raising mentally strong kids treatment how to

เปิดทริคสำหรับพ่อแม่! 6 เทคนิคเลี้ยงลูกให้สุขภาพจิตแข็งแรง

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเลี้ยงลูกในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยสิ่งเร้ามากมาย เป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับพ่อแม่ นอกจากต้องเลี้ยงลูกให้มีสุขภาพทางกายแข็งแรงแล้ว พ่อแม่จำเป็นต้องช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตของลูกน้อยให้แข็งแรงไปพร้อมกันด้วย

วันนี้ HDblog รวบรวมเทคนิคเลี้ยงลูกให้สุขภาพจิตแข็งแรงมาฝาก รับรองว่าดีต่อใจลูกน้อย  แน่นอน 

สุขภาพจิตแข็งแรง สำคัญอย่างไรกับลูกน้อย 

สุขภาพจิตเป็นความคิดและและความรู้สึกที่เด็กมีต่อตัวเองและสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมการแสดงออก การใช้ชีวิต ความสามารถในการปรับตัว และการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิต 

การเลี้ยงลูกให้เติบโตมามีสุขภาพจิตแข็งแรง จะทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อตัวเอง มีความรู้สึกที่มั่นคง ส่งผลให้มีทักษะในการปรับตัวเข้าสังคม การเรียนรู้ สามารถจัดการกับความรู้สึก และก้าวข้ามปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้

ในทางกลับกัน เด็กที่เติบโตมาด้วยสุขภาพจิตไม่แข็งแรง ก็มักจะไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีปัญหาด้านพฤติกรรม เช่น อารมณ์รุนแรง สมาธิสั้น เข้ากับเพื่อนไม่ได้ ต้อต้าน วิตกกังวล เป็นต้น 

ลูกน้อยเกรี้ยวกราด อารมณ์ไม่สมวัย กังวลใจเกี่ยวกับอารมณ์ลูก อย่าปล่อยไว้นาน ปรึกษาคุณหมอหรือนักจิตวิทยาเด็ก จองผ่าน HDmall.co.th รับเลยราคาโปร ให้คุณได้ราคาถูกกว่าจองเอง! คลิก

6 เทคนิคเลี้ยงลูกน้อยให้มีสุขภาพจิตแข็งแรง

มาดูกันว่าพ่อแม่ช่วยฝึกลูกน้อยให้มีสุขภาพจิตแข็งแรงได้วิธีไหนบ้าง

1. สุขภาพจิตพ่อแม่ต้องแข็งแรงก่อน

การจะเลี้ยงลูกให้มีสุขภาพจิตที่แข็งแรงได้ พ่อแม่เองก็ต้องไม่มองข้ามและให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองให้มีสุขภาพจิตที่แข็งแรงก่อน 

หากพ่อแม่มีสุขภาพจิตที่ไม่แข็งแรงมั่นคง มีอารมณ์อ่อนไหว ฉุนเฉียวง่าย โกรธง่าย ลูกจะเรียนรู้และซึมซับสิ่งเหล่านั้นโดยที่พ่อแม่อาจจะไม่รู้ตัว 

ในขณะเดียวกันหากพ่อแม่มีสุขภาพจิตที่ดี พ่อแม่ก็สามารถให้ความรัก ความใส่ใจ และความอบอุ่นกับลูก และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกได้

2. เอาใจลูก มาใส่ใจเรา 

พ่อแม่อาจมีความคิดว่าลูกยังเด็ก ยังไม่สามารถคิดอะไรเองได้ หรือคิดไม่รอบคอบ ซึ่งถือว่าเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะจริง ๆ แล้ว เด็กทุกคนมีความคิดเป็นของตัวเอง 

แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย พ่อแม่ก็ควรเคารพในความรู้สึก ไม่ควรมองว่าความรู้สึกของลูกเป็นเรื่องเล็กน้อย และสังเกตอารมณ์ของลูก 

จากนั้นควรแสดงให้ลูกเห็นว่า พ่อแม่เองเข้าใจและรับรู้ในสิ่งที่ลูกกำลังรู้สึก เพื่อให้ลูกรู้สึกปลอดภัย และพร้อมที่เปิดใจคุยถึงเรื่องนั้น ๆ กับพ่อแม่มากขึ้น

3. เป็นผู้ฟังที่ดีของลูก 

พ่อแม่มักจะเคยชินกับการเอาความคิดเห็นและประสบการณ์ส่วนตัวมาใช้พูดกับลูก โดยที่ไม่ได้ฟังว่าสิ่งลูกกำลังจะพูดคืออะไร 

การลองเปลี่ยนบทบาทจากผู้พูดมาเป็นผู้ฟังที่ดีของลูกก่อนบ้าง ไม่เพียงแต่จะเปิดโอกาสให้พ่อแม่ได้รับรู้ พูดคุย และให้คำปรึกษากับลูก ยังเป็นประตูบานสำคัญที่จะทำให้ลูกเปิดใจ และกล้าเล่าเรื่องต่าง ๆ ให้พ่อแม่ฟังในอนาคตด้วย

