เลือดคั่งในสมองเป็นอย่างไร อาการที่สังเกตได้ และวิธีรักษา scaled

เลือดคั่งในสมองเป็นอย่างไร อาการที่สังเกตได้ วิธีรักษา

เมื่อพูดถึงภาวะเลือดคั่งในสมอง หลายคนต้องนึกถึงอาการฉุกเฉินร้ายแรงที่ต้องเข้ารับการรักษาโดยด่วน และมักลงเอยด้วยการผ่าตัดสมอง 

แต่พอถามถึงที่มาที่ไปของภาวะนี้ ยังมีหลายคนที่ไม่รู้ว่ามันเกิดจากอะไร แล้วรักษาให้หายได้หรือไม่ บทความนี้จะพามารู้จักกับภาวะ “เลือดคั่งในสมอง” สาเหตุ อาการเตือน วิธีรักษา และการป้องกัน 

ภาวะเลือดคั่งในสมอง คืออะไร

ภาวะเลือดออกในสมอง หรือ ภาวะเลือดคั่งในสมอง (Intracerebral hemorrhage) คือภาวะที่หลอดเลือดในสมองฉีกขาด ทำให้เกิดเลือดออกในสมอง สร้างความเสียหายต่อสมองและระบบประสาท เป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน 

เมื่อเกิดภาวะเลือดคั่งในสมอง ผู้ป่วยมักจะแสดงอาการเหล่านี้ออกมา 

  • อ่อนเพลียกะทันหัน
  • มีอาการสับสนเฉียบพลัน สื่อสารกับผู้อื่นไม่ได้ ทั้งฟัง พูด อ่าน หรือเขียย
  • ปวดศีรษะ และวิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง
  • การมองเห็นพร่าเบลอ
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปากเบี้ยว
  • พูดลำบาก
  • กลืนอาหารลำบาก
  • แขนและขาเป็นอัมพาต
  • เสียการทรงตัว ยืนหรือเดินไม่ได้

นอกจากนี้ ยังอาจเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรงได้อีก เช่น สูญเสียการมองเห็น สมองบวม อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า มีไข้สูง ความทรงจำเลอะเลือน ปอดบวม หรือเป็นอัมพาต

หากพบคนใกล้ตัวมีอาการคล้ายกับเป็นภาวะเลือดคั่งในสมอง ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะยิ่งมีเลือดออกในสมองมากเท่าไหร่ ก็มีความเสี่ยงที่เลือดจะไปขับแรงดันในโพรงกะโหลกให้สูงขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ และอาจทำให้เสียชีวิตได้

เจอใครมีอาการคล้าย ๆ ภาวะเลือดคั่งในสมอง อย่าช้า รีบพามาโรงพยาบาลด่วน HDmall.co.th มัดรวมแพ็กเกจตรวจสมองจากรพ. และคลินิกใกล้บ้านคุณไว้ให้แล้ว หรือทักมาสอบถามกับแอดมินของเราได้ที่นี่

สาเหตุของภาวะเลือดคั่งในสมอง

สาเหตุหลัก ๆ ของภาวะเลือดคั่งในสมองมักมาจากความเสื่อมของหลอดเลือดที่เป็นไปตามวัย จึงพบโรคนี้ได้บ่อยในผู้ที่มีอายุ 40–60 ปีขึ้นไป 

ทั้งนี้ ก็ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดภาวะนี้ได้อีก เช่น

  • อาการบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือการประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะอย่างรุนแรง
  • โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
  • โรคหลอดเลือดสมองโป่ง (Ruptured cerebral aneurysm)
  • โรคเนื้องอกสมอง (Brain tumor)
  • โรคหลอดเลือดสมองผิดปกติ หรือโรคเอวีเอ็ม (AVM: Arteriovenous Malformation)
  • มีการใช้ยาเจือจางเลือด (Blood thinners) หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • ใช้ยาเสพติด เช่น โคเคน หรือยาบ้า (Methamphetamine)
  • โรคที่ทำให้เลือดออก เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)
  • พฤติกรรมการดื่มสุรา สูบบุหรี่ มีส่วนทำให้ความดันโลหิตสูง และทำให้ได้รับสารพิษเข้าไปทำลายระบบต่าง ๆ ของร่างกาย 

