หลายปีที่ผ่านมา การดื่มน้ำปัสสาวะเพื่อสุขภาพเคยเป็นกระแสข่าวครึกโครม และมีนักวิชาการออกมาสนับสนุนเกี่ยวกับประโยชน์ของการดื่มน้ำปัสสาวะ ยิ่งทำให้ศาสตร์ทางการแพทย์ศาสตร์นี้ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันและเกิดกระแสนิยมเป็นครั้งคราวตามความเชื่อ แต่ก็มีคำเตือนถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอ
สารบัญ
กลไกการสร้างปัสสาวะ
ปัสสาวะสร้างขึ้นที่ไต การผลิตน้ำจากปัสสาวะโดยไตออกมาอย่างไม่ขาดสาย โดยแต่ละวันไตจะผลิตน้ำปัสสาวะได้ประมาณวันละหนึ่งลิตรครึ่ง เริ่มจากหยดเล็กๆ ของของเหลวจากหลอดไตจำนวนหลายล้านหยด และไหลเข้าสู่แอ่งเก็บขนาดเล็กในใจกลางไต แอ่งเก็บน้ำปัสสาวะจะมีท่อต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ จากนั้นก็มีท่อต่อออกสู่ภายนอกร่างกาย ในตอนกลางคืน การทำงานของไตจะช้าลงเหลือเพียงประมาณ 1 ใน 3 ของตอนกลางวัน ในช่วงอากาศเย็นไตจะผลิตปัสสาวะมากขึ้น เนื่องจากเลือดที่ไหลไปเลี้ยงผิวหนังจะลดลงเพื่อถนอมความร้อนภายในร่างกายเอาไว้ แต่ขณะเดียวกันเลือดกลับไหลผ่านอวัยวะภายในต่างๆ รวมทั้งไตมากขึ้น ทำให้ไตผลิตปัสสาวะมากขึ้นด้วย
โดยธรรมชาติแล้ว ปัสสาวะที่ขับออกมาจะมีสีเหลืองอ่อนใส ไม่มีกลิ่นเหม็น มีความเป็นกรดอ่อนๆ ถ้าปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะนั้นจะมีความเข้มข้นมากกว่าปัสสาวะใส ในปัสสาวะปกติจะมีรสเค็ม แต่ถ้าปัสสาวะมีความเข้มข้นมากอาจมีรสขมนิดๆ อย่างไรก็ตาม สีและรสของปัสสาวะอาจแปรเปลี่ยนไปตามชนิดของอาหารที่รับประทานได้ มีการวิจัยในต่างประเทศพบว่า ในปัสสาวะมีส่วนประกอบของสารต่างๆ มากมาย เช่น ยูเรีย กรดยูริก ครีเอตินีน แร่ธาตุต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกลือโซเดียมฟอสเฟตและกรดอินทรีย์ มีโปรตีนเล็กน้อย ส่วนใหญ่เป็นอัลบูมิน และมีฮอร์โมน กลูโคส และวิตามินที่ละลายน้ำ เล็กน้อย
ปัสสาวะบำบัดคืออะไร?
ปัสสาวะบำบัด (Urine therapy) หมายถึง การใช้ปัสสาวะตนเองในการส่งเสริมสุขภาพ รักษาโรค การใช้ปัสสาวะบำบัดโรคปรากฏอยู่ในตำราโบราณของหลายชนชาติมาแต่โบราณกาล ปัจจุบันมีแหล่งข้อมูลที่อ้างอิงการวิจัยในต่างประเทศเกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้ปัสสาวะบำบัด แต่พบว่าจำนวนงานวิจัยยังมีไม่มาก
สำหรับประเทศไทย ข้อมูลเกี่ยวกับปัสสาวะบำบัดเป็นข้อมูลจากผู้ที่มีประสบการณ์ตรงจากการใช้ปัสสาวะบำบัด มากกว่าแหล่งข้อมูลด้านวิชาการ เช่น งานวิจัย หรือบทความจากแหล่งข้อมูล
การดื่มหรือการใช้น้ำปัสสาวะของคนหรือของสัตว์เพื่อการบำบัดโรคนั้น ถูกบันทึกไว้ว่ามีการใช้กันทั่วโลกมานานกว่าพันปี ผู้คนที่ใช้ปัสสาวะบำบัด เรียกปัสสาวะว่าเป็น “ทองคำจากเลือด” และ “ยาอายุวัฒนะ”
วิธีใช้ปัสสาวะบำบัด
กลุ่มผู้ที่ใช้ปัสสาวะตัวเองเพื่อผลทางสุขภาพได้มีวิธีการใช้ปัสสาวะบำบัด 2 แบบ ได้แก่ แบบใช้ภายในร่างกายและแบบใช้ภายนอกร่างกาย โดยเชื่อว่าจะให้ผลดีต่อสุขภาพดังนี้
- แบบใช้ภายในร่างกาย เป็นการดื่ม การกลั้วคอ การสวนทวาร หรือการสูดเข้าจมูก
- การดื่มปัสสาวะ จะดื่มปัสสาวะในตอนเช้า โดยปัสสาวะที่ใช้สำหรับดื่มจะเป็นน้ำปัสสาวะในช่วงกลาง กล่าวคือ ให้ปัสสาวะทิ้งไปก่อนสักเล็กน้อย จากนั้นจึงใช้แก้วรองปัสสาวะไว้สำหรับดื่ม ปริมาณปัสสาวะที่ดื่มจะเริ่มจาก 5-10 หยดในครั้งแรก จากนั้นจึงจะเพิ่มปริมาณขึ้นเอยๆ จนถึง 1 แก้ว
