12 เรื่องที่คนอยากรู้และเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตรวจร่างกายก่อนทำ IUI IVF และ ICSI scaled

12 เรื่องที่คนอยากรู้และเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตรวจร่างกายก่อนทำ IUI, IVF และ ICSI

หากคุณและคนรักแต่งงานกันมานานแล้ว แต่ยังไม่มีลูกสักที และอยากตรวจร่างกายเพื่อเช็กภาวะมีบุตรยาก เพื่อที่จะได้วางแผนรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธี IUI, IVF หรือ ICSI ลองอ่านบทความนี้ เรารวบรวมเรื่องที่คนส่วนใหญ่อยากรู้และเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตรวจร่างกายมาไว้ให้แล้ว

เรื่องที่คนอยากรู้เกี่ยวกับการตรวจร่างกายก่อนทำ IUI, IVF และ ICSI

สารบัญ

1. เมื่อไหร่ที่ควรตรวจภาวะมีบุตรยาก

ตอบ: 

  • คู่แต่งงานที่อายุไม่ถึง 35 ปี มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ โดยไม่ได้คุมกำเนิด ในระยะ 1 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีบุตร
  • คู่แต่งงานที่ฝ่ายหญิงมีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมอ โดยไม่ได้คุมกำเนิด ในระยะ 6 เดือน แล้วยังไม่มีบุตร

2. การตรวจร่างกายก่อนทำ IUI, IVF และ ICSI ต้องตรวจอะไรบ้าง

ตอบ: สำหรับผู้หญิง แพทย์จะตรวจเลือด เพื่อหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หมู่เลือด และโรคต่างๆ ตรวจระดับฮอร์โมนในเลือด และตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด เพื่อหาความผิดปกติของมดลูกและรังไข่

ส่วนผู้ชายจะตรวจเลือด เพื่อหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด หมู่เลือด และโรคต่างๆ ตรวจระดับฮอร์โมนในเลือด และตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ เพื่อประเมินปริมาณและคุณภาพของตัวอสุจิ

3. ก่อนตรวจร่างกายต้องเตรียมตัวอย่างไร

ตอบ: การเตรียมตัวก่อนรับบริการตรวจร่างกายเพื่อทำ IUI, IVF และ ICSI มีดังนี้

  • ไม่ต้องงดเครื่องดื่มและอาหาร
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
  • งดบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดทุกชนิด ก่อนตรวจสุขภาพอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • ควรปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนตรวจ
  • สำหรับผู้ชายควรงดมีเพศสัมพันธ์และหลั่งอสุจิอย่างน้อย 2-3 วันก่อนรับการตรวจ แต่ไม่ควรเกิน 7 วัน
  • สำหรับผู้หญิงงดการมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 1 วัน ก่อนตรวจ งดสวนล้างช่องคลอด หรือใช้ยาเหน็บทางช่องคลอดอย่างน้อย 2 วัน ก่อนตรวจ หากมีการตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอด ควรตรวจหลังประจำเดือนหมดแล้วอย่างน้อย 3 วัน

ค้นหาโปรแกรมตรวจร่างกายก่อนทำ IUI, IVF และ ICSI รายการตรวจครบ ราคาดี ถามแอดมินใจดี ตอบไว ช่วยเลือกแพ็กเกจที่ตรงใจที่สุดให้คุณ ทักหาเราได้เลย

4. การตรวจ AMH สำคัญอย่างไร

ตอบ: การตรวจฮอร์โมนแอนตี้มูลเลอเรียน (Anti-Mullerian Hormone: AMH) เป็นหนึ่งในรายการตรวจฮอร์โมนในเลือดที่มีความสำคัญ เพราะฮอร์โมนชนิดนี้เป็นตัวบ่งบอกถึงความสามารถในการทำงานของรังไข่ และบอกจำนวนไข่ที่สามารถผลิตได้ในขณะนั้น

การตรวจวัดระดับฮอร์โมน AMH นอกจากจะช่วยให้แพทย์ประเมินโอกาสในการตั้งครรภ์ได้แล้ว ยังสามารถแนะนำแนวทางที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ พร้อมทั้งวิเคราะห์ว่า รังไข่จะสามารถตอบสนองการกระตุ้นไข่ด้วยยาที่ใช้มากแค่ไหน และควรใช้ยาในปริมาณมากน้อยแค่ไหนได้ด้วย

5. การตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอดคืออะไร เจ็บไหม

ตอบ: การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องคลอด คือ การตรวจเช็กความผิดปกติของมดลูกและรังไข่ผ่านทางช่องคลอด  ด้วยเครื่องอัลตราซาวด์ โดยแพทย์จะใช้หัวตรวจอัลตราซาวด์สอดเข้าไปทางช่องคลอด จากนั้นแพทย์จะวิเคราะห์ภาพที่แสดงออกมาทางจอมอนิเตอร์

การตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอดเป็นวิธีการที่ปลอดภัย ใช้เวลาตรวจไม่นาน และที่สำคัญคือไม่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดใดๆ

6. ผู้ชายควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนมาตรวจอสุจิ

ตอบ: ผู้ที่จะเข้ารับการตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ หรือตรวจอสุจิ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สบาย ไม่วิตกกังวลหรือเครียด นอกจากนี้ควรงดสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และควรงดการมีเพศสัมพันธ์หรือหลั่งอสุจิอย่างน้อย 2-7 วัน เพื่อให้มีจํานวนน้ำเชื้อมากที่สุด

7. การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ สามารถวิเคราะห์อะไรได้บ้าง

ตอบ: การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อจะสามารถดูปริมาณตัวอสุจิในน้ำเชื้อ ความเร็วในการเคลื่อนไหวของอสุจิ ขนาด รูปร่าง และความสมบูรณ์ของอสุจิ

หลังการตรวจวิเคราะห์ แพทย์จะอธิบายผลการตรวจให้ผู้รับบริการฟัง หากผลลัพธ์ที่ได้นั้นไม่ปกติ แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม เพื่อดูว่ามีปัญหาใดๆ หรือไม่ และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

8. การตรวจการแตกหักของ DNA ในอสุจิมีข้อดีอย่างไร

ตอบ: การตรวจ Sperm DNA Fragmentation Index (DFI) หรือการตรวจการแตกหักของ DNA ในอสุจิ จะช่วยเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ได้มากยิ่งขึ้น เพราะช่วยให้แพทย์วิเคราะห์ความผิดปกติของตัวอสุจิ หาสาเหตุของการมีลูกยากได้อย่างแม่นยำ และเลือกเทคนิคในการรักษาผู้มีบุตรยากได้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น 

9. หลังจากตรวจร่างกายแล้ว จะรู้ผลเมื่อไหร่

ตอบ: ระยะเวลารอรับผลตรวจร่างกายเพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที โดยแพทย์จะเป็นผู้แจ้งผลให้ทราบ ยกเว้นผลตรวจธาลัสซีเมียและความเข้มข้นของเลือด เจ้าหน้าที่จะแจ้งผลให้ทราบภายในระยะเวลาประมาณ 2-3 วันหลังรับบริการ

ยังลังเลใช่ไหม ไม่รู้ว่าควรรักษาภาวะผู้มีบุตรยากด้วยวิธีไหนดี ไม่แน่ใจว่า วิธีไหนจะเพิ่มโอกาสท้องได้ดีที่สุด นัดคุยกับคุณหมอเฉพาะทาง ผ่านทีม HDcare สะดวกรวดเร็ว ทันใจ หาแพ็กเกจราคาดีใกล้คุณได้ ที่นี่

สิ่งที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตรวจร่างกายก่อนทำ IUI, IVF และ ICSI

10. การตรวจภาวะมีบุตรยาก ควรทำหลังจากแต่งงานเท่านั้นใช่ไหม

ตอบ: การตรวจภาวะมีบุตรยากสามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนแต่งงาน หากตรวจพบภาวะมีบุตรยาก หรือมีความเสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยาก จะได้รีบแก้ไขหรือวางแผนสำหรับการมีบุตรในเวลาที่เหมาะสม 

11. ผู้ชายที่แข็งแรง รักษาสุขภาพเสมอ ไม่จำเป็นต้องตรวจอสุจิใช่หรือเปล่า

ตอบ: แม้ว่าร่างกายภายนอกจะแข็งแรง แต่ก็ไม่ได้แปลว่า อสุจิจะมีความแข็งแรงพร้อมสำหรับปฏิสนธิเสมอไป ในบางครั้งโรคประจำตัว หรือไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตบางอย่าง อาจส่งผลเสียต่อคุณภาพตัวอสุจิได้ เช่น โรคตับ โรคไต โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือมีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในอดีต ดังนั้น ผู้ชายจึงจำเป็นต้องรับการตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ เพื่อวางแผนรักษาภาวะมีบุตรยากอย่างเหมาะสม

12. ถ้าฝ่ายชายตรวจน้ำเชื้อแล้วพบว่า ไม่มีตัวอสุจิ อสุจิไม่แข็งแรง แปลว่ามีลูกไม่ได้แล้วใช่ไหม

ตอบ: แม้ว่าฝ่ายชายจะตรวจพบว่า น้ำเชื้อไม่มีตัวอสุจิ หรืออสุจิไม่แข็งแรง ก็ยังสามารถจะมีลูกได้ โดยแพทย์จะตรวจหาสาเหตุที่แน่ชัดก่อน จากนั้นจึงจะเริ่มวางแผนการรักษา โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธี PESA ซึ่งเป็นการใช้เข็มเจาะไปที่พักของอสุจิ หรือไม่ก็วิธี TESE ซึ่งเป็นการผ่าตัดเอาอสุจิออกจากเนื้ออัณฑะ ควบคู่ไปกับการทำ ICSI

จะเห็นว่า การตรวจร่างกายก่อนทำ IUI, IVF และ ICSI สะดวก ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาไม่นานก็รู้ผล ดังนั้น หากคุณกำลังสงสัยว่าตัวเองมีภาวะมีบุตรยาก และอยากวางแผนรักษา รีบชวนคนรักไปตรวจร่างกายกันเลย

ยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมใช่ไหม? ไม่รู้จะถามใครดี ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจตรวจคัดกรองภาวะมีบุตรยาก จาก ร.พ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

Scroll to Top