วิตามินดีมีบทบาทในการดูแลสุขภาพกระดูกและระบบต่าง ๆ ในร่างกาย การขาดวิตามินดีไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนที่ไม่ค่อยเจอแสงแดด อายุมาก หรือมีปัญหาในการดูดซึมสารอาหาร
หากสงสัยว่าตัวเองกำลังขาดวิตามินดีหรือไม่ ขาดวิตามินดีแล้วอันตรายแค่ไหน เสี่ยงโรคอะไรบ้าง เมื่อขาดวิตามินดีแล้ว ดูแลตัวเองอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
สารบัญ
วิตามินดีสำคัญอย่างไร
วิตามินดี (Vitamin D) มีหน้าที่หลักช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหาร และรักษาระดับแร่ธาตุดังกล่าวในเลือดให้เป็นปกติ ซึ่งเป็นแร่ธาตุจำเป็นต่อการเจริญเติบโต และช่วยสร้างกระดูกให้แข็งแรง
นอกจากนี้ ยังมีความสําคัญต่อสุขภาพอื่น ๆ เช่น ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด เพิ่มความแข็งแรงและทนทานของกล้ามเนื้อ หากระดับวิตามินดีในร่างกายต่ำเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายอย่างได้ โดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับกระดูก
รู้ได้อย่างไรว่า ร่างกายเริ่มขาดวิตามินดี
อาการขาดวิตามินดีอาจสังเกตได้ยาก เพราะไม่ค่อยมีอาการเฉพาะเจาะจง เช่น เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยไม่ทราบสาเหตุ รู้สึกไม่สบายตัวบริเวณกระดูกส่วนต่าง ๆ หรือปวดกระดูก แผลหายช้ากว่าปกติ ผมร่วง ป่วยง่าย อารมณ์แปรปรวน หรือบางคนอาจไม่แสดงอาการใด ๆ
อย่างไรก็ตาม การวัดระดับวิตามินดีในร่างกายทำได้ด้วยการตรวจเลือด เพื่อวัดระดับไฮดรอกซีวิตามินดี (25-hydroxyvitamin D) หรือ 25(OH)D ซึ่งเป็นค่าบอกระดับวิตามินดีในร่างกาย แบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับวิตามินดีในเลือด (นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร / ng/mL) | ประเภท |
มากกว่า 30 ng/mL | ปกติ มีระดับวิตามินดีเพียงพอ |
อยู่ในช่วง 20–30 ng/mL | มีภาวะพร่องวิตามินดี (Vitamin D insufficiency) |
ต่ำกว่า 20 ng/mL | มีภาวะขาดวิตามินดี (Vitamin D deficiency) |
เช็กให้ชัวร์ขากวิตามินดีไหม คลิกดู แพ็กเกจตรวจสุขภาพกระดูก เสริมวิตามินดี
ทำไมร่างกายขาดวิตามินดี
วิตามินดีที่พบในร่างกายมีอยู่ 2 แบบ คือ วิตามินดี 3 (Cholecalciferol) ได้จากการสังเคราะห์ที่ผิวหนังจากแสงแดด (UVB) และวิตามินดี 2 (Ergocalciferol) ที่ได้รับจากอาหารหรืออาหารเสริม
การขาดวิตามินดีเกิดจากได้จากหลายปัจจัย ดังนี้
- ร่างกายได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ วิตามินดีในร่างกายส่วนใหญ่มาจากการสังเคราะห์ผ่านผิวหนังเมื่อเจอแสงแดด หากใช้ชีวิตในที่ร่ม ไม่ค่อยออกแดด ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง ส่งผลให้การสังเคราะห์วิตามินดีจากผิวหนังลดลง
- โภชนาการอาหารไม่เหมาะสม อาหารบางประเภทเป็นแหล่งสำคัญของวิตามินดี เช่น ตับ ไข่แดง ปลาที่มีไขมันสูง (แซลมอน แมคเคอเรล ทูน่า) และอาหารเติมวิตามินดี หากอาหารที่กินในแต่ละวันมีปริมาณวิตามินดีน้อยอาจเสี่ยงต่อการขาดวิตามินดี
- อายุมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น กลไกการสังเคราะห์วิตามินดีของร่างกายเสื่อมลง ระบบย่อยอาหารและการดูดซึมวิตามินดีที่ทำงานได้ไม่ดีเหมือนวัยหนุ่มสาว แม้จะได้รับแสงแดดเพียงพอก็มีโอกาสขาดวิตามินดีได้มาก
- น้ำหนักตัวมาก หรือมีไขมันสะสมเยอะ คนผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (ค่า BMI) สูงกว่า 30 จะมีการสะสมวิตามินดีในไขมันแทน ส่งผลให้ระดับวิตามินดีในเลือดต่ำ
- ปัญหาของระบบย่อยอาหารและการดูดซึม โรคหรือการรักษาบางอย่าง อาจกระทบต่อการดูดซึมวิตามินดีจากอาหาร เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (IBD) โรคช่องท้องอักเสบ หรือการผ่าตัดกระเพาะอาหาร
- ปัญหาการทำงานของตับและไต ตับหรือไตจะช่วยเปลี่ยนวิตามินดีให้อยู่ในรูปที่ร่างกายนำไปใช้ได้ เมื่อมีปัญหาในอวัยวะเหล่านี้ ระดับวิตามินดีอาจลดลง เช่น โรคตับเรื้อรัง หรือโรคไตเรื้อรัง
ขาดวิตามินดีอันตรายไหม
การขาดวิตามินดีสามารถส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของกระดูก และระบบภูมิคุ้มกัน หากร่างกายขาดวิตามินดีเป็นเวลานาน อาจทำให้กระดูกอ่อนแอและเปราะบาง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ทำให้กระดูกหักง่าย เกิดโรคกระดูกน่วม (Osteomalacia) ที่กระดูกอ่อนลงและผิดรูป ในเด็กอาจเกิดโรคกระดูกอ่อน (Rickets)
อีกทั้งการขาดวิตามินดียังสัมพันธ์กับโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon cancer) มะเร็งเต้านม (Breast cancer) มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate cancer) โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และกลุ่มโรคที่มีการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร
ไม่อยากขาดวิตามินดีแล้ว ควรดูแลตัวเองอย่างไร
ร่างกายได้รับวิตามินดีจากหลายทาง หากมีปัญหาขาดวิตามินดีหรือพร่องวิตามินดี สามารถทำได้ตามคำแนะนำ ดังนี้
- ออกไปเจอแสงแดดอ่อน ๆ อย่างน้อย 15 นาที ในช่วงเช้า (06.00 – 08.00 น.) หรือช่วงเย็น (16.00–18.00 น.) ซึ่งเป็นเวลาที่รังสี UVB จะไม่แรงเกินไป จะช่วยกระตุ้นการสังเคราะห์วิตามินดีในร่างกาย
- เลือกกินอาหารที่มีวิตามินดีสูง เช่น ปลาที่มีไขมันสูง (ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาเทราต์ ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล) ตับ เห็ด ไข่แดง นมเสริมวิตามินดี น้ำมันตับปลา
- กินวิตามินดีเสริมตามแพทย์แนะนำ มีทั้งวิตามินดี 2 (Ergocalciferol) และวิตามินดี 3 (Cholecalciferol) แพทย์จะเป็นคนเลือกวิตามินดีเสริมให้เหมาะกับสภาวะแต่ละคน และป้องกันการรับวิตามินดีมากเกินความจำเป็นจนอาจเป็นอันตราย
- ตรวจเช็กระดับวิตามินในเลือดเป็นระยะ เพื่อให้แพทย์ติดตาม และปรับการรักษาตามความเหมาะสม
อย่าปล่อยให้วิตามินดีต่ำจนเสี่ยงกระดูกพรุน! แพ็กเกจตรวจสุขภาพกระดูก เสริมวิตามินดี ราคาดี จองได้ที่ HDmall.co.th จองเลย!