ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามลภาวะต่างๆ อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ การปนเปื้อนของสารบางชนิดในอาหาร เครื่องสำอาง หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์ทางการแพทย์เองก็อาจนำมาสู่การสะสมของ “โลหะหนัก” ซึ่งเป็นหนึ่งในภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของคุณโดยไม่รู้ตัว
โลหะหนัก ไม่ใช่สารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแบบเฉียบพลัน แต่เป็นการสะสมสารพิษทีละเล็กน้อย จนเกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมา
บทความนี้ HDmall.co.th ร่วมกับ นายแพทย์ณัฐพล สุวรรณ แพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์ป้องกัน เวชศาสตร์ชะลอวัยและการฟื้นฟูสุขภาพ จาก Bangkok Anti-Aging Center จะพาทุกคนมารู้จักกับ “การทำคีเลชั่น” อีกหนึ่งกระบวนการที่จะเข้ามาช่วยขจัดสารพิษในร่างกาย พร้อมตอบทุกข้อสงสัย
สารบัญ
- การทำคีเลชั่นคืออะไร?
- โลหะหนักคืออะไร?
- ข้อดีของการทำคีเลชั่น
- การทำคีเลชั่นช่วยขจัดโลหะหนักในร่างกายได้อย่างไร?
- ใครที่เหมาะกับการทำคีเลชั่น?
- ใครที่ไม่เหมาะกับการทำคีเลชั่น?
- การทำคีเลชั่นอันตรายไหม?
- ผลข้างเคียงหลังการทำคีเลชั่น
- การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
- ขั้นตอนการทำคีเลชั่น
- การดูแลตัวหลังเข้ารับบริการ
- ควรทำคีเลชั่นบ่อยแค่ไหน?
การทำคีเลชั่นคืออะไร?
การทำคีเลชั่น (Chelation Therapy) คือ การให้สารน้ำทางหลอดเลือดเพื่อกำจัดโลหะหนักที่สะสมอยู่ในร่างกาย นอกจากนี้การทำคีเลชั่นยังเป็นการช่วยให้สารโลหะที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายแต่อาจอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ควรจะเป็นถูกขับออกไปด้วย
โลหะหนักคืออะไร?
โลหะหนัก คือ โลหะที่มีการสลายตัวช้า เมื่อสะสมอยู่ในร่างกายของเราในปริมาณที่มากขึ้น อาจทำให้เกิดการเสื่อมของเซลล์ รวมถึงทำให้การไหลเวียนของเลือดมีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยลงได้
โลหะหนักสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลักๆ อยู่ 2 วิธี ได้แก่ การหายใจรับมลภาวะในอากาศเข้าไป และการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก เช่น สารปรอท สารหนู ตะกั่ว อลูมิเนียม แคดเมียม สังกะสี หรือทองแดง
ความน่ากลัวของโลหะหนัก คือ ร่างกายมีความสามารถในการกำจัดสารพิษเหล่านี้ได้น้อยมาก ทำให้ผู้ที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสารเคมีหรือมีที่อยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมเลยง่ายต่อการสะสมของโลหะหนักมากกว่าบุคคลอื่นๆ
การสะสมของสารโลหะเหล่านี้อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนภายในหลอดเลือด ซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย นอกจากนี้ยังทำให้การทำงานของร่างกายผิดปกติจนเกิดเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดตีบ โรคหลอดเลือดอุดตัน ภาวะเซลล์เป็นพิษ และในผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ข้อดีของการทำคีเลชั่น
การทำคีเลชั่น มีข้อดีหลักๆ คือ ช่วยขจัดสารพิษและโลหะหนักที่ก่อตัวเป็นตะกรันอยู่บนหลอดเลือด จึงทำให้หลอดเลือดสะอาด มีความยืดหยุ่นมากขึ้น และทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
เมื่อการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น จะช่วยให้การควบคุมความดันของหลอดเลือดทำงานได้มีประสิทธิภาพ ลดโอกาสการเกิดหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน รวมถึงช่วยให้การทำงานของสมอง หัวใจ ตับ ทำงานดีขึ้น เนื่องจากมีเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพออีกด้วย
นอกจากนี้เมื่อการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น การทำงานของต่อมไร้ท่อต่างๆ ก็ทำงานได้ดีขึ้นไปด้วย ช่วยให้ผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง เหนื่อยง่าย กลับมาสดชื่น มีชีวิตชีวาอีกครั้ง ในขณะที่ผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ ก็สามารถนอนหลับได้ง่ายมากขึ้น
การทำคีเลชั่นช่วยขจัดโลหะหนักในร่างกายได้อย่างไร?
