acl pcl injury disease definition scaled

เอ็นไขว้หน้าเข่า เอ็นไขว้หลังเข่า ขาด เกิดจากอะไร ใครเสี่ยง อาการ วิธีป้องกัน

เอ็นไขว้หน้าเข่าและเอ็นไขว้หลังเข่า เป็นเส้นเอ็นที่ไขว้ประสานกันเป็นรูปกากบาท ทำหน้าที่ยึดกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้งเอาไว้ด้วยกัน ทำให้เราสามารถใช้งานข้อเข่าในการเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างมั่นคงทุกอิริยาบถ ไม่มีการบิดหมุน หรือเคลื่อนผิดองศา

มีคำถามเกี่ยวกับ เอ็นไขว้เข่า? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

แต่เมื่อไรก็ตามที่เราใช้งานข้อเข่าผิดท่า หรือข้อเข่าได้รับบาดเจ็บ ประสบอุบัติเหตุ ได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรง ก็มีโอกาสที่เอ็นไขว้หน้าเข่าหรือเอ็นไขว้หลังเข่าจะฉีกขาดได้

เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด เอ็นไขว้หลังเข่าขาด คืออะไร?

  • เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด (Anterior Cruciate Ligament Injuries) คือ อาการบาดเจ็บหรือการฉีกขาดที่เกิดขึ้นบริเวณเส้นเอ็นที่ไขว้อยู่ด้านหน้าของกระดูกข้อเข่า จัดเป็นอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็นหัวเข่าที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในกลุ่มนักกีฬามืออาชีพ หรือผู้ที่ใช้งานหัวเข่าอย่างหนัก 
  • เอ็นไขว้หลังเข่าขาด (Posterior Cruciate Ligament Injuries) ก็คือ อาการบาดเจ็บหรือฉีกขาดที่เกิดกับเส้นเอ็นซึ่งไขว้อยู่ด้านหลังของกระดูกข้อเข่า เป็นอาการบาดเจ็บที่พบได้ไม่บ่อยเท่าบริเวณเอ็นไขว้หน้าเข่า เนื่องจากเอ็นไขว้หลังเข่ามีความแข็งแรงทนทานกว่าเอ็นไขว้หน้าเข่า

เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด เอ็นไขว้หลังเข่าขาด เกิดจากอะไร?

เอ็นไขว้หน้าเข่าหรือเอ็นไขว้หลังเข่าฉีกขาดมักเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • การบิดหรือหมุนข้อเข่ากะทันหันหรืออย่างรวดเร็ว มักเกิดขึ้นระหว่างการเล่นกีฬา หรือการประสบอุบัติเหตุ
  • การหกล้มหรือตกจากที่สูงในท่างอเข่าลง
  • การทำกิจกรรมหรืออุบัติเหตุที่ทำให้ข้อเข่าได้รับแรงกระแทกหรือเคลื่อนในองศาที่มากกว่าปกติอย่างรุนแรงและรวดเร็ว

เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด เอ็นไขว้หลังเข่าขาด มีอาการอะไรบ้าง?

เมื่อเอ็นไขว้หน้าเข่าหรือเอ็นไขว้หลังเข่าฉีกขาด สมรรถภาพการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ป่วยจะลดลงและมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ตามมา โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • ปวดหรือเจ็บที่ข้อเข่ามาก
  • ข้อเข่าบวม
  • เดินกะเผลก เดินลงน้ำหนักไม่ได้ เดินขึ้นลงบันไดลำบาก ในบางรายอาจต้องใช้เครื่องช่วยพยุง
  • ได้ยินเสียงดังหรือเสียงดีดดังมาจากด้านในหัวเข่า
  • ในรายที่อาการเริ่มรุนแรง จะมีอาการข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าติด ฝืด ตึง หรือข้อเข่าหลวมเกิดขึ้น

มีอาการเจ็บเข่า เข่าบวม เดินกะเผลก เข่าโดนกระแทกมาและไม่รู้ว่ามีเส้นเอ็นฉีกขาดตรงไหนบ้างหรือไม่ อยากตรวจและปรึกษาคุณหมอให้มั่นใจ ทักหาแอดมิน HDcare เพื่อทำนัดคุยกับคุณหมอเฉพาะทางได้เลย

เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด เอ็นไขว้หลังเข่าขาด ใครเสี่ยง?

