รวมคำถามที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ HPV


รวมคำถามที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ HPV

สรุปการรีวิว

ขยาย

ปิด

  • วัคซีน HPV สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป โดยผู้ที่ฉีดวัคซีน HPV หลังอายุ 15 ปี จะฉีดทั้งหมด 3 เข็ม และฉีดวัคซีนเข็มที่สองหลังจากฉีดเข็มแรกไปแล้ว 6 เดือน
  • ผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน แนะนำปรึกษาเเพทย์ เกี่ยวกับความเหมาะสมของการฉีดวัคซีน HPV เนื่องจากการฉีดวัคซีนในช่วงที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์จะทำให้ได้รับประโยชน์จากวัคซีนและป้องกันโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ก่อนฉีดวัคซีน HPV ไม่จำเป็นต้องตรวจหาเชื้อ HPV แต่อย่างไรก็ตาม แม้ได้รับวัคซีนแล้ว ผู้หญิงที่ถึงวัยจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ควรมาเข้ารับการตรวจตามปกติ
    • ฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบได้ที่ HDmall.co.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับแอดมิน ทักไลน์ @hdcoth

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

  • มีแฟนคนเดียวควรฉีดวัคซีน HPV ไหม?
  • เข้าห้องน้ำสาธารณะ เสี่ยงติดเชื้อไวรัส HPV จริงไหม?
  • ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน จำเป็นต้องฉีดวัคซีน HPV ไหม?
  • ควรตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส HPV ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันไหม?
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ ฉีดวัคซีน HPV ได้ไหม?
  • แต่งงานแล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน HPV จริงไหม?
  • มะเร็งปากมดลูก ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ไหม?
  • บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

  • เมื่อพูดถึงเชื้อไวรัสฮิวแมนแพพพิวโลมา (Human Papillomavirus) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “เชื้อไวรัส HPV” เชื่อว่าหลายคนจะต้องรู้จักกันดี เพราะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 2 ในหญิงไทย รองจากมะเร็งเต้านม

    โดยเชื้อไวรัส HPV เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อกันได้ง่ายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ผ่านทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือว่าปาก ก็สามารถติดเชื้อได้ทั้งหมด

    ถึงแม้จะป้องกันด้วยถุงยางอนามัยแล้วก็ตาม แต่การใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่ได้ป้องกัน 100 % เพราะอาจจะมีการสัมผัสสารคัดหลั่งบริเวณอื่นๆ ได้ ดังนั้น การฉีดวัคซีน HPV จึงเป็นการป้องกันต่อการติดเชื้อ HPV ชนิดสำคัญได้

    อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายเรื่องที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสและการฉีดวัคซีน HPV ซึ่งในบทความนี้ HDmall.co.th จะมาช่วยเผยข้อเท็จจริงที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับ HPV กัน จะน่าสนใจแค่ไหน ไปดูกันเลย!

    มีแฟนคนเดียวควรฉีดวัคซีน HPV ไหม?

    ถึงแม้จะมีแฟนเพียงคนเดียว แต่ก็ยังมีความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส HPV อยู่ เนื่องจากแฟนของเราอาจเคยได้รับเชื้อมาก่อน ดังนั้นคนที่มีแฟนแล้วจึงควรฉีดวัคซีน HPV เช่นกัน เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อซ้ำ รวมถึงลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มทั้งสายพันธุ์ที่เคยติดแล้วและสายพันธุ์อื่นด้วย

    สำหรับคำแนะนำในการฉีดวัคซีน HPV ในผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ควรได้รับวัคซีน HPV ครบ 3 เข็ม โดยแนะนำให้ฉีดวัคซีนในเดือนที่ 0, 2 และ 6 ตามแผนการฉีด

    อีกทางเลือกหนึ่งในผู้ที่มีอายุ 9-14 ปี สามารถรับวัคซีน HPV โดยการฉีดเพียงแค่ 2 เข็ม โดยควรฉีดเข็มที่ 2 ภายในช่วงระหว่าง 5 และ 13 เดือน หลังจากเข็มแรก หากจำเป็นต้องฉีดเข็มที่สองก่อน 5 เดือนหลังจากเข็มแรก ควรพิจารณาฉีดเข็มที่ 3 ด้วยเสมอ

    ทั้งนี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับวัคซีนที่เหมาะสมกับตัวท่าน

    เข้าห้องน้ำสาธารณะ เสี่ยงติดเชื้อไวรัส HPV จริงไหม?

    เราสามารถพบเชื้อไวรัส HPV ได้ในสถานที่ทั่วไป รวมถึงตามห้องน้ำสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณกลอนประตู ปุ่มกดน้ำชักโครก ฝานั่ง ตัวชักโครก หรือก๊อกน้ำ แต่การสัมผัสเพียงเล็กน้อยก็มีโอกาสน้อยมากๆ ที่เชื้อไวรัส HPV จะเข้าสู่ร่างกายหรือช่องคลอดได้

    อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยและลดโอกาสการติดเชื้อไวรัส HPV ให้ได้มากที่สุด ก็แนะนำให้ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำเสร็จ

    ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน จำเป็นต้องฉีดวัคซีน HPV ไหม?

    ผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ควรฉีดวัคซีน HPV เนื่องจากการฉีดวัคซีน HPV ในช่วงที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์หรือยังไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน จะทำให้ได้รับประโยชน์จากวัคซีนและช่วยป้องกันโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ควรตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส HPV ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันไหม?

    ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัส HPV ก่อนฉีดวัคซีน แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี เพื่อที่จะได้รู้สุขภาพของตัวเองและสามารถรับมือกับโรคร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที

    ผู้หญิงตั้งครรภ์ ฉีดวัคซีน HPV ได้ไหม?

    ไม่แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์เข้ารับการฉีดวัคซีน HPV และควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ในระหว่างการฉีดวัคซีน HPV เนื่องจากยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของการรับวัคซีน HPV ในช่วงตั้งครรภ์อย่างเพียงพอ

    อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจฉีดวัคซีน เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์

    แต่งงานแล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน HPV จริงไหม?

    ไม่จริง เพราะเชื้อไวรัส HPV สามารถติดต่อกันได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ ตราบใดที่เรายังมีเพศสัมพันธ์ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อไวรัส HPV อยู่ เพราะฉะนั้นการฉีดวัคซีน HPV จะช่วยเป็นเกราะป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ยังไม่เคยติดได้

    แต่งงานแล้ว ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีน HPV จริงไหม?

    มะเร็งปากมดลูก ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ไหม?

    "มะเร็งปากมดลูก" ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์เหมือนกับโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ แต่มีสาเหตุสำคัญมาจากการติดเชื้อไวรัสที่เรียกว่า เอชพีวี (Human Papillomavirus)

    โดยการติดเชื้อ HPV จะพบบ่อยที่สุดในผู้หญิงช่วงอายุ 18-28 ปี หรือผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว แต่เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้จะใช้เวลานานนับ 10 ปีกว่าจะแสดงอาการของโรค ทำให้เรามักพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่จะมีอายุระหว่าง 35-50 ปี

    มะเร็งปากมดลูก ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ไหม?

     
    เป็นอย่างไรกันบ้างกับคำถามที่หลายคนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับเชื้อไวรัส HPV และวัคซีน HPV ที่ HDmall.co.th ได้รวบรวมมาในบทความนี้

    หวังว่าจะช่วยให้คุณรู้จักกับเชื้อไวรัส HPV มากขึ้น สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีน HPV และดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม เพื่อที่จะได้ห่างไกลจากโรคร้ายแรงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสตัวร้ายชนิดนี้

    เช็กราคาฉีดวัคซีน HPV แต่ละแบบผ่านเว็บไซต์​ HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับแอดมิน ทักไลน์ @hdcoth


    บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

    TH-HPV-00460 11/2023
    ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาความเหมาะสมก่อนรับวัคซีน

    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    @‌hdcoth line chat