การทำคีเลชั่น แพทย์จะให้สารน้ำที่ประกอบไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ และกรดอะมิโน ที่เรียกว่า EDTA เข้าสู่เส้นเลือด โดยกรดอะมิโนชนิดนี้มีโครงสร้างทางเคมีเป็นพันธะโลหะ จึงสามารถเข้าไปจับกับสารโลหะหนักและเอนไซม์ต่างๆ ที่อยู่ในเนื้อเยื่อรวมถึงแคลเซียมส่วนเกินที่เกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือดได้
เมื่อสารเหล่านี้โดนดึงออกมาจากเนื้อเยื่อและหลอดเลือด จะถูกลำเลียงผ่านเลือดและถูกส่งไปที่ไต ก่อนที่ไตจะขับของเสียต่างๆ ออกมาทางปัสสาวะ
ใครที่เหมาะกับการทำคีเลชั่น?
- ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการรับสารโลหะหนัก เช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่ทำงานในห้องปฏิบัติการทางเคมี หรือผู้ที่มีที่อยู่อาศัยใกล้โรงกลั่น โรงงาน ปั้มน้ำมัน
- ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากหลอดเลือดไม่ยืดหยุ่น
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน
- ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการอุดตันของหลอดเลือด เช่น มีไขมันในเลือดสูง มีระดับอนุมูลอิสระสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- ผู้ที่มีปัญหาอ่อนเพลียเรื้อรัง เหนื่อยง่าย เวียนหัวง่าย นอนไม่หลับ เนื่องจากการไหลเวียนของเลือดบกพร่อง
- ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารเดิมซ้ำๆ โดยเฉพาะอาหารแปรรูป อาหารทะเล
- ผู้ที่ต้องการป้องกันตนเองจากโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงต้องการขจัดสารพิษต่างๆ ที่ตกค้างในร่างกายออก
การทำคีเลชั่นสามารถทำได้ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป โดยความถี่ในการเข้ารับบริการขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการรับสารพิษ ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเข้ารับบริการทุกครั้ง
ใครที่ไม่เหมาะกับการทำคีเลชั่น?
- สตรีที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- ผู้ที่มีภาวะไตวายเรื้อรังและผู้ที่กำลังเข้ารับการฟอกไต
- ผู้ที่ตับอักเสบเรื้องรัง ตับวาย
- ผู้ที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติหรือผู้ที่ได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์
- ผู้ที่มีภาวะสมองผิดปกติจากตะกั่วเฉียบพลัน (Acute Lead Encephapathy)
- ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด เช่น โรคจีซิกซ์พีดี (G6PD)
- ผู้ที่มีประวัติแพ้กรดอะมิโน EDTA
การทำคีเลชั่นอันตรายไหม?
