mental health issues in the workplace disease definition

4 ปัญหาสุขภาพจิตพบบ่อย วัยทำงานระวัง! พร้อมวิธีรับมืออย่างมืออาชีพ

วัยทำงานหลายคนต้องเผชิญกับ “ศึกในใจ” ที่เรามักมองไม่เห็น แค่เปิดคอมพิวเตอร์ตอนเช้า ใจก็หนักเหมือนต้องแบกภูเขาไว้ทั้งลูกแล้ว หรือแม้กระทั่งงานล้นมือที่แก้ไม่หมด ปัญหาเหล่านี้ ไม่เพียงส่งผลต่ออารมณ์ แต่ยังแทรกซึมเข้าสุขภาพกายของเราได้อย่างเงียบ ๆ 

มาดูปัญหาสุขภาพจิตในวัยทำงานที่มักพบบ่อย เพื่อให้เราได้สำรวจตัวเองอยู่เสมอ พร้อมรู้วิธีรับมือกับความเครียดและความกดดันที่เกิดจากการทำงานกัน เพื่อสุขภาพกายและใจที่ดีไปพร้อมกับหน้าที่การงาน

ปัญหาสุขภาพจิตพบได้บ่อย คุกคามวัยทำงาน 

นี่คือปัญหาสุขภาพจิตใจและอารมณ์ที่มักพบในคนวัยทำงาน ได้แก่

1. เครียดสะสม

ช่วงวัยการทำงานมักจะต้องเผชิญกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่ท้าทาย ทำให้เรารู้สึกกดดัน และวิตกกังวลอยู่บ่อย ๆ ยิ่งนานวันไปอาจสะสมกลายเป็นความเครียดเรื้อรังโดยไม่รู้ตัว หากไม่รีบปรับเปลี่ยนก่อน อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ 

สัญญาที่บ่งบอกว่ากำลังเครียดสะสม อาการแสดงออกทั้งทางร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม เช่น ปวดหัว นอนไม่หลับ หงุดหงิด วิตกกังวลตลอดเวลา อารมณ์แปรปรวน สมาธิลดลง สมองไม่แล่น จิตตก มีปัญหาการย่อยอาหาร ท้องเสีย ท้องผูก 

สาเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียดมีออยู่หลายอย่าง อาจมาจากปัจจัยภายนอก เช่น สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่ดี ทำงานหนัก ไม่มีความมั่นคงทางอาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างคนไม่ดี ชอบทำงานหลายอย่างพร้อมกัน

รวมถึงปัจจัยภายใน เช่น บุคลิกภาพตัวเองที่เป็นคนใจร้อน มาตรฐานสูง อยากเอาชนะคนอื่น จัดการกับอารมณ์เชิงลบของตัวเองได้ไม่ดี 

ปรึกษาความเครียดออนไลน์ โดยคุณหมอและนักจิตวิทยา 

2. ภาวะหมดไฟ (Burnout syndrome)

ภาวะหมดไฟ หรือหมดไฟในการทำงาน เป็นผลพวงมาจากการเผชิญกับความกดดันและความเครียดอย่างต่อเนื่องในที่ทำงาน โดยไม่ได้จัดการอารมณ์ความรู้สึกอย่างเหมาะสม หรือแก้ปัญหาที่เจอให้หมดไป จนเกิดความรู้สึกเหนื่อยล้าทางจิตใจ 

ลักษณะงานหรือสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดภาวะหมดไฟ เช่น ปริมาณงานมากเกินไป ไม่มีสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ บรรยากาศการทำงานไม่ดี งานซับซ้อน แต่ต้องทำแบบรีบเร่ง เวลาจำกัด

สัญญาณบ่งบอกถึงภาวะหมดไฟ อาการหลักที่มักเจอ เช่น อ่อนเพลีย หมดความสนใจในงาน รู้สึกตัวเองไร้ประสิทธิภาพ เริ่มพูดคุยกับคนรอบข้างน้อยลง มีความรู้สึกต่อต้านตัวงาน มองงานตัวเองในแง่ลบ ขาดความผูกพันกับที่ทำงาน

หากปล่อยไว้นาน ๆ โดยไม่แก้ไขจะกระทบไปถึงสุขภาพร่างกาย เช่น ปวดหัวเรื้อรัง นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า รวมถึงกระทบกับหน้าที่การทำงาน ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง ไม่มีแรงจูงใจ หมดหวัง หมดหนทาง และอาจลาออกจากงาน

3. โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) 

ความวิตกกังวลเป็นกระบวนการคิดหรือการประเมินสถานการณ์ที่ยังมาไม่ถึง จากประสบการณ์ในอดีตของคนนั้น ๆ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน แต่หากคิดมากหรือวิตกกังวลมากเกินไป อาจก่อให้เกิดเป็นโรควิตกกังวลขึ้นมาได้ 

