คุณเป็นกลุ่มที่ใช้สมองซีกซ้าย หรือซีกขวามากกว่ากัน

คุณเป็นกลุ่มที่ใช้สมองซีกซ้าย หรือซีกขวามากกว่ากัน?

คนทั่วไปมักจะรับรู้ว่า ประชากรประมาณ 90% นั้นถนัดมือขวา และนั่นเป็นลักษณะหนึ่งที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม แม้ว่ายังไม่มีใครทราบก็ตามว่า ทำไมการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนั้นจึงทำให้มีคนที่ถนัดขวามากกว่าซ้าย

แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ในหลายๆ กิจกรรม การถนัดมือขวานั้นย่อมทำให้ได้เปรียบคนที่ถนัดมือซ้าย เช่น การเล่นเทนนิส กอล์ฟ หรือเบสบอล ซึ่งแม้ว่าอาจจะสอนให้ผู้ที่ถนัดซ้ายใช้มือขวาในการเล่นได้ก็ตาม แต่ผลที่ได้ก็ยังไม่ดีเท่าผู้ที่ถนัดมือขวา

อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า การแบ่งคนเป็นกลุ่มที่ถนัดสมองซีกซ้ายและซีกขวานั้นอาจจะไม่ได้แยกกันชัดเจนอย่างที่เคยคิด

สมองใหญ่ หรือซีรีบรัม (Cerebrum)

สมองใหญ่ หรือซีรีบรัม เป็นสมองส่วนหน้า (Fore brain) เรียกอีกชื่อว่า “สมองส่วนหน้าผาก” สมองส่วนนี้ัเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักจำนวนมาก

ซีรีบรัมสามารถแบ่งแยกย่อยได้อีกหลายส่วน แบ่งออกเป็นสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาโดยทำงานสลับกันดังนี้

  • สมองซีกซ้ายควบคุมร่างกายซีกขวา
  • สมองซีกขวาควบคุมร่างกายซีกซ้าย

ซีรีบรัมยังแบ่งออกเป็น 5 พู แต่ละพูก็ทำหน้าที่แตกต่างกันไป หน้าที่สำคัญได้แก่

  • ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลาย ความคิด การวางแผน การแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความจำ สติปัญญา และการใช้ภาษา
  • ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น ความเข้าใจด้านภาษา และการฟัง
  • การรับรส และความรู้สึกจากการสัมผัส อุณหภูมิ ความเจ็บปวด
  • ควบคุมการมองเห็น การรวมภาพที่เห็นเข้ากับประสบการณ์และความรู้สึก

คิดว่า ตนเองเป็นคนกลุ่มไหน?

ในอดีตเรามักเชื่อกันว่า แต่ละคนมีบุคลิกภาพ ลักษณะความคิด หรือวิธีการในการทำสิ่งต่างๆ ที่ขึ้นกับว่า คุณเป็นกลุ่มที่ใช้สมองซีกซ้าย หรือซีกขวามากกว่ากัน

กลุ่มที่ใช้สมองซีกขวามากกว่า

เชื่อกันว่า จะเป็นกลุ่มที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และทำความเข้าใจโลกในแง่ของการบรรยายและด้วยความเข้าใจของตัวเอง เช่น มองเห็นว่าท้องฟ้านั้นเป็นสีเทาและดูครึ้มๆ เลยสงสัยว่า ฝนน่าจะกำลังจะตก

กลุ่มที่ใช้สมองซีกซ้ายมากกว่า

เชื่อกันว่า จะเป็นกลุ่มที่มักถนัดเรื่องการคำนวนและการวิเคราะห์ คนกลุ่มนี้มักใส่ใจในรายละเอียดและปฏิบัติตัวตามตรรกะต่างๆ สิ่งที่พวกเขาคิดมักจะออกมาในแนวว่า พยากรณ์อากาศบอกว่า วันนี้มีโอกาสที่ฝนจะตกเพียงแค่ 30% แต่ก้อนเมฆชนิด cumulonimbus นั้นอาจจะทำให้ฝนตกพร้อมกับฟ้าผ่าได้

