โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มีอยู่ด้วยกัน 5 ระดับ คือ ระดับตั้งแต่ 0-4 ซึ่งสามารถแบ่งได้จากการดูว่า มะเร็งแพร่กระจายไปมากขนาดไหนแล้ว โดยทั่วไปยิ่งโรคมะเร็งอยู่ในระยะแรกมากเท่าไร การรักษาก็สามารถทำได้ง่ายขึ้นมากเท่านั้น รวมถึงผลลัพธ์หลังจากการรักษา การฟื้นตัว และการมีชีวิตรอดของผู้ป่วย
มะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะที่ 4 เป็นระยะที่รุนแรงที่สุด และมีอีกชื่อเรียกว่า “ดุ๊กดี” (Duke’s D) โดยทั่วไปแล้วมะเร็งชนิดนี้จะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเป็นบริเวณใกล้เคียงกับอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ตับกับปอด ก็เป็นอีก 2 อวัยวะหลัก ที่มะเร็งในระยะที่ 4 นี้จะแพร่กระจายไปด้วยเช่นกัน
สารบัญ
การลุกลามของมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4
ลักษณะการลุกลามของมะเร็งลำไส้นั้นไม่ได้ลุกลามง่ายๆ เพราะร่างกายของเรายังมีชั้นเนื้อเยื่อถึง 4 ชั้นที่คอยช่วยป้องกันไม่ให้เนื้อร้ายของมะเร็งออกไปทำลายอวัยวะส่วนอื่นๆ โดยชั้นเนื้อเยื่อดังกล่าวได้แก่
- ชั้นเยื่อเมือก (Mucosa) เป็นชั้นในสุดของท่อทางเดินอาหารที่จะได้สัมผัสกับอาหารที่เรารับประทานโดยตรง
- ชั้นใต้เยื่อเมือก (submucosa) เป็นชั้นที่อยู่ถัดมาจากชั้นเยื่อเมือก และเป็นที่อยู่ของเส้นเลือดฝอย เส้นประสาท ต่อมสร้างน้ำเมือกและน้ำย่อยเข้าสู่ทางเดินอาหาร
- ชั้นกล้ามเนื้อหนา 2 ชั้น การทำงานหลักๆ ของชั้นนี้คือควบคุมการหดและคลายตัวของท่อทางเดินอาหาร ประกอบด้วย
- ชั้นในเซลล์กล้ามเนื้อเป็นวงกลมโดยรอบ (Circular layer)
- ชั้นนอกเซลล์กล้ามเนื้อทอดไปตามยาว (Longitudenal layer)
- ชั้นผิวนอก (Serosa) เป็นชั้นนอกสุดของท่อทางเดินอาหาร
แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าทางเดินอาหารของเราจะมีด่านป้องกันเนื้อร้ายถึง 4 ด่าน แต่มะเร็งก็สามารถหาช่องทางอื่นที่จะแพร่เนื้อร้ายไปสู่ส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้ นั่นคือ ผ่านทางหลอดเลือดกับต่อมน้ำเหลือง และจะแพร่กระจายไปสู่ตับหรือปอดของเราต่อไป
การรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4
การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะที่ 4 นั้นจำเป็นจะต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาอย่างเดียวเท่านั้น โดยวิธีการคือ การตัดส่วนของลำไส้ใหญ่ที่ถูกเนื้อร้ายเกาะกินอยู่ออกมา และต่อส่วนลำไส้ที่ยังดีอยู่เข้าด้วยกันเพื่อให้เหลือเพียงลำไส้ที่ยังแข็งแรงและใช้งานได้เท่านั้น
สำหรับการใช้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy) หรือการฉายแสงรักษา (Radiation) ในการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะที่ 4 นั้น จะต้องขึ้นอยู่กับหลายๆ ปัจจัย เช่น
- การลุกลามไปต่อมน้ำเหลือง (Lymph node involvement)
- ตำแหน่งที่เนื้อร้ายแพร่ไป เช่น ตับ ปอด รังไข่ หรือกระเพาะอาหาร
- ลักษณะการเกาะของเนื้อร้าย
อัตราการมีชีวิตรอดสำหรับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะที่ 4
อัตราการรอดชีวิตผู้ป่วยมะเร็งลำไส้มีหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดที่มีผลต่อการรักษามะเร็งให้หายได้ง่ายขึ้นก็คือ ระยะของโรค แต่ในช่วงหลังมานี้ ได้มีการแสดงตำแหน่งที่อยู่ของเนื้อร้ายที่มีผลต่อการรอดชีวิตด้วย เช่น หากเนื้อร้ายอยู่ที่บริเวณลำไส้ใหญ่ด้านขวา กว่าจะตรวจพบก็อาจต้องใช้เวลานาน เพราะต้องรอเวลาที่อาการจากเนื้อร้ายจะแสดงออกมา
ในประเทศที่ไม่นิยมตรวจคัดกรองเนื้อร้าย ก็จะพบเนื้อร้ายได้ช้าขึ้นไปอีก และการรักษาก็จะล่าช้าออกไปจนเป็นผลให้ความเสี่ยงในการรอดชีวิตน้อยลง
ขณะเดียวกัน ก็ยังมีวิธีการที่ช่วยให้อัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มขึ้นได้ นั่นก็คือ การออกกำลังกาย ซึ่งมีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ระยะที่ 4 มากถึงประมาณ 8-15 % ที่ยังมีชีวิตอยู่หลังได้รับการวินิจฉัยมาแล้วถึง 5 ปี
อย่างไรก็ตาม การเป็นมะเร็งในระยะ 4 ไม่ว่าจะในรูปแบบมะเร็งชนิดใด ก็มีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่อาจยังสูงอยู่ หากคุณคือหนึ่งในผู้ป่วยมะเร็งระยะ 4 คุณอาจลองปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมถึงวิธีการรักษาอื่นๆ ว่าคุณสามารถทำอย่างไรได้บ้างเพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตในมะเร็งที่คุณเป็นอยู่