4. หา SAFE ZONE ให้ลูก

อาจไม่ใช่ทุกครั้งที่ลูกจะกล้าเดินเข้ามาและพูดคุยกับพ่อแม่ตรง ๆ สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือ สังเกตอยู่เสมอว่าลูกกำลังมีปัญหาอยู่หรือไม่ 

อย่าปล่อยให้ลูกต้องเผชิญปัญหาต่าง ๆ ตัวคนเดียว เพราะบางทีหากพ่อแม่เพิกเฉยต่อปัญหาที่ดูเหมือนเล็ก ๆ ในวันนี้ ก็อาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่แก้ได้ยากในวันข้างหน้า 

ถ้าลูกไม่พร้อมคุยกับพ่อแม่ ก็ไม่ควรที่จะบีบบังคับให้ลูกพูด อาจลองหาคนที่เด็กสบายใจที่จะคุยด้วย อาจเป็นคุณปู่คุณย่า คุณครูที่ลูกสนิท หรือจิตแพทย์เด็ก 

ในขณะเดียวกัน พ่อแม่ควรจะแสดงออกและสื่อสารให้ลูกรับรู้ว่า เมื่อไหร่ที่ลูกต้องการ พ่อแม่พร้อมรับฟังเสมอ และจะคอยให้ความช่วยเหลือลูกไม่ว่ากับเรื่องอะไรก็ตาม

5. หากิจกรรมทำร่วมกับลูก

การทำกิจกรรมร่วมกับลูกเป็นหนึ่งในสิ่งที่พ่อแม่อาจมองข้ามไป นอกจากจะได้ใช้เวลาร่วมกับลูกแล้ว ยังเป็นโอกาสที่เรียนรู้ว่าลูกกำลังมีความสนใจเรื่องอะไรอยู่ และจะได้ช่วยส่งเสริมลูกได้ทาง 

ยิ่งไปกว่านั้นในทุกกิจกรรมหรือการเล่น ล้วนช่วยเสริมสร้างความสร้างสรรค์ จินตนาการ การแก้ไขปัญหา และอีกหลายทักษะ ซึ่งเด็กสามารถเอาไปปรับใช้ในชีวิตจริงได้ 

พ่อแม่อาจเริ่มจากการหาเวลาว่าง และให้ลูกได้เป็นคนเลือกว่าอยากจะทำอะไร ซึ่งจะเป็นอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเล่นกีฬา ทำงานศิลปะ ทำอาหาร เดินป่า เที่ยวทะเล โดยพ่อแม่เป็นคนคอยสนับสนุนในทุกกิจกรรม และไม่ลืมที่จะมีส่วนร่วมกับลูกในกิจกรรมนั้นอยู่เสมอ

6. อย่าปล่อยให้ลูกอยู่กับหน้าจอ

เด็กสมัยนี้หันไปทางไหน ก็มีแต่สื่ออิเล็กทรอนิกส์รอบตัวเต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นทีวี คอมพิวเตอร์ มือถือ หรือแท็บเล็ต 

ด้วยความน่าดึงดูดใจของสิ่งเหล่านี้ ทำให้เด็กหลาย ๆ บ้านติดหน้าจอ ส่งผลต่อภาวะทางอารมณ์ เช่น ใจร้อน สมาธิสั้น ตลอดจนยังทำให้ขาดทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นทักษะการสื่อสาร การเข้าสังคม และการเรียนรู้ 

ดังนั้น พ่อแม่ควรจะจำกัดเวลาการใช้สื่อต่าง ๆ เช่น ในเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป ไม่ควรดูทีวีเกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะเดียวกันควรส่งเสริมกิจกรรมทดแทนต่าง ๆ อาจจะเป็นให้ลูกอ่านหนังสือที่สนใจ ทำงานศิลปะ เล่นดนตรี หรือชวนลูกทำกิจกรรมนอกบ้าน 

จะเห็นได้ว่าการเลี้ยงลูกให้มีสุขภาพจิตที่แข็งแรง ไม่ใช่เรื่องยาก สิ่งสำคัญคือ ‘ความใส่ใจ’ พ่อแม่ต้องใส่ใจและเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพจิตที่ดี คอยส่งเสริมในสิ่งที่ลูกต้องการ และจำกัดในสิ่งที่ไม่ดีกับลูก เพราะสุขภาพจิตที่ดี คือการที่ลูกสามารใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข 

เรื่องสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องไกลตัว มีคำถามไม่สบายใจ อย่าเก็บไว้ ลองมาปรึกษากับแพทย์และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญ… HDmall.co.th รวบรวมแพ็คเกจจากหลากหลายโรงพยาบาลและคลินิก ในราคาสุดพิเศษ พร้อมส่วนลดเพียบ! คลิกเลย 

หรือต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจ ทักแอดมินได้เลย

Scroll to Top