ก้อนที่ขาหนีบ Groin Lump scaled

ก้อนที่ขาหนีบ (Groin Lump)

ก้อนที่ขาหนีบ (Groin Lump) คือก้อนใด ๆ ก็ตามที่อยู่บริเวณขาหนีบ จะมีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกันไป อาจมีอาการเจ็บปวดหรือไม่ก็ได้
หลายคนอาจเคยพบก้อนที่ขาหนีบ และสงสัยว่าเกิดจากอะไร อันตรายไหม รักษาได้อย่างไรบ้าง บทความนี้จะพามาดูกัน

ก้อนที่ขาหนีบเป็นอย่างไร 

ก้อนที่ขาหนีบ จะอยู่บริเวณขาหนีบตามชื่อ อาจพบเป็นก้อนเดียว หรือเป็นกลุ่มก้อนก็ได้ อาจเป็นสีเดียวกับผิวหนัง หรือมีสีแดง สีม่วง โดยส่วนใหญ่ รูปร่างและลักษณะของก้อนที่ขาหนีบจะขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิด 

สาเหตุของการเกิดก้อนที่ขาหนีบ

ซีสต์ (Cysts)
กรณีที่เกิดจากซีสต์หรือถุงน้ำ อาจพบก้อนเนื้อขนาดใหญ่ ทำให้เกิดเจ็บปวดและไม่สบายตัว

ต่อมน้ำเหลืองโต (Swollen Glands)
ถ้าติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือมีภาวะโมโนนิวคลีโอซิส (Mononucleosis) อาจทำให้เกิดภาวะต่อมน้ำเหลืองโตที่ขาหนีบได้ 

มักเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับอาการต่อมน้ำเหลืองโตที่คอหรือรักแร้ นอกจากนี้ ยังพบภาวะต่อมน้ำเหลืองโตจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก เช่น มะร็งต่อมน้ำเหลือง

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Hernia)
มักพบก้อนขนาดใหญ่ ตุง นูน และนิ่ม เกิดจากลำไส้หรือเนื้อเยื่อช่องท้องส่วนล่างหย่อนยาน ทำให้มีไส้เลื่อนออกมาบริเวณหัวหน่าว หากเกิดภาวะแทรกซ้อนต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วน  

ภาวะ Saphena Varix
ถ้าก้อนที่ขาหนีบยุบลงตอนนอน อาจเกิดจากภาวะที่เรียกว่า “Saphena varix” ซึ่งเกิดจากลิ้นในเส้นเลือดดำชื่อ Saphenous Vein เปิดให้เลือดไหลเวียนตามปกติไม่ได้ 

ส่งผลให้เลือดคั่งภายในเส้นเลือดดำ และเกิดก้อนที่มีขนาดใหญ่เท่าลูกกอล์ฟและสังเกตเห็นเป็นสีน้ำเงิน มักพบที่บริเวณขา หรือเท้า

การติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infections (STIs))
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคเป็นสาเหตุของการเกิดก้อนที่ขาหนีบได้ เพราะทำให้เกิดการบวมของต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ เช่น

การพบก้อนที่ขาหนีบ ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา เพราะบางสาเหตุอาจเป็นอันตราย และกระทบต่อสุขภาพ เช่น แม้ว่าซีสต์และต่อมน้ำเหลืองโตจะไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาว 

แต่ถ้าเป็นโรคไส้เลื่อนแล้วไม่รีบรักษา อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ หรือบางกรณี ถ้ามาจากการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางชนิด เช่น ซิฟิลิส อาจทำให้ตาบอด ร่างกายเป็นอัมพาต และสมองเสื่อมได้

การรักษาก้อนที่ขาหนีบ

ก้อนที่ขาหนีบเกิดได้จากหลายสาเหตุ จึงต้องวินิจฉัยให้ละเอียดก่อนว่าเกิดจากอะไร จะได้รักษาให้ถูกต้อง เช่น เกิดจากซีสต์หรือมีภาวะไส้เลื่อนอาจต้องทำการรักษาด้วยการผ่าตัด หรือเกิดจากต่อมน้ำเหลืองโต แพทย์อาจจ่ายยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาอาการติดเชื้อ

ก้อนที่ขาหนีบ ป้องกันอย่างไร

ก้อนที่ขาหนีบส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ป้องกันไม่ได้ แต่ยังมีวิธีเลี่ยงไม่ให้เกิดอยู่ เช่น   

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
  • ไม่เบ่งอุจจาระรุนแรง
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดไส้เลื่อน

นอกจากนี้แล้ว ควรหมั่นสังเกตตนเองเสมอ ถ้าส่วนใดของร่างกายผิดปกติ เช่น เกิดอาการเจ็บปวด หรือมีอวัยวะและผิวหนังส่วนใดลักษณะแปลกไป ให้ลองหาสาเหตุ จะได้ป้องกันถูกต้อง 


ตรวจสอบความถูกต้องโดย นพ. ธนู โกมลไสย

Scroll to Top