Default fallback image

การแพ้อาหารในเด็ก เรื่องใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อความสุขในมื้ออาหารของลูกน้อย

อาการแพ้อาหารในเด็กอาจรุนแรงมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับของการแพ้และปริมาณอาหารที่ได้รับ ถ้าเด็กเผลอกินอาหารที่แพ้เข้าไป แม้ในปริมาณเล็กน้อย ก็อาจทำให้เกิดอาการที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้

ดังนั้น ผู้ปกครองควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อย เรียนรู้ว่าสิ่งไหนที่กระตุ้นอาการแพ้ รวมถึงรู้จักวิธีป้องกันและรับมืออย่างถูกต้อง หากเกิดอาการรุนแรงจะได้ช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที 

สาเหตุของการแพ้อาหารในเด็ก

สาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดอาการแพ้อาหาร มักเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองผิดปกติหลังจากรับประทานอาหารบางชนิด นอกจากนี้ หากมีสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติแพ้อาหาร เด็กก็อาจมีความเสี่ยงสูงขึ้น เนื่องจากพันธุกรรมสามารถส่งต่อกันได้

อาหารที่เด็กมักแพ้บ่อยมีอะไรบ้าง?

หากพ่อแม่กังวลว่าลูกอาจแพ้อาหาร ควรใส่ใจตรวจสอบส่วนผสมของอาหารที่เด็กได้รับอย่างละเอียด เนื่องจากบางชนิดอาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยทั่วไป อาหารที่มักพบว่าเป็นสาเหตุของอาการแพ้ในเด็กมี 5 ประเภทหลักๆ ได้แก่

  • นมวัว: การแพ้นมวัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในเด็กเล็ก เพราะกระเพาะของเล็กอาจมีปัญหาในการย่อยแลคโตสและโปรตีนในนมวัว ทำให้เด็กไม่สามารถรับโปรตีนได้จากนมวัว ดังนั้น ผู้ปกครองควรเลือกเสริมโปรตีนด้วยนมพืชต่างๆ เช่น นมถั่วเหลือง นมอัลมอนด์ เป็นต้น 
  • ถั่ว: ถั่วก็เป็นอาหารอีกประเภทที่จะพบ การแพ้อาหารในเด็ก ซึ่งถือเป็นอีกแหล่งโปรตีนของร่างกาย โดยถั่วที่มักพบว่าจะก่ออาการแพ้ในเด็กมักเป็นถั่วลิสง ถั่วเปลือกแข็ง เช่น ถั่ววอลนัท ถั่วฮาเซลนัท ถั่วพีแคน เป็นต้น
  • ไข่: เป็นอาหารที่เรียกได้ว่ามักเป็นส่วนผสมที่อยู่ในเมนูหลักและมื้อว่าง รวมถึงมักเป็นอาหารที่พบอาการแพ้ได้ในเด็กอีกด้วย ซึ่งมาจากการแพ้โปรตีนที่อยู่ในไข่นั่นเอง
  • แป้งสาลี: เป็นส่วนผสมที่มักอยู่ในเบเกอรี่และขนมหวานหลากหลายประเภท ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากการแพ้โปรตีนที่อยู่ในแป้งสาลี
  • อาหารทะเล: อาหารทะเลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นแหล่งให้โปรตีนที่ดีอีกประเภท ซึ่งภูมิคุ้มกันของเด็กนั้นสามารถเกิดปฏิกิริยาต่อโปรตีนในเนื้อสัตว์ประเภทนี้ จนก่ออาการแพ้ได้เช่นกัน รวมถึงภายในเนื้อสัตว์เหล่านี้ก็อาจแฝงด้วยสารก่อมะเร็งไว้ด้วย

อาการแพ้อาหารในเด็ก

อาการทางผิวหนัง

อาการที่แสดงหลังจากรับประทานอาหาร ในระดับเบื้องต้นนั้น มักจะมีผลต่อผิวหนังก่อน เช่น การมีผื่นคันที่ผิว หรืออาจเกิดลมพิษขึ้น โดยจะสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนที่สุด

อาการทางระบบทางเดินหายใจ

หากรับประทานอาหารที่แพ้อาการที่แสดงในระบบทางเดินหายใจ มักจะเป็นอาการหอบหืด มีอาการที่ส่งผลกระทบกับหลอดลม หายใจลำบาก มีน้ำมูก มีเสมหะ เจ็บและคันคอ แน่นหน้าอก เป็นต้น

อาการทางระบบทางเดินอาหาร

อาการที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินอาหารนั้นค่อนข้างจะรุนแรง โดยส่วนใหญ่มักจะเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน เป็นต้น ซึ่งเป็นอาการที่สังเกตได้ยาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทราบสาเหตุการเกิดโรคอย่างแน่ชัด

วิธีการตรวจสอบการแพ้อาหารในเด็ก

เมื่อทราบถึงผลกระทบของการแพ้อาหารแล้ว พ่อแม่หรือผู้ปกครองมักให้ความสำคัญกับการตรวจภูมิแพ้อาหาร เพื่อตรวจหาปัจจัยเสี่ยงและวัตถุดิบที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้หลังจากรับประทานเข้าไป ซึ่งวิธีในการตรวจ 2 วิธีที่นิยมใช้ คือ การสะกิดผิวหนัง คือการนำสิ่งที่คาดว่าแพ้มาทดสอบลงบนผิวหนังของเด็ก และอีกวิธี คือตรวจโดยการเจาะเลือด ซึ่งนิยมใช้กับเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน

วิธีการรักษาการแพ้อาหารในเด็ก 

วิธีการในการรักษา หลังจากที่พ่อแม่หรือผู้ปกครองทราบแล้วว่าลูกของท่านมีอาการแพ้ต่ออาหารบางชนิด ทางการแพทย์จะเริ่มรักษาโดยการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายให้ทำงานดีขึ้น ด้วยการให้รับประทานอาหารที่ผู้ป่วยแพ้ทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลายาวนานพอสมควร จนกว่าร่างกายจะสามารถปรับตัวได้

วิธีการป้องกันการแพ้อาหารในเด็ก 

หากคุณต้องการป้องกันไม่ให้อาการแพ้อาหารเกิดขึ้นกับเด็ก สามารถทำได้โดยการตรวจสอบอาหารที่มีส่วนประกอบของวัตถุดิบที่เสี่ยงทำให้เด็กแพ้ หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กรับประทานอาหารเหล่านั้น รวมถึงตรวจสอบอาหารที่อาจมีส่วนประกอบแฝงของอาหารที่เด็กแพ้ด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ให้เด็กได้รับสารก่ออาการนั่นเอง

ดูแลลูกน้อยให้ปลอดภัยจากอาการแพ้อาหาร เช็กแพ็กเกจตรวจภูมิแพ้อาหารสำหรับเด็ก จากคลินิกและโรงพยาบาลชั้นนำในราคาพิเศษที่ HDmall.co.th คลิกเลย

Scroll to Top