หนังสือที่ตีพิมพ์ในช่วง ค.ศ. 1979 ยังได้มีการขยายคำจัดกัดความของทั้งสองกลุ่มนี้ให้กว้างขึ้น พร้อมกับเสนอว่า “ไม่ว่าคุณจะเป็นคนในกลุ่มไหน แต่การที่คุณใช้สมองซีกขวาบ่อยๆ นั้นจะทำให้คุณมองสิ่งต่างๆ ในอีกแง่มุมหนึ่ง”

ถึงแม้ว่าแนวคิดนี้จะแพร่หลายและได้รับความนิยมมากเพียงใดก็ตาม แต่มันก็อาจจะผิดได้เช่นกัน

ตำแหน่งในสมองต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญ

อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ก็มีส่วนที่ถูกต้องอยู่บ้าง เนื่องจากการทำงานของสมองบางอย่างจะเกิดขึ้นจากสมองซีกใดซีกหนึ่งมากกว่าอีกซีก ซึ่งเราทราบปรากฏการณ์นี้จากการเห็นผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือตีบบางส่วน

ตัวอย่างเช่น

เชื่อกันว่า ในคนส่วนใหญ่นั้นศูนย์ที่ควบคุมเรื่องภาษานั้นจะอยู่ในสมองซีกซ้าย สมองซีกขวาที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนและขาซ้าย การที่สมองส่วนหน้าถูกทำลายส่งผลต่อการมีความตื่นตัวลดลง วางแผนได้ยากขึ้นและมีความคิดสร้างสรรค์ที่ลดลง

ในขณะที่สมองส่วนหลังนั้นทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการมองเห็นจากตา หากสมองส่วนนี้ถูกทำลายนั้นจึงทำให้เกิดภาวะตาบอดบางส่วน หรือทั้งหมดได้

ดังนั้นตำแหน่งของสมองนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องของบุคลิกภาพ ความคิดสร้างสรรค์ หรือการมีความคิดในเชิงตรรกะมากกว่าการใช้สัญชาตญาณนั้นอาจจะไม่จริง เนื่องจากมีหลักฐานที่สนับสนุนเรื่องนี้น้อยมาก

หากคุณทำการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือแม้แต่การนำสมองของนักคณิตศาสตร์มาเปรียบเทียบกับศิลปิน คุณก็จะไม่พบว่า สมองทั้งสองซีกมีความแตกต่างกันมากนัก

แล้วความเชื่อเกี่ยวกับสมองซีกซ้าย หรือซีกขวานั้นจริงหรือไม่?

ดังนั้นความเชื่อดังกล่าวนั้นจึงอาจจะไม่เป็นความจริง เพราะในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่จะมาสนับสนุนความเชื่อดังกล่าว

แต่ในปัจจุบันมีหลักฐานที่ต่อต้านความเชื่อดังกล่าวมากขึ้นเรื่อยๆ งานวิจัยใน ค.ศ. 2013 ที่ทำการตรวจสมองของผู้เข้าร่วมงานวิจัยพบว่า การทำงานของสมองทั้งสองข้างนั้นเหมือนกัน ไม่ว่าบุคลิกภาพของคนคนนั้นจะเป็นแบบใดก็ตาม

ความเชื่อที่กล่าวว่าบุคลิกภาพของแต่ละคนนั้นขึ้นกับสมองซีกที่ถนัดนั้นจึงอาจจะไม่เป็นความจริง ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนเกี่ยวกับบุคลิกภาพของแต่ละคนมากนัก แต่เชื่อว่า ไม่น่าจะเกิดจากการที่มีสมองซีกใดซีกหนึ่งเด่นกว่าอีกซีก


ตรวจสอบความถูกต้องโดย นพ. ธนู โกมลไสย


ที่มาของข้อมูล

Scroll to Top