เมื่อพูดถึงเชื้อไวรัสฮิวแมนแพพพิวโลมา (Human Papillomavirus) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “เชื้อไวรัส HPV” หลายคนจะต้องรู้จักกันดี เพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ในหญิงไทย รองจากมะเร็งเต้านม
มีคำถามเกี่ยวกับ ฉีดวัคซีน HPV? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ
เชื้อไวรัส HPV เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อได้ง่ายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือว่าปาก ก็สามารถติดเชื้อได้ทั้งหมด
แม้ว่าจะป้องกันด้วยถุงยางอนามัยแล้วก็ตาม แต่การใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่ได้ป้องกัน 100 % เพราะอาจมีการสัมผัสสารคัดหลั่งบริเวณอื่นได้ ดังนั้น การฉีดวัคซีน HPV จึงเป็นการป้องกันต่อการติดเชื้อ HPV ชนิดสำคัญได้
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายเรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสและการฉีดวัคซีน HPV ซึ่งในบทความนี้ HDmall.co.th จะมาช่วยเผยข้อเท็จจริงที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ HPV กัน จะน่าสนใจแค่ไหน ไปดูกันเลย!
สารบัญ [show]
เข้าห้องน้ำสาธารณะ เสี่ยงติดเชื้อไวรัส HPV จริงไหม?
เราสามารถพบเชื้อไวรัส HPV ได้ในสถานที่ทั่วไป รวมถึงห้องน้ำสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณกลอนประตู ฝานั่ง ตัวชักโครก ปุ่มกดน้ำชักโครก หรือก๊อกน้ำ แต่การสัมผัสเพียงเล็กน้อยก็มีโอกาสน้อยมากๆ ที่เชื้อไวรัส HPV จะเข้าสู่ร่างกายหรือช่องคลอดได้
อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยและลดโอกาสการติดเชื้อไวรัส HPV ให้ได้มากที่สุด แนะนำให้ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำและล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำเสร็จ
มีแฟนคนเดียวควรฉีดวัคซีน HPV ไหม?
แม้ว่าจะมีแฟนเพียงคนเดียว แต่ก็ยังมีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส HPV อยู่ เนื่องจากแฟนของเราอาจเคยได้รับเชื้อมาก่อน ดังนั้นคนที่มีแฟนแล้วจึงควรฉีดวัคซีน HPV เช่นกัน เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อซ้ำ รวมถึงลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มทั้งสายพันธุ์ที่เคยติดแล้วและสายพันธุ์อื่นๆ ด้วย
สำหรับคำแนะนำในการฉีดวัคซีน HPV ในผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ควรได้รับวัคซีน HPV ครบ 3 เข็ม โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนในเดือนที่ 0, 2 และ 6 ตามแผนการฉีด
อีกทางเลือกหนึ่งในผู้ที่มีอายุ 9-14 ปี สามารถรับวัคซีน HPV โดยการฉีดเพียงแค่ 2 เข็ม โดยควรฉีดเข็มที่ 2 ภายในช่วงระหว่าง 5 และ 13 เดือน หลังจากเข็มแรก หากจำเป็นต้องฉีดเข็มที่สองก่อน 5 เดือนหลังจากเข็มแรก ควรพิจารณาฉีดเข็มที่ 3 ด้วยเสมอ ทั้งนี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับวัคซีนที่เหมาะสมกับตัวท่าน
ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน จำเป็นต้องฉีดวัคซีน HPV ไหม?
ผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ควรฉีดวัคซีน HPV เนื่องจากการฉีดวัคซีน HPV ในช่วงที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์หรือยังไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน จะทำให้ได้รับประโยชน์จากวัคซีนและช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ควรตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส HPV ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันไหม?
ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส HPV ก่อนฉีดวัคซีน แต่ถึงอย่างไร ผู้หญิงทุกคนก็ควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้รู้สุขภาพของตัวเองและสามารถรับมือกับโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
มีคำถามเกี่ยวกับ ฉีดวัคซีน HPV? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ
แต่งงานแล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน HPV จริงไหม?
ไม่จริง เพราะเชื้อไวรัส HPV สามารถติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ตราบใดที่เรายังมีเพศสัมพันธ์ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัส HPV อยู่ เพราะฉะนั้นการฉีดวัคซีน HPV จะช่วยเป็นเกราะป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ยังไม่เคยติดได้
ผู้หญิงตั้งครรภ์ ฉีดวัคซีน HPV ได้ไหม?
ไม่แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฉีดวัคซีน HPV และควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ในระหว่างการฉีดวัคซีน HPV เนื่องจากยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของการรับวัคซีน HPV ในช่วงตั้งครรภ์อย่างเพียงพอ
อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจฉีดวัคซีน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์
มะเร็งปากมดลูก ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ไหม?
“มะเร็งปากมดลูก” ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์เหมือนกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ แต่มีสาเหตุสำคัญมาจากการติดเชื้อไวรัสที่เรียกว่า HPV (Human Papillomavirus)
โดยการติดเชื้อ HPV พบบ่อยที่สุดในผู้หญิงช่วงอายุ 18-28 ปี หรือผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว แต่เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้จะใช้เวลานานนับ 10 ปีกว่าจะแสดงอาการของโรค ทำให้มักพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 35-50 ปี
เป็นอย่างไรกันบ้างกับคำถามที่หลายคนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับเชื้อไวรัส HPV และวัคซีน HPV ที่ HDmall.co.th ได้รวบรวมมาในบทความนี้
หวังว่าจะช่วยให้คุณรู้จักกับเชื้อไวรัส HPV มากขึ้น สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีน HPV และดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม เพื่อที่จะได้ห่างไกลจากโรคร้ายแรงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสตัวร้ายชนิดนี้
เช็กราคาฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบผ่านเว็บไซต์ HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแอดมิน ทักไลน์ @hdcoth
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ @hdcoth
ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน
มีคำถามเกี่ยวกับ ฉีดวัคซีน HPV? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