เชื่อว่าการดื่มปัสสาวะตลอดทั้งวัน (ยกเว้นตอนเย็น) และดื่มน้ำสะอาดตามด้วย หรือนำปัสสาวะ 1 หยด ใส่ลงในน้ำ 1 ช้อนชา เขย่าประมาณ 50 ครั้ง หรือในวันแรกจะหยดปัสสาวะ 1-5 หยดในปาก วันต่อมาอาจหยด 6-10 หยด และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะชิน เป็นการล้างพิษออกจากร่างกายทางอุจจาระ เหงื่อ และทางเดินหายใจ ส่งผลให้เลือดสะอาดขึ้น - กลั้วคอ ใช้น้ำปัสสาวะช่วงกลางปริมาณ 30 มิลลิลิตร กลั้วคอเมื่อมีอาการเจ็บคอ ปวดฟัน และเมื่อมีอาการไอเป็นหวัด
- สวนทวาร เป็นการสวนปัสสาวะเข้าไปทางทวารหนัก เพื่อล้างลำไส้และเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- สูดเข้าจมูก สูดเอาปัสสาวะสดๆ ตอนเช้าเข้าจมูกทั้งสองข้าง เพื่อล้างโพรงจมูกสำหรับคนที่เป็นไซนัส เป็นหวัด ภูมิแพ้ หรือ ผู้ที่มีอาการน้ำมูกไหลเป็นประจำ
- การดื่มปัสสาวะ จะดื่มปัสสาวะในตอนเช้า โดยปัสสาวะที่ใช้สำหรับดื่มจะเป็นน้ำปัสสาวะในช่วงกลาง กล่าวคือ ให้ปัสสาวะทิ้งไปก่อนสักเล็กน้อย จากนั้นจึงใช้แก้วรองปัสสาวะไว้สำหรับดื่ม ปริมาณปัสสาวะที่ดื่มจะเริ่มจาก 5-10 หยดในครั้งแรก จากนั้นจึงจะเพิ่มปริมาณขึ้นเอยๆ จนถึง 1 แก้ว
- แบบใช้ภายนอกร่างกาย เป็นการทาและนวดผิวหนัง ล้างเท้า หรือสระผม
-
- ทาและนวดผิวหนัง โดยการนวดร่างกายทั้งหมด หรือ บางส่วนทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วล้างออก จะช่วยรักษาโรคผิวหนัง หรือผิวหนังที่โดนแดดเผา เนื่องจากสารยูเรียในปัสสาวะเปรียบเสมือนมอยส์เจอไรเซอร์ หรือสารทำความชื้นในเครื่องสำอาง
- ล้างเท้า กรณีมีปัญหาที่ผิวหนังและเล็บเท้า
- สระผม ช่วยทำให้ผมสะอาด นุ่มสลวย และทำให้ผมดกขึ้น
ข้อควรระวังปัสสาวะบำบัด
- อาการที่เกิดขึ้นได้ระหว่างวันแรกๆ ที่ดื่มน้ำปัสสาวะ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ใจสั่น ท้องเสีย หรือมีไข้ต่ำๆ
- ข้อควรระวังสำหรับการใช้ปัสสาวะบำบัดคือ อย่าดื่มหรือใช้น้ำปัสสาวะของคนอื่น และผู้ที่มีโรคระบบทางเดินปัสสาวะ มีประจำเดือน ไม่ควรดื่มน้ำปัสสาวะ เพราะอาจมีเชื้อโรคติดมาด้วย
แพทย์แผนปัจจุบัน ไม่แนะนำปัสสาวะบำบัด
ปัสสาวะบำบัดเป็นทางเลือกหนึ่งตามความเชื่อเท่านั้น ไม่มีหลักฐานเรื่องการรักษาโรคให้หายขาด
ดังนั้น ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรได้รับการรักษาด้วยการแพทย์ปัจจุบัน เช่น การรับประทานยา การผ่าตัด ร่วมกับการปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมกับโรค ปัสสาวะที่ใช้ดื่มควรเป็นปัสสาวะในตอนเช้าหลังตื่นนอน ไม่ควรดื่มทั้งวัน หรือดื่มแทนน้ำ
ทางการแพทย์ปัจจุบัน การดื่มน้ำปัสสาวะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี ทำให้มีการสะสมของเสียซึ่งร่างกายต้องการขจัดทิ้งไปแล้ว กลับเข้าไปหมุนเวียนเข้าสู่ร่างกายอีกครั้งหนึ่ง จึงไม่แนะนำให้ปฏิบัติ นอกจากจะไม่หายจากโรคเดิมแล้ว อาจทำให้อาการหนักมากขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้อาจมีความเสี่ยงและอาการอื่น ๆ ตามมาเช่น เสี่ยงต่อการติดเชื้อ อาจได้รับสารที่เป็นพิษต่อร่างกาย ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไต โรคตับ โรคหัวใจ อาจอาการแย่ลงได้ และอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย ได้อีก
เขียนบทความและตรวจสอบความถูกต้องโดย ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคไต HD