กรดไฮยาลูรอน (Hyaluronic acid (HA)) คือสารที่อยู่ในร่างกายของมนุษย์ตามธรรมชาติ พบว่ามีความเข้มข้นสูงสุดในน้ำหล่อเลี้ยงตาและข้อต่อ ไฮยาลูรอนที่ใช้ทำยานั้นสกัดมาจากขนของไก่หรือผลิตจากแบคทีเรียที่เลี้ยงอยู่ในห้องปฏิบัติการ
สารบัญ
ประโยชน์ของกรดไฮยาลูรอน
Hyaluronic acid ใช้กับภาวะข้อต่อหลายชนิด รวมไปถึงโรคกระดูกพรุน (Osteoarthritis) ซึ่งกรดนี้สามารถเป็นยารับประทานหรือยาฉีดเข้าข้อต่อที่มีอาการก็ได้
ทาง FDA หรือองค์การอาหารและยาสหรัฐได้อนุมัติให้มีการใช้กรดไฮยาลูรอนระหว่างการผ่าตัดดวงตาบางประเภท อย่างเช่น การผ่าตัดกำจัดต้อกระจก การปลูกถ่ายกระจกตา การซ่อมแซมจอประสาทตาถลอก และการบาดเจ็บที่ดวงตาอื่นๆ อีกทั้งยังใช้ฉีดเข้าดวงตาระหว่างหัตถกรรมเพื่อช่วยชดเชยน้ำในดวงตาได้ด้วย
Hyaluronic acid ยังใช้เป็นฟิลเลอร์ริมฝีปากระหว่างการผ่าตัดเสริมความงาม บางคนใช้วิธีทากรดไฮยาลูรอนบนผิวหนังเพื่อสมานบาดแผล ผิวไหม้ แผลเปิด และสำหรับเพิ่มความชุ่มชื่นแก่ผิวหนัง
กรดไฮยาลูรอนเป็นสารช่วยหล่อลื่นให้ผิว ผม ดวงตา และข้อต่อ ไฮยาลูรอนทำให้ผิวอิ่มน้ำและผมแข็งแรงเต็มสมบูรณ์ โดยกรดไฮยาลูรอนในร่างกายจะลดลงถึงครึ่งหนึ่งเมื่ออายุ 40 ปี อย่างไรก็ตาม กรดไฮยาลูรอนในผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ทำได้เพียงชะลอการเกิดผมหงอก
อีกทั้งยังใช้ชะลอวัย อ่อนโยนต่อผิวแพ้ง่าย และบางเบาต่อผิวที่มีแนวโน้มเป็นสิวง่าย ซึ่งในความเป็นจริงนั้นกรดไฮยาลูรอนจัดว่าเป็น “น้ำพุแห่งความอ่อนเยาว์” แม้จะไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ว่าการรับประทานหรือทากรดไฮยาลูรอนนั้นจะช่วยป้องกันความแก่เฒ่าได้จริง
กรดไฮยาลูรอนทำงานอย่างไร?
กรดไฮยาลูรอนทำหน้าที่เป็นหมอนรองและสารหล่อลื่นแก่ข้อต่อและเนื้อเยื่อต่างๆ นอกจากนี้กรดชนิดนี้ยังส่งผลต่อกระบวนการที่ร่างกายตอบสนองต่อการบาดเจ็บอีกด้วย
ภาวะที่ใช้กรดไฮยาลูรอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ต้อกระจก (Cataracts) การฉีด Hyaluronic acid เข้าดวงตาระหว่างการผ่าตัดต้อกระจกนั้นนับว่ามีประสิทธิภาพ
- แผลในปาก Hyaluronic acid สามารถรักษาแผลในปากได้ด้วยการทาในรูปของเจล
ภาวะที่อาจใช้กรดไฮยาลูรอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ผิวหนังใบหน้า (Juvéderm Ultra Plus, Allergan) การฉีด Hyaluronic acid ทำให้ร่องแก้มลึกดูเต็มมากขึ้น ลดริ้วรอยบนใบหน้าและลำคอ
- กระดูกพรุน (Osteoarthritis) กรดไฮยาลูรอนอาจช่วยลดอาการตึงและปวดข้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีรายงานผลจากการรักษาด้วยกรดชนิดนี้ผันแปรอย่างมากก็ตาม บางรายงานกล่าวว่าอาการทั้งหลายดีขึ้นหลังการรักษาด้วยการฉีดกรดไฮยาลูรอน แต่ก็มีบ้างที่ไม่ได้ผล ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปว่ากรดไฮยาลูรอนช่วยชะลอหรือลดการลุกลามของความเสียหายที่ข้อต่อ และข้อมูลของผลการใช้ในระยะยาวยังไม่ชัดเจนอีกด้วยเช่นกัน
ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานและยังไม่มีข้อสรุปว่าใช้กรดไฮยาลูรอนรักษาได้หรือไม่
- ตาแห้ง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่ายาหยอดตาที่ประกอบด้วยกรดไฮยาลูรอน (Hyalistil) อาจบรรเทาอาการตาแห้ง
- อุบัติเหตุที่เกิดกับดวงตา งานวิจัยกล่าวว่าการฉีดกรดไฮยาลูรอนเข้าดวงตาอาจรักษาประสาทตาถลอกและอาการบาดเจ็บอื่นๆ
- สมานบาดแผลและรักษาแผลไหม้ งานวิจัยกล่าวว่าการทากรดไฮยาลูรอนที่ผิวหนังอาจรักษาแผลไฟไหม้หรือแผลฉีก
ผลข้างเคียงและหลักการใช้กรดไฮยาลูรอนให้ปลอดภัย
กรดไฮยาลูรอนจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทาน ทาบนผิวหนัง หรือฉีดเข้าร่างกายในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งกรดชนิดนี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาอื่นๆ ได้ เช่น บวมและช้ำบริเวณที่ฉีด ปฏิกิริยาแพ้นั้นเป็นกรณีที่หายากมาก
คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ
สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร Hyaluronic acid อาจปลอดภัยเมื่อฉีดเข้าร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลสรุปเรื่องความปลอดภัยของการใช้ Hyaluronic acid แบบรับประทานหรือทาบนผิวหนังระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรงดใช้ไปก่อนจะดีที่สุด
สำหรับสตรีที่ให้นมบุตร Hyaluronic acid แบบฉีดจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยเนื่องจากนักวิจัยไม่ทราบว่ากรดจะส่งผลอย่างไรกับน้ำนมและส่งผลไปถึงเด็กบ้างหรือไม่ ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับการรับประทานหรือทา Hyaluronic acid บนผิวหนัง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยควรงดใช้กรดชนิดนี้ไปก่อนจะดีที่สุด
การใช้กรดไฮยาลูรอนร่วมกับยาชนิดอื่น
ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการส่งผลซึ่งกันและกันของกรดไฮยาลูรอนกับยาชนิดอื่น
ปริมาณการใช้กรดไฮยาลูรอน
- สำหรับรักษากระดูกพรุน การฉีดกรดไฮยาลูรอนสำหรับภาวะนี้ต้องทำโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