วิธีรักษาภาวะเลือดคั่งในสมอง

เมื่อเกิดภาวะเลือดคั่งในสมอง ต้องรีบเข้ารับการรักษาโดยด่วนภายใน 3 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ 

โดยวิธีรักษาหลัก ๆ คือการผ่าตัด เพื่อนำก้อนเลือดในสมองออกมา และรักษาหลอดเลือดสมองส่วนที่ฉีกขาด 

นอกจากการผ่าตัดแล้ว แพทย์อาจจ่ายยาควบคุมความดันโลหิตให้ด้วย เพื่อใช้ลดความดันเลือดในกะโหลกศีรษะและอาการสมองบวม หากผู้ป่วยมีอาการชักเกร็ง ก็อาจได้รับยากันชักเพิ่มด้วย 

หลังจากรักษาแบบฉุกเฉินแล้ว แพทย์จะเริ่มฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยที่สมองได้รับความเสียหาย เช่น ถ้าผู้ป่วยเป็นอัมพาต หรือเคลื่อนไหวร่างกายซีกใดซีกหนึ่งไม่ได้ ก็ต้องทำกายภาพบำบัด หรือถ้าผู้ป่วยพูดไม่ชัด ก็ต้องให้ฝึกพูด 

ทั้งนี้ การรักษาภาวะเลือดคั่งในสมองอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูง และจำเป็นต้องจ่ายในระยะยาว ทั้งกระบวนการผ่าตัดให้ผู้ป่วยพ้นจากภาวะฉุกเฉินก่อน การทำกายภาพบำบัด และการฟื้นฟูร่างกายในส่วนอื่น ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อีกครั้ง 

การป้องกันภาวะเลือดคั่งในสมอง

ภาวะเลือดคั่งในสมองมักเกิดจากโรคประจำตัวเกี่ยวกับสมองและหลอดเลือด รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม

เพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าว สามารถปฏิบัติตามแนวทางง่าย ๆ เหล่านี้ เช่น 

  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่
  • ไม่เสพยาเสพติด 
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ
  • หมั่นออกกำลังกาย
  • พักผ่อนให้เพียงพออยู่เสมอ
  • ระมัดระวังการเคลื่อนไหว การเดิน การวิ่ง อยู่เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ หรือถ้าจำเป็นต้องนั่งมอเตอร์ไซค์ ควรสวมหมวกกันน็อกทุกครั้ง
  • หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคหลอดเลือดสมอง ควรหมั่นตรวจสุขภาพ สังเกตอาการเป็นประจำ และดูแลรักษาอาการของโรคนี้ให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย อย่างการตรวจหัวใจ ลองเข้าไปดูแพ็กเกจตรวจหัวใจและหลอดเลือดที่ HDmall.co.th รวบรวมไว้ได้เลย 

ภาวะเลือดคั่งในสมองถือเป็นภาวะอันตรายที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากรับการรักษาไม่ทันเวลา ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะนี้จึงต้องรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ

ถ้ามีโรคประจำตัวใด ๆ ให้หมั่นไปพบแพทย์เสมอ และดูแลรักษาอาการให้ปลอดภัยอยู่ตลอด เพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามกลายเป็นภาวะเลือดคั่งในสมองได้

เพราะ HDmall อยากให้คนไทยแข็งแรง เราจึงรวบรวมแพ็กเกจตรวจสุขภาพ และแพ็กเกจตรวจสมอง คุณภาพดี ๆ จากรพ. และคลินิกใกล้บ้านคุณไว้ให้ จองตอนนี้ได้รับส่วนลด หรือถ้าหาอันไหนไม่เจอ แช็ตมาถามเราได้เลย คลิก


ตรวจสอบความถูกต้องโดย นพ. วรพันธ์ พุทธศักดา


ที่มาของข้อมูล

Scroll to Top