ข้าวฟ่าง คืออะไร? สรรพคุณ ประโยชน์ วิธีใช้เพื่อสุขภาพ

ปัจจุบันคนจำนวนไม่น้อยเริ่มหันมาดูแลตัวเองเพื่อลดน้ำหนัก ทำให้รูปร่างดี ร่างกายแข็งแรง หรือแม้แต่โภชนบำบัดก็มี  หนึ่งในอาหารที่เหล่าคนรักสุขภาพคุ้นเคยคงหนีไม่พ้น “ข้าวฟ่าง” แน่ๆ ทำไมต้องกินข้าวฟ่าง ข้าวฟ่างดีต่อสุขภาพอย่างไร  ข้าวฟ่างลดน้ำหนักได้อย่างไรไร  มาทำความรู้จักกันให้ครบทุกแง่ทุกมุมได้เลย

ข้าวฟ่างคืออะไร?

ข้าวฟ่างมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sorghum bicolor (L.) Moench จัดเป็นพืชตระกูลหญ้าเช่นเดียวกับข้าวโพด เจริญเติบโตได้ง่าย  ลักษณะลำต้นตั้งตรง มีข้อเห็นได้ชัด  ใบออกสลับกัน  ปลายใบแหลมคม ออกดอกเป็นช่อยาวที่ปลายยอด ผลทรงกลมอยู่ในช่อดอกมีขนาดเท่าเมล็ดพริกไทยและมีเปลือกแข็งห่อหุ้มอีกชั้น  เมื่อแก่จะมีเนื้อแข็งสีขาวขุ่นโผล่ออกมาจากเปลือก  ข้าวฟ่างมีหลายชนิดบางชนิดนิยมนำมาเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ ทำน้ำตาล  หรือสามารถนำมาหมักเบียร์ได้  แต่บางชนิดก็นิยมนำมาเลี้ยงสัตว์ สำหรับประเทศไทยนิยมปลูกข้าวฟ่างเมล็ด และสามารถปลูกข้าวฟ่างได้เกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้

สารอาหารในข้าวฟ่าง

เมล็ดข้าวฟ่างแห้งหนัก 100 กรัม มีสารอาหารสำคัญประมาณนี้

สารอาหารเด่นๆ

  • vitamin B1 (thiamin)
  • vitamin B6
  • copper
  • iron
  • magnesium
  • phosphorus
  • potassium
  • selenium
  • zinc

สรรพคุณทางยาของข้าวฟ่าง มีอะไรบ้าง?

  • ต้นข้าวฟ่าง : นำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มเป็นยาระบายขับปัสสาวะ
  • เมล็ดข้าวฟ่าง :  ช่วยให้ระบบการย่อยอาหาร เช่น ลำไส้ กระเพาะอาหารทำงานได้ดี ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยรักษาอาการของโรคอหิวาตกโรค และโรคบิด
  • รากแห้ง :  ช่วยรักษาอาการของระบบประสาทที่ผู้ป่วยมีอาการกระวนกระวาย ช่วยรักษาอาการไอ และมีอาการหอบร่วมด้วย
  • รากแห้ง :  ช่วยรักษาอาการปวดตรงบริเวณกระเพาะอาหาร หรืออาการปวดตรงบริเวณหน้าอก
  • รากแห้ง :  ช่วยรักษาอาการปัสสาวะติดขัด ช่วยให้คลอดบุตรได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยรักษาอาการตกเลือดหลังคลอดบุตรได้อีกด้วย

มีประโยชน์ต่อสุขภาพของข้าวฟ่าง

1. มีสารต้านอนุมูลอิสระ

ข้าวฟ่างทุกชนิดอุดมไปด้วยโพลีฟีนอลซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและป้องกันการเกิดโรคร้าย เช่น โรคหัวใจ  โรคมะเร็ง นอกจากนี้ข้าวฟ่างยังมีคุณสมบัติช่วยลดการอักเสบ เสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง และต่อสู้กับไวรัสได้ด้วย

2. ควบคุมโรคเบาหวาน

ข้าวฟ่างมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำและอุดมไปด้วยไฟเบอร์ชนิดที่ละลายน้ำได้ อีกทั้งยังทำให้ร่างกายควบคุมน้ำตาลได้ดีขึ้น ข้าวฟ่างจึงเหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงการจัดการกับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ถือว่า ข้าวฟ่างสามง่าม (Finger millet) เป็นสุดยอดอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุแมกนีเซียม ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้ตัวรับอินซูลินทำงานได้มีประสิทธิผลมากขึ้นและลดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยพบว่า การรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงยังสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคเบาหวานได้มากถึง 30 %

3. ดีต่อหัวใจ

ข้าวฟ่างเป็นแหล่งของแมกนีเซียมซึ่งสามารถช่วยลดความดันโลหิตและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากภาวะหลอดเลือดแดงตีบแข็งเพราะมีไขมันสะสมที่เส้นเลือด ข้าวฟ่างยังเป็นแหล่งของธาตุโพแทสเซียมซึ่งดีต่อการทำงานของหัวใจ ทั้งนี้มีงานวิจัยพบว่า ข้าวฟ่างสามง่ามสามารถช่วยให้ระดับของคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) เพิ่มขึ้น

