gastrectomy sleeve bypass treatment process

ผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส คืออะไร เหมาะกับใคร

ใครกำลังประสบปัญหา ภาวะน้ำหนักเกิน คุณหมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคอ้วน พยายามลดด้วยตัวเองหลายวิธี แต่ไม่ได้ผล การผ่าตัดกระเพาะอาจเป็นคำตอบสำหรับคุณ โดยเฉพาะ การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส ที่จากสถิติพบว่า หลังผ่าตัดช่วยให้น้ำหนักส่วนเกินของผู้ผ่าตัดลดลงได้ 80-90% ภายใน 4 ปี ซึ่งถือว่ามากกว่าการผ่าตัดกระเพาะรูปแบบอื่นๆ 

การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส คืออะไร มีขั้นตอนอย่างไร ใครที่ผ่าตัดวิธีนี้ได้บ้าง บทความนี้มีคำตอบ

การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส คืออะไร?

ผ่าตัดกระเพาะแบบบายสลีฟ พลัส บายพาส (Laparoscopic Sleeve Gastrectomy Plus Proximal Jejunal Bypass) คือ การผ่าตัดปรับแต่งทางเดินอาหารส่วนกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก เพื่อให้ร่างกายผู้รับการผ่าตัดรับอาหารได้น้อยลง ช่วยได้สามารถลดน้ำหนักอย่างได้ผล โดยเทคนิคนี้เป็นการรวมข้อดีของการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ กับ การผ่าตัดกระเพาะแบบายพาส เข้าด้วยกัน

เทคนิคผ่าตัดนี้ประกอบด้วยการผ่าตัดกระเพาะกับการตัดต่อลำไส้เล็กส่วนเจจูนัม (Jejunum)

ส่วนกระเพาะนั้นจะผ่าเหมือนกับผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ คือตัดส่วนกระพุ้งกระเพาะ ซึ่งเป็นบริเวณผลิตฮอร์โมนทำให้เกิดความรู้สึกหิว ออกไป จนกระเพาะเหลือเป็นลักษณะเรียวยาว คล้ายผลกล้วย 

ส่วนลำไส้เล็กจะถูกตัดต่อ ทำให้อาหารออกจากกระเพาะแล้วข้ามลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งเป็นส่วนที่ดูดซึมอาหารมากที่สุด ไปยังลำไส้เล็กส่วนกลางเลย

วิธีนี้ช่วยลดน้ำหนักส่วนเกิน ของผู้รับการผ่าตัดลงได้ราว 80-90% ภายใน 4 ปี ถือว่าลดน้ำหนักได้มากกว่าการผ่าตัดกระเพาะแบบอื่นๆ

8 วิธีรักษาโรคอ้วน ด้วยตัวช่วยทางการแพทย์ บายสลีฟ พลัส บายพาส 1 scaled

คลิกที่นี่เพื่อดูภาพขนาดใหญ่

การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส เหมาะกับใคร?

การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาสเหมาะกับผู้เป็นโรคอ้วนระยะรุนแรง ซึ่งพยายามลดน้ำหนักด้วยวิธีอื่นๆ แล้วไม่ได้ผล โดยทั่วไปมักพิจารณาให้ผ่าตัดกระเพาะในผู้ป่วยโรคอ้วนที่มีค่า BMI ตั้งแต่ 40 ขึ้นไป หรือมีค่า BMI ตั้งแต่ 35-39.9 ร่วมกับมีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับความอ้วน เช่น เบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง เป็นโรคลมหลับชนิดรุนแรง

ในบางกรณี ผู้ที่มีค่า BMI ระหว่าง 30-34 ก็อาจรับการผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาสได้ ถ้ามีปัญหาสุขภาพซึ่งเกี่ยวข้องกับน้ำหนักแทรกซ้อนอย่างรุนแรงขึ้นอยู่กับแพทย์เป็นผู้พิจารณา

ข้อดีของการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส

การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส เป็นวิธีที่จะทำให้น้ำหนักลดได้จริง และให้ผลระยะยาว โดยเมื่อผ่าตัดกระเพาะให้เล็กลงแล้ว ร่างกายจะรับอาหารได้น้อยลง และผลจากการตัดต่อทางลำไส้เล็กก็จะทำให้อาหารที่เรารับประทาน ข้ามจาก ลำไส้เล็กส่วนต้น ไปยัง ลำไส้เล็กส่วนกลาง เลย กล่าวอีกอย่างคือทำให้ทางเดินอาหารสั้นลง สารอาหารจึงถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายน้อยลงไปด้วย

การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ VS การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส

เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส สามารถลดน้ำหนักได้มากกว่า เนื่องจากมีการตัดต่อลำไส้เล็กร่วมด้วย ร่างกายจึงดูดซึมอาหารได้น้อยกว่า

การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส VS การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส

เมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส ถือว่ามีความเสี่ยงเกิดแผลบริเวณรอยผ่าตัดน้อยกว่า เนื่องจากใช้วิธีการตัดต่อลำไส้เล็กให้เชื่อมกันเอง ต่างจากการตัดกระเพาะแบบบายพาสที่ใช้เทคนิคผ่าตัดเชื่อมกระเพาะกับลำไส้เล็ก 

นอกจากนี้ผู้รับการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส ยังสามารถรับการตรวจส่องกล้องทางเดินอาหารเพื่อดูรอยโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง ได้ด้วย

ในขณะที่ผู้รับการผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาสจะไม่สามารถทำได้แล้ว และเนื่องจากการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส ไม่ได้ตัดส่วนหูรูดกระเพาะอาหารทิ้งไปเหมือนการผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส จึงไม่ทำให้เกิดกลุ่มอาการ Dumping Syndrome หลังผ่าตัด (อาการท้องเสีย หน้ามืด คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น ซึ่งเกิดจากอาหารถูกระบายออกจากกระเพาะเข้าสู่ลำไส้เล็กเร็วเกินไป) 

ข้อดีอีกประการของการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาสที่เหนือกว่าการผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส คือ ผู้รับการผ่าตัดจะมีปัญหาขาดสารอาหารหรือวิตามินน้อยกว่า เนื่องจากการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟพลัสบายบาสจะเหลือพื้นที่กระเพาะและลำไส้เล็กสำหรับดูดซึมอาหารมากกว่านั่นเอง 

ข้อจำกัดของการผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส

การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส มักมีข้อจำกัดในผู้ป่วยกลุ่มต่อไปนี้

  • ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรืออยู่ระหว่างให้นมบุตร หรือมีแผนจะตั้งครรภ์
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งจะทำให้การผ่าตัดมีความเสี่ยงจะเกิดอันตรายได้มากกว่าคนทั่วไป เช่น เป็นโรคหัวใจรุนแรง มีภาวะเลือดแข็งตัวช้า เป็นต้น
  • ผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน เนื่องจากการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาสมักทำให้อาการกรดไหลย้อนรุนแรงขึ้น
  • ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตใจ ซึ่งจำเป็นต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการผ่าตัดกระเพาะจะทำให้การดูดซึมยาเปลี่ยนแปลงไป อาจมีผลต่อการรักษาภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่

ผลข้างเคียงของการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส

การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส เป็นเทคนิคที่ใหม่กว่าการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ และการผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส แต่โดยทั่วไปแล้วถือเป็นเทคนิคที่ปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการผ่ากระเพาะทำให้ร่างกายผู้ป่วยรับอาหารได้น้อยลง น้ำหนักลดลง อย่างทันทีทันใด ดังนั้นในช่วง 3-6 เดือนแรกหลังจากผ่าตัดจึงอาจเกิดผลข้างเคียงต่อไปนี้

ขั้นตอนการรักษาโรคอ้วน ด้วยการผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส

  1. วิสัญญีแพทย์จะทำการวางยาสลบผู้ป่วย
  2. เมื่อยาสลบออกฤทธิ์แล้ว แพทย์จะเจาะรูขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร 1 รู ที่ผิวหนังหน้าท้องผู้ป่วย จากนั้นจะอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปในรูนั้น เพื่อขยายพื้นที่ภายในช่องท้อง ทำให้การผ่าตัดสะดวกขึ้น
  3. แพทย์เจาะรูเพิ่ม 3-4 รู เพื่อเป็นช่องทางใส่เครื่องมือผ่าตัด รวมถึงกล้องส่องอวัยวะภายในที่มีกำลังขยายสูง เข้าไปทำการผ่าตัดกระเพาะ 
  4. แพทย์จะตัดกระเพาะอาหารส่วนกระพุ้ง ซึ่งมีความจุประมาณ 85% ออก จากนั้นทำการผ่าตัดบายพาสลำไส้เล็กเจจูนัมส่วนต้น แล้วจึงนำมาต่อกับลำไส้เล็กส่วนกลาง
  5. แพทย์ทำการตรวจดูรอยแผล และทำการทดสอบการรั่วของกระเพาะและลำไส้ด้วยวิธีเป่าลม เมื่อแน่ใจว่าการผ่าตัดและเย็บแผลเรียบร้อยดีแล้ว จะนำเครื่องมือต่างๆ ออกทางรูช่องท้องที่เจาะเปิดไว้ จากนั้นเย็บปิดแผลที่ผิวหนัง

การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส มักใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง หลังผ่าตัดแพทย์จะให้ผู้ป่วยพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 2 คืน เพื่อสังเกตอาการหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น เมื่อเห็นว่าการผ่าตัดได้ผลดี ไม่มีอาการแทรกซ้อน จึงให้กลับไปพักฟื้นต่อที่บ้าน

การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ พลัส บายพาส เป็นหนึ่งในเทคนิคการผ่าตัดกระเพาะที่จะช่วยผู้เป็นโรคอ้วนหรือผู้มีน้ำหนักเกินระยะรุนแรง ให้ลดน้ำหนักอย่างได้ผล ไม่กลับมาอ้วนอีก มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น เคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกขึ้น ประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้คล่องแคล่วขึ้น

นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาหรือรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักเกินได้ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคลมหลับ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหลอดเลือดสมอง รวมไปถึงปัญหามีบุตรยากที่มีสาเหตุมาจากน้ำหนักตัว

อย่างไรก็ตาม ผู้รับการผ่าตัดกระเพาะ ไม่ว่าเทคนิคใดก็ตาม จำเป็นต้องได้รับการตรวจพิจารณาจากแพทย์เสียก่อน เนื่องจากเมื่อผ่าตัดลดขนาดกระเพาะด้วยเทคนิคนี้แล้ว จะไม่สามารถซ่อมแซมให้กระเพาะกลับมามีความจุเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นได้ 

ทั้งยังต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพไปในระยะยาว เช่น อาจต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจติดตามเป็นระยะ ต้องรับวิตามินเสริมทดแทนสารอาหารที่รับได้น้อยลง ดังนั้นควรสอบถามแพทย์ถึงผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น ข้อปฏิบัติที่ต้องทำหลังผ่าตัด และระยะเวลาที่ต้องทำตามข้อปฏิบัติเหล่านั้นอย่างละเอียด เพื่อจะได้ข้อมูลครบถ้วน รอบด้าน ก่อนตัดสินใจผ่าตัด

ผ่าตัดกระเพาะ เป็นวิธีรักษาโรคอ้วนที่ดีที่สุดจริงมั้ย? เทคนิคบายพาสเหมาะกับเราหรือเปล่า หรือควรพิจารณาเทคนิคอื่นๆ อยากขอความเห็นที่สองจากคุณหมอเฉพาะทาง เพื่อเลือกวิธีรักษาที่เหมาะกับเรามากที่สุด ติดต่อทีม HDcare ช่วยทำนัดเข้าปรึกษาคุณหมอ ดูแลกันตั้งแต่ต้นจบ ทำให้การผ่าตัดไม่ยุ่งยากและไม่น่ากลัวอย่างที่คิด คลิกเลย

Scroll to Top