การทำคีเลชั่นไม่อันตราย หากอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้ชำนาญการ เนื่องจากก่อนทำคีเลชั่นแพทย์จะมีการวางแผนร่วมกับการตรวจประเมินผลเลือดก่อน
โดยจะตรวจดูระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ปริมาณไขมันในเลือด ค่าการทำงานของไต ค่าการทำงานของตับ และนำผลเหล่านี้มาประเมินสภาวะของผู้ป่วย หากผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม แพทย์จึงจะพิจารณาฟื้นฟูร่างกายด้วยการทำคีเลชั่นได้
ผลข้างเคียงหลังการทำคีเลชั่น
หลังการทำคีเลชั่นผู้รับบริการอาจมีอาการต่างๆ ดังนี้
- วิงเวียนศีรษะ
- แน่นท้อง คลื่นไส้
- อ่อนเพลีย เมื่อยตามตัว
- มีไข้ต่ำ
- ปวด ระบม บริเวณที่รับสารน้ำ
ซึ่งนับเป็นอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีการดึงโลหะออกมาที่กระแสเลือด โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ก่อนจะค่อยๆ ดีขึ้นและหายไปเองภายใน 1-2 วัน
การเตรียมตัวก่อนเข้ารับบริการ
ในคืนก่อนเข้ารับบริการคีเลชั่น แนะนำให้ผู้เข้ารับบริการพักผ่อนให้เพียงพอ และควรรับประทานอาหารก่อนเข้ารับบริการอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมง เพราะในระหว่างการทำคีเลชั่นจะมีการดึงน้ำตาลออกมาใช้มากขึ้น หากไม่รับประทานอาหารก่อนมาอาจทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ และหน้ามืด ขณะทำได้
ขั้นตอนการทำคีเลชั่น
ขั้นตอนในการทำคีเลชั่นนั้นสามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่เข้ามาพบแพทย์เพื่อทำการซักประวัติ ตรวจสุขภาพเบื้อต้น รวมทั้งตรวจประเมินผลเลือด หากเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถเข้ารับบริการได้ แพทย์จะทำการวางแผนการรักษาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ก่อนที่จะเริ่มฟื้นฟูด้วยการทำคีเลชั่น
ซึ่งขั้นตอนการทำคีเลชั่น ผู้รับบริการจะได้รับการดูแลจากพยาบาลวิชาชีพและใช้ระยะเวลาในการทำราวๆ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นสามารถกลับบ้านได้เลย
การดูแลตัวหลังเข้ารับบริการ
หลังเข้ารับบริการคีเลชั่น ผู้รับบริการสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น เนื่องจากการดื่มน้ำจะช่วยให้โลหะหนักถูกกำจัดออกทางปัสสาวะได้ นอกจากนี้ก็ควรงดสูบบุหรี่และงดการดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากจะทำให้ผลลัพธ์จากการบำบัดด้วยคีเลชั่นด้อยประสิทธิภาพลง
สำหรับผู้ที่มีอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดท้อง แน่นท้องหลังทำ แนะนำให้เฝ้าสังเกตอาการก่อน 1-2 วัน หากยังมีความกังวลสามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาจากแพทย์ได้
ควรทำคีเลชั่นบ่อยแค่ไหน?
การทำคีเลชั่นสามารถทำได้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ซึ่งความถี่และจำนวนครั้งในการเข้ารับบริการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการรับโลหะหนัก ประกอบกับผลเลือดที่แพทย์นำไปตรวจวิเคราะห์ก่อนเข้ารับบริการ
แต่โดยทั่วไปแล้ว แพทย์มักแนะนำให้ทำต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดต่อกันประมาณ 5-10 สัปดาห์ ก็จะทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นขึ้นอย่างสังเกตได้
สำหรับผู้ที่มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้ว HDmall.co.th ขอแนะนำการทำคีเลชั่นเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยให้อาการเรื้องรังเหล่านี้ดีขึ้น
หากยังไม่รู้ว่าจะรับบริการที่ไหนดี? ให้ Bangkok Anti-Aging Center เป็นหนึ่งในทางเลือกของคุณ! เพราะ Bangkok Anti-Aging Center เป็นศูนย์ดูแลสุขภาพที่เน้นการหาสาเหตุของปัญหาสุขภาพ มากกว่าการรักษาตามอาการ มีให้เลือกถึง 3 สาขา ได้แก่ สาขา สาขาสุทธิสาร สาขาสยาม และสาขาบางนา
ที่สำคัญบริการการทำคีเลชั่นที่ Bangkok Anti-Aging Center เป็นบริการที่ได้มาตรฐาน อยู่ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ ร่วมกับพยาบาลวิชาชีพ และให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ
เช็กราคาและเลือกซื้อแพ็กเกจขจัดสารพิษในหลอดเลือด ด้วยการทำคีเลชั่น ที่ Bangkok Anti-Aging Center ได้ในราคาพิเศษผ่านทาง HDmall.co.th หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ไลน์ @hdcoth