cardiovascular screening faq

รวมเรื่องต้องรู้ ก่อนตรวจโรคหัวใจ มีกี่แบบ แบบไหนดีที่สุด

การตรวจ โรคหัวใจ มีวิธีไหนบ้าง ใครบ้างควรตรวจโรคหัวใจ การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค กับตรวจสุขภาพทั่วไปต่างกันอย่างไร  การตรวจโรคหัวใจเจ็บไหม การตรวจหัวใจด้วยวิธี ECHO และ CT Scan แตกต่างกันอย่างไร หากยังไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องตรวจโรคหัวใจจริงหรือไม่…บทความนี้รวบรวมข้อสงสัยและเรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตรวจโรคหัวใจมาฝาก

มีคำถามเกี่ยวกับ การตรวจหัวใจ? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

1. การตรวจโรคหัวใจมีวิธีไหนบ้าง

ตอบ: การตรวจโรคหัวใจทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการป่วยและดุลยพินิจของแพทย์ โดยวิธีการตรวจที่เป็นที่นิยม ได้แก่

1. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography: EKG, ECG)

เป็นการตรวจจับสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ เพื่อวิเคราะห์การเต้นและจังหวะของหัวใจ ว่ามีภาวะผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหัวใจขาดเลือดหรือไม่ การตรวจด้วยวิธีนี้ใช้เวลาไม่นาน ประมาณ 5-10 นาที ไม่เจ็บปวด และใช้ประเมินปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับหัวใจ

2. การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Calcium Scoring)

เป็นการใช้เทคโนโลยี CT Scan เพื่อวัดระดับแคลเซียมในหลอดเลือดหัวใจ การสะสมของแคลเซียมในหลอดเลือด ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การตรวจนี้ช่วยประเมินโอกาสในการเกิดโรคหัวใจวายในอนาคตได้

3. การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST)
หรือที่เรียกว่าการวิ่งสายพาน เป็นการทดสอบหัวใจขณะออกกำลังกาย โดยผู้ป่วยจะวิ่งบนสายพานหรือปั่นจักรยาน เพื่อดูว่าสมรรถภาพของหัวใจเป็นอย่างไรเมื่ออยู่ในภาวะที่ต้องการออกแรงสูง การตรวจนี้ใช้เพื่อประเมินภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบที่อาจไม่แสดงอาการในขณะพัก

4. การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram: Echo)
เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อตรวจโครงสร้างและการทำงานของหัวใจ โดยสามารถเห็นภาพของกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ และการไหลเวียนของเลือดในห้องหัวใจ การตรวจนี้ช่วยประเมินการทำงานของหัวใจและความผิดปกติต่างๆ เช่น หัวใจล้มเหลวหรือการทำงานของลิ้นหัวใจที่ไม่ปกติ

รวมวิธีการตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ขั้นตอนเป็นยังไง เหมาะกับใครบ้าง อ่านต่อคลิกเลย

2. ใครบ้างควรตรวจโรคหัวใจ

ตอบ: การตรวจโรคหัวใจ เริ่มตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป และควรหมั่นตรวจวัดความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และคอเลสเตอรอลอย่างสม่ำเสมอด้วย เพราะค่าเหล่านี้จะมีผลต่อการทำงานของหัวใจโดยภาพรวม

นอกจากนี้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงหรืออาการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหัวใจดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจโรคหัวใจอย่างเฉพาะเจาะจง

  1. ผู้ที่มีอาการเจ็บหน้าอก หากมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก หรือปวดร้าวไปยังแขน คอ หรือกราม อาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดหัวใจ
  2. ผู้ที่มีอาการใจสั่น เหนื่อยง่าย หรือหายใจไม่อิ่ม อาการเหล่านี้อาจเกี่ยวข้องกับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือภาวะหัวใจล้มเหลว
  3. ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หากมีสมาชิกในครอบครัวที่เคยเป็นโรคหัวใจหรือมีภาวะหัวใจวาย ควรได้รับการตรวจเพื่อประเมินความเสี่ยงส่วนบุคคล
  4. ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือคอเลสเตอรอลสูง โรคเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ การตรวจหัวใจเป็นประจำจะช่วยป้องกันปัญหาในอนาคต
  5. ผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น การสูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย หรือมีน้ำหนักเกิน ควรได้รับการตรวจเพื่อประเมินสุขภาพหัวใจและลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ

3. การตรวจหัวใจสำหรับวินิจฉัยโรค ต่างจากการตรวจสุขภาพทั่วไปอย่างไร

ตอบ: การตรวจหัวใจสำหรับโรคหัวใจ จะมุ่งเน้นไปที่การวินิจฉัยโรคหัวใจหรือความผิดปกติที่เฉพาะเจาะจง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจวาย หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มักจะใช้วิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG) การตรวจ CT Calcium Scoring การตรวจหัวใจด้วย ECHO และ การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) โดยผลการตรวจต้องวิเคราะห์โดยผู้ชำนาญการและอาจนำไปสู่การรักษาหรือการติดตามผลที่เฉพาะเจาะจง

ส่วนการตรวจเพื่อสุขภาพทั่วไปนั้น มุ่งเน้นไปที่การตรวจสุขภาพหัวใจในกรณีที่ไม่มีอาการผิดปกติหรือโรคหัวใจที่ชัดเจน โดยมักใช้เพื่อประเมินความเสี่ยงหรือสุขภาพหัวใจโดยรวม มักจะใช้วิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG/ECG) เพื่อประเมินความผิดปกติของการเต้นของหัวใจ และการตรวจคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

4. การตรวจโรคหัวใจ เจ็บไหม

ตอบ: โดยทั่วไปแล้ว การตรวจโรคหัวใจไม่ทำให้เจ็บปวด นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงต่ำ และเป็นขั้นตอนที่ปลอดภัยสำหรับการประเมินสุขภาพหัวใจ 

มีคำถามเกี่ยวกับ การตรวจหัวใจ? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

อย่างไรก็ตาม การตรวจโรคหัวใจแต่ละวิธีอาจให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ดังนี้ 

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ต้องใช้แผ่นตรวจไฟฟ้าติดที่ผิวหนัง เพื่อบันทึกสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจ การติดแผ่นตรวจอาจรู้สึกระคายเคืองเพียงเล็กน้อย แต่ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ
  • การตรวจ CT Scan อาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายเล็กน้อยจากการต้องนอนอยู่บนเตียง CT Scan และบางครั้งอาจมีการฉีดสารทึบรังสี ซึ่งอาจทำให้รู้สึกอุ่นๆ หรือร้อนวูบวาบ
  • การตรวจ Echo จะมีการทาเจลเย็นๆ ที่ผิวหนังเพื่อช่วยในการส่งคลื่นเสียง ซึ่งอาจรู้สึกเย็นหรือไม่สบายบ้าง แต่ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ

5. การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจ บอกอะไรได้บ้าง

ตอบ: การตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคหัวใจ สามารถบอกข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดได้หลายด้าน โดยการตรวจเลือดแต่ละประเภทจะช่วยประเมินความเสี่ยงและสภาวะต่างๆ เช่น 

  • คอเลสเตอรอลและไขมันในเลือด (LDL, HDL, Triglycerides) ช่วยวัดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โปรตีน C-reactive (CRP) บ่งชี้ถึงการอักเสบที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ 
  • Troponin ใช้วินิจฉัยหัวใจวายเฉียบพลัน 
  • Lipoprotein (a) หรือ Lp(a) ตรวจความเสี่ยงโรคหัวใจทางพันธุกรรม 
  • น้ำตาลในเลือดและ HbA1c ตรวจความเสี่ยงเบาหวานที่สัมพันธ์กับโรคหัวใจ 
  • การตรวจการทำงานของไต เพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจผ่านการทำงานของไต 
  • BNP หรือ NT-proBNP เพื่อประเมินภาวะหัวใจล้มเหลว

6. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ บอกอะไรได้บ้าง

ตอบ: การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram หรือ EKG/ECG) เป็นการตรวจที่ช่วยประเมินการทำงานของหัวใจในหลายด้าน เช่น การเต้นของหัวใจ ซึ่งสามารถบอกได้ว่าหัวใจเต้นเร็วเกินไป ช้าเกินไป หรือเป็นปกติ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจจับจังหวะการเต้นของหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจยังช่วยให้แพทย์เห็นภาพของขนาดและความหนาของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะหัวใจโตหรือกล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น รวมถึงช่วยตรวจสอบการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจ เพื่อบ่งชี้ถึงการขาดเลือดที่อาจเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบได้อีกด้วย

7. การตรวจหัวใจด้วยวิธี ECHO และ CT Scan แตกต่างกันอย่างไร

ตอบ: การตรวจ CT Scan เป็นการฉายภาพเช่นเดียวกับ ECHO แต่มีจุดประสงค์แตกต่างกัน โดย CT Scan มุ่งเน้นที่การตรวจหลอดเลือดหัวใจและโครงสร้างของหลอดเลือด โดยการสร้างภาพที่ละเอียดของหลอดเลือดหัวใจ 

ส่วน ECHO มุ่งเน้นที่การประเมินการทำงานและโครงสร้างของกล้ามเนื้อหัวใจ รวมถึงลิ้นหัวใจและการไหลเวียนของเลือดภายในห้องหัวใจ