  • นักกีฬาประเภทที่ต้องใช้ข้อเข่าในการเคลื่อนไหวเป็นพิเศษ หรือเข่ามีความเสี่ยงได้รับแรงกระแทกมากกว่าคนทั่วไป เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล เบสบอล สกี เทนนิส ยิมนาสติก
  • ผู้ที่ออกกำลังกายในท่าต้องใช้หัวเข่ารับน้ำหนักหรือออกแรงบิดมาก
  • ผู้ที่ออกกำลังกายในท่าที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ถูกต้อง มีโอกาสที่เส้นเอ็นข้อเข่า รวมถึงเส้นเอ็นส่วนอื่นๆ จะได้รับบาดเจ็บมากกว่าปกติ
  • ผู้ที่ใส่รองเท้าเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายไม่พอดี มีโอกาสที่จะเสียหลักล้มหรือข้อเข่าบิดระหว่างทำกิจกรรมได้ และทำให้เอ็นไขว้หน้าหรือหลังฉีกขาด
  • ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องยกของหนักเป็นประจำ ซึ่งอาจเกิดการยกผิดท่า ทำให้บาดเจ็บได้

เอ็นไขว้หน้าเข่าขาด เอ็นไขว้หลังเข่าขาด วิธีรักษา แบบผ่าตัด ไม่ผ่าตัด

เมื่อเอ็นไขว้หน้าเข่าหรือเอ็นไขว้หลังเข่าฉีกขาด แนวทางการรักษาจะแตกต่างกันไปตามระดับอาการหรือระดับการบาดเจ็บของเส้นเอ็น โดยสามารถแบ่งออกได้หลักๆ 2 แนวทาง ได้แก่

1. การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

เป็นการรักษาที่นิยมใช้ในกรณีที่เอ็นไขว้หน้าเข่าหรือเอ็นไขว้หลังเข่าฉีกขาดเล็กน้อย หรือในผู้ที่ไม่ได้ใช้งานข้อเข่าอย่างหนักในอนาคต เช่น กลุ่มคนทั่วไปที่ไม่ใช่นักกีฬา ผู้สูงอายุ 

แพทย์จะแนะนำแนวทางรักษาเพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากการฉีกขาดของเส้นเอ็น และพักการใช้งานข้อเข่า เพื่อให้เส้นเอ็นสมาน ซ่อมแซมตนเองได้ โดยเรียกได้สั้นๆ ว่า “การรักษาแบบ PRICE” ได้แก่

  • P (Protection) หมายถึง การหลีกเลี่ยงไม่ให้ข้อเข่าส่วนที่บาดเจ็บได้รับแรงกระแทกและการกระทบกระเทือนอีก
  • R (Resting) หมายถึง การพักการใช้งานข้อเข่าชั่วคราว 
  • I (Icing) หมายถึง การประคบเย็นบ่อยๆ ประมาณ 4 ครั้งต่อวัน ครั้งละไม่เกิน 15-20 นาที เพื่อลดอาการเจ็บและการอักเสบของเส้นเอ็น
  • C (Compression) หมายถึง การพันผ้ายืด (Bandage) ที่เข่าให้กระชับเพื่อป้องกันการเลือดออกในเนื้อเยื่อ ลดอาการบวมแดงที่เกิดขึ้นจากการฉีกขาดของเส้นเอ็น 
  • E (Elevation) หมายถึง การยกขาสูงเหนือระดับหัวใจ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ช่วยลดอาการบวมของข้อเข่าได้

นอกจากการรักษาแบบ PRICE แพทย์อาจมีการใช้วิธีรักษาอื่นๆ เข้ามาช่วยเสริมกระบวนการฟื้นตัวของเส้นเอ็น และลดอาการข้างเคียงจากการฉีกขาดให้ลดลงโดยเร็ว เช่น

  • การกินยาเพื่อบรรเทาปวด หรือลดการอักเสบ
  • การทำกายภาพบำบัด หรือออกกายบริหารเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ

2. การรักษาแบบผ่าตัด

การรักษาแบบผ่าตัด เป็นการผ่าตัดเพื่อนำเส้นเอ็นจากส่วนอื่นของร่างกายมาใส่ทดแทนเอ็นไขว้หน้าเข่า หรือเอ็นไขว้หลังเข่าเดิมที่มีการฉีกขาด มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดดังต่อไปนี้

มีคำถามเกี่ยวกับ เอ็นไขว้เข่า? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

  • ผู้ที่เคยรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด แต่อาการยังไม่ดีขึ้น
  • ผู้ที่จำเป็นต้องใช้งานข้อเข่าในการทำงานหรือเล่นกีฬาในอนาคต
  • ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือกระดูกส่วนอื่นๆ ซึ่งต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น หมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด มีเนื้อเยื่อเข้าไปขัดอยู่ในข้อเข่า
  • ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บจากเส้นเอ็นที่รุนแรงจนเกิดอาการข้อเข่าหลวม

การผ่าตัดเอ็นไขว้เข่าหรือเอ็นไขว้หลังเข่าฉีกขาดในปัจจุบันนิยมใช้เทคนิคการผ่าตัดส่องกล้องเป็นหลัก เนื่องจากแผลผ่าตัดมีเล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิด โอกาสเจ็บแผลน้อยกว่า รวมถึงระยะเวลาฟื้นตัวหลังผ่าตัดรวดเร็วกว่าด้วย โดยสามารถแบ่งตามตำแหน่งในการผ่าตัดได้ 2 ชนิด คือ

การผ่าเอ็นไขว้เข่าหน้าแบบส่องกล้อง ผลข้างเคียง การดูแล ราคา

การผ่าเอ็นไขว้หลังเข่าฉีกขาดแบบส่องกล้อง ผลข้างเคียง การดูแล ราคา

วิธีป้องกันเอ็นไขว้หน้าเข่าขาด เอ็นไขว้หลังเข่าขาด

การป้องกันเอ็นไขว้หน้าเข่าหรือเอ็นไขว้หลังเข่าฉีกขาด อาจทำให้ยากในกลุ่มผู้ที่ต้องใช้งานหัวเข่าอย่างหนัก และเนื่องด้วยปัจจัยของการบาดเจ็บของเส้นเอ็นที่มักมาจากเหตุสุดวิสัย หรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด 

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีแนวทางช่วยลดโอกาสไม่ให้เส้นเอ็นบริเวณหัวเข่าเกิดการบาดเจ็บได้ เช่น

  • ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนเล่นกีฬาและออกกำลังกายทุกครั้ง
  • ออกกำลังกายอย่างถูกท่าและในระดับความเข้มข้นที่ร่างกายสามารถควบคุมท่าทางได้ถูกต้องอยู่เสมอ อย่าหักโหมจนเกินไป หรืออยู่ภายใต้การดูแลของผู้ชำนาญการเพื่อความปลอดภัย
  • สวมรองเท้า รวมถึงเสื้อผ้าสำหรับเล่นกีฬาและออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างคล่องแคล่ว ลดความเสี่ยงที่จะหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุ
  • ขับขี่พาหนะทุกชนิดอย่างระมัดระวัง เพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุที่ข้อเข่า ไม่ว่าจะเป็นจักรยาน รถจักรยานยนต์ รถยนต์

การฉีกขาดของเอ็นไขว้หน้าเข่าและเอ็นไขว้หลังเข่าสามารถรักษาให้หายได้ ด้วยวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด รวมทั้งการผ่าตัด 

ทั้งนี้หากแพทย์ประเมินแล้วว่าจำเป็นต้องผ่าตัด ผู้ป่วยก็ไม่ต้องกังวล เพราะด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้การผ่าตัดไม่ยุ่งยากและไม่น่ากลัวอย่างที่หลายคนกังวล แผลมีเล็ก เจ็บน้อย และใช้เวลาฟื้นตัวไม่นาน 

ดังนั้นหากเกิดการบาดเจ็บของข้อเข่า อย่านิ่งนอนใจหรือกลัวการรักษา เพราะผลกระทบจากการฉีกขาดของเส้นเอ็นที่หัวเข่า จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลง ทั้งการเดินที่ไม่ถนัด มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรม เล่นกีฬา ออกกำลังกาย รวมถึงเสี่ยงทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยอันควรด้วย

ยังไม่แน่ใจว่าเอ็นไขว้หน้าเข่าหรือเอ็นไขว้หลังเข่าฉีกรึเปล่า  ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจผ่าตัดเอ็นไขว้หน้าเข่า เอ็นไขว้หลังเข่า จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

มีคำถามเกี่ยวกับ เอ็นไขว้เข่า? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ HDcare โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ พยาบาล HDcare