ingrown hair on arms and legs treatment how to

มัดรวมวิธีจัดการขนคุดที่แขนและขาให้อยู่หมัด

ขนคุด (Keratosis pilaris) เป็นปัญหาผิวหนังที่เกิดบ่อยบริเวณแขนและขาอ่อนด้านนอก มีลักษณะเป็นตุ่มแข็งขนาดเล็กตามรูขุมขน ทำให้ผิวไม่เรียบเนียน หยาบ สากมือเมื่อสัมผัส หากเกิดการอักเสบอาจกลายเป็นตุ่มแดง คัน 

นอกจากนี้ หลายคนยังเลือกกำจัดขนตามแขนและขาด้วยการโกน การถอน หรือการแว็กซ์ เพราะทำได้ง่าย สะดวก เมื่อทำไม่ถูกวิธีหรือไม่เหมาะสม ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะเกิดขนคุดตามมา แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ต้องกังวลไป มีหลายวิธีช่วยแก้ไขปัญหาขนคุดได้

1. ถอนขนคุด

การถอนขนคุดเป็นวิธีแก้ไขเบื้องต้นง่าย ๆ ไม่ต้องใช้อุปกรณ์เยอะ ใช้แค่แหนบหรืออุปกรณ์ถอนขน ค่อย ๆ เขี้ยเส้นขนให้โผล่แล้วดึงออก แต่ควรทำอย่างเบามือ ถ้ารุนแรงเกินไปอาจเกิดการระคายเคืองหรือการอักเสบตามมาได้ 

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้เหมาะกับการถอนขนคุดที่มีปริมาณไม่มาก และเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุเท่านั้น เพราะขนคุดอาจเกิดขึ้นมาใหม่ซ้ำได้ 

2. สครับผิวหรือขัดผิว

สาเหตุหนึ่งของการเกิดขนคุดที่แขนและขาคือ การอุดตันรูขุมขน การสครับหรือขัดผิวจะช่วยทำความสะอาดรูขุมขน เร่งการผลัดเซลล์ผิวใหม่ ช่วยให้ผิวตรงที่เป็นขนคุดบางลง ทำให้เส้นขนหลุดออกได้ง่าย 

โดยให้สครับผิวบริเวณที่มีปัญหาขนคุดอย่างเบามือมาก ๆ และผิวควรเปียกน้ำเล็กน้อย มิเช่นนั้นอาจเกิดการระคายเคืองผิวมากกว่าเดิม อาจใช้ตัวขัดผิวจากธรรมชาติ อย่างใยบวบ มะขามเปียก หากเป็นสครับสำเร็จรูปขวด ๆ ควรเลือกเม็ดสครับเม็ดเล็ก ไม่ให้บาดผิว 

3. ทาครีมบำรุงผิว

สภาพผิวแห้งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดขนคุดได้เหมือนกัน การทาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ผิวชุ่มชื้น ลดอาการแห้งกร้าน แต่ควรเลือกใช้สูตรอ่อนโยน ไม่อุดตันผิว ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอมหรือน้ำมัน เพื่อป้องกันการระคายเคือง 

นอกจากนี้ สามารถใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของยูเรีย ซึ่งมีบทบาทสำคัญในกระบวนการให้ความชุ่มชื้นของผิว และยังช่วยให้เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วหลุดลอกออก จึงช่วยลดการเกิดขนคุดได้ 

4. เลี่ยงปัจจัยทำให้ผิวแห้ง

ผิวแห้งเป็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดขนคุดที่แขนขาได้มาก จึงควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ผิวแห้งมากขึ้น เช่น การอาบน้ำอุ่นหรือน้ำร้อนที่อุณหภูมิสูงมากเกินไป หรือการอาบน้ำนาน ๆ เกิน 15 นาที แม้จะเป็นน้ำเย็นก็ตาม 

5. ประคบอุ่น

การประคบอุ่นจะช่วยให้รูขุมขนเปิด ขนคุดอ่อนลง ตุ่มนูนบนผิวหนังมีขนาดเล็กลง และช่วยบรรเทาอาการปวดในคนที่มีอาการรูขุมขนอักเสบ โดยให้ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบตรงที่เป็นขนคุดตามแขนและขา

6. ใช้เครื่องเพิ่มความชื้น

ช่วงที่อาการแห้งและเย็นอาจทำให้อาการขนคุดรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่มีอาการคัน ผิวอักเสบ ผิวระคายเคือง สามารถใช้เครื่องทำความชื้น เพื่อช่วยเพิ่มความชื้นในห้อง ทำให้ผิวไม่แห้งกร้านเกินไป

7. ทายารักษาขนคุด 

ขนคุดที่แขนขาอาการไม่รุนแรง ไม่เกิดการอักเสบ สามารถทายาหรือครีมที่มีส่วนผสมของสารผลัดผิว เช่น วิตามินเอ กรดซาลิไซลิก เอเอชเอ (AHA) บีเอชเอ (BHA) สารเหล่านี้จะช่วยผลัดเซลล์ผิว บรรเทาอาการอุดตันของเคราตินในชั้นผิวได้ 

8. ใช้เลเซอร์กำจัดขน

เลเซอร์กำจัดขนจะยิงคลื่นแสงลงในผิวหนัง แล้วเปลี่ยนเป็นความร้อนทำลายรากขน เมื่อทำต่อเนื่องจะช่วยให้ขนขึ้นช้า ขนเส้นเล็กลง และบางลง ตัดปัญหาการเกิดขนคุดไปได้เลย เลเซอร์บางกลุ่มหรือ IPL พลังงานต่ำ ยังช่วยแก้ไขรอยดำ รอยแดง หรือสีผิวที่ไม่สม่ำเสมออันเนื่องมาจากขนคุดได้ด้วย

การทำเลเซอร์กำจัดขนถือเป็นหัตถการที่ช่วยรักษาและป้องกันการเกิดขนคุดได้อยู่หมัด ใช้เวลาไม่นาน เจ็บตัวน้อย แถมยังเป็นวิธีการกำจัดขนได้ดี ตรงจุดกว่าการโกน ถอน และแว็กซ์ขนที่มักทำให้เกิดปัญหาขนคุด

ขนคุดไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงหรืออันตราย การดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม การใช้ยา และการทำเลเซอร์กำจัดขน สามารถจัดการกับขนคุดได้ ทั้งขนคุดที่แขน ที่ขา หรือส่วนอื่นของร่างกาย

ขนคุดกวนใจ ดูแลผิวไม่ไหว ใช้เลเซอร์กำจัดขนสิ ได้ผลไว ดูโปรกำจัดขนคุดแขน ขา ดูแลโดยหมอผิวหนังเฉพาะทาง จองผ่าน HDmall.co.th ตอนนี้ รับโปรพิเศษไปเลย

Scroll to Top