หากการตรวจ ECHO พบความผิดปกติที่เป็นไปได้ แพทย์มักจะใช้ CT Scan เพื่อยืนยันผล เนื่องจาก CT Scan ให้ความละเอียดสูงและสามารถแสดงรายละเอียดของหลอดเลือดหัวใจได้อย่างชัดเจน ซึ่งช่วยให้การวินิจฉัยและการตัดสินใจในการรักษามีความแม่นยำมากขึ้น

8. ก่อนตรวจหัวใจ ควรถามอะไรแพทย์บ้าง

ตอบ: การสอบถามแพทย์ก่อนการตรวจหัวใจเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจการรักษา พร้อมทั้งเตรียมตัวและวางแผนได้อย่างถูกต้อง

  1. ทำไมถึงต้องตรวจด้วยวิธีนี้ เพื่อให้เข้าใจเหตุผลและความจำเป็นในการตรวจ
  2. ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม เช่น งดอาหารหรือเครื่องดื่มบางประเภท
  3. การตรวจมีความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงหรือไม่ เพื่อทราบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการตรวจ
  4. การตรวจใช้เวลานานแค่ไหน เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมและจัดการตารางชีวิตหหรือการทำงาน
  5. หากพบความผิดปกติ ต้องทำอย่างไร ต้องตรวจเพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจอื่นๆ ที่อาจตามมา และวางแผนทางการเงินได้อย่างถูกต้อง
  6. มีวิธีการตรวจอื่นๆ ที่ควรพิจารณาหรือไม่ เพื่อใช้เปรียบเทียบวิธีการตรวจที่แตกต่างกัน
  7. ค่าใช้จ่าย เพื่อให้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและวางแผนเกี่ยวกับประกันสุขภาพ

9. หากยังไม่มีอาการต้องตรวจโรคหัวใจไหม

ตอบ: การตรวจโรคหัวใจสามารถทำได้ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป โดยไม่จำเป็นต้องรอให้มีอาการ การตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำ ถือเป็นการประเมินความเสี่ยงและการป้องกันปัญหาหัวใจในอนาคต โดยการตรวจเชิงป้องกันนี้อาจช่วยให้เราเจอปัญหาตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น และช่วยให้รักษา หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างทันท่วงที

10. การฉีดสารทึบรังสี หรือฉีดสี เพื่อตรวจโรคหัวใจ น่ากลัวและเสี่ยงอันตรายไหม

ตอบ: การฉีดสีมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างต่ำและไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แม้ว่าผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะแพ้สี ทำให้มี ผื่นคัน หายใจลำบาก หรือบวม แต่พบได้น้อย หรือภาวะเลือดออก อาจเกิดขึ้นบริเวณตำแหน่งที่แทงเข็ม แต่ก็พบได้น้อยเช่นกัน

หากมีความเสี่ยงและโอกาสเกิดผลข้างเคียง แพทย์มักจะให้คำแนะนำในการเตรียมตัวและตรวจสอบสุขภาพก่อนเสมอ เพื่อให้การฉีดสีเป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

11. การตรวจหัวใจต้องนอนค้างที่โรงพยาบาลไหม

ตอบ: การตรวจหัวใจไม่จำเป็นต้องนอนค้างโรงพยาบาลเสมอไป ขึ้นอยู่กับประเภทของการตรวจ หากเป็นการตรวจ EKG, ECHO และ Exercise Stress Test  มักใช้เวลาไม่นานและไม่จำเป็นต้องนอนค้างโรงพยาบาล 

ส่วนการตรวจ CT Scan โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องนอนค้างโรงพยาบาล แต่ในบางกรณีที่ต้องติดตามผลหรือมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ ร่วมด้วย แพทย์อาจพิจารณาให้ได้รับการดูแลในโรงพยาบาลเพิ่มเติม สำหรับการนอนค้างโรงพยาบาลอาจจำเป็นในกรณีที่มีการตรวจที่ซับซ้อนหรือมีปัญหาสุขภาพที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด

12. การตรวจโรคหัวใจราคาเท่าไหร่

ตอบ: การตรวจโรคหัวใจมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของการตรวจและสถานพยาบาล อย่างไรก็ตาม หากเป็นการตรวจ EKG และ ECHO มักมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากและบางครั้งประกันสุขภาพบางประเภทก็สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายได้ด้วย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขกรมธรรม์แต่ละฉบับ

เริ่มมีอาการคล้ายโรคหัวใจ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก รู้สึกกังวลใจ อยากตรวจให้แน่ชัด ทักแอดมินได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจตรวจรักษาโรคหัวใจ จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

มีคำถามเกี่ยวกับ การตรวจหัวใจ? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ HDcare โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ พยาบาล HDcare