4. ปกป้องคุณจากโรคมะเร็ง

นักวิจัยพบว่า สารโพลีฟีนอลซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระฟีโนลิกบางประเภทที่พบได้ในข้าวฟ่างอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งหลายชนิดทั้งในระยะเริ่มต้นและระยะลุกลาม เช่น มะเร็งเต้านมและโรคมะเร็งลำไส้  นอกจากนี้สาร Anti-tumorigenic ที่พบในข้าวฟ่างสามง่ามยังช่วยต่อสู้กับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวซีเอ็มแอล (Chronic Myeloid Leukemia – CML ) ซึ่งเป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดที่พบได้น้อย ได้อีกด้วย

5. ทำให้กระดูกแข็งแรง

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่ช่วยสร้างกระดูก หากขาดแคลเซียม กระดูกจะเปราะและอ่อนแอ และด้วยความที่ร่างกายไม่สามารถผลิตแคลเซียมได้จึงเราควรได้รับแร่ธาตุชนิดนี้จากอาหาร  ข้าวฟ่างสามง่ามมีแคลเซียมมากถึง 344 มิลลิกรัมซึ่งมากกว่าปริมาณแคลเซียมที่พบในนม อีกทั้งยังอุดมไปด้วยธาตุแมกนีเซียมซึ่งมีคุณสมบัติช่วยรักษากระดูกให้แข็งแรงด้วย บางงานวิจัยบังพบว่า ธาตุแมกนีเซียมอาจลดความเสี่ยงที่กระดูกจะแตกหักและลดโอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนได้

6. ช่วยย่อยอาหาร

ข้าวฟ่างมีแป้งที่ทนต่อการย่อย มีไฟเบอร์ทั้งชนิดที่ละลายน้ำได้และละลายน้ำไม่ได้ปริมาณสูงมาก การรับประทานข้าวฟ่างจึงสามารถควบคุมกระบวนการย่อยอาหารและป้องกันไม่ให้อาหารในทางเดินอาหารเคลื่อนเร็ว หรือช้าเกินไปได้  อีกทั้งข้าวฟ่างเป็นธัญพืชที่ปลอดกลูเตนจึงช่วยลดปัญหาการแพ้กลูเตนได้

7. ป้องกันนิ่วในไต

ไฟเบอร์ในข้าวฟ่างยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วในไตได้ เนื่องจากอาหารที่มีไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำได้สามารถเร่งการส่งอาหารที่ยังไม่ย่อยไปสู่ลำไส้และลดการหลั่งของกรดน้ำดี ซึ่งทำให้เกิดนิ่วในไตได้  มีงานวิจัยระยะยาวพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนิ่วในไตลดลง 17 % ซึ่งมากกว่าคนที่ไม่ได้รับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์

8. ช่วยควบคุมน้ำหนัก

ธัญพืชเต็มเมล็ดที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์มักติดโผอยู่ในอาหารที่ช่วยลดน้ำหนักรวมทั้งข้าวฟ่างด้วย  เนื่องจากจะช่วยทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้นเป็นผลให้ไม่รับประทานจุกจิกนั่นเอง  นอกจากนี้ความสามารถในการลดคอเลสเตอรอลและการช่วยให้ตัวรับอินซูลินทำงานได้มีประสิทธิผลมากขึ้นของข้าวฟ่างก็สามารถทำให้ควบคุมน้ำหนักได้สำเร็จเช่นกัน

จากที่กล่าวไป คุณจะเห็นได้ว่าข้าวฟ่างเป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางอาหารสูง และมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย สำหรับใครที่กำลังเบื่อธัญพืชแบบเดิมๆ ที่เคยทาน ข้าวฟ่างก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่เราอยากให้คุณลองนำไปพิจารณา

ข้อควรระวังในการบริโภคข้าวฟ่าง

  • ห้ามผู้หญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์รับประทานข้าวฟ่างเพราะจะทำให้เกิดอันตรายกับทารกในครรภ์
  • เมล็ดที่มีเชื้อราจำพวก Rhizopus nigricans จะมีสาร alfatoxin ซึ่งเป็นสารพิษ  เมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ร่างกายเสียน้ำมาก กระหายน้ำ ปัสสาวะมาก และเป็นตะคริว
  • ต้นอ่อน ยอดอ่อน และใบอ่อน อายุต่ำกว่า 80 วัน จะมีสารพิษซัยยาโนเจเนติค กลัยโคไซด์ (cyanogenetic glycosides) หากสัตว์กินเข้าไปจะมีอาการคล้ายได้รับสารพิษซึ่งเป็นอันตรายถึงตายได้

เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

Scroll to Top