ่าตัด ในระหว่างที่ผ่าตัดมดลูกทิ้ง แพทย์จะทำการตัดมดลูกออกจากร่างกายผ่านทางหน้าท้องหรือช่องคลอด
การรักษาด้วยการผ่าตัด มักจะมีประสิทธิภาพ แต่ไม่แนะนำในผู้หญิงที่วางแผนจะมีบุตรในอนาคต การตั้งครรภ์และการคลอด จะเพิ่มความเครียดให้กับกล้ามเนื้อที่อุ้งเชิงกรานอย่างมากซึ่งจะทำให้การผ่าตัดที่ซ่อมไว้นั้นไม่ได้ผล
การป้องกัน
มดลูกหย่อน อาจจะไม่สามารถป้องกันได้ทุกคน แต่คุณอาจจะใช้วิธีต่อไปนี้เพื่อลดความเสี่ยงได้ เช่น
- ออกกำลังกายเป็นประจำ
- มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม
- ขมิบกล้ามเนื้อที่อุ้งเชิงกราน ใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน