hemifacial spasm treatment comparison scaled

3 วิธีรักษาโรคใบหน้ากระตุก กินยา ฉีดโบท็อกซ์ ผ่าตัด

วิธีรักษาโรคใบหน้ากระตุกมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและสาเหตุของโรค ในบทความนี้จะพามาเปรียบเทียบ 3 วิธีการรักษาหลัก ได้แก่ การใช้ยา การฉีดโบท็อกซ์ และการผ่าตัด เพื่อช่วยให้คุณสามารถทราบแนวทางที่เหมาะสมกับอาการได้มากที่สุด

มีคำถามเกี่ยวกับ ใบหน้ากระตุก? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

รวมวิธีการรักษาโรคใบหน้ากระตุก

การรักษาโรคใบหน้ากระตุก มีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดี ข้อจำกัดแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

1. การรักษาด้วยยา

แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยใช้ยาเพื่อลดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ ซึ่งมักได้ผลดีในผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมาก ยาที่ใช้สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  1. ยาในกลุ่มคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxants) เช่น Baclofen เป็นยาที่ออกฤทธิ์โดยไปกดการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและลดอาการกระตุก
  2. ยาในกลุ่มยากันชัก (Anticonvulsants) เช่น Carbamazepine หรือ Gabapentin โดยยาในกลุ่มนี้ช่วยลดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ โดยลดการส่งสัญญาณประสาทที่ผิดปกติไปยังกล้ามเนื้อ
    • Carbamazepine ออกฤทธิ์โดยลดการทำงานของเส้นประสาทที่ไวต่อการกระตุ้นเกินไป ซึ่งอาจช่วยลดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อใบหน้าได้
    • Gabapentin มีฤทธิ์ช่วยลดอาการปวดจากเส้นประสาทและควบคุมการส่งสัญญาณประสาทที่มากเกินไป ซึ่งช่วยลดอาการกระตุกได้ดี
  3. ยาในกลุ่มยาคลายกังวล (Benzodiazepines) เช่น Clonazepam เป็นยาที่ช่วยกดการทำงานของระบบประสาท ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและลดอาการกระตุก

ข้อดี

  • เป็นทางเลือกแรกที่ไม่ต้องมีการทำหัตถการ
  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง
  • ค่าใช้จ่ายถูกกว่าวิธีอื่นๆ

ข้อจำกัด

  • อาจไม่ได้ผลในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  • มีผลข้างเคียง เช่น ง่วงซึม เวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้
  • ต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง และอาการอาจกลับมาเมื่อหยุดยา

2. การรักษาด้วยการฉีดโบท็อกซ์

การรักษาโรคใบหน้ากระตุกด้วยการฉีดโบท็อกซ์เป็นวิธีที่นิยมใช้เพื่อบรรเทาอาการกระตุกที่เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบนใบหน้า ซึ่งเกิดจากความผิดปกติในระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อที่ทำงานเกินปกติ 

โบท็อกซ์ (Botulinum Toxin) คือสารที่สามารถยับยั้งการทำงานของเส้นประสาท โดยการฉีดเข้าสู่กล้ามเนื้อที่มีอาการกระตุก จะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวและลดการหดเกร็ง

แพทย์จะฉีดโบท็อกซ์ในจุดที่มีอาการกระตุก โดยทั่วไปจะใช้เวลา 3-6 เดือนในการรักษา หลังจากนั้นอาการกระตุกอาจกลับมาได้ และจำเป็นต้องฉีดซ้ำ เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพต่อเนื่อง

การรักษาด้วยโบท็อกซ์ไม่ต้องใช้เวลาฟื้นตัวนาน ส่วนใหญ่ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติหลังการฉีด แต่อาจมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น ปวดบริเวณที่ฉีด หรืออาการบวมในช่วงแรก แต่โดยรวมถือว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยในการรักษาโรคใบหน้ากระตุก

มีคำถามเกี่ยวกับ ใบหน้ากระตุก? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

ข้อดี

  • เห็นผลเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์
  • ไม่ต้องผ่าตัด และมีความเสี่ยงต่ำ
  • เป็นแนวทางที่ใช้ได้ผลในผู้ป่วยส่วนใหญ่

ข้อเสีย

  • ผลลัพธ์อยู่ได้ชั่วคราว ต้องฉีดซ้ำทุก 3-6 เดือน
  • ค่าใช้จ่ายสูงกว่าการใช้ยา
  • อาจมีผลข้างเคียง เช่น หนังตาตก กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือรอยฟกช้ำบริเวณที่ฉีด

3. การรักษาด้วยการผ่าตัด

การรักษาด้วยการผ่าตัดสำหรับโรคใบหน้ากระตุกที่เรียกว่า Microvascular Decompression (MVD) เป็นวิธีการผ่าตัดที่มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการกดทับของหลอดเลือดที่ไปกดทับเส้นประสาทใบหน้า ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการกระตุก หรือหดเกร็งของกล้ามเนื้อบนใบหน้า

ขั้นตอนการผ่าตัด MVD เริ่มต้นจากกการเปิดกะโหลกศีรษะในบริเวณที่เส้นประสาทถูกกดทับ จากนั้นแพทย์จะหาตำแหน่งที่หลอดเลือดไปกดทับเส้นประสาทใบหน้า และยกหลอดเลือดนั้นออก หรือตัดการสัมผัสระหว่างหลอดเลือดกับเส้นประสาท โดยมักจะใช้วัสดุพิเศษ เช่น ฟองน้ำพิเศษ หรือแผ่นโลหะ เพื่อช่วยแยกหลอดเลือดออกจากเส้นประสาท

การผ่าตัด Microvascular Decompression เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง โดยสามารถลดหรือบรรเทาอาการกระตุกได้อย่างถาวรในหลายกรณี

แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจากการผ่าตัด เช่น การติดเชื้อ หรือการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทในระหว่างการผ่าตัด แต่โดยรวมถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล หรือกรณีที่มีอาการรุนแรงและต่อเนื่อง

ข้อดี

  • เป็นวิธีรักษาที่สามารถให้ผลแบบถาวร
  • ไม่ต้องพึ่งการฉีดโบท็อกซ์ซ้ำๆ 
  • เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง และรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล

ข้อเสีย

  • เป็นการผ่าตัดสมองที่มีความเสี่ยงสูง
  • ต้องใช้เวลาพักฟื้นหลายสัปดาห์ถึงเดือน 
  • มีความเสี่ยงต่อผลข้างเคียง เช่น การสูญเสียการได้ยิน การติดเชื้อ หรือเส้นประสาทถูกทำลาย

การรักษาโรคใบหน้ากระตุก

คลิกที่นี่เพื่อดูภาพขนาดใหญ่

วิธีไหนเหมาะกับคุณ?

  • หากมีอาการเพียงเล็กน้อย อาจลองเริ่มจากการใช้ยาเพื่อดูผลลัพธ์ก่อน
  • หากมีอาการปานกลางและต้องการผลเร็ว การฉีดโบท็อกซ์เป็นตัวเลือกที่ดี
  • หากมีอาการรุนแรงและต้องการหายขาด การผ่าตัดอาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยง

จะเห็นได้ว่า โรคใบหน้ากระตุกสามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการและปัจจัยของผู้ป่วยเอง วิธีที่ดีที่สุดคือการปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสม โดยเฉพาะหากคุณมีอาการรุนแรง และเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ

ใบหน้ากระตุกเป็นๆ หายๆ ต้องผ่าตัดหรือเปล่า? อยากปรึกษาคุณหมอ เพื่อรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสม ทักหาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

มีคำถามเกี่ยวกับ ใบหน้ากระตุก? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ HDcare โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ พยาบาล HDcare