Quinethazone / Spironolactone (ควีเนทาโซน / สไปโรโนแลคโตน)

Quinethazone ลดบวมจากสาเหตุ ตับแข็ง หัวใจวาย และโรคไต รวมทั้ง Nephrotic Syndrome ให้ทาง หลอดเลือดดําในผู้ป่วย Acute pulmonary edema และใช้ลดความดันโลหิตสูงด้วย Spironolactone รักษาอาการบวมเนื่องจากหัวใจวาย ตับแข็งหรือกลุ่มอาการ Nephrotic รักษาความดันโลหิตสูง ช่วยวินิจฉัยและรักษา Primary hyperaldosteronism และใช้แก้ไขภาวะพร่องโปแตสเซียม

สารบัญ

Quinethazone

ชื่อสามัญ : Quinethazone

ชื่อการค้า :  Hydromox

ประเภท : ยาขับปัสสาวะ

ข้อบ่งใช้ : ลดบวมจากสาเหตุ ตับแข็ง หัวใจวาย และโรคไต รวมทั้ง Nephrotic Syndrome ให้ทาง หลอดเลือดดําในผู้ป่วย Acute pulmonary edema และใช้ลดความดันโลหิตสูงด้วย

การออกฤทธิ์ : ยับยั้งการดูดกลับของโซเดียมและคลอไรด์ ที่ Ascending limb of Henle’s loop เป็น ส่วนใหญ่ ทําให้ร่างกายเสียโซเดียมและคลอไรด์ออกมากับปัสสาวะจํานวนมาก รวมทั้ง เสียโปแตสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียมด้วย

ผลข้างเคียง : ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว ปริมาณเลือดไหลเวียนลดต่ำผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า ทําให้มีอาการมึนงง สับสน มีอาการของการสูญเสียโซเดียม โปแตสเซียม และ แคลเซียม เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นตะคริว เบื่ออาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังทําให้มี ยูเรียในโตรเจน ครีอะตินิน กรดยูริก และน้ำตาลในเลือดสูง

การพยาบาล

1. เหมือนการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาขับปัสสาวะโดยรวม

2. หากเป็นยาฉีด หลังฉีดยา วัดความดันโลหิตทุก 15 – 30 นาที จนกว่าจะคงที่

3. สังเกตอาการเนื่องจากภาวะขาดน้ำและขาดสมดุลของแร่ธาตุต่างๆ เช่น ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia) มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน แรงดันในสมองสูง ปัสสาวะน้อยหรือไม่มีปัสสาวะ ภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia) มีอาการ กล้ามเนื้ออ่อนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia) มีอาการชัก คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) มีลักษณะ Prolonged QT interval เป็นต้น

4. เก็บยาให้พ้นแสง ใส่ซอง (ขวด) สีชา

Spironolactone

ชื่อสามัญ : Spironolactone

ชื่อการค้า : Aldactone, Altone, Berlactone, Hyles, Pondactone, Spironex

ประเภท : ยาขับปัสสาวะ ชนิด Potassium-sparing

ข้อบ่งใช้ : รักษาอาการบวมเนื่องจากหัวใจวาย ตับแข็งหรือกลุ่มอาการ Nephrotic รักษาความดันโลหิตสูง ช่วยวินิจฉัยและรักษา Primary hyperaldosteronism และใช้แก้ไขภาวะพร่องโปแตสเซียม

การออกฤทธิ์ : ขับปัสสาวะที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมน Aldosterone ยาจะแย่งจับกับ Receptor ของ

ฮอร์โมน เป็นการยับยั้งการทํางานของฮอร์โมนนี้ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการแลกเปลี่ยนโซเดียม และโปแตสเซียมบริเวณท่อไตส่วนปลาย ผลจากการยับยั้งการทํางานของฮอร์โมน Aldosterone ทําให้โปแตสเซียมไม่สามารถแลกเปลี่ยนกับโซเดียมได้ โซเดียมยังค้างอยู่ในท่อไตและถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ เป็นการลด Blood volume และความดันโลหิต

ผลข้างเคียง : เพศหญิงมีประจําเดือนไม่ปกติ มีขนตามร่างกาย ส่วนเพศชายอาจมีเต้านมโตและเจ็บ เสียง

แหลม สมรรถภาพทางเพศลดลง อาการจะหายไปเมื่อหยุดยา อาจเกิดภาวะโปแตสเซียมสูง ทําให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นอันตรายถึงตายได้ และอาจมีอาการแพ้ เช่น ผื่นคัน มีไข้ เป็นต้น

การพยาบาล

1. ให้การพยาบาลเช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ได้รับยาขับปัสสาวะโดยรวม

2. สังเกตอาการของภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย กระสับกระส่าย กล้ามเนื้อไม่มีแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะหัวใจเต้นเร็วและต่อมาช้าลง คลื่นไฟฟ้า หัวใจ T-wave จะแคบ และปัสสาวะออกน้อย

3. แนะนําให้หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีโปแตสเซียมสูง

4. แนะนําผู้ป่วยว่าอาจพบอาการข้างเคียงของยา เช่น เต้านมโตและเจ็บ ประจําเดือนผิดปกติ เป็นต้น ชี้แจงให้ผู้ป่วยทราบว่าอาการเหล่านี้จะหายไปเมื่อหยุดยา

5. สังเกตอาการทางสมอง ก่อนให้ยาทุกครั้ง ในผู้ป่วยโรคตับ เช่น เบื่ออาหารสับสน เป็นต้น

6. สังเกตและตรวจสอบภาวะบวม หากบวมลดลงจะมีน้ำหนักลดลง มีจํานวนปัสสาวะ เพิ่มมากขึ้น

Scroll to Top