โรควิตกกังวลเป็นภาวะทางอารมณ์ที่จะมีความรู้สึกวิตกกังวล เครียด เกี่ยวกับหลายเรื่องในชีวิตประจำวันมากกว่าปกติ เกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น  

  • ความกดดันจากการเรียน การทำงาน หรือสังคม 
  • ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง เช่น เซโรโทนิน (Serotonin), นอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine) และโดพามีน (Dopamine
  • ประสบการณ์ที่ไม่ดีที่อาจกระทบกระเทือนจิตใจในวัยเด็ก

อาการของโรควิตกกังวลเกิดขึ้นได้หลายแบบ เช่น กระสับกระส่าย ใจสั่น มือสั่น เหนื่อยง่าย ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับหรือมีฝันร้าย รู้สึกกลัวหรือหงุดหงิดมากเกินไป เมื่อต้องเผชิญสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดอาการเหล่านี้ ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมตัวเองได้เลย และเป็นต่อเนื่องนาน 56 เดือน

4. โรคซึมเศร้า (Depression)

การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายถึงว่าเป็นคนอ่อนแอ ไร้ความสามารถ แต่เป็นความผิดปกติทางจิตที่เกิดจากการสารเคมีในสมองเสียสมดุล ทำให้กระทบต่ออารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม บางส่วนอาจเกิดจากปัจจัยอื่นเป็นตัวกระตุ้น เช่น

  • ความเครียดสะสม 
  • การสูญเสียครั้งใหญ่ 
  • ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างไม่ดี 
  • สภาพจิตใจจากการเลี้ยงดู เช่น เป็นคนเครียดง่าย มองตัวเองและโลกรอบตัวแง่ลบ
  • ปัญหาทางสังคม เช่น ขาดการสนับสนุนจากคนรอบข้าง หรือมีความคาดหวังสูงเกินไป

ผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้า รู้สึกไร้ค่า หดหู่ ท้อแท้ ไม่มีความสุข เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว ขาดความสนใจในกิจกรรมที่ชอบ และยังกระทบไปถึงสุขภาพกาย เช่น นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว อาการเหล่านี้จะเกิดต่อเนื่อง 2 สัปดาห์ขึ้นไป ไม่ได้เป็น ๆ หาย ๆ  

ภาวะซึมเศร้าสามารถทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เกิดความยากลำบากในการตัดสินใจ หรือแม้แต่มีปัญหาในการรักษาความสัมพันธ์กับ เพื่อนร่วมงานและคนรอบข้าง หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้คิดสั้นอยากฆ่าตัวตาย

ไม่ชัวร์เสี่ยงซึมเศร้าไหมนะ! อ่านเพิ่มเติมบทความ 10 สัญญาณเตือนอาการโรคซึมเศร้า

วิธีดูแลใจให้มีความสุข พร้อมรับปัญหาแบบมือโปร

ความเครียดและความกดดันที่เกิดขึ้นจากการทำงานส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพการทำงาน และคุณภาพชีวิต การรับมืออย่างเหมาะสมจะช่วยดูแลสุขภาพกายและใจให้สมดุล

  • การจัดการพื้นที่การทำงานให้น่าอยู่ การจัดโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ ตกแต่งด้วยต้นไม้เล็ก ๆ หรือรูปภาพที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สร้างพื้นที่ส่วนตัวที่ให้ความรู้สึกปลอดภัยและสบายใจ
  • สร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการพักผ่อน จัดเวลาพักให้เพียงพอ และใช้วันหยุด เพื่อผ่อนคลายจากความเครียดบ้าง
  • คลายเครียดด้วยการหากิจกรรมที่ชอบ การทำกิจกรรมที่ให้ความสนุกสนาน หรือทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ ช่วยลดความเครียดและเพิ่มความสุขทางใจให้มากขึ้น
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีในที่ทำงาน จะช่วยลดความเครียด รู้สึกว่ามีเพื่อน ไม่ได้โดดเดี่ยว ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การทำงานเกื้อกูลกันกับเพื่อนร่วมงาน ให้เกียรติผู้อื่นอยู่เสมอ พูดคุยและแชร์ความรู้สึกอย่างจริงใจ 
  • ออกกำลังกาย: การออกกำลังกายช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง ลดความเครียด วิตกกังวล อาจเริ่มจากประเภทการออกกำลังกายที่ชื่นชอบ และเวลาในการออกกำลังกายให้แบ่งย่อยเป็นระยะสั้น ๆ ก่อน  
  • ปรึกษาจิตแพทย์: หากรู้สึกเครียดหรือวิตกกังวลเกินไป ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือจิตวิทยา เพื่อรับคำแนะนำในการจัดการกับอารมณ์และปัญหา สุขภาพจิต

กังวลใจ เครียดจนหัวจะระเบิด! แวะมาพูดคุยปรึกษาคุณหมอและนักจิตวิทยา HDmall.co.th รวมโปรราคาพิเศษ จองรับราคาโปรไว้ก่อน เครียดเมื่อไรทักเลย

